|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"เอฟทีเอ"ถล่มการตลาดไทยป่วน ทัพเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ไทยรอวันตาย ล่าสุดสินค้าจีนเข้ามาเปิดศึกเต็มรูปแบบ อัดงบบูมตราสินค้าแจ้งเกิด ระบุ 5 ปี 10 แบรนด์เกิดใหม่ ตลาดนมไทย รอบทพิสูจน์ 6 ปีจะหมู่หรือจ่า ล่าสุด มะลิร่วมทุนคัมพินายักษ์อุตสาหกรรม นมเนเธอร์แลนด์รับมือ ส่วนตลาดไวน์ไทยไม่ต้องลืมตาอ้าปาก ไวน์โลก ใหม่บูมแน่
นายเมธา โรจนชัยชนินทร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ทีซีแอล อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ทีซีแอล เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า จากการที่ประเทศไทยเปิดเขตการค้า เสรีระหว่างประเทศหรือเอฟทีเอกับประเทศจีน เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสินค้า อีกหมวดหนึ่งที่อยู่ภายใต้ข้อตกลง ที่ประเทศไทยจะต้องทลายกำแพงภาษีนำเข้าลง จากปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีน เสียภาษีนำเข้า เฉลี่ยประมาณ 30% และจะลดลงปีละ 5% โดยภายใน 5 ปีเหลือ 0%
การทลายกำแพงภาษีที่ลดลงเรื่อยๆ เป็นตัวพลิกตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าไทยใหม่ เพราะโครงสร้างตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปโดยเฉพาะเรื่องราคา ภายใต้เงื้อมมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีน ที่จะใช้กลยุทธ์ ราคาเข้ามาโจมตีตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ไทย จากเดิมที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีน ที่ว่าถูกแล้ว นับวันก็จะยิ่งถูกลงเรื่อยๆ ยกตัวอย่าง เครื่องปรับอากาศ 9000 บีทียู ปัจจุบันจำหน่าย 12,400 บาท อาจจะเหลือเพียง 9,000 บาท หากภาษีเหลือ 0% เป็นต้น
โครงสร้างตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ไทยโดยรวม แบ่งเป็น ตลาดระดับบนประมาณ 20% โดยมีผู้เล่น อาทิ โซนี่ ซัมซุง และฟิลิปส์ ระดับกลาง 50% ได้แก่ พานาโซนิค โตชิบา ชาร์ป และระดับล่าง 30% ได้แก่ สินค้าจากจีน ไฮเออร์ ทีซีแอล และสินค้าแบรนด์ไทย ได้แก่ ธานินทร์ ไดมอน แฟมิลี่ เอสเคจี อาร์ซีอาร์ ในส่วนของ ราคาเมื่อเปรียบตลาดล่างกับกลางห่างกันราว 15-20% ระดับกลางกับบน ห่าง 5-10% และล่างกับบนห่าง 20-30%
เอฟทีเอไทยกับจีน ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าคลื่นกระทบลูกแรกคง เป็นแบรนด์ไทย เพราะอยู่ในตลาดเดียวกับจีน ส่วนคลื่นกระทบลูกที่สองเป็นตลาดระดับกลาง เพราะโดนประกบเป็นแซนด์วิช คือ เจอทั้งกลยุทธ์ราคาจากสินค้าจีน และตลาดระดับบนที่เล่นในเรื่องของ อิมเมจและนวัตกรรมของสินค้า รวมทั้งสงครามราคาบ้าง
เครื่องใช้ไฟฟ้าโหมสร้างแบรนด์
นายเมธา กล่าวว่า การก้าวเข้า มาของผู้ประกอบการจีนในครั้งนี้ไม่ธรรมดา จากเดิมอาจจะอาศัยกลไกราคาที่ถูกกว่ามาทำตลาด แต่ไม่ได้มีการสร้างแบรนด์อย่างจริงจัง แต่หลังจากเอฟทีเอมีผล ทำให้ผู้ประกอบการจากจีนมองเห็นศักยภาพตลาดในไทยมากยิ่งขึ้น และไม่เพียงแต่เข้ามาขายเฉยๆ แต่เป็นการสร้างแบรนด์อย่างจริงจัง รวมทั้งเข้ามาอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อใช้ความหลากหลายเรียกความมั่นใจ จากผู้บริโภคไทย
สำหรับปีนี้อย่างน้อยจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาทำตลาด 2 แบรนด์ ได้แก่ ต้าถุง และถังหงส์ เพราะในขณะนี้ถือว่าภาวะเศรษฐกิจ ไทยที่ไม่ค่อยดีมากนัก ประกอบกับกำลังซื้อของคนที่ลดลง เป็นช่วงที่จะทำให้สินค้าจากจีนจะได้รับการยอมรับและตอบรับมากขึ้น และคาดว่าภายใน 4-5 ปีแบรนด์จากจีน จะเข้าทำตลาดไทยมากกว่า 10 แบรนด์ จากปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีนที่เข้ามาทำตลาด ได้แก่ ไฮเออร์ และทีซีแอล เท่านั้น
แนะสินค้าไทยสร้างแบรนด์รับมือ
นายเมธี กล่าวว่า ผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับตัว โดยหันมาเน้นการสร้างแบรนด์ ยกตัวอย่าง แฟมิลี่ ถือเป็นแบรนด์ไทยรายแรกที่กลับมาให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ เพราะการแข่งขันด้านราคาแบรนด์ไทยขณะนี้ไม่สามารถสู้กับสินค้าจากประเทศจีนได้ โดยปัจจุบันการทำตลาดของแบรนด์ไทย พื้นที่เหลือในขณะนี้คือตลาดในต่างจังหวัดเท่านั้น ขณะที่กลยุทธ์การตลาด คือ การลดราคาอย่างหนักประมาณ 25-30% ซึ่งผลที่ตามมา คือ คุณภาพสินค้าลดลง
แบรนด์ญี่ปุ่น-เกาหลีปรับตัว
นายเมธี กล่าวว่า ที่ผ่านมาโซนี่และซัมซุงจะเป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าระดับกลาง-บน ในช่วงเริ่มทำตลาดทั้งสองแบรนด์ จะเน้นเจาะตลาดกลางเป็นหลัก แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาโซนี่และซัมซุง ทุ่มงบเป็นจำนวนมาก เพื่อยกระดับตราสินค้าไปสู่ระดับไฮเอนด์มากยิ่งขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาตีตลาดในไทย ประกอบกับการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภค ยังคำนึงถึงตราสินค้าเป็นส่วนสำคัญอยู่
ขณะที่นายศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทกรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด ผู้แทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนยี่ห้อชาร์ป เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้เริ่มปรับภาพลักษณ์ชาร์ปโดยอาศัยการพัฒนา นวัตกรรมใหม่เพื่อให้ชาร์ปเป็นสินค้าระดับบนมากขึ้น แม้ว่าในเวลานี้สัดส่วนยอดขายของสินค้ากลุ่มไฮเอนด์มีน้อยกว่า 5%
ทั้งนี้การปรับตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า ญี่ปุ่น-เกาหลี โดยหันไปเล่นตลาด ระดับบน เนื่องจากไม่สามารถแข่งขัน ราคากับเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีนได้ เพราะในสภาพที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น การหั่นราคาลงมาเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าไทยหาก ไม่มีการปรับตัว โดยหันมาสร้างตรา สินค้า จุดจบคงอยู่ไม่ใกล้และไม่ไกลเกินไป อย่างน้อยก็ 5 ปีหลังจาก ภาษีนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเหลือ 0%
อีก 6 ปีบทพิสูจน์นมไทยร้ายหรือดี
นางกวีมาศ ตั้งคีรีพิมาน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ฟรีสแลนด์ ฟู้ดส์ โฟร์โมสต์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมนมของไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตเสรีการค้า ระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย เพราะภาษีนำเข้านมยังสูงอยู่ แต่ถ้าในช่วง 6 ปีขึ้นไปจากนี้ภาษีนำเข้าลดลงเหลือ 5% เชื่อว่าอุตสาหกรรมนมไทยจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะนมจากออสเตรเลียจะได้เปรียบในเรื่องของโครงสร้างราคา ทันที
