Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์27 กุมภาพันธ์ 2549
บทเรียนทีโอทีพ่ายทรูหมื่นล.เกมยืดเยื้อสะดุดแผนเข้าตลาดฯ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Telecommunications
ทีโอที, บมจ.
Law




ศึกฟ้องร้องหมื่นล้านทีโอที-ทรู คอร์ปอเรชั่น บานปลาย สถานการณ์เกมยืดเยื้อ สะดุดแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของทีโอทีแน่ พร้อมสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับภาคเอกชนที่มีสัญญาสัมปทานผูกมัดกับภาครัฐเดินหน้าฟ้องร้องอีกเพียบ

จากกรณีผลการพิจารณาคำวินิจฉัยคดีของอนุญาโตตุลาการ ที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยื่นฟ้อง บริษัท ทีโอที ที่มีการเรียกเก็บค่าเชื่อมโยงโครงข่ายจากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากผู้ให้บริการที่เป็นคู่สัญญากับบริษัท กสท โทรคมนาคม เลขหมายละ200 บาทต่อเดือนโดยไม่มีการแบ่งรายได้ให้กับทรู ซึ่งอนุญาโตฯได้มีเสียงเห็นชอบ 2 ใน 3 ตัดสินให้ ทีโอที ชำระค่าเสียหายแก่ทรู เป็นมูลค่ากว่า 9,175 ล้านบาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับจากวันที่ 22 สิงหาคม 2545 และทีโอทีจะต้องดำเนินการชำระภายใน 60 วันนับจากที่ผลชี้ขาดผลการพิจารณาดังกล่าวทำให้เกิดปะทะคารมระหว่างสองฝ่าย คือทีโอทีและทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งแต่ละฝ่ายออกมาแสดงความชอบธรรมในการฟ้องร้องครั้งนี้ และกลายเป็นประเด็นที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของทั้งสองบริษัท

หากสถานการณ์ของการฟ้องร้องที่ทางทีโอทีเตรียมขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของอนุญาโตฯ ต่อศาลปกครอง หรือการฟ้องร้องเพื่อให้เกิดผลบังคับใช้ตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตฯ ของทรู คาดว่าความยืดเยื้อที่ต้องใช้ระยะเวลาในการตัดสิน ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของทีโอทีอย่างแน่นอน

"งานนี้คงใช้เวลาเป็นปีในการพิจารณา ซึ่งกระทบกับแผนการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯของทีโอที และทีโอทีคงต้องรอการประชุมของคณะกรรมการระดมทุนว่าจะมีทางออกอย่างไร"

เป็นคำกล่าวของธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที ซึ่งได้จัดประชุมบอร์ดผู้บริหารทีโอทีด่วน หลังจากที่ได้รับทราบผลการวินิจฉัยของอนุญาโตฯ

ทั้งนี้ จากการประชุมบอร์ดทีโอทีได้มีมติให้ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ เรื่องแรกให้ทำเรื่องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของอนุญาโตฯ ยื่นไปยังศาลปกครอง โดยที่ฝ่ายกฎหมายของทีโอทีจะประสานงานกับอัยการเพื่อให้เหตุผลถึงการร้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอนุญาโตฯ ซึ่งตามหลักการต้องยื่นภายใน 90 วัน แต่คาดว่าทีโอทีจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากรับทราบคำวินิจฉัย 20 ก.พ.ที่ผ่านมา

"คดีที่มีมูลค่าความเสียหายมากขนาดนี้ และเป็นกิจการของรัฐที่มีผลกระทบกับประชาชน เราเชื่อว่าศาลปกครองคงรับเรื่อง 100% เราไม่เห็นด้วยกับอนุญาโตฯในเรื่องวิธีคำนวณ แนวคิดและหลักการ"การยื่นเรื่องดังกล่าวสู่ศาลปกครอง มีความเป็นไปได้ที่ศาลปกครองจะรื้อคดีด้วยการตรวจเอกสารเดิมที่ทั้งสองฝ่ายได้เคยยื่นไปเป็นหลัก เพื่อทำความเข้าใจในวิธีการตีความ ตลอดจนการประเมินมูลค่าความเสียหาย เพื่อพิสูจน์คำตัดสินของอนุญาโตฯ โดยอาจขอเอกสารเพิ่มบางส่วนขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของคดี

นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการชี้ขาดเขตอำนาจของศาล หลังจากที่อนุญาโตฯชี้ขาดมาแล้ว ทรูคงต้องฟ้องศาลเพื่อบังคับคดีภายใน 60 วันให้ทีโอทีปฏิบัติตามผลการชี้ขาดของอนุญาโตฯ โดยสามารถฟ้องได้ทั้งศาลยุติธรรมและศาลปกครอง ซึ่งหากฟ้องศาลปกครองก็สามารถรวมเข้าเป็นคดีเดียวกันเพื่อพิจารณาได้ แต่ถ้าทรูฟ้องศาลยุติธรรม คงต้องพิจารณาว่าอำนาจชี้ขาดจะอยู่ที่ศาลไหน

สำหรับเรื่องที่สองคือบอร์ดทีโอทีให้ฝ่ายบริหารทีโอทีร่วมกับอัยการบอกเลิกสัญญากับทรูโดยเร็ว เพราะเชื่อว่ามีเหตุผลเพียงพอในการเลิกสัญญา โดยผลการเลิกสัญญา คือทีโอทีจะซื้อกิจการทรูในราคา Book Value ประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาทและยึดอำนาจการบริหารงานทั้งหมด โดยที่ทรูยังมีสัญญาเหลืออีกประมาณ 10 ปี 8 เดือน หรือสิ้นสุดสัญญาวันที่ 29 ต.ค.2560

การเพิกถอนสัญญาสัมปทานของทรู เนื่องจากที่ผ่านมาทรูผิดเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญในสัญญาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริการวายเทล 1234 และการเปิดให้บริการ ADSL โดยไม่ได้แจ้งทีโอทีก่อน แต่ทีโอทีไม่ได้ใช้อำนาจตามสัญญาอย่างเข้มงวด

ทรูชนะแล้ว

ด้านอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการ และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย ทรู กล่าวว่า หากทีโอที ต้องการที่จะเรียกร้องเรื่องดังกล่าวจนถึงที่สุด ก็ต้องฟ้องศาลปกครองเกี่ยวกับผลการตัดสินของอนุญาโตฯว่าผิด ซึ่งขึ้นอยู่กับ ทีโอที ว่าจะดำเนินการหรือไม่ แต่สำหรับคำตัดสินครั้งนี้หากพิจารณาตามข้อสัญญาร่วมการงานที่ตกลงร่วมกันไว้ ทีโอที นั้นไม่สามารถดำเนินการฟ้องร้องเพื่อหามูลเหตุให้ชนะได้อีก เนื่องจากสัญญาร่วมการงานที่เขียนตกลงร่วมกันไว้นั้น ทีโอที ได้เขียนระบุถึง หากมีข้อพิพาท หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ ให้อนุญาโตฯเป็นผู้ชี้ขาดและเป็นที่สิ้นสุด

สำหรับการที่บอร์ดทีโอทีต้องการเลิกสัญญา ต้องดูว่าอัยการมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร แต่ในส่วนผู้ถือหุ้นของกลุ่มทรูคงไม่ขาย แต่ท่าทีของทีโอทีเป็นสิ่งที่ทรูโดนกระทำมาตลอด เวลาที่ทีโอทีเพลี่ยงพล้ำมักจะต้องหาเหตุอะไรมากระทำกับทรู

