Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์27 กุมภาพันธ์ 2549
ธปท.ฟันธงปี 49 เศรษฐกิจอีสานยังโตลงทุนรัฐ/เลือกตั้งส.ว.กระตุ้นการใช้จ่าย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




แบงก์ชาติอีสาน ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจอีสานปี 2549 ยังคงขยายตัว ยกเหตุ การใช้จ่ายภาครัฐ มุ่งลงทุนในระบบสาธารณูปโภค เกิดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โครงการ SML และการเลือกตั้ง ส.ว. เป็นปัจจัยกระตุ้นภาคเอกชนเกิดการใช้จ่ายสูง

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ธปท.) ได้จัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งข้อมูลสรุปภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2548 และการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจภาคฯ ปี 2549 โดยนำปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา

มั่นใจปี49 เศรษฐกิจอีสานโตต่อเนื่อง

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคอีสานปี 2549 คาดว่า ภาวะเศรษฐกิจยังขยายตัว เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) แม้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ราคาสินค้าเกษตรจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี การท่องเที่ยวขยายตัว และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จะมีขึ้นในเดือนเม.ย. 2549 จะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภาคเอกชน

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องพิจารณา คือ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ มีแนวโน้มชะลอตัวลง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังผันผวน และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง

เศรษฐกิจอีสานปี48 ขยายตัว

ขณะที่ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2548 ที่ผ่านมา โดยรวมขยายตัว ซึ่งการผลิตภาคเกษตรสูงขึ้นทั้งด้านผลผลิตและราคา โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย ราคาปรับสูงขึ้นมาก ส่วนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว สอดคล้องกับการลงทุนเอกชน

ผลผลิตเกษตรกรรมขยายตัวขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากสภาพฝนเอื้ออำนวย ผลผลิตข้าวและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ส่วนพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง ส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลัง ที่ได้ราคาดีกว่าและทนแล้งกว่า ที่น่าสนใจมีเกษตรกรไม่น้อยเปลี่ยนไปปลูกยางพาราตามการส่งเสริมของรัฐ เกษตรกรเห็นว่าเป็นพืชที่ให้รายได้สูงและมั่นคง

ข้าวนาปี ฤดูกาลผลิตปี 2548/2549 มีพื้นที่ปลูกข้าว 32,881,657 ไร่ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 คาดว่าได้ผลผลิตข้าวเปลือก 10,402,984 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.0 แต่การค้าข้าวเปลือกปี 2548 ค่อนข้างซบเซา ราคาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ อาทิ ข้าวเปลือกเจ้า 5% เฉลี่ยเกวียนละ 7,789 บาท เทียบกับปีก่อนที่ราคาเกวียนละ 8,317 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่จะนำข้าวเปลือกไปจำนำกับโครงการรัฐ

ส่วนมันสำปะหลังปี 2548 มีผลผลิตเพิ่มขึ้น พื้นที่ปลูก 3,468,255 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ได้ผลผลิต 10,001,239 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ผลผลิตเฉลี่ย 2,884 กิโลกรัม/ไร่ เทียบกับปีก่อนได้ผลผลิตเฉลี่ย 2,674 กิโลกรัม/ไร่ แม้จะมีผลผลิตเพิ่ม แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแปรรูป ทำให้กลไกราคารับซื้อหัวมันสดเฉลี่ยสูงถึง 1.41 บาท/กิโลกรัม เทียบกับปีก่อนที่ราคาเฉลี่ย 0.94 บาท/กิโลกรัม มันเส้นเฉลี่ย 3.19 บาท/กิโลกรัม เทียบกับปีก่อนกิโลกรัมละ 2.29 บาท/กิโลกรัม

อ้อยโรงงาน มีพื้นที่ปลูก 2,383,440 ไร่ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.1 เนื่องจากขาดแคลนท่อนพันธุ์ ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูง คาดว่าผลผลิตปี 48/49 จะมี 17,510,702 ตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.6

สำหรับเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม การผลิตในหมวดอุตสาหกรรมเกษตรลดลง โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบผลิต และต้นทุนราคาวัตถุดิบค่อนข้างสูง โรงงานน้ำตาลยังขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมเกษตรภาคอีสานชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมบางตัวยังคงขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ขยายตัวสูงทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังขยายตัวดี และอุตสาหกรรมแหอวนขยายตัวดี แต่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในการผลิต

การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัว

ขณะที่ การใช้จ่ายภาคเอกชน ปี 2548 การใช้จ่ายภาคเอกชนภาคอีสาน ขยายตัว พิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัย 4,094.8 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เทียบกับปีก่อน 3,885.2 ล้านหน่วย ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 5,744.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 จากปีก่อน ที่จัดเก็บได้ 4,653.2 ล้านบาท

