Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540
ธุรกิจศิลป์ : บอลชอยบัลเลต์ ผลงานสร้างชื่อของ             
 


   
search resources

International Cultural Promotion
เอกสิทธิ์ โชติภักดีตระกูล




การแสดงบัลเลต์เต็มรูปแบบเริ่มมีการแสดงในประเทศไทย เมื่อประมาณปี 2532 โดยพัฒนามาจากทัวร์บัลเลต์ที่แวะเข้ามาแสดงในเมืองไทย และมีผู้จัดเพียงรายเดียวคือบริษัท International Cultural Promotion จำกัด (ไอซีพี) จึงนับได้ว่าไอซีพีเป็นผู้สร้างโอกาสให้คนไทยได้รู้จักการดูและรู้ว่าบัลเลต์ที่แท้จริงเป็นเช่นไร

ทำให้ทุกวันนี้ ในกลุ่มผู้ดูบัลเลต์หากถามว่าใครเป็นผู้จัดการแสดงแล้วมีคำตอบว่า ไอซีพี ก็ถือเป็นเครื่องการันตีการแสดงบัลเลต์ได้เป็นอย่างดี

เอกสิทธิ์ โชติภักดีตระกูล กรรมการบริหารของไอซีพี พูดถึงการก่อตั้งบริษัทนี้ขึ้นมาเมื่อปี 2532ว่าเกิดจากความชอบส่วนตัวของเจ้าของบริษัท มีเดีย ทรานเอเชีย ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของนิตยสารต่างๆ อาทิ Living นิตยสาร Expression สำหรับสมาชิกบัตรอเมริกันเอ็กซเพรส ฯลฯ ที่มีความหลงใหลและชื่นชอบเพลงคลาสสิกทุกชนิด และชอบที่จะเดินทางไปชมสิ่งเหล่านี้ในต่างประเทศ ประกอบกับในช่วงที่ก่อตั้งบริษัท ในเมืองไทยยังไม่มีการแสดงบัลเลต์แบบเต็มรูปแบบ จะมีก็แต่บัลเลต์ทัวร์ ซึ่งจะใช้คนในคณะเพียง 20-30 คน ในการแสดง และใช้วิธีการเปิดเทปประกอบการเต้นก็คัดเพียงบางตอนของเรื่องมาแสดง

ในขณะที่บัลเลต์เต็มรูปแบบจะใช้คนแสดงทั้งหมดประมาณ 100 กว่าคน ประกอบด้วยวงออร์เคสตราบรรเลง บางครั้งจะจัดให้มีวงคอรัส และแสดงทั้งเรื่อง

และก่อนหน้าที่ไอซีพี จะมีโอกาสได้จัดการแสดงบัลเลต์เต็มรูปแบบ ทางสถานทูตรัสเซีย ได้เคยมาขอให้ไอซีพีช่วยประสานงานให้กับบัลเลต์ทัวร์ที่จะแวะเข้ามาแสดงในไทยในเรื่องของการจัดหาสถานที่ การหาสปอนเซอร์ และการดำเนินงานทุกด้าน

"ตอนนั้นเราเองก็ไม่เคยทำ ก็ต้องช่วยดู ได้เนสกาแฟมาเป็นสปอนเซอร์ การทำงานเป็นลักษณะเหมือนทัวร์คอนเสิร์ต ทั้งคณะประมาณ 33 คน การดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายไม่มาก เพราะแค่เปิดเทป มีม่านมาขึงแล้วแสดง" เอกสิทธิ์ กล่าว และเล่าว่า

จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น มีผู้รู้บัลเลต์ออกมาบอกว่า การแสดงบัลเลต์ทัวร์ครั้งนั้น ไม่ใช่บัลเลต์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ใช่บอลชอย (Bolshoi) บัลเลต์ หรือบัลเลต์ที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ หรือสุดยอดที่สุด ซึ่งจะมีอยู่เพียง 3 คณะเท่านั้นในสหภาพโซเวียตเดิม คือ คณะมอสโคว์บัลเลต์ คณะมินส์ค (Minsk) อยู่ในประเทศเบโลรูส หลังแยกตัวจากสหภาพโซเวียต และทาส์ชเคนท์ (Tashkent) อยู่ในประเทศอูเบกิสถานในปัจจุบัน

ผลที่ออกมาของการจัดบัลเลต์ทัวร์ ทำให้ผู้บริหารบริษัทไอซีพี พยายามที่จะจัดให้มีการแสดงบัลเลต์เต็มรูปแบบขึ้นให้ได้ โดยใช้เวลาอีก 1 ปี

ไอซีพีเริ่มดำเนินการวางแผนจัดบัลเลต์เต็มรูปแบบ ตั้งแต่การติดต่อสถานทูตรัสเซีย เพื่อติดต่อนำบัลเลต์มีชื่อเสียงในรัสเซียมาแสดงในไทยแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งทางสถานทูตก็ยินดี ขณะเดียวกันก็ค่อนข้างตกใจว่าประเทศไทย จะมีตลาดสำหรับผู้ชมบัลเลต์เต็มรูปแบบหรือไม่ เพราะจะต้องมีการลงทุนค่อนข้างมาก ในขณะที่กลุ่มคนดูยังมีน้อย

