Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์27 กุมภาพันธ์ 2549
“ไทยแอร์เอเชีย”หวยล็อค “นอมินี”ของ สิงคโปร์             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอร์เอเชีย

   
search resources

ไทยแอร์เอเชีย, บจก.
Aviation




14 วันหลังจากชินฯขายหุ้นให้กับสิงคโปร์แต่ไทยแอร์เอเชียยังคงบินได้โดยไม่ถูกระงับสิทธิ์
14 วันที่ไทยแอร์เอเชียทำทุกอย่างให้ลงตัวเพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย
14 วันที่บริษัทแอร์เอเชียในมาเลเซียกลับนิ่งเฉยไม่มีปฏิกิริยาใดๆตอบโต้
14 วันเพื่อหาคนไทยที่พอมีเงิน 200 ล้านบาทเข้ามาลงทุน แต่ไม่ต้องมายุ่งกับการบริหาร CEO

และนับจากวันขายหุ้นชินฯให้สิงคโปร์จนถึงปัจจุบันไทยแอร์เอเชียยังเปิดให้บริการลูกค้าตามปกติ สวนกระแสของ “นอมินี ”อย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุผลสั้นๆของ CEO ไทยแอร์เอเชียว่าไม่ต้องการให้พนักงานบริษัทกว่า 1 พันคนต้องตกงาน

ธุรกิจการบินของไทยแอร์เอเชียวันนี้อาจไม่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการมากนักเพราะยังคงเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง แต่อนาคตอันใกล้ถ้าปัญหายังไม่มีบทสรุป ในแง่ของความไม่ชัดเจนกรณีกลุ่มผู้ถือหุ้นว่าเป็นของคนไทยหรือต่างชาติอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกค้ากับองค์กรจนเกิดความไม่มั่นใจที่จะจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้า แม้ว่าผู้บริหารของไทยแอร์เอเชียจะออกมาชี้แจงว่าทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็ตามพร้อมกับออกแคมเปญใหม่ภายใต้ชื่อ “แจ่ม”ออกมากระตุ้นกลุ่มลูกค้าหวังกลบกระแสข่าวร้อนๆภายในบริษัท

การเคลื่อนไหวของกลุ่มไทยแอร์เอเชียหลังจากที่โดนกระแสสังคมว่าเป็นบริษัทอุ้มของรัฐบาลมาโดยตลอด ปัจจุบันการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับสิงคโปร์ กลับทำให้ไทยแอร์เอเชียถึงกลับตั้งตัวไม่ติดชนิดที่ผู้บริหารไทยแอร์เอเชียเอ่ยปากว่าไม่รู้เรื่องถึงการขายหุ้น... สร้างความปั่นป่วนให้กับบริษัทไทยแอร์เอเชียถึงสองสัปดาห์เต็มๆ และเป็นช่วงสองสัปดาห์ที่ไทยแอร์เอเชียถูกตั้งคำถามว่า...ทำไมถึงไม่โดนระงับสิทธิการบินทั้งที่หุ้นส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไทย จนเป็นที่มาของคำว่า “นอมินี” บริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ที่เข้ามาเสียบชนิดสายฟ้าแล๊บ

การเปิดปูมบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ที่เข้ามากอบกู้สิทธิการบินของไทยแอร์เอเชีย นับวันจะยิ่งทำให้สังคมเกิดข้อสงสัยว่าเป็นบริษัทคนไทยหรือต่างชาติกันแน่...เป็นคำถามที่ยากจะหาคำตอบเพราะทุกฝ่ายทั้งกรมขนส่งทางอากาศและกระทรวงพาณิชย์ต่างยืนยันว่าไทยแอร์เอเชียทำถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง

"มันการเมืองอยู่แล้ว เขาปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่าง เราก็ไม่เคยเลือกปฏิบัติ แอร์เอเชียไม่เคยได้สิทธิ์มากกว่าสายการบินอื่นเลย" พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงไทยแอร์เอเชีย

