Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549
กรณี รพ.พญาไท บทเรียนธุรกิจ-การเมือง             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 

   
related stories

อาทิตย์ อุไรรัตน์ The Last Hero?
มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่รู้จะเอาเงินหรือกล่อง

   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลพญาไท
โฮมเพจ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

   
search resources

ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย, บจก.
โรงพยาบาลพญาไท
วิชัย ทองแตง
Hospital
อาทิตย์ อุไรรัตน์




ครั้งหนึ่งในปี 2527 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เคยได้รับการยกย่องให้เป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จยิ่ง จากการเข้าไปแก้ปัญหาการขาดทุนอย่างมโหฬารในการประปานครหลวง (กปน.) จนคนใน กปน.ที่เคยต้องทนอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี เริ่มกลับมามีหน้ามีตาได้อีกครั้ง

แต่กับความพยายามของเขาในช่วง 1-2 ปีหลังมานี้ ที่ต้องดิ้นรนแก้ไขวิกฤติจากการสูญเสียอำนาจการบริหารกิจการในโรงพยาบาลพญาไท ธุรกิจแรกของครอบครัวอุไรรัตน์ ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี 2519 และต้องล้มลงหลังลอยค่าเงินบาทเมื่อกลางปี 2540 นั้น ดูเป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง!!!

โมเดลการทำธุรกิจของโรงพยาบาลพญาไทในอดีตนั้น ถูกวางไว้ให้เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นกิจการแห่งที่ 2 ของตระกูลอุไรรัตน์ ที่เกิดขึ้นตามมาในราวปี 2533 ด้วยหวังว่าจะพัฒนาให้มหาวิทยาลัยรังสิตก้าวขึ้นเป็นโรงเรียนทางการแพทย์ของเอกชนแห่งแรก โดยมีโรงพยาบาลพญาไทเป็น ที่ฝึกปฏิบัติงาน

แต่โครงการนี้ อย่างไรก็ไม่สำเร็จ เพราะคนไข้ของโรงพยาบาลพญาไทเป็นกลุ่ม ผู้มีอันจะกิน ซึ่งรักความเป็นส่วนตัว และจะอึดอัดทุกครั้ง หากต้องเห็นอาจารย์หมอเดินนำหน้ากลุ่มแพทย์อินเทิร์น ผ่านประตูห้องเข้ามายืนมุงดูอยู่รอบเตียง เพื่อศึกษาพัฒนา การของโรค และวิธีตรวจรักษา

ยังมีปัญหาว่าชนิดโรคของคนไข้ที่มานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้น ไม่หลากหลายพอที่นักเรียนหมอจะเห็นถึงทุกระดับขั้น ในอาการเจ็บป่วย แถมแพทยสภา สื่อมวลชน ยังตั้งวงวิพากษ์ถามหามาตรฐานว่าที่คุณหมอ ที่ร่ำเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชนจนจบจากการฝึกงานในโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นเจ้าของ มหาวิทยาลัยที่พวกตนศึกษาอยู่ด้วย

ดร.อาทิตย์จึงหันมาเดินตามแนวทางการฝึกงานนิสิตแพทย์ใน Harvard Medical University โรงเรียนแพทย์อันโด่งดังแห่งสหรัฐฯ ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงพยาบาล แต่อาศัยความร่วมมือกับ Massachusetts General Hospital โรงพยาบาลของรัฐ เพื่อขอใช้โรงพยาบาลเป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษาก่อนที่จะนำวิธีนี้เข้ามาใช้ที่มหาวิทยาลัย รังสิต โดยผูกความร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเด็ก

ในช่วงแรกนั้นโรงพยาบาลราชวิถีไม่เต็มใจกับโครงการนี้นัก เพราะไม่อยากแบก รับภาระการฝึก นศ. แพทย์จากมหาวิทยาลัยรังสิตเพิ่มจากที่ต้องทำงานประจำในการรักษาคนไข้ในโรงพยาบาล ที่แต่ละวันก็เหน็ดเหนื่อย มากพออยู่แล้วและงานสอน นศ.แพทย์นั้นใช่ว่าหมอทุกคนจะทำได้ เพราะต้องผ่านการฝึกอบรมมาก่อน