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนมดิบอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะราคาจำหน่ายจะเป็นไปตามตลาดโลกมากกว่า ส่วนกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบหนัก คือ นมสำเร็จรูป เช่น กลุ่มนมผง ส่วนนมพร้อมดื่มเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มากนัก เพราะส่วนหนึ่งมีปัจจัยด้านการขนส่ง ซึ่งโฟร์โมสต์มั่นใจว่าบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบ ในส่วนดังกล่าวมากนัก ส่วนการที่บริษัทจะปรับตัวเพื่อตั้งรับอย่างไรนั้น ก็คงจะต้องมาพิจารณากันอีกครั้งว่า การเข้ามาของผู้ประกอบการออสเตรเลียจะมาในรูปแบบใด เช่น ใช้กลยุทธ์ราคาหรืออาจจะเน้นหนัก ในเรื่องของการสร้างแบรนด์ เป็นต้น
ล่าสุดบริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการไทย รายเดียวในประเทศไทยที่เหลืออยู่ โดยมีผลิตภัณฑ์นมข้นหวาน, ยูเอชทีตรามะลิ ได้ตัดสินใจร่วมทุนกับบริษัท คัมพินา อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ผลิตนมภายใต้ยี่ห้อคัมพินา ยาซู โชคชัย อลาสก้า และอื่นๆ จากเนเธอร์แลนด์ 500 ล้านบาท ในสัดส่วน 50:50 จัดตั้งบริษัท ทีดีไอ คัมพินา จำกัด ที่ นิคมอุตสาหกรรม บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
โดยการร่วมมือในครั้งนี้อุตสาหกรรมนมไทย แลกเปลี่ยนโนว์ฮาวของคัมพินายักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมนมอันดับ 12-13 ของโลก ซึ่งตัวบริษัทจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ขณะที่ต้นทุนการผลิตจะต่ำลง และประการสำคัญเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อรองรับกับการเปิดเขตเสรีการค้าระหว่างประเทศ หรือเอฟทีเอ ระหว่างไทยออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามว่าภายใน 5-6 ปีนี้อุตสาหกรรมนม ไทยมูลค่า 26,100 ล้านบาทจะมีทิศทางอย่างไร จากในปีที่ผ่านมาตลาดนมมีอัตราการเติบโต 13% แต่เมื่อดูถึงอัตราการบริโภคของคนไทยเฉลี่ย 20 ลิตรต่อคนต่อปี เมื่อเทียบประเทศสิงคโปร์ 58 ลิตรต่อคนต่อปี ยุโรปสูงกว่าถึง 7 เท่า หรือ ราว 140 ลิตรต่อคนต่อปี ตลาดนมไทยยังมีอัตราการเติบโตได้อีกมาก และนี่คือเหตุผลหนึ่งที่ล่อตาล่อใจออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ไวน์โลกใหม่เกิดไวน์ไทยเดี้ยง
ด้านการแข่งขันตลาดไวน์ภายในประเทศ ปัจจุบันนี้ไวน์นำเข้า ยังคงเป็นคู่แข่งรายหลัก ประกอบด้วย ไวน์ฝรั่งเศส และล่าสุดไวน์โลก ใหม่หรือไวน์จากออสเตรเลียที่กำลังมาแรงในไทยขณะนี้ โดยการเปิด เขตเสรีการค้าไทยกับออสเตรเลีย จะยิ่งทำให้ไวน์โลกใหม่เข้ามาทำตลาดไทยได้มากยิ่งขึ้น ภายใต้กลไก ราคาที่ถูกกว่า ขณะที่สภาพไวน์ไทย มีผู้เล่น 7 รายใหญ่ ประกอบด้วย กลุ่มชาละวันของสนั่น ขจรประศาสน์,ชาโต เดอ เลย ฯลฯ ก็ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมเมื่อเทียบกับไวน์นำเข้า เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ดื่มคนไทยยังคงยึดติดกับการดื่มไวน์นำเข้ามากกว่าที่จะดื่มไวน์จากผู้ผลิตไทย แต่การเปิดเขตเสรีการค้า ไทยกับออสเตรเลีย ยิ่งสร้างความกดดันให้ไวน์ไทยไม่ต้องลืมตาอ้าปาก
|
|
|
|
|