Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540
สินบัวหลวงตั้งเป้าเข้าตลท.เปิดตัวใหญ่พร้อม 6 บริษัทในเครือ             
 


   
search resources

สินบัวหลวง
สุเจนต์ ศรีสุข




ในยามที่ภาวะเศรษฐกิจไม่แน่ไม่นอน คาดเดายากเช่นนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เองแม้จะอาการดีขึ้นมานิดหน่อย แต่ก็ยังไม่เป็นที่วางใจของนักลงทุน 1 ปีเศษที่ผ่านมาหลักทรัพย์ใหม่ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดฯ มีน้อยมากจนไม่มีใครอยากจะกล่าวถึงด้วยว่ากล่าวไปก็ช้ำใจทั้งเจ้าของกิจการที่นำหุ้นเข้าตลาดฯ อันเดอร์ไรเตอร์ที่รับหุ้นเหลือจากการจองซื้อไว้เต็มพอร์ต และนักลงทุนที่เผลอตัวเผลอใจไปชั่วขณะ

อย่างไรก็ดี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงมีความหมายสำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯ นอกจากจะเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญแล้ว บริษัทต่างๆ ที่เข้ามาอยู่ภายใต้ร่มเงานี้ก็เสมือนได้รับการการันตีไปในระดับหนึ่งว่ามีคุณภาพไม่น้อยหน้าใคร ซึ่งส่งผลให้ดำเนินธุรกิจสะดวกขึ้น มีอำนาจต่อรองดีขึ้น และการหาแหล่งเงินทุนในