Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 กุมภาพันธ์ 2549
จี้นายกฯประกาศยุบสภาทางออกแก้ปัญหาศก.-ฟื้นความเชื่อมั่น             
 


   
search resources

Economics
Political and Government
ธีระ ภู่ตระกูล




ผู้จัดการกองทุนแนะรัฐบาลยุบสภาขจัดปัญหาการเมืองยืดเยื้อ เหตุความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ลงทุน ย้ำถือเป็นวิธีที่สะอาดและรวดเร็วที่สุด คาดเศรษฐกิจโลกอาจจะเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจอีกรอบ หลังดอกเบี้ยเฟดมีแนวโน้มทะยานต่อถึง 5% จากปัญหาเงินเฟ้อ กดดันตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทยมีความเสี่ยงมากขึ้น

นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยถึงปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่านักลงทุนทั้งในและต่างประเทศถือเป็นความเสี่ยง ซึ่งทางเลือกในการแก้ปัญหานั้นมองว่ามีอยู่ 3 ทางออกคือ หนึ่งรัฐบาลยื้อออกไป ซึ่งผลที่ตามมาอาจจะรุนแรงมากขึ้น สองคือ นายกรัฐมนตรีลาออกแล้วตั้งคนใหม่ขึ้นมาบริหารงานแทน และประเด็นที่สามคือ ยุบสภาแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่

"ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่ชอบ โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าแนวทางที่รัฐบาลควรทำมากที่สุด เพื่อขจัดความไม่แน่นอนคือ การยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะถือเป็นวิธีที่สะอาดและรวดเร็วที่สุดแม้ว่าอาจจะต้องเสียงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งไปบ้าง" นายธีระกล่าว

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านการเมืองถือเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ถ้าหากมองลึกลงไปถึงเศรษฐกิจของประเทศแล้วยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 7% รวมทั้งผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในระดับสูง

สำหรับผลกระทบเงินทุนไหลออก นายธีระกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวคงยังไม่เกิดขึ้น แต่อาจจะเป็นช่วงที่นักลงทุนพักเงินเพื่อรอดูสถานการณ์และประเมินความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อน ซึ่งนอกเหนือจากปัญหาความไม่แน่นอนเรื่องการเมืองแล้วยังรวมถึงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

ส่วนการชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรีให้ออกจากตำแหน่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นายธีระกล่าวว่า คงต้องรอดูว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร โดยส่วนตัวแล้วอยากให้จบโดยเร็ว เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นความไม่แน่นอนสำหรับผู้ลงทุน และอาจจะกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน อีกทั้งยังมีสิ่งที่รัฐบาลเองยังต้องดำเนินการต่ออีกหลายอย่าง

นายธีระกล่าวถึงภาวการณ์ลงทุนทั่วโลกว่า ปัจจัยที่น่าจับตามองในขณะนี้คือ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่มีโอกาสจะปรับขึ้นต่อไปอีก โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ที่มีการคาดการณ์ว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เนื่องจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่าอาจจะขยับขึ้นไปถึง 5% ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะทำให้การลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (อีเมอร์จิ้งมาร์เก็ต) มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งหากเปรียบเทียบการฝากเงินในสหรัฐอเมริกาแล้วได้ดอกเบี้ย 5% ในขณะที่ตลาดเกิดใหม่ก็ได้ 5% เช่นกัน แต่มีความเสี่ยงมากกว่า แน่นอนว่าผู้ลงทุนย่อมเลือกฝากเงินไว้ที่เดิมที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า

ทั้งนี้ ความเสี่ยงในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่มีโอกาสจะส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ได้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก

"สำหรับประเทศไทยต้องยอมรับว่า เป็นประเทศเกิดใหม่เช่นกัน และจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในรอบที่ผ่านมา ทำให้เราได้เรียนรู้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเตรียมตัวและมีความพร้อมแค่ไหน หากมรสุมกลับมาอีกรอบเศรษฐกิจบ้านเราจะรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน แต่หากจะเกิดวิกฤตอีกรอบเชื่อว่าอาจจะไม่รุนแรงเท่าครั้งที่ผ่านมา" นายธีระกล่าว

ทั้งนี้ จากการประเมินประเทศไทยของธนาคารโลกให้คะแนนในเรื่องธรรมรัฐของประเทศออกมาไม่ดีนักทั้งความไม่แน่นอนทางการเมือง ปัญหาการคอร์รัปชั่นความโปร่งใส และความไม่เข้มงวดของกฎหมายต่างๆ ในประเทศ เช่น การเข้าจดทะเบียนของบริษัท กฝผ. จำกัด (มหาชน) ที่ถูกเลื่อนออกไปโดยไม่มีสาเหตุ รวมทั้งการเข้าจดทะเบียนของเบียร์ช้าง ที่ยังไม่มีความแน่นอนว่าใครกันแน่ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ

นอกจากนี้ ในเรื่องความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินของไทยนั้น สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดี้ส์อินเวสเตอร์สเซอร์วิส หรือ มูดี้ส์ ได้ให้คะแนนอยู่ที่ระดับ D- แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ดีกว่าอาเจนติน่า หรือรัสเซีย แต่นักลงทุนต่างประเทศก็ยังมองในภาพที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม หากมองภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศแล้ว ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

นายธีระกล่าวแนะนำผู้ลงทุนว่า ในช่วงที่มีความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ยการลงทุนในตราสารหนี้อาจจะไม่ดีนักนอกจากตราสารหนี้ระยะสั้นๆ แต่ผลตอบแทนประมาณ 3.7-3.8% อาจจะเอาชนะเงินเฟ้อที่ระดับ 5.9% ในปัจจุบันไม่ได้ ส่วนการลงทุนในหุ้น ผู้ลงทุนควรจะเลือกลงทุนระยะยาว ซึ่งการลงทุนที่น่าสนใจคือการลงทุนในดัชนีเซท 50 เพราะถือว่าเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องที่ดี รวมทั้งต้องมีการกระจายการลงทุนออกไปต่างประเทศด้วย

สำหรับแผนการดำเนินงานของบลจ.ฟินันซ่าในปีนี้ นายธีระกล่าวว่า ในช่วงกลางปีบริษัทมีแผนจะจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ที่เน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ทั้งนี้ สาเหตุที่เลือกออกกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศนั้น เนื่องจากปัจจุบัน บลจ.ฟินันซ่ามีผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนครบหมดแล้ว แต่สำหรับกองทุนประเภทคอมมอดิตี้นั้นยังไม่มี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us