|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สยามยิปซัมโดนพิษสงค่าขนส่ง เบนเข็มตั้งโรงงานผลิตในเวียดนาม หลังราคาน้ำมันพุ่งเท่าตัว เดินหน้าขยายตลาดทั้งในประเทศและส่งออก เพิ่มกำลังในประเทศเป็น 100 ล้านตารางเมตรต่อปี ส่วนในเวียดนามเริ่มเดินเครื่องเดือนก.ค.นี้ ด้วยกำลังการผลิต 10 -15 ล้านตารางเมตร รองรับความต้องการยาว 5 ปี
แม้ว่าปัจจุบันราคาน้ำมันจะค่อนข้างคงที่ แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง ที่โดยรวมแล้วทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 5-10% ขณะที่ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
ทั้งนี้ แนวทางการลดต้นทุนการผลิตคงหนีไม่พ้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต ซึ่งการทำตามแนวทางดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว บางครั้งยังทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมลดลงด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าขนส่งนั้น การลดค่าใช้จ่าย ทำได้วิธีเดียวคือ การบรรจุสินค้าที่จะจัดส่งให้มากที่สุด รวมถึงไม่ตีรถเปล่ากลับ แต่จะต้องขนส่งสินค้ากลับมาด้วยในเที่ยวขากลับ ซึ่งวิธีดังกล่าว อาจะไม่ได้ช่วยลดค่าขนส่งลงมากนัก เพราะก่อนที่ราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็จะจัดวางสินค้าจนเต็มที่อยู่แล้ว
ในส่วนของบริษัท บริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซัม (สระบุรี) จำกัด ผู้ผลิตฝ้าเพดานและฝ้าผนังยิปซัม ตราช้าง ก็หนีไม่พ้นภาวะค่าขนส่งเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่แนวทางออกของสยามอุตสาหกรรมยิปซัมฯ คือใช้วิธีการตั้งโรงงานใหม่ให้ใกล้กับสถานที่จัดส่งสินค้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายจากการขนส่งที่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง
โอลิวิเย กีลุย กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซัม กล่าวว่า “บริษัททำตลาดทั้งในประเทศ และส่งออกไปใน 25 ประเทศทั่วโลก ทั้งเอเชีย ตะวันออกกลาง และยุโรป แต่บางครั้งการส่งออกจากฐานการผลิตในประเทศก็ไม่คุ้มกับรายได้ เพราะการส่งออกในบางประเทศค่าขนส่งแพงกว่าค่าสินค้าอีก”
อาทิ การส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม เสียค่าขนส่งมากกว่าค่าสินค้า ดังนั้น บริษัทจึงได้ขยายการผลิตไปยังประเทศเวียดนาม โดยจะใช้ฐานผลิตที่เวียดนามเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในเวียดนาม และประเทศใกล้เคียง โดยได้จัดตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่โฮจิมินจ์ ซิตี้ประเทศเวียดนาม โดยการร่วมทุนกับพันธมิตรชาวฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
โรงงานใหม่เป็นการร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท Lafarge ฝรั่งเศส และบริษัท Boral ออสเตรเลีย ถือหุ้นเท่ากัน 50% โดยทั้งสองบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัท สยามฯ ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วน 71% ส่วนที่เหลือ 29% ถือหุ้นโดยเครือซิเมนต์ไทย คาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิต เดือน ก.ค. 2549 มีกำลังการผลิตประมาณ 10 ล้านตารางเมตรต่อปี และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้สูงสุด 15 ล้านตารางเมตรต่อปี
“เวียดนามมีประชากรประมาณ 70-80 ล้านคน แต่อัตราการใช้ยิปซัมบอร์ดมีจำนวนน้อยมาก เฉลี่ยที่ 8 ล้านตารางเมตรต่อปี และคาดว่าตลาดจะมีการเติบโตอีกมาก ดังนั้น บริษัทจึงเข้าไปตั้งโรงงานผลิต เพื่อรองรับกับความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยกำลงการผลิตเต็มที่ 15 ล้านตารางเมตรจะรองรับความต้องการใช้งานใน 5 ปีข้างหน้า”
สำหรับการดำเนินงานในประเทศ บริษัทได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 100 ล้านตารางเมตรต่อปี จากเดิมที่มีกำลังการผลิต 75 ล้านตารางเมตรต่อปี แบ่งเป็นกำลังการผลิตจากโรงงานสระบุรี 55 ล้านตารางเมตร โรงงานสงขลา 22 ล้านตารางเมตร ส่วนโรงงานที่นวนคร จ.ปทุมธานีเริ่มเครื่องผลิตอีกครั้ง หลังจากที่หยุดผลิตในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยมีกำลังการผลิตราว 20 ล้านตารางเมตร เพื่อรองรับการส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา
สำหรับภาวะตลาดยิปซัมบอร์ดในระยะ2 - 4 ปีก่อนหน้านี้ มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของตลาดบ้านจัดสรรและธุรกิจเชิงพาณิชย์ โดยมีการเติบโตประมาณ 20-25% แต่ในช่วง1-2 ที่ผ่านมา การเติบโตเป็นการเติบโตแบบถดถอย โดยในปี2548 ตลาดรวมมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 15% ส่วนในปีนี้ คาดว่าอัตราการเติบโตโดยรวมจะไม่ถึง 10% แบ่งเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์ 5.5% และบ้านจัดสรร 5% เนื่องจากตลาดบ้านจัดสรรชะลอตัว อีกทั้งการก่อสร้างบ้านยังหลังเล็กลงอีกด้วย
โดยในปี 2548 บริษัทมียอดขายรวม 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายยิปซัมบอร์ด 75% และสินค้าอื่น 25% และตั้งเป้ายอดขายปี2549 เติบโตขึ้นประมาณ 10%
|
|
|
|
|