"ที่ใช้เวลาถึง 1 ปี ในการเตรียมการเพราะเมื่อเราต้องการทำให้ดี เราก็ต้องเตรียมทุกอย่างให้ครบวงจร เมื่อเราตั้งบริษัทไอวีพีในประเทศไทยแล้ว เราก็ไปตั้งในรัสเซียด้วย เพื่อว่าเราจะได้เลือกคณะบัลเลต์ที่เห็นว่าดีจริง โดยไม่ถูกปิดหูปิดตา พร้อมกับจ้างคนไทยที่จบทางด้านเธียเตอร์แมเนจเมนต์ มาดูแลบริษัทที่รัสเซีย ไว้คอยประสานงานกับทางประเทศไทย ซึ่งจะต้องบินไปช่วยดูในส่วนที่เกี่ยวข้อง" เอกสิทธิ์ กล่าว

ผลที่ได้การจัดบัลเลต์นับ 10 ครั้งในช่วง 7-8 ปี ของไอซีพี จึงได้คณะที่มีชื่อตำแหน่งบอลชอยมาแสดงในเมืองไทยถึง 2 คณะคือ คณะมินส์ค จากประเทศเบโลรูส และคณะทาส์ชเคนท์ จากอูเบกิสถาน เหลือเพียงคณะมอสโคว์ ที่ยังไม่สามารถติดต่อเข้ามาได้ เพราะเป็นคณะที่มีปัญหาภายในค่อนข้างมาก แต่ไอซีพีก็หวังว่าสักวันหนึ่งจะสามารถนำเข้ามาแสดงในไทยได้

"คณะที่เรานำเข้ามาเพื่อแสดงเรื่องสวอนเลค และซินเดอเรลล่า คือคณะจากอูเบกิสถาน ซึ่งเรานำเข้ามาเป็นประจำ ในขณะที่คณะจากเบโลรูส จะนำเข้ามาในบางปีที่มีการจัดแสดง 2 ครั้ง โดยจะแสดงช่วงกลางปี คณะทาส์ชเคนท์ จะมีดาราของคณะซึ่งมีชื่อเสียงมากเป็นเครื่องการันตีว่าเป็นที่หนึ่ง คือ แอนนา เดอโรส และแมกซิน โชปิก"

สำหรับแอนนา เดอโรส ถือได้ว่าเป็นดาราบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงและมีงานแสดงตลอดปี ทั้งในยุโรป อเมริกา ถือได้ว่าเป็นนักเต้นอันดับหนึ่งของโลก เพราะเป็นที่หนึ่งของสหภาพโซเวียตเก่า ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่เป็นสุดยอดของบัลเลต์

เอกสิทธิ์ยังได้กล่าวถึงคุณภาพของนักเต้นบัลเลต์ที่ต่ำลงภายหลังจากการแยกตัวของสหภาพโซเวียตว่า เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการแสดงบัลเลต ์ซึ่งนักเต้นได้ค่าตอบแทนเทียบเท่ากับเงินเดือนข้าราชการไม่เพียงพอกับค่าครองชีพในเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป

ทำให้นักเต้นบัลเลต์ที่มีคุณภาพ และค่อนข้างมีชื่อเสียงหาทางออกโดยการเป็นศิลปินไหลไปร่วมคณะการแสดงกับประเทศในยุโรปและอเมริกา กระจายไปในสามประเภทหลักที่ประกอบเป็นบัลเลต์หนึ่งคณะคือ คณะบัลเลต์ คณะโอเปร่า และวงออร์เคสตรา แต่ก็มีบ้างที่จะไปในลักษณะของนักแสดงรับเชิญ โดยไม่ยอมทิ้งถิ่นฐานเดิม

เพื่อรักษาสถานภาพของผู้จัดบัลเลต์ที่มีคุณภาพ ไอซีพีจึงต้องมีมาตรการในการควบคุมคุณภาพของคณะที่มาแสดงว่าจะต้องสมกับตำแหน่งบอลชอย ด้วยการกำหนดตัวแสดงที่ต้องการเช่นแอนนา เดอโรส หรือ แมกซิม โชปิก หรือการกำหนดตัววาทยกร ซึ่งจะต้องเป็นดีวา วาทยกรหญิงซึ่งได้รับตำแหน่งศิลปินแห่งชาติจากอดีตรัฐบาลสหภาพโซเวียต เพียงคนเดียว เป็นต้น

สำหรับการแสดงบัลเลต์ในปีนี้ กำหนดแสดงเรื่องสวอนเลค และซินเดอเรลล่า ในวันที่ 23-26 ตุลาคม 2540 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย บัตรราคา 700-1,800 บาทนั้น จะคุ้มกับที่ไอซีพีต้องลงทุนดำเนินการจัดงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามค่าเงินเหรียญสหรับ ที่เพิ่มขึ้นกว่า 30% หรือไม่นั้น เอกสิทธิ์กล่าวว่า

"ไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วงถ้าปีนี้เราจะต้องขาดทุนจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะในช่วงปีแรกๆ ที่บริษัทตั้งเป้าไว้ว่าจะขาดทุนจากการจัดบัลเลต์เต็มรูปแบบ แต่กลับได้กำไรผิดเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถ้าปีนี้จะต้องขาดทุนบ้างก็ไม่เป็นไร"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us