เชื่อว่า หนุ่มยุคซิกตี้ส์ เช่น ดร.วิชิต อมรวิรัตนสกุล คงจะชื่นชอบเพลง
Bridge over troubled water อยู่บ้าง อย่างน้อยเมื่อเดือนเศษๆ ที่ผ่านมา
พฤติกรรมของเขาก็เป็นไปตามแก่นสารของเพลงนี้
"เหนือลำน้ำเชี่ยวกราก ฉันจะทอดกายลงเป็นสะพาน ให้เธอเดินฝ่าข้ามไป"
เมื่อเป็นเช่นนี้ ในระยะหลัง จึงมีชมรมที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "ชมรมไอที"
เกิดขึ้นถึงสองชมรม
ชมรมแรกเป็นของนักข่าว ชมรมที่สองเป็นขอองชาวไฟแนนซ์ ทำให้มีการแซวกันเล่นๆ
ว่า
ชมรมนักข่าวไอทีถ้าจะมีคู่แข่งเสียแล้วนั่นคือ "ชมรมวิชาชีพไอทีอิสระ"
หรือ "Independent Thai IT Professional Club" ผู้ก่อตั้งคือดร.วิชิต
ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานเทคโนโลยีธนาคารไทยพาณิชย์
จำกัด (มหาชน)
ดร.วิชิตเคยมีชื่อเสียงเคียงคู่บรรณวิทย์ บุญญรัตน์ ในการริเริ่มระบบบริการเงินด่วนอัตโนมัติหรือเอทีเอ็ม
ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์มีภาพลักษณ์เป็นแบงก์เทคโนโลยีไปในทัน แต่กับ "ผู้จัดการ"
เขาบอกกล่าวอย่างถ่อมตนว่า "อย่าบอกว่าผมเป็นคีย์แมนในเรื่องเอทีเอ็มเลย
ท่านบรรณวิทย์เป็นผู้ริเริ่ม ผมเป็นเพียงตัวประกอบที่เข้ามาในภายหลัง"
อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าสำหรับเรื่อง Telephone Banking ดร.วิชิตเป็นผู้ริเริ่มรายแรกๆ
นอกจากมีมุมมองทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยีแล้วในเชิงสังคม ดร.วิชิตก็มักจะมีมุมมองไม่ซ้ำแบบใครอยู่เสมอ
เมื่อนำทั้งสองสิ่งมาประสานกัน จึงเป็นเรื่องน่าจับตาในบทบาทครั้งใหม่ของเขา
ชมรมวิชาชีพไอทีอิสระ ตั้งขึ้นมาในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อีกนานกว่าจะเกิดภาวะ
After Shock หรือ "ชิน" ไปเอง จึงไม่แปลกที่จะมีจุดมุ่งหมายช่วยชาวไอทีสายไฟแนนซ์ที่ตกงานให้มีงานทำ
การปิด 58 ไฟแนนซ์ จะมีคนตกงานไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นคน เป็นผู้ทำงานในสายไอที
ทั้งวิศวกรระบบ โปรแกรมเมอร์ ช่างเทคนิคต่างๆ ประมาณ 800-1,000 คน ชมรมนี้จึงออกจะสอดคล้องกับสถานการณ์
เปิดตัวชมรมครั้งแรก ตอนปลายเดือนสิงหาคมในงานสัมมนาเรื่องอุตสาหกรรมไอทีกับค่าเงินบาทลอยตัว
ซึ่งมีดร.วิชิตเป็นผู้อภิปรายคนหนึ่ง มิอาจปฏิเสธได้ว่า แนวคิดของเขาสร้างความฮือฮาได้ไม่น้อย
กล่าวคือ มีแผนรวบรวมรายชื่อ ผู้ที่ตกงานสายไฟแนนซ์ทำเป็นฐานข้อมูล จากนั้นก็ติดต่อหางานในต่างประเทศให้ทำ
ตลาดแรงงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ก็คือประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย
อินโดนีเซีย หากเป็นต่างทวีป วิชิตมองไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา
"ชมรมของเราเป็นลักษณะ non-profit ผู้ที่แจ้งความจำนงมายังชมรมให้ช่วยเหลือในเรื่องการจัดหางาน
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ในการดำเนินงาน เราจึงต้องทำให้มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด"
ดร.วิชิต กล่าว
ผู้ที่จะให้ทางชมรมช่วยเหลือ หรืออาจเรียกให้น่าฟังว่า "ช่วยประสานงาน"
ในการติดต่อหางานในต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งงาน sideline หรืองานประจำ
ควรจะมีอายุงานไม่ต่ำกว่าสองปี นอกจากนี้ยังต้องเข้ารับการ retrain เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญที่ตรงกับความต้องการของตลาด
แนวคิดของ ดร.วิชิตมีความเป็นไปได้แค่ไหน คำมีความเป็นไปได้โดยอาศัยเงื่อนไข
3 ประการดังนี้
1) บุคลากรด้านไอทีค่อนข้างจะหายาก ไม่ว่าจะเป็นในไทยหรือต่างประเทศ
2) ดร.วิชิตมีความกว้างขวางพอควร ในหมู่คนทำธุรกิจไอที ทั้งในและต่างประเทศ
จึงทำให้มีโอกาสเสาะหาข้อมูลด้านตำแหน่งงานได้ไม่ยาก
3) เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม แรงสนับสนุนของคนในวงการไอที
ก็ย่อมหลั่งไหลมาไม่ขาดระยะ
วนารักษ์ เอกชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย ยกหูโทรศัพท์
คุยกับดร.วิชิตทันทีเมื่อทราบข่าว ยินดีให้ความสนับสนุนในทุกด้าน ในขณะที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
คือ เอ-เน็ต ก็เริ่มดีไซน์โฮมเพจให้แล้ว โดยไม่คิดมูลค่า ผู้หลักผู้ใหญ่ในธนาคารไทยพาณิชย์
ก็มีแนวโน้มไม่ติดขัดในการอนุญาตให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ไทยพาณิชย์ ถนนแจ้งวัฒนะ
เป็นที่ทำการของชมรม
ศูนย์นี้ยังเป็นที่ตั้งของมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยี ซึ่งมีดร.วิชิตเป็นเหรัญญิก
และมีผู้บริหารอาวุโสของไอบีเอ็มคือ พงษ์ศักดิ์ ตันสถิตย์ เป็นประธาน
พิเคราะห์ดูแล้วก็จะเห็นได้ว่า เมื่อเริ่มแรกดูเหมือนดร.วิชิตกระโดดออกมาคนเดียว
แต่ผู้สนับสนุนก็ดูจะมีศักยภาพและเชื่อถือได้ทั้งนั้น เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์
สยามกลการ ไอบีเอ็ม กลุ่มสามารถ มูลนิธิเอเชีย กลุ่มชินวัตร
แม้ดูจะไม่เกี่ยวข้องอะไรกับชมรม แต่ในความเป็นจริง เมื่อต่างเป็นคนกันเองทั้งนั้น
ก็คงเกื้อหนุนได้พอสมควร
"ตอนนี้โฮมเพจของเราใกล้เสร็จแล้ว ก็คงจะมีประชาสัมพันธ์กิจกรรมของชมรมได้มากขึ้น
เป็นช่องทางให้คนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล และติดต่อกับชมรม" วิชิตกล่าวกับ
"ผู้จัดการ" ด้วยน้ำเสียงแจ่มใส
เมื่อมีโฮมเพจแล้ว ใครอยากสมัครเป็นสมาชิกก็สมัครได้เลย แต่ต้องเสียค่าสมัคร
300 บาท อย่าไปคิดว่าเป็นเงินทองอะไรมากนัก เพราะชมรมสามารถสร้างประโยชน์ให้มากกว่า
อย่างน้อยการได้พบปะกันเพื่อรับรู้ข่าวสาร ดีกว่านั่งแก้ปัญหาอยู่คนเดียว