ฟ้องร้องกันเพียบ

ทั้งนี้คดีที่ทรูฟ้องร้องทีโอทีมีทั้งหมด 4 คดีโดยยื่นฟ้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ 3 คดีและฟ้องต่อศาลปกครองกลาง 1 คดีเรียกร้องในวงเงิน 23,065 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ข้อกล่าวหาทีโอทีนำบริการพิเศษ (โทรศัพท์เคลื่อนที่) มาผ่านโครงข่ายทรูโดยไม่ได้ตกลงกับทรู เรียกร้อง 1.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งอนุญาโตฯได้มีคำพิพากษาให้ทีโอทีแพ้คดีดังกล่าวแล้ว

2.กล่าวหาทีโอทีไม่ประสานงานกับบริษัท กสท โทรคมนาคมเพื่อแยกข้อมูลการเรียกเข้าจากต่างประเทศและคำนวณส่วนแบ่งรายได้ไม่ถูกต้อง เรียกร้อง 8,400 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกประธานอนุญาโตฯ

3.กล่าวหาทีโอทีไม่ชำระส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์สาธารณะในส่วนที่ทรูให้บริการก่อนลงนามในบันทึกข้อตกลง จำนวน 6 พันเลขหมาย ฟ้องต่ออนุญาโตฯเรียกร้อง 43 ล้านบาทซึ่งปรากฏว่าอนุญาโตฯเสียงข้างมากชี้ขาดให้ทีโอทีจ่ายให้ทรูตั้งแต่ 8 เม.ย.48 ที่ผ่านมา แต่ทีโอทีร้องต่อศาลปกครองเมื่อ 14 ก.ค. 48 ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตฯไม่อยู่ในขอบข่ายสัญญาร่วมการงาน ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง

4.กล่าวหาทีโอทีลดค่าโทรศัพท์ทางไกลภายในประเทศ Y-tel 1234 โดยไม่ตกลงกับทรู ฟ้องต่อศาลปกครองกลางเรียกร้อง 622 ล้านบาท ซึ่งศาลปกครองกลางพิพากษาให้ทีโอทีชนะคดี ทรูยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ครบกำหนดทีโอทีแก้อุทธรณ์ 17 ก.พ.49

สำหรับคดีที่ทีโอทีฟ้องทรู 5 คดี โดยยื่นต่ออนุญาโตฯทั้งหมดเรียกร้อง 19,371 ล้านบาท และอยู่ระหว่างดำเนินการฟ้องอีก 3 คดีเรียกร้องไม่น้อยกว่า 81.8 ล้านบาทประกอบด้วย

1.กล่าวหาทรูผิดข้อตกลงโทรศัพท์สาธารณะโดยปิดตราสัญญลักษณ์ทรู บนเครื่องและตู้โทรศัพท์สาธารณะเรียกร้อง 433 ล้านบาท อยู่ระหว่างนัดสืบพยาน

2.กล่าวหาทรูผิดสัญญาร่วมการงานพิมพ์ชื่อและสัญญลักษณ์ทรูบนใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน เรียกร้อง 1,922 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอยื่นคำให้การ เอกสารต่างๆ

3.กล่าวหาทรูค้างชำระค่าเช่าท่อร้อยสาย (เมืองทองธานี) เรียกร้อง 6 ล้านบาท อยู่ระหว่างเลือกประธานอนุญาโตฯ

4.กล่าวหาทรูลดค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลภายในประเทศ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากทีโอที เรียกร้อง 1.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างยื่นคำคัดค้านของทรู

และ5.กล่าวหาทรูให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (ADSL) โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากทีโอที เรียกร้อง 2,010 ล้านบาท อยู่ระหว่างยื่นคำคัดค้านของทรู

นอกจากนี้ยังมีคดีอยู่ระหว่างดำเนินการกรณีทรูผิดสัญญาร่วมการงานอีก 3 คดีคือ 1.ทรูค้างชำระค่าใช้บริการ PCT และบริการพิเศษ SPC เรียกร้อง 72 ล้านบาท 2.ทรูต่อเชื่อมวงจรทางไกลระหว่างประเทศโดยตรงกับกสท โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทีโอทีเรียกร้อง 9.8 ล้านบาทและ3.ทรูให้บริการโทรศัพท์สาธารณะPCT Buddyโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากทีโอที   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us