ทั้งนี้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.ถึงสิ้นปีเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากโรงงานสุรา/เบียร์ โรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ตัวแทนจำหน่ายสุรา/เบียร์/รถยนต์ และธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในภาคอีสานมากขึ้น

ด้านตัวเลขจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ใหม่ ยังเพิ่มขึ้น แม้ว่าอัตราขยายตัวจะชะลอลงจากปีก่อน โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 31,526 คัน เมื่อเทียบกับปีก่อน 28,071 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 58,917 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 จากปีก่อน 51,365 คัน สาเหตุที่ทำให้ยอดจดทะเบียนขยายตัวลดลง เนื่องจาก ยอดจำหน่ายปีก่อนมีสูง ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้ซื้อระวังการใช่จ่าย ส่วนรถจักรยานยนต์มียอดจดทะเบียน 488,454 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากปีก่อน 467,361 คัน

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว

ปี 2548 การลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัว แม้จะมีการชะลอตัวลงในครึ่งปีหลัง จากผลกระทบของราคาน้ำมัน และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น การลงทุนในอุตสาหกรรมยังขยายตัว แต่การลงทุนในภาคการค้าเริ่มชะลอตัว เพราะผู้ประกอบการไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ และมีการแข่งขันธุรกิจที่รุนแรง

การลงทุนโรงงานอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว เนื่องจากมีนักลงทุนให้ความสนใจขอรับการส่งเสริมการลงทุนถึง 132 โครงการ ใช้เงินลงทุน 17,314 ล้านบาท มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 107 โครงการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.5 ด้านเงินลงทุน 14,693 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 60.5

ในภาคการค้า มีจำนวนธุรกิจที่ประกอบกิจการใหม่ในภาคอีสาน ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ธุรกิจใช้เงินลงทุนลดลง โดยมีจำนวนธุรกิจใหม่ 3,038 ราย (ปีก่อน 3,052 ราย) ทุนจดทะเบียน 6,846 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.7 จากปีก่อนที่มีทุนจดทะเบียน 7,936.4 ล้านบาท และการใช้ไฟฟ้า ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.8 เพราะต้องใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี

ภาคอสังหาริมทรัพย์

การก่อสร้างปี 2548 เริ่มชะลอตัว เพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ แต่การขอรับอนุญาตก่อสร้างในภาคอีสาน ยังสูงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อที่อยู่อาศัย พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครในภาคอีสานปี 48 มีจำนวน 2,159,590 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 พื้นที่ก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.7 รองลงมาขอนแก่น สัดส่วนร้อยละ 12.6 อุดรธานี 10.6 อุบลราชธานี 7.5 สกลนคร 7.2 และชัยภูมิ 5.7

พื้นที่รับอนุญาต เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย 1,540,053 ตารางเมตร สัดส่วนร้อยละ 71.3 เพื่อการพาณิชย์ 446,886 ตารางเมตร สัดส่วนร้อยละ 20.7 และเพื่อบริการ 153,701 ตารางเมตร สัดส่วนร้อยละ 7.1 ส่วนธุรกรรมการซื้อขายที่ดิน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากผลกระทบอัตราดอกเบี้ย,อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยมีการซื้อขายที่ดิน 187,090 ธุรกรรม คิดเป็นเงิน 45,879.5 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 180,762 ธุรกรรม คิดเป็นเงิน 43,341.2 ล้านบาท

เงินเฟ้อพุ่ง

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคอีสานของปี 2548 สูงถึง 110.4 สูงขึ้นร้อยละ 4.5 จากปีก่อน 105.6 เนื่องจาก หมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.5 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ ผักสดสูงขึ้นร้อยละ 36.1 ไข่สูงขึ้นร้อยละ 14.7 เป็ด ไก่ สูงขึ้นร้อยละ 13.1

การค้าชายแดนเพิ่มทั้งฝั่งสปป.ลาว/กัมพูชา

ภาวะ การค้าชายแดนไทย-ลาว ปี 2548 ยังคงขยายตัวดี มีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 25,563.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 แยกเป็นการส่งออก 20,679.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 การนำเข้า 4,883.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 การค้าผ่านแดนไทยไปลาว มีมูลค่า 11,764.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.4 ส่วนการค้าผ่านแดนจากลาวไปประเทศที่สาม มีมูลค่า 10,184.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.7

ส่วนการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ปี 2548 ยังคงขยายตัวสูง มีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 30,712.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 แยกเป็นการส่งออก 29,340.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 1,371.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.4   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us