ความพยายามที่จะอาศัยโรงพยาบาลของรัฐมาเป็นเครือข่ายในการฝึกงานนี้ได้เกิดขึ้นจริงหลัง ดร.อาทิตย์ขนทีมแพทย์ 20 ชีวิตจาก โรงพยาบาลรามาธิบดี เดินทางไปดูงานและเข้ารับการอบรมใน Harvard Medical University แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน หลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ข้อหาใช้ตำแหน่งทางการเมืองเอื้ออำนวยธุรกิจให้เอกชน

Harvard Medical University ยังได้เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมของโรงพยาบาลพญาไท เพื่อช่วยพัฒนาโรงพยาบาลแห่งนี้ให้มีความเชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยเฉพาะทาง ซึ่งเริ่มต้นด้วยการจัดตั้งศูนย์โรคหัวใจขึ้นมา ก่อนทั้ง 2 จะเริ่มพูดจากันถึงแผนขยายความร่วมมือในการจัดตั้งห้องแล็บแบบก้าวหน้า เพื่อใช้วิเคราะห์ วิจัยโรคซับซ้อนต่างๆ รวมถึงแผนจัดตั้งศูนย์รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

แต่การเจรจาความร่วมมือนี้ต้องหยุดชะงักลงจากการล้มของโรงพยาบาลพญาไท ในปี 2540

เมื่อปีที่แล้ววิชัย ทองแตง ซึ่งก้าวเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโรงพยาบาลพญาไท ประกาศ ว่าเขาจะกลับไปเริ่มต้นเปิดการเจรจาความร่วมมือต่างๆ ที่โรงพยาบาลพญาไทเคยมีกับ Harvard Medical University อีกครั้ง หลังจากทิ้งช่วงความร่วมมือมานานเป็นเวลา 9 ปี

สาเหตุการล้มของกิจการโรงพยาบาลพญาไทครั้งนี้ ไม่แตกต่างไปจากการล้มละลาย ของกิจการอีกจำนวนมาก หลังรัฐบาลประกาศลอยค่าเงินบาท แต่ที่ดูแตกต่างคือระดับความมั่นใจของเจ้าหนี้ ที่จะมีต่อฝีไม้ลายมือของผู้บริหารกิจการแต่ละแห่ง

เช่นกรณีของ ดร.อาทิตย์ที่ได้รับบทเรียนนี้ ภาพความเป็นวีรบุรุษประชาธิปไตยในอดีต ของเขา ไม่มีน้ำหนักในการเจรจากับเจ้าหนี้เลยแม้แต่น้อย!!!

หลังจากใช้เวลานับสิบปี สั่งสมชื่อเสียงและขยายกิจการจนเติบใหญ่ จนกลายมาเป็น ต้นแบบโรงพยาบาลเอกชนที่ครบครันไปด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมือทางการแพทย์ใน การรักษาโรคเฉพาะทางอย่างโรคหัวใจ ซึ่งเป็นตัวอย่างการพัฒนาธุรกิจโรงพยาบาลของกลุ่มที่มาทีหลัง

การล้มของโรงพยาบาลพญาไท เป็นการล้มในลักษณะเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่อื่นๆ ที่อาศัยเงินกู้ยืมทั้งจากตลาดทุนและตลาดเงิน ในยามเศรษฐกิจเฟื่องฟูมาลงทุนในกิจการหนี้สินที่เคยมี 5,000 ล้านบาท เมื่อรวมเงินต้นและดอกเบี้ย ยอดหนี้ก็พุ่งขึ้นเป็น 13,500 ล้านบาท หลังการประกาศลดค่าเงินบาท จนเป็นเหตุให้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูในศาลล้มละลายกลาง

เป็นที่มาของการว่าจ้างบริษัทไพร์ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ (PWC) มาทำหน้าที่เป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างทางการเงิน ตามคำแนะนำของไกรวิน ศรีไกรวิน หนึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่ บล.ธนชาติ ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินอีกรายในโรงพยาบาลพญาไทในเวลานั้น

ปัจจุบันไกรวินลาออกจาก บล.ธนชาติมานั่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ โรงพยาบาลพญาไทร่วมกับ PWC

การเข้ามาจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการของ PWC เริ่มในปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ดร.อาทิตย์ ต้องทิ้งโรงพยาบาลพญาไทเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เป็นเรื่องที่ ดร.อาทิตย์เองก็ยอมรับว่าการเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น ทำให้เขาต้องใช้เวลาทำงานในกระทรวงอย่างเต็มตัว จนไม่มีเวลาดูแลโรงพยาบาลพญาไทที่กำลังอยู่ในกระบวนการทำแผน