ขณะที่ ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ ออกมาตอกย้ำ "เรามีหน้าที่แค่ว่าการถือหุ้นของ บ.ไทยแอร์เอเชียถูกต้องหรือไม่ จะให้ผมไปบอกว่ากระทรวงพาณิชย์ผิด ผมจะพูดได้อย่างไร เหมือนกับว่าผู้โดยสารที่เดินทางมากับไทยแอร์เอเชียมีคนต่างด้าวเดินทางเข้ามา แล้วมาโทษว่าทำไมกรมขนส่งฯ ปล่อยมาได้อย่างไร มันก็ไม่ใช่ มันต้องไปดูเรื่องกฎหมายคนต่างด้าว เป็นหน้าที่ของตรวจคนเข้าเมือง แต่ถ้าเครื่องเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ตรงนี้ค่อยเป็นหน้าที่ของกรมการขนส่งทางอากาศ เพราะฉะนั้นไทยแอร์เอเชียต้องทำถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น"และว่า หลังจากนี้หน้าที่ของกรมการขนส่งทางอากาศคือเรื่องผลกระทบต่อผู้โดยสาร และความปลอดภัยของสายการบิน

เรื่องนี้จึงถูกโยนเป็นปัญหาของชินคอร์ปเองทั้งหมด ขณะที่ แอร์เอเชีย มาเลเซีย กลับไม่มีปฏิกิริยาใดๆตอบสนองเพราะสัดส่วนการถือหุ้นยังคงเหมือนเดิม และเป็นสัญญาที่มีการตกลงมาตั้งแต่ร่วมลงทุน

การขายหุ้นของชินคอร์ปในไทยแอร์เอเชีย ให้กับบริษัทเอเซีย เอวิเอชั่น ขายในราคา 400 ล้านบาท ทั้งชินคอร์ปและสิทธิชัย จะต้องลงทุนในเอเซีย เอวิเอชั่น ฝ่ายละประมาณ 200 ล้านบาท

เงินจำนวนกว่า 200 ล้านบาท ที่ สิทธิชัย ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ต้องนำมาใช้ลงทุนแต่ไม่มีส่วนบริหารจัดการ ก็เป็นอีกคำถามหนึ่งที่ถูกตั้งกระทู้ถามผู้บริหารไทยแอร์เอเชียว่านำมาจากไหน...ใครคือนายทุนตัวจริง?...หรือเป็นแค่ “นอมินี”

“การที่คุณสิทธิชัย เข้ามาลงทุนได้ตามเงื่อนไขที่เราวางไว้ ว่าจะเข้ามาเป็นผู้ลงทุนอย่างเดียว ก็มีทั้งเงินที่เขานำเงินส่วนตัวมาลงทุน บางส่วนกู้เป็นเงินกู้ ผมรู้จักเขาเป็นการส่วนตัว ไม่สนว่าเขาทำอะไร ผมทำให้โครงสร้างทุกอย่างถูกต้องตามที่ขอ.กำหนด ทำให้พนักงานกว่า 1 พันคนของสายการบินไม่ต้องตกงานผมก็พอใจมากแล้ว”ทัศพล กล่าว

และด้วยระยะเวลาการตัดสินใจเพียงแค่ 2 ชั่วโมงเพื่อเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ของ สิทธิชัย ที่ผู้บริหารของไทยแอร์เอเชียได้พูดคุยกันก็ขัดกับความเป็นจริงสำหรับนักธุรกิจที่จะตัดสินใจลงทุนด้วยเม็ดเงินกว่า 200 ล้านด้วยระยะเวลาเพียงสั้นๆอย่างนั้น แม้ว่าทัศพลจะแก้ต่างด้วยคำตอบที่ว่า สิทธิชัยเคยทำธุรกิจด้านขนส่งด่วนทางอากาศมาแล้วและมีข้อมูลทั้งหมดของธุรกิจการบินแถมมีความพร้อมที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจ

“ดีกว่านำเงินไปฝากธนาคารเสียอีก เพราะดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 3% เท่านั้น แต่คุณลงทุนกับไทยแอร์เอเชียจะได้มากกว่า 3%”ทัศพล กล่าวเปรียบเปรย

กรณีการเป็นตัวแทนหรือตัวจริงยังคงเป็นสิ่งที่คาใจในสังคม ตราบใดที่ สิทธิชัย ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ยังไม่ยอมเปิดปากถึงที่มาที่ไปของเงินลงทุนจำนวนมหาศาลเหล่านั้น คำว่า “นอมินี”จึงเป็นคำที่ถูกหยิบนำมาใช้กับบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ของสายการบินไทยแอร์เอเชียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us