ทางชมรมยังยกระดับความรู้ความสามารถให้สมาชิก ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์มาจากบริษัทคอมพิวเตอร์ต่างๆ
จึงเท่ากับมีแต่ได้ ไม่มีเสีย
"บริษัทจัดหางาน หรือพวก Head Hunter เขาอาจมองเราเป็นคู่แข่งก็ได้เพราะเราไม่มีการหักเปอร์เซ็นต์
เมื่อได้งาน แต่ที่จริงแล้วเราไม่ได้มุ่งแข่งขันอะไรกับใครหรอก เราเพียงแต่หาทางช่วยเหลือกัน
แนวทางของชมรมมก็ไม่ใช่ปฏิบัติงานโดยลำพัง แต่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ
ทั้งราชการและเอกชน
ยามนี้ดร.วิชิตจึงมีอาการมือไม่ว่างเพราะต้องยกหูโทรศัพท์ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับองค์กรต่างๆ
ซึ่งก็มีหลายบริษัท โดยเฉพาะทางด้านไอทียินดีให้ความร่วมมือ แม้ปัญหานี้เริ่มลามเข้าสู่บริษัทคอมพิวเตอร์
ทำให้ผู้บริหารบางคนต้องออกจากงาน เพราะทำเป้าไม่ได้ แต่ในยามนี้ทุกคนก็เห็นว่า
การหันหน้ามาช่วยกัน น่าจะเป็นเรื่องดี
อันที่จริง บริษัทไอที ก็ล้วนเคยบ่นเรื่องขาดบุคลากร ไม่ว่าจะเป็น สหวิริยา
โอเอ ซีดีจี กรุ๊ป และเมโทร ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น
กรณีอัลฟาเทค ก็ถึงกับนำเข้าบุคลากรจากต่างประเทศ แม้กระทั่งโครงการซอฟต์แวร์
ปาร์ค ที่ผลักดันโดยเนคเทค ก็ส่งเสียงร้องมาตลอดว่า ขาดบุคลากร
เมื่อพิจารณาตลาดแรงงานในประเทศ จึงไม่น่าที่มนุษย์ดิจิตอลจะหางานไม่ได้
แต่ในยามนี้ เมื่อทุกคนคิดเหมือนกันว่า ต้องลดกำลังคนเพื่อบริหารต้นทุน ก็น่าเสียดายที่บุคลากรดีๆ
จะต้องถูกส่งไปต่างประเทศ
"เป็นความจริงนะ เราก็เคยบ่นกันเรื่อยมาว่า เราขาดบุคลากร ผมจึงคิดว่า
ถ้าประสานงานกันให้ดี บริษัทไอทีส่วนหนึ่งก็น่าจะสามารถรองรับคนจากไฟแนนซ์
ได้" ดร.พิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์ แห่งเนคเทคให้ความเห็น
ส่วน "ดาราไอที" กนกวิภา วิริยะประไพกิจ ผู้บริหารธุรกิจ SI
ของสหวิริยา โอเอ กล่าวว่า "ยินดีจะคุยกับทางดร.วิชิต เพราะอาจจะมีหนทางช่วยเหลือกันได้
เนื่องจากเราต่างก็เคยคิดว่า บุคลากรทางด้านนี้ขาดแคลน"
นักวิเคราะห์ในวงการไอทีให้ความเห็นว่า จริงๆ แล้วบุคลากรด้านไอทีที่ตกงานจากไฟแนนซ์ในจำนวนประมาณ
800-1,000 คน น่าที่จะหางานในประเทศได้ เพราะที่แล้วมาสถาบันการศึกษาในไทยยังผลิตวิศวกรไม่เพียงพอต่อความต้องการ
จึงต้องมีการนำเข้าบุคลากรจากต่างประเทศ ดังนั้น แทนที่จะมุ่งเพียงตลาดต่างประเทศ
ทางชมรมวิชาชีพไอทีอิสระ ก็น่าจะลองสำรวจข้อมูลที่เป็นจริงในไทยดูบ้างเพราะการไหลออกของบุคลากอาจทำให้ไทยประสบปัญหาพัฒนาด้านไอทีในอีก
2-3 ปีข้างหน้า
"พอเศรษฐกิจเราดีขึ้น เราก็ต้องมาปวดหัวกับเรื่องเดิมๆ คือขาดบุคลากร
ต้องทุ่มเทงบประมาณสร้างคนกันใหม่ แต่ผมสนับสนุนและเข้าใจเจตนาดีของดร.วิชิต