เขาไว้วางใจ PWC มากจนเกินไป

ระหว่างการทำแผน PWC ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของโรงพยาบาลพญาไท อ้างว่าเจ้าหนี้ต่างประเทศของโรงพยาบาล ต้องการให้ PWC เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่ทางกลุ่มเจ้าหนี้ด้วย ดร.อาทิตย์ไม่ปฏิเสธคำขอนี้ เนื่องจากเห็นว่าการยอมให้ PWC เป็นที่ปรึกษาทางการเงินไปพร้อมกันทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และลูกหนี้ น่าจะเป็นผลดีกับทางโรงพยาบาลพญาไทในแง่การลดต้นทุนการจ้าง เพราะเจ้าหนี้และลูกหนี้จะได้ไม่ต้อง มาต่อสู้กันมากนัก

"ไอ้ความซื่อและเซ่อของผม ก็คิดว่าจะเป็นอะไรไปล่ะ ก็ให้ไพร์ซฯ ทำทั้ง 2 ฝ่าย เราไม่มีอะไรซ่อนเร้น เอาอะไรกันอย่างแฟร์ๆ เราเปิดเผยอยู่แล้ว ก็ไม่ขัดข้องให้เขาเป็น" ดร.อาทิตย์เล่า

อย่างไรก็ตาม กระบวนการปรับโครง สร้างหนี้โรงพยาบาลพญาไทได้สิ้นสุดลงเมื่อ ปี 2544 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่รัฐบาลชวน หลีกภัย หมดวาระ และดร.อาทิตย์ประกาศยุติบทบาททางการเมืองและตั้งใจจะกลับมาบริหารกิจการโรงพยาบาลพญาไทอีกครั้ง

แต่ไม่ทันกาล เนื่องจาก PWC ได้ยื่นขอเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการเองเสียก่อน โดยใช้ทุนราว 1-2 ล้านบาท ตั้ง Price Water House Coppers Restructuring Company บริษัทลูกเข้าทำหน้าที่ดังกล่าว ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากกลุ่มอุไรรัตน์ที่ต้องการให้ PWC ทำตามกฎหมายโดยคืนกิจการให้แก่ผู้บริหารเดิม

ท่ามกลางความพยายามของกลุ่มผู้บริหารแผนจาก PWC ที่กีดกันไม่ให้กลุ่มอุไรรัตน์เข้ามารับรู้เรื่องราวภายในกิจการโรงพยาบาลพญาไท การต่อสู้เพื่อชิงอำนาจการบริหารกิจการโรงพยาบาลพญาไทระหว่าง 2 กลุ่มนี้ ได้ขยายวงกว้างจนถึงปี 2546 ที่ PWC สั่งปลดประสิทธิ์ อุไรรัตน์ บิดา ดร. อาทิตย์ ออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทประสิทธิ์พัฒนา หลังประสิทธิ์ได้ส่งจดหมายลาออกไปยังผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 1, 2 และ 3

กลุ่มอุไรรัตน์ไม่ปฏิเสธว่าประสิทธิ์เป็นผู้ส่งจดหมายลาออกนั้นจริง เพราะไม่อาจทนเห็นเจตนารมณ์ในการก่อตั้งโรงพยาบาล ต้องถูกทำลายลงจากการขูดรีดค่ารักษาพยาบาลเพื่อนำมาใช้หนี้เจ้าหนี้ แต่เมื่อลูกหลานอุไรรัตน์รู้ข่าวในภายหลัง ก็ได้เรียกจดหมายคืนจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่ง เว้นโรงพยาบาลพญาไท 2 ที่ไม่ยอมส่งจดหมายคืน โดยอ้างว่าทำจดหมายหายไปแล้ว

ความขัดแย้งนี้จึงขยายตัวต่อ โดยกลุ่มอุไรรัตน์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอให้การกระทำของ PWC ขัดต่อกฎหมาย ที่กำหนดห้ามไม่ให้มีการออกคำสั่งปลดผู้บริหาร ในระหว่างแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ PWC กลายเป็นฝ่ายชนะจากการแสดงจดหมายลาออกของประสิทธิ์ที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 อ้างว่าทำหาย เป็นหลักฐานต่อศาลว่าประสิทธิ์ลาออกเอง สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มอุไรรัตน์จนต้องฟ้อง PWC ในคดีอาญาข้อหาปลอมแปลงเอกสาร

