Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540
หมดยุคคุณนายแดง             
 


   
search resources

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7
สุรางค์ เปรมปรีดิ์
TV




เกือบ 16 ปีเต็ม ที่สุรางค์ เปรมปรีด์ นั่งบริหารงานเคียงบ่าเคียงไหล่ กับ ชาติเชื้อ กรรณสูต ผู้เป็นพี่ชายในสถานีโทรทัศน์ช่อง 7

เป็นเวลา 16 ปีเต็มที่สองพี่น้องคู่นี้ได้สร้างให้ช่อง 7 สี ครอบครองเรตติ้งคนดูสูงสุด ส่งผลให้งบโฆษณาทางโทรทัศน์มูลค่ามหาศาลตกอยู่ในมือของช่อง 7 มากที่สุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จของช่อง 7 มาจากฝีไม้ลายมือของสุรางค์ ในฐานะผู้จัดการฝ่ายรายการที่มองเห็นโอกาสของตลาดสามารถนำเสนอรายการได้จับใจกลุ่มผู้ชมในระดับชาวบ้าน อันเป็นฐานคนดูขนาดใหญ่ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งช่อง 7 ยึดเรตติ้งคนดูไว้ได้มากที่สุด และทำให้ช่วงไพรม์ไทม์ของช่อง 7 สี กลายเป็นช่วงเวลาทองที่ทำเงินรายได้มหาศาล

สุรางค์จึงได้รับความไว้วางใจอย่างมากจากชาติเชื้อ ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้น ซึ่งมีชวน รัตนรักษ์ เจ้าของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ผู้ถือหุ้นใหญ่ ให้มีอำนาจในการรับผิดชอบงานด้านรายการทั้งหมด ซึ่งถือเป็นหัวใจของธุรกิจสถานีโทรทัศน์

ฉายาเจ้าแม่ช่อง 7 ตกเป็นของสุรางค์ไปโดยปริยาย

แต่แล้วสัจธรรมที่ว่า ไม่มีผู้ใดแพ้หรือชนะตลอดไปยังใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย

ปีที่แล้วช่อง 7 โดนท้าทายอย่างหนักจากคู่แข่ง ทีวี ช่อง 3 และช่อง 5 ที่พยายาม
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเวลาสำหรับผังรายการในช่วงไพรม์ไทม์ใหม่ เพื่อช่วงชิงเวลาไพรม์ไทม์ของช่อง 7 สี คือช่วง 18.30-20.00 ที่เคยยึดหัวหาดมาตลอด ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ ที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับช่อง 7 อย่างมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรุกอย่างหนักของช่อง 3 ที่มีการปรับผังรายการเป็นระลอกเพื่อขยายช่วงไพรม์ไทม์ การนำเสนอรายการข่าว 2 ช่วง ชิงออกข่าวก่อนในช่วง 18.00 น. ตามด้วยภาพยนตร์จีน และละคร ในขณะที่ช่อง 5 นำละครมาออกในช่วงข่าวของช่อง 7 เพื่อสร้างจุดขายใหม่

การท้าทายในครั้งนั้นจากช่อง 3 และช่อง 5 ทำให้ช่อง 7 และสุรางค์ถูกจับตามองอย่างมากว่าจะแก้เกมอย่างไร แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ออกมาให้เห็น

จนกระทั่งเมื่อปัญหาเศรษฐกิจทนุดต่ำลงอย่างหนักตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบมาถึงธุรกิจทีวีอย่างจังเมื่อสินค้าต่างๆ ตัดงบโฆษณา บรรดาผู้จัดรายการบอกคืนเวลาช่วงไพรม์ไทม์ ซึ่งเคยถูกจับจองจากทุกเอเยนซีเริ่มหดหายไป

ตัวเลขยอดโฆษณาของสื่อทีวีที่เคยครองอันดับ 1 ซึ่งพุ่งสูงขึ้นถึง 2 หมื่นล้านบาทกลับลดต่ำลงมาเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี

การปรับกลยุทธ์ของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องมีขึ้นครั้งใหญ่ กลยุทธ์ด้านการตลาด ที่สถานีโทรทัศน์แทบไม่เคยนำมาใช้มาก่อนถูกนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการลดแลกแจกแถมค่าโฆษณา การโอบอุ้มบรรดาผู้จัดรายการที่เคยแย่งชิงเวลาให้อยู่รอดได้

ในที่สุดศูนย์ผลิตรายการของช่อง 7 ก็คลอดออกมา ซึ่งนับได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างครั้งสำคัญของช่อง 7 เพื่อรับมือกับภาวะที่เกิดขึ้น

ศูนย์ส่งเสริมการผลิตรายการนี้รับผิดชอบโดย ชลอ นาคอ่อน ผู้จัดการฝ่ายขายเวลา ลูกหม้ออีกคนของช่อง 7 ที่ได้รับมอบหมายให้มารับผิดชอบศูนย์แห่งนี้โดยเฉพาะ

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการผลิตรายการ เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบทางด้านรายการเสริมให้กับสุรางค์ ซึ่งจะมีแผนกต่างๆ อยู่ในศูนย์นี้ อาทิ แผนกประชาสัมพันธ์

