|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าทุกวันนี้ กลุ่มทุนข้ามชาติจำนวนมากแห่เข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มทุนจากสิงคโปร์ ฮ่องกง ยุโรป และอเมริกา ขณะที่กลุ่มทุนจากไทยไม่ค่อยได้ขยายการลงทุนในยังต่างประเทศมากนัก ทั้งที่นักลงทุนชาวไทยหลายรายต้องการที่จะขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศบ้าง โดยเฉพาะ ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงตกต่ำ
การขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศนอกจากจะเป็นการเรียนรู้วิธีการทำงาน การลงทุน และศึกษารูปแบบการลงทุนในต่างประเทศ แล้ว ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงอีกด้วย เพราะหากเศรษฐกิจในประเทศตกต่ำ ยังมีรายได้จากต่างประเทศเข้ามาหล่อเลี้ยงองค์กร ขณะเดียวกัน หากภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศตกต่ำ ยังมีรายได้จากการทำตลาดในประเทศเป็นตัวหล่อเลี้ยงองค์กร
ดังนั้น หากนักลงทุนไทยมีโอกาสขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ก็เท่ากับว่า นักลงทุนชาวไทยมีโอกาสเรียนรู้ และนำโนฮาวของต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศได้ อีกทั้งยังเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย
รศ.มานพ พงศทัต นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ นานาชาติ (FIABCI – THAILAND) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมกลุ่มทุนจากไทยไปลงทุนในต่างประเทศ และเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย ประเทศไทยจึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหพันธ์อสังหาริมทรัพย์ระหว่างประเทศ และล่าสุดประเทศไทยได้รับเลือกจากสหพันธ์อสังหาริมทรัพย์ฯ ให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมนานาชาติด้านอสังหาริมทรัพย์ ระหว่างวันที่ 26-31 พ.ค.2549 ที่โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล พลาซ่า โดยหัวข้อที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมในปีนี้ว่าด้วยเรื่อง “อสังหาริมทรัพย์ที่เอาใจใส่อนาคตโลก”
นับเป็นการจัดงานครั้งแรกในประเทศไทย โดย การประชุมของ สหพันธ์อสังหาริมทรัพย์ฯ จะถูกจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี หมุนเวียนไปตามประเทศสมาชิกทั่วโลกซึ่งมีมากกว่า 60 ประเทศ โดยสมาชิกของสหพันธ์ฯจะมาจากหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์ อาทิ สถาบันการศึกษา สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนผู้ประกอบการในหลายสาขา เช่น นายหน้า ผู้จัดการอาคาร ที่ปรึกษา ทนาย นักประเมินค่าสินทรัพย์ นักการเงิน สถาปนิก นักพัฒนาที่ดิน ผู้รับเหมา และนักลงทุน ในแต่ละประเภทอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่พักตากอากาศ พื้นที่พาณิชย์ สำนักงาน ที่อยู่อาศัย พื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่เกษตร เป็นต้น
ทั้งนี้ ประโยชน์ ที่จะได้จากการเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯนี้คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งกันและกัน ตลอดจนการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ในต่างประเทศ ซึ่งตรงนี้ผู้ประกอบการไทยจะมีโอกาสได้เรียนรู้และหากสนใจก็จะมีทีมที่ปรึกษา ด้านการลงทุนในต่างประเทศมาให้ข้อมูล ซึ่งจะสร้างความมั่นใจด้านการลงทุนให้เอกชนไทยที่สนใจไปลงทุนต่างประเทศได้เป็นอย่างดี เพราะที่ผ่านมาปัญหาใหญ่สุดของผู้ประกอบการคนไทย คือไม่มีข้อมูล เพียงพอในการที่จะเข้าไปลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ซึ่งตรงนี้นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญ เป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับผู้ประกอบการไทย ให้รอบรู้การลงทุนในต่างประเทศอย่างแท้จริงโดยมีพี่เลี้ยงมืออาชีพ คือสหพันธ์ฯ
นายกสมาคมฯคนใหม่ กล่าวอีกว่า สมาคมอสังหาริมทรัพย์นานาชาติ ของไทย ถูกก่อร่างมาจากสโมสรธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2546 และได้จัดตั้งเป็นสมาคมอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนม.ค. 2549 จุดประสงค์หลักเพื่อต้องการให้ผู้ที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของไทย ได้พัฒนาคุณภาพ การแข่งขันการงาน โดยร่วมมือและแบ่งความรู้ข่าวสารในประเทศและนอกประเทศ เพื่อเปิดช่องทางให้ติดต่อธุรกิจไปทั่วโลก
อีกทั้งยังช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและเอกชน เพื่อประโยชน์ของสังคม อำนวยความสะดวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการตลาด เศรษฐกิจ ข้อมูลรัฐบาล เทคโนโลยีที่มีผลกับธุรกิจ ปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวมตามหลักจรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกทั่วโลก ตลอดจนช่วยแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การศึกษาของผู้ดำเนินอาชีพด้านอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ไม่ให้เกิดการแบ่งแยก หรือความไม่เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอยู่แล้วถึง 4 แห่ง ได้แก่ สภาที่อยู่อาศัยไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และสมาคมอาคารชุด ซึ่งบทบาทของแต่ละสมาคมก็มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลในแง่ตลาดต่างประเทศ ทั้งในเรื่องของผู้ประกอบการจากประเทศอื่นที่เข้ามาบุกตลาดเมืองไทย และการออกไปลงทุนในต่างประเทศของผู้ประกอบการไทย ในส่วนนี้ทำให้คนไทยเสียเปรียบ เพราะนอกจากไม่ได้ไปเรียนรู้ การทำตลาดในต่างประเทศแล้ว ยังไม่สามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้ ขณะที่ทุกวันนี้ต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ล้วนแต่เป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หรูหรา ราคาแพง แล้วก็นำผลกำไรกลับประเทศไป
“ขอยืนยันว่าบทบาทของสมาคมอสังหาริมทรัพย์ นานาชาติไม่ซ้ำซ้อนกับทั้ง 4 สมาคมที่ดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยสมาคมอสังหาริมทรัพย์นานาชาติ จะเป็นพี่เลี้ยง หรือเป็นเวทีสำหรับนักลงทุนไทยและต่างชาติได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิด หรือเป็นแค่คนกลางประสานให้นักลงทุนได้เจรจาการร่วมทุนกันเท่านั้น ไม่มีส่วนซ้ำซ้อนกับบทบาทของสมาคมฯเก่าทั้3 แห่ง รวมถึงสภาที่อยู่อาศัยไทย”รศ.มานพกล่าวยืนยัน
|
|
|
|
|