แม้กลุ่มอุไรรัตน์จะยื่นคำร้องไปยังศาลชั้นต้นพิจารณาคำตัดสินของศาลล้มละลายกลางในกรณีนี้ใหม่ แต่ PWC ก็ยังเป็นฝ่ายชนะอีก

โดยตั้งแต่ปี 2544 PWC และกลุ่มอุไรรัตน์ มีปัญหากระทบกระทั่งกันเป็นทุนเดิมอยู่หลายเรื่อง เช่นการเรียกเก็บค่าจ้างบริหารแผนในราคาแพงถึง 140 ล้านบาทภายใน 7 เดือน จากการกำหนดค่าจ้างให้แก่คนจาก PWC ในอัตรา 12,000 บาทต่อคนต่อชั่วโมง

แม้ดร.อาทิตย์จะแก้เกม โดยเสนอตัวเข้าบริหารแผนฟื้นฟูกิจการแบบไม่คิดค่าจ้างในโรงพยาบาลพญาไทแทน PWC ทำให้ PWC ต้องยอมลดราคาค่าจ้างลงมาเหลือ 1.2 ล้านบาท ต่อเดือนต่อโรงพยาบาล 1 แห่ง แต่เจ้าหนี้ก็ยังคงเห็นชอบให้ PWC บริหารกิจการต่อไป เนื่อง จากเห็นว่าเป็นมืออาชีพที่มีชื่อเสียงระดับโลก

จุดสูงสุดของความขัดแย้งเกิดขึ้นหลังวันที่ 30 กันยายน 2546 เมื่อ PWC ยื่นขอศาลล้มละลายพิจารณาอนุมัติการออกจากแผนปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทประสิทธิ์พัฒนา จากมูลหนี้ 1.35 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งเป็นคงหนี้เดิมไว้ 4.8 พันล้านบาท โดยพักดอกเบี้ยจำนวน 1.1 พันล้านบาท นอกจากนี้ยังได้กู้ยืมเงินจากธนาคารกรุงไทยเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้อีกราว 4 พันล้านบาท โดย บล.ฟินันซ่าเป็นผู้จัดหาเงินกู้เพื่อการรีไฟแนนซ์ครั้งนี้

เจ้าหนี้ได้ hair cut หนี้ลงอีก 6 พันล้านบาท พร้อมแปลงหนี้เป็นทุน 520 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 1.50 บาท ซึ่งทำให้เจ้าหนี้กลายเป็นผู้ถือหุ้นข้างมาก 80% ส่วนหุ้นของกลุ่มอุไรรัตน์ลดลงเหลือเพียง 3-4% จากเดิมที่เคยถืออยู่ 17.5% ส่วนหนี้ที่เหลือเป็นการตีทรัพย์ชำระหนี้ในหลายรายการ

โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 15.76%, West-deutsche Landesbank Girozentrale, si 15.04%, กลุ่ม Health Care Capital Investments Limited จากสิงคโปร์ 12.90%, บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท 8.50% และธนาคารกรุงเทพ 8.45%

อย่างไรก็ตาม หลังออกจากแผนฟื้นฟูฯ แล้ว เจ้าหนี้ได้พยายามหาพันธมิตรใหม่เข้ามาบริหารกิจการโดยเชิญกลุ่มวิชัย ทองแตง ผู้บริหารในเครือโรงพยาบาลเปาโล มาเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นในกลุ่มธนาคารต่างประเทศ โดยตั้งเงื่อนไขว่าหากบริหารประสบ ความสำเร็จและสร้างผลการดำเนินงานเป็นที่พอใจก็จะยอมขายหุ้นให้บางส่วน

ในที่สุดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา ก็ปรากฏชื่อวิชัย ทองแตง เข้าซื้อหุ้นประสิทธิ์ พัฒนาจาก westlb ag, singapore branch ทำให้ถือครองหุ้นในสัดส่วนกว่า 25% จนนำไป สู่การนำไปสู่การตั้งโต๊ะเพื่อทำ tender offer จากนักลงทุนรายย่อยในราคาหุ้นละ 0.357 บาท โดยมี บล.ซีมิโก้เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

วิชัย ทองแตง เป็นทนายความผู้โด่งดัง จากคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เริ่มต้นลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลครั้งแรกเมื่อปี 2542 จากการซื้อโรงพยาบาลศิครินทร์ ซึ่ง เป็นโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยประกันสังคมของกลุ่มจุลดิศที่กำลังขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยเข้าไปนั่งเป็นประธานเพื่อบริหารโรงพยาบาลจนกิจการเริ่มดีขึ้น และเขาก็ขายหุ้น คืนให้แก่เจ้าของเดิมในปี 2545