"ไม่ได้ลดบทบาทคุณสุรางค์ เพราะคุณสุรางค์ยังคงเป็นผู้จัดการฝ่ายรายการ ยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิมทุกอย่าง การตัดสินใจทุกอย่างยังอยู่ที่บอร์ดของบริษัทเหมือนเดิม เพียงแต่ศูนย์นี้จะมาช่วยคุณสุรางค์ในการออกความคิดเห็นทางด้านรายการช่วยให้ช่อง 7 มีความรวดเร็วในการแข่งขันกับช่องอื่นๆ ได้มากขึ้น" แหล่งข่าวในช่อง 7 ชี้แจงกับ "ผู้จัดการ"

แต่ในทางปฏิบัติแล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของช่อง 7 และสุรางค์ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมารายการของช่อง 7 อยู่ภายใต้การบริหารของสุรางค์แต่เพียงผู้เดียวมาตลอด แต่เม่อดูจากภาระหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมการผลิตรายการ บทบาทในด้านของรายการจะตกอยู่กับศูนย์การผลิตรายการที่จะเป็นทัพหน้าแทนที่สุรางค์ ซึ่งจะหันมาอยู่ทัพหลัง

"ถึงยุคที่ช่อง 7 จะต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว คุณสุรางค์เล่นบทบาทนี้มานาน จนคู่แข่งรู้เกมดีอยู่แล้ว ดังนั้นช่อง 7 จึงต้องพยายามสร้างโปรเฟสชั่นแนลออกมา เพราะตลาดทีวีมันเปลี่ยนไปแล้ว ไม่เหมือนกับสิบปีที่แล้ว แต่ในยุคนี้ตลาดเปลี่ยนเป็นของผู้ดู การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น"

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือการปลดรายการสี่ทุ่มสแควร์ ของวิทวัส สุนทรวิเนตร ซึ่งเป็นรายการที่มีเรตติ้งสูงสุดรายการหนึ่ง เพียงเพราะต้องการให้เปลี่ยนพิธีกรหญิง ดวงตา ตุงคมณี ซึ่งว่ากันว่า เป็นเพียงเพราะดวงตาแต่งตัวไม่เหมาะสม แต่วิทวัสไม่ยอม การปลดรายการสี่ทุ่มสแควร์ในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อภาพพจน์ของสุรางค์ไม่น้อยในเรื่องของความเข้มงวดในการควบคุมผู้ผลิตรายการ ที่บางครั้งก็ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของตลาด มากไปกว่าความเหมาะสมในสายตาของสุรางค์

สไตล์การบริหารของสุรางค์ที่เน้นความละเอียดลออ ควบคุมผู้รับจ้างผลิต และผู้เช่าเวลาอย่างเข้มข้น ตัดสินใจอย่างเฉียบขาด ซึ่งเคยสร้างช่อง 7 สีให้เป็นอันดับ 1 ในอดีต อาจใช้ไม่ได้กับช่อง 7 ในยุคนี้อีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรุกหนักของช่อง 3 ที่มีทั้งเงินทุนและการตลาดกำลังวิ่งไล่ช่อง 7 มาติดๆ ทำให้ช่อง 7 ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยได้อีกต่อไป

ไม่เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในช่อง 7 เท่านั้นแต่ช่อง 7 ก็ตัดสินใจลดบทบาทการลงทุนในไอบีซีเคเบิลทีวี ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นกลยุทธ์การลงทุนครั้งสำคัญของช่อง 7 ที่เชื่อว่าเคเบิลทีวีจะเป็นสื่อใหม่ ที่จะเป็นคู่แข่งสำคัญของฟรีทีวีในอนาคต จึงทำให้ช่อง 7 กระโดดร่วมเป็นพันธมิตรกับชินวัตร และแกรมมี่ เพื่อเรียนรู้ธุรกิจนี้ และยังเป็นการเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร

แต่ช่อง 7 ในเวลานี้ไม่ใช่ช่อง 7 ในอดีต ในขณะที่ธุรกิจทีวีได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเศรษฐกิจ และการแข่งขัน การนำเงินมาทุ่มกับธุรกิจเคเบิลทีวีที่ยังขาดทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังต้องใช้เงินทุนอีกมหาศาลไม่ใช่เรื่องที่คุ้มค่ากับการลงทุน

ในการเพิ่มทุนครั้งล่าสุดของไอบีซีจาก 810 ล้านบาท เป็น 2,430 ล้านบาท ช่อง 7 ก็ตัดสินใจไม่เพิ่มทุน ทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของช่อง 7 ลดลงจาก 16.3% เหลืออยู่แค่ 5%

สัดส่วนการถือหุ้นที่ลดลงเหลือแค่ 5.03% ส่งผลต่อโครงสร้างการบริหารต้องเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน โควตากรรมการ 2 คนในบอร์ดคณะกรรมการ และตำแหน่งประธานกรรมการบริหารในบอร์ดบริหาร ที่สุรางค์ เปรมปรีด์ เคยนั่งอยู่คงต้องถูกยกไปให้ผู้ถือหุ้นใหญ่รายอื่น

อันที่จริงแล้วบทบาทของสุรางค์ในไอบีซีก็เริ่มลดน้อยลงมาตั้งแต่ชินวัตรดึงเอา MIH 1 ใน 3 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจเปย์ทีวีจากเนเธอร์แลนด์มาถือหุ้น การบริหารงานในไอบีซี ซึ่งสุรางค์เคยมีบทบาทในการชี้นำการบริหาร ก็ถูกเปลี่ยนมือไปให้ MIH ซึ่งมีประสบการณ์อย่างโชกโชนมาบริหารงานแทน

ถึงเวลาแล้วที่สุรางค์ เปรมปรีด์ ต้องเปลี่ยนบทบาทของตัวเองเสียที !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us