Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540
FedEx เพิ่มเที่ยวบินในไทยหวังเศรษฐกิจฟื้น             
 


   
search resources

Federal Express
แก้วใจ นาคสกุล สุวรรณวาณิช
Transportation




ในวงการธุรกิจขนส่งพัสดุภัณฑ์หรือขนส่งเอกสารของภาคเอกชน (air express) ปัจจุบันอยู่ในช่วงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงที่ผ่านมาอัตราการเติบดตของภาคธุรกิจดังกล่าวทั่วโลกอยู่ที่ระดับ 20% โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียซึ่งมีการคาดกันว่าการเติบโตจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ คือประมาณ 20-30% ส่วนธุรกิจนี้ในประเทศไทยอัตราการเติบโตก็คงจะอยู่ที่ระดับการเติบโตเฉลี่ยของโลก

ดังนั้น ในขณะนี้บริษัทที่ให้บริการด้านนี้จึงหันมาสนใจตลาดในเอเชียกันมากขึ้น โดยเฉพาะ Federal Express (FedEx) ที่เริ่มบุกตลาดเอเชียเพื่อขยายบริการสู่ตลาดโลกด้วย การเริ่มจากการซื้อกิจการ "เกลโค่" ซึ่งเป็นบริษัทจัดส่งพัสดุภัณฑ์ด่วนขนาดเล็กที่มีสาขาในยุโรปและเอเชียในปี 2527 และถัดมาในปี 2530 FedEx ได้จัดตั้งสำนักงานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกขึ้นที่ฮาวาย เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายของ FedEx และเกลโค่ในอเมริกากับเอเชีย ส่งผลให้บริการลูกค้าในแถบเอเชียได้ดียิ่งขึ้น และเปิดบริการขนส่งสินค้าด่วนตรงสู่ญี่ปุ่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ปี 2532 FedEx ได้ซื้อกิจการ "ฟลายอิ้ง ไทเก้อร์" ซึ่งเป็นสายการบินขนส่งสินค้าและมีสิทธิการบินสู่ 21 ประเทศ และในปีเดียวกัน FedEx ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอเมริกาให้เปิดเที่ยวบินประจำเพื่อขนส่งเอกสาร พัสดุภัณฑ์ และสินค้า สู่จุดหมายจำนวนมากในเอเชีย นับจากนั้นเป็นต้นมา FedEx มีเครือข่ายและปริมาณการขนส่งในเอเชียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับการเติบโตและความมั่งคั่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้น FedEx จึงได้ย้ายสำนักงานจากฮาวายมาประจำที่ฮ่องกงในปี 2535 เพราะมั่นใจว่าภูมิภาคเอเชียจะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของบริษัทในอนาคต

"การเติบโตในเอเชียจะมีมากกว่าในอเมริกาเพราะอเมริกาค่อนข้างอิ่มตัวแล้วแต่ในเอเชียยังมีศักยภาพอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นในเอเชียกันเอง หรือว่าจากเอเชียไปอเมริกาหรือไปยุโรป และแน่นอนขณะนี้สัดส่วนรายได้จากเอเชียจะมากกว่า" แก้วใจ นาคสกุล สุวรรณวาณิช ผู้จัดการการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ ประจำประเทศไทย กล่าวถึงความสำคัญของตลาดในเอเชีย

นอกจากนี้ในปี 2538 FedEx ได้เริ่มเปิดเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกสัปดาห์ละ 5 เที่ยวบิน รวมทั้งจัดตั้งศูนย์เครือข่ายการบริการในเอเชียที่อ่าวซูบิค ประเทศฟิลิปปินส์ ที่เรียกว่า "เอเชียวัน" เพื่อให้บริการขนส่งด่วนถึงผู้รับในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นระบบการให้บริการกับเครือข่ายขนส่งรอบดลก FedEx ทั้งในอเมริกาเหนือและใต้ แอฟริกา และยุโรป ด้วยเหตุนี้ทำให้รายได้ปีล่าสุดมีสูงถึง 11.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันเรามีฝูงบินให้บริการ 584 ลำ ให้บริการถึง 212 ประเทศ นอกจากนี้เรากำลังจัดหาเครื่องบินอีก 113 ลำ ซึ่งเราเป็นบริษัทที่มีจำนวนฝูงบินที่ใหญ่ที่สุดของโลกในธุรกิจนี้" แก้วใจ กล่าว

สำหรับการทำธุรกิจของ FedEx ในประเทศไทยแก้วใจ เล่าว่าในอดีตเคยให้บริการ 1 เที่ยวต่อสัปดาห์ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น FedEx จึงได้เพิ่มเที่ยวบินเป็น 5 เที่ยวต่อสัปดาห์ ซึ่งเริ่มให้บริการได้เมื่อต้นเดือนกันยายน 2540

"การบริการในไทยจะเป็นลักษณะบินตรงมาเลย ซึ่งจะเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยจะเริ่มจากอเมริกา บินตรงเข้าฝรั่งเศส จากนั้นจะมุ่งสู่ดูไบ บอมเบย์ กรุงเทพฯ ฟิลิปปินส์ โอซากา และเมมฟิส"

สาเหตุที่ FedEx ตัดสินใจเพิ่มเที่ยวบินในครั้งนี้เนื่องจากเล็งเห็นว่าการทำการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศในแถบเอเชียมีศักยภาพมาก เพราะเป็นคู่ค้าที่สำคัญต่อกัน สังเกตได้จากปริมาณการนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นการเพิ่มเที่ยวบินก็จะสามารถบริการลูกค้าในเอเชียได้มากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันบริษัทให้บริการได้ในลักษณะเพียงข้ามคืนได้ถึง 14 เมือง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งจะกระทบต่อธุรกิจของ FedEx พอสมควร เรื่องนี้แก้วใจเปิดเผยว่า เมื่อปริมาณการส่งออกของผู้ประกอบการไทยลดลง จำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการกับบริษัทจะลดตามไปด้วย แต่ขึ้นอยู่กับว่าสินค้านั้นเป็นอะไร เช่น วัตถุดิบที่ลูกค้านำเข้ามาผลิต หรือประเทศคู่ค้าคือใคร ซึ่งอาจจะกระทบบ้าง ในทางกลับกันก็มีผลในแง่ดีด้วย เช่น สินค้าบางชนิดตามสายตาตลาดโลกจะมีราคาถูกลง ดังนั้นก็จะมีลูกค้ามาใช้บริการกับ FedEx เพิ่มมากขึ้น

"อัตราการสางออกลดลงกว่าช่วงก่อนๆ มาก แต่เราก็เชื่อมั่นว่าตลาดของไทยยังมีศักยภาพอยู่สูงเพราะเป็นประเทศที่ส่งออกรายใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง เช่น สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์" แก้วใจ กล่าว

และสิ่งที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งที่ FedEx หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ธุรกิจ air express ในประเทศไทยไม่ใช่มีเฉพาะ FedEx เท่านั้น ยังมีทั้ง DHL Worldwide Express (Thailand), TNT Express Worldwide (Thailand) ซึ่งแต่ละบริษัทต่างก็มีการให้บริการลูกค้าในลักษณะที่คล้ายๆ กัน เพราะโดยพื้นฐานการบริการ คือ รวดเร็ว สะดวกสบาย หรือการบริการแบบถึงที่ ที่เรียกว่า door to door

"จุดเด่นของเราในการแข่งขัน คือ การบริการที่มี value มากกว่า นอกจากส่งด่วนแล้วเรายังมีการรับประกันด้านอื่นๆ เช่น ประกันความเร็ว การตรงต่อเวลาหรือรับประกันคืนเงิน และที่สำคัญความเชื่อถือเพราะเรามีเครื่องบินเอง ดังนั้นการควบคุมสินค้าจะดีกว่า" แก้วใจ เล่า

นอกจากนี้ค่าเงินบาทหรือการเรียกเก็บค่าภาษีศุลกากรเพิ่มสูงขึ้นก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งของธุรกิจนี้ เนื่องจากจะต้องแบกรับกับต้นทุนที่นับวันสูงขึ้นเรื่อยๆ ทางออกของผู้ประกอบการ นอกจากการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว หนทางหนึ่งที่นิยมกันมาก คือ การเพิ่มราคาค่าขนส่ง ซึ่ง FedEx เองก็แบกรับต้นทุนไม่ไหว ดังนั้นทางผู้บริหารคาดว่าจะต้องปรับราคาค่าบริการเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 8%

นอกเหนือจากการเพิ่มเที่ยวบินแล้ว ล่าสุด FedEx ยังให้ความสนใจต่อโครงการศูนย์กลางผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ (Global Transpark : GTP) ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางอากาศ โดยจะทำการพัฒนาที่สนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี ซึ่งแผนแม่บทของ GTP จะต้องดำเนินการ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลางขนส่งทางอากาศ การสร้างอาคารที่พักสินค้า ทำคาร์โก ซึ่งจะแยกว่าจุดไหนเอกชนจะเข้าไปลงทุน และการดำเนินการบริเวณรอบสนามบินว่าส่วนไหนบ้างที่เหมาะสำหรับการสร้างอาณานิคมอุตสาหกรรม ซึ่ง FedEx กำลังพิจารณาว่าจะเข้าร่วมถือหุ้นในโครงการนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน FedEx ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นที่ปรึกษาของโครงการ GTP เพื่อดูแลด้านการตลาดโดยตรง

แต่โครงการนี้อยู่ในช่วงเตรียมการ และสิ่งแรกที่จะเริ่มลงมือได้นั้นคาดว่าจะเป็นปีหน้า ดังนั้นในช่วงนี้ FedEx ก็ร้องเพลงรอไปก่อน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us