ในปี 2543 เขายังได้เข้าซื้อหุ้นโรงพยาบาลเปาโล 70% ก่อนรุกต่อไปยังโรงพยาบาลวชิรปราการ และโรงพยาบาลอุดรปัญญาเวช ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล ประชาเวช ก่อนจะมาทำข้อตกลงซื้อหุ้นโรงพยาบาลพญาไทจากเจ้าหนี้ต่างประเทศ 20% หลังกิจการนี้ออกจากแผนฟื้นฟูแล้ว

"ผมเพิ่งมารู้ทีหลังว่าคุณวิชัยมีหุ้นที่ซื้อเก็บในนามตัวเอง 25% และในนาม Health Care 12-13% ตอนนี้คนที่ Health Care ที่ถือไว้ ก็กำลังจะโอนไปให้คุณวิชัยโดยตรง เพราะถ้าเผื่อถือในนาม Health Care เอง มันต้องไปเสียภาษีในนามบริษัท คุณวิชัยจึงมีหุ้นทั้งหมด 38% เราเคยลดหุ้นจาก 10 บาท เหลือ 1 บาท ผู้ถือหุ้นเดิมก็เจ็บตัวอยู่แล้ว ทางแบงก์ต้นทุนที่ได้มา ก็ราว 1.50 บาท จะให้มาขาย 37 สตางค์ ก็ไม่มีใครขายเท่าที่ผมรู้ แต่คุณวิชัยเขาก็มีอยู่แล้ว 38% ผมว่าเขาก็คงไม่ care เท่าไร" ดร.อาทิตย์กล่าว

ขณะที่กลุ่ม ดร.อาทิตย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อคัดค้านคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่อนุมัติให้โรงพยาบาลพญาไทออกจากแผนฟื้นฟูฯ ใน 2 ประเด็นคือ 1. กระบวนการออกจากแผนฟื้นฟูนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจาก PWC ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาทำแผนฟื้นฟูฯ ยังทำหน้าที่ ไม่ครบถ้วน จากการที่ไม่ส่งกิจการคืนให้แก่ผู้บริหารเดิม

และ 2. ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกระทำการทุจริต โดยปลอมแปลงเอกสารจดหมายลาออก ของประสิทธิ์ และยังได้กระทำการที่ขัดต่อกฎหมายล้มละลายในการสั่งปลดผู้บริหารระหว่างการฟื้นฟูกิจการ

แต่ศาลชั้นต้นมีคำตัดสินยืนตามผลการพิจารณาอนุมัติการออกจากแผนฟื้นฟูฯ ของศาล ล้มละลายกลาง ต่อมากลุ่มอุไรรัตน์ได้ยื่นคำร้องต่อยังศาลฎีกา จนกระทั่งเมื่อราวปลายเดือนพฤศจิกายนปีก่อน ศาลฎีกาได้พิจารณารับคำร้องสั่งให้ยกเลิกคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งหมด

โดยให้ศาลล้มละลายกลางกลับไปไต่สวนตามคำร้องของกลุ่มอุไรรัตน์ใหม่ทั้ง 2 กรณี เนื่องจากคำคัดค้านของผู้ร้องฟังขึ้น เพราะยังมีประเด็นที่ว่า ผู้ร้องได้มีการชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลล้มละลายในหลายประเด็น แต่ระหว่าง การพิจารณาในศาลชั้นต้นนั้น กลับไม่มีการเปิดเทปวิดีโอที่ใช้บันทึกคำชี้แจงอันเป็นสาระสำคัญในการคัดค้านความไม่ถูกต้องของ พยานปากสำคัญ

"ช่วงที่เกิดปัญหาเมื่อ 2-3 ปีก่อน ผมไม่มีโอกาสได้คุยกับเจ้าหนี้ เพิ่งจะมีโอกาส ตอนที่ศาลตัดสินแล้ว ก่อนหน้านี้เราจะไปคุย ก็ไม่รู้จะไปคุยอะไร เราก็ไม่มี back up ให้ไปคุยทางเจ้าหนี้ก็รู้ว่าทางโน้นเขาชนะ ทางโน้นเขา run กิจการอยู่ ผมไปพูดลมๆ แล้งๆ เขาก็ไม่พูดด้วย แม้กระทั่งเดี๋ยวนี้ เขาก็คิดว่า มันจบแล้ว เขาได้หนี้คืนไปแล้ว เขาก็ไม่อยาก จะยุ่ง ตามความรู้สึกของผมนะ" ดร.อาทิตย์กล่าวถึงท่าทีจากฝั่งธนาคารเจ้าหนี้

