Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549
KGroup มาถึงจุดที่ต้องชัดเจน             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บัณฑูร ล่ำซำ
Banking and Finance




ปีนี้เป็นปีที่บันฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KBank เริ่มสบายใจมากขึ้นกว่าปีก่อน หลังการปรับโครงสร้างองค์กรเริ่มเข้ารูปเข้ารอยตามแนวทางที่เขาต้องการเห็น

จะเหลือแต่ก็เพียงการเข้าไปทำให้เกิดความชัดเจนแก่ตัวพนักงานบริษัทในเครือ ที่ต้องทำหน้าที่ร่วมผนึกกำลังเสนอบริการและผลิตภัณฑ์อันหลากหลาย ให้ถูกต้องตรงความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้ถูกพัฒนาไปจนกลายเป็นสินค้าที่มีลูกเล่นหลากหลาย หากผู้เสนอบริการไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการให้คำแนะนำแก่ผู้มาขอรับบริการ

ตั้งแต่กลางปีก่อนเป็นต้นมา KBank เป็นที่ที่คึกคักอย่างที่สุด จากการแสดงพลังความร่วมมือของ 6 บริษัทในเครือทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสปอตโฆษณาทางทีวี หลังที่เคยเลิกใช้สื่อนี้ประชาสัมพันธ์ตัวเองมานานนับเป็นสิบๆ ปี ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำกับตลาดว่าธนาคารกสิกรไทยได้เปลี่ยนชื่อใหม่มาเป็น KBank แล้ว

และบอกให้รู้ถึงการแตกบริษัทในเครือ KGroup เป็น 6 แห่ง เพื่อขยายการให้บริการ ทุกระดับประทับใจอย่างทั่วถึงในทุกความต้องการของตลาด ไม่เว้นกระทั่งคุณลุงวัยไม้ใกล้ฝั่งที่แบกไหอันแน่นไปด้วยเงิน เดินเข้ามา ขอคำแนะนำปรึกษาจากพ่อหนุ่ม K Hero Eagle ผู้แม่นยำ ซื่อตรง มั่นคง ทรงพลัง ซึ่งยืนคอยท่าให้บริการลูกค้าอยู่ตรงหน้าเคาน์เตอร์บริษัท K-Assets ให้ช่วยคุณลุงหาแหล่งลงทุนที่จะทำให้เกิดดอกผลงอกแก่เงินทองที่สู้อุตส่าห์เก็บออมมา

แต่ที่เห็นจะครึกโครมคือการออกมาจัดงานแถลงข่าวแบบถี่ยิบแทบไม่เว้นเดือน เพื่อเปิดตัวโปรดักส์ใหม่ๆ ที่ครอบคลุมครบถ้วนทั้งในตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสาร หนี้ ก่อนเปิดแถลงข่าวการจัดกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง เพื่อสร้างความชัดเจนในการเสนอ บริการด้านสินเชื่อ การให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินป้องกันความเสี่ยง และการให้คำปรึกษาเพื่อระดม ทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ เมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา

ล่าสุดอีกครั้ง ในวันที่ 25 มกราคม โดยคราวนี้เป็นการมาของประธานเจ้าหน้าที่ KBank บัณฑูร ล่ำซำ ซึ่งได้นัดหมาย ให้ผู้สื่อข่าวมาร่วมฟังแถลงข่าวภาพรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดของการให้บริการจากบริษัทในเครือ KBank Group ทั้ง 6 แห่ง

แม้การปรับโครงสร้างองค์กรธุรกิจในกลุ่ม จนสามารถแตกกิ่งก้านสาขาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเกื้อหนุนการทำธุรกิจระหว่างกัน โดยร่วมกันเสนอบริการภายในกลุ่ม ให้แก่ลูกค้าผู้ซึ่งกำลังเลือกหาสินค้าที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ความต้องการของตนเองได้ทุกรูปแบบของการใช้ชีวิต และทุกช่วงเวลาที่ต้องการก็ตาม แต่กิ่งก้านที่แผ่กว้างนี้ ก็ทำให้เกิดการแตกไลน์บริการและสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากมายหลายประเภท จนอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาใน 2 ด้านด้วยกัน

ด้านหนึ่งคือ ความสับสนของตัวเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ในแต่ละบริษัท ซึ่งอาจยังไม่แน่ใจว่า พวกเขาควรจะข้ามไปเลือกหยิบเอาผลิตภัณฑ์หรือบริการใดจากบริษัทไหนในเครือ KBank Group มานำเสนอให้ได้ตรงกับความต้องการใช้บริการตามสไตล์ชีวิตลูกค้าให้ได้มากที่สุดตามที่แต่ละคนต้องการ

ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือ จำนวนสินค้าที่มีมากมายจากผู้ให้บริการนอกกลุ่ม ที่ขยันส่งมาลงตลาดอย่างไม่หยุดหย่อน แต่หากมองผิวเผินแล้วลักษณะสินค้าและบริการอาจไม่ต่างกัน จึงทำให้ตลาดซึ่งเคยสับสนกันอยู่ก่อนหน้า จากจำนวนสินค้าทั้งหมดที่มีนั้น สินค้าของค่ายใดที่จะช่วยตีโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้แตกได้ในทุกช่วงเวลา และทุกรูปแบบในไลฟ์สไตล์ที่มี ก็ยิ่งสับสนมากขึ้นไปอีกเมื่อคนเห็นสินค้าใหม่ๆ วางขายจนล้นตลาด

"ตอนนี้คนเสนอก็งงว่าตัวเองควรเสนออะไร สินค้ามีเยอะไปหมด ส่วนลูกค้าเองก็งง ไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร พอคิดว่าจะมาขอให้ KBank ช่วยแนะนำ ก็เกิดจะงงกันขึ้นมาอีกว่าควรไปบริษัทไหนดี เพราะมีถึง 6 บริษัทในเครือ คิดไม่ออกเลยตัดสินใจมาหาที่แบงก์ก่อน พอมาถึงคนของเราก็งง อีกว่าจะเอาสินค้าอะไรในเครือมาแนะนำ ไปๆ มาๆ ต่างคนเลยต่างพากันนั่งงงอยู่ตรงนั้น คิดไม่ออก ไม่รู้ จะช่วยกันหาทางออกได้ยังไง ไอ้ผมที่นั่งทำงานอยู่ข้างบนก็งงเหมือนกัน ไม่รู้ว่าทำไมคนที่อยู่ข้างล่างถึงงงกัน" บัณฑูรกล่าวอย่างกลุ้มใจ

นั่นคือที่มาที่บัณฑูรและผู้บริหารทุกบริษัทในเครือต้องพากันมาแถลงข่าว เพื่อแจ้งให้ทราบทั่วกันว่า ตอนนี้ KGroup ได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้บริการภายใต้สัญลักษณ์ K Excellence

กลุ่มแรก คือ กลุ่มฝากถอนและปฏิบัติการ ได้แก่ K Dabit Card, K ATM, K Cyber Banking, K Money Transfer, K Currency Exchange, และ K Contact Center ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ KBank จะเป็นผู้ให้บริการ

กลุ่มที่สอง กลุ่มเงินออมและเงินลงทุน ได้แก่ K Stock Trade, K Mutual Fund ซึ่งจะเป็นหน้าที่ ของบริษัท K Securities

กลุ่มที่สาม กลุ่มระดมและการกู้ยืม ได้แก่ K Auto Finance ผลิตภัณฑ์นี้บริษัท KLeasing จะเป็นคนดูแล, บริษัท KFactoring จะให้บริการ K Global Factoring, ขณะที่ K Personal Credit, KSME Credit, และ K Home Loan จะเป็นหน้าที่ของ KBank

กลุ่มสุดท้าย กลุ่มป้องกันความเสี่ยงและสารสนเทศ ได้แก่ K Research Econanalysist ซึ่งเป็นบริการด้านบทวิจัยของบริษัท K Research, และ K Bancassurance จะเป็นผลิตภัณฑ์ด้านประกันชีวิตและทรัพย์ที่ KBank จะเป็นผู้ให้บริการเอง

"ผมไม่ได้ต้องการให้ลูกค้าจำว่าเรามี (สินค้า) อะไร มากไปกว่าที่ให้จดจำตัว K ไว้เพียงตัวเดียวก็พอ และเมื่อใดก็ตามที่เขาต้องการใช้บริการ ทางการเงิน แต่นึกไม่ออกว่าตัวเองจะเหมาะกับตัวไหน หรือไม่รู้ว่าจะหันไปพึ่งใครแล้ว ผมก็ขอให้นึกถึงตัว K แล้วก็รีบมาหาเราก่อนเป็นที่แรก" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KBank กล่าว

การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อให้บริการนี้ เป็นอีกหนึ่งปรัชญาใหม่ในการทำธุรกิจของกลุ่ม KGroup ที่บัณฑูรเคยย้ำนักว่า การให้บริการที่เอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เน้นความสะดวกรวดเร็ว และสามารถเสนอบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้นั้น จะเป็นมิติปัจจัยหลักที่นำมาชี้วัดได้ถึงความสำเร็จของผู้ให้บริการที่สามารถเอาตัวเองเข้าไปใส่ไว้ในใจของลูกค้าได้ และการเคลื่อนไหวครั้งนี้ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการสนับสนุนปรัชญาแนวคิด Customer Centric ของท่านซีอีโอบัณฑูรแห่ง KBank ที่ตระหนักในข้อเท็จจริงที่ว่า มันเป็นเรื่องยากที่ธนาคารแต่ละแห่งจะทำ financial branding เพราะโดยพื้นฐานสินค้าที่ธนาคารเสนอให้แก่ตลาดไม่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่จะสร้างความ ต่างระหว่างกันได้คือใครจะให้บริการได้ดีกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us