สำหรับการนัดไต่สวนข้อพิพาทในศาลล้มละลายนัดแรก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากกลุ่มอุไรรัตน์ยังตระเตรียมเอกสารไม่พร้อม

โดยศาลนัดให้เปิดการไต่สวนของกลุ่มอุไรรัตน์ตลอดทั้งวันในวันที่ 8 มีนาคม และ 21 มีนาคมที่จะถึงนี้ ขณะที่การไต่สวนในฝ่าย PWC จะเกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 23 มีนาคม และตลอดทั้งวันในวันที่ 28 มีนาคม

ขณะเดียวกัน แผนการถอนกิจการโรงพยาบาลพญาไทออกจากหุ้นในกลุ่มฟื้นฟูกิจการ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีอันต้องเลื่อนยืดยาวออกจากกำหนดในวันที่ 27 มีนาคม เช่นเดียวกับ แผนทำ tender offer ของกลุ่มวิชัย ที่จะต้องถูกเลื่อนออกไปจนกว่าข้อพิพาทนี้จะจบสิ้นลง

ดร.อาทิตย์บอกว่าการยื่นคำคัดค้านต่อศาลในครั้งนี้ เขาไม่ได้มุ่งประเด็นที่จะกลับเข้า ไปเป็นผู้บริหารกิจการเป็นประเด็นแรก เพียงแค่ต้องการพิสูจน์ให้เกิดบรรทัดฐานที่ถูกต้องว่า PWC ไม่สามารถดำเนินการในแบบที่ตัวเองเคยกระทำได้ และการฟื้นฟูกิจการโรงพยาบาลพญาไท ควรต้องกลับไปสู่การเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

ต้นทุนความพยายามในการสร้างเนื้อสร้างตัวของครอบครัวอุไรรัตน์ในโรงพยาบาลพญาไท นั้น มีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินจากการลงขันตามกำลังทรัพย์ที่มีจากบรรดา เพื่อนๆ ของประสิทธิ์ เงินที่มาจากการขายที่ดินสวนยางจำนวน 80-90 ไร่ ที่ ดร.อาทิตย์ได้รับเป็นมรดกโดยตรงจากปู่ของเขา รวมถึงเงินที่มาจากการกู้ยืมธนาคารกรุงไทย โดยใช้บ้านที่ดร.อาทิตย์อาศัยอยู่ในปัจจุบันเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่นับรวมถึงความผูกพันทั้งหมดของคนในตระกูลที่มีต่อคำว่าประสิทธิ์พัฒนา ที่มาจากชื่อพ่อและแม่ของ ดร.อาทิตย์

"พวกเราเอาชีวิตทั้งชีวิตมาฝังอยู่ในนี้ ชื่อบริษัทก็ชื่อพ่อชื่อแม่ผม พูดถึงว่า เสียดายไหม ที่มันเป็นทรัพย์สมบัติ ผมไม่ได้เสียดายในทรัพย์สมบัติมากไปกว่าความถูกต้อง นี่มันโจรนะ มันปล้นกันชัดๆ พูดกันดีๆ มาเจรจากันดีๆ แค่นี้ ผมไม่ได้ยึดติดอะไร เพราะหุ้นเราก็นิดเดียว และมันก็เป็นกิจการที่ไม่ใช่ว่าเราต้องเป็นเจ้าของใหญ่ หุ้นใหญ่ ถึงจะเป็นผู้บริหาร แต่มันเป็นอะไรที่ไม่เหมือนเพื่อน" ดร.อาทิตย์บรรยายความผูกพันที่เขามีต่อโรงพยาบาลพญาไท และท่าทีในการเข้ามาเทกโอเวอร์กิจการจากคนในตระกูลทองแตง

ตลอดชีวิตของ ดร.อาทิตย์ เขาเคยถูกฟ้องร้องในคดีโกงการเลือกตั้งมาแล้วถึง 2 ครั้งแพ้ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก่อนไปชนะทุกคดีที่ศาลฎีกา ทำให้เขาพอมีความหวังอยู่บ้าง กับคดีที่กำลังเป็นความอยู่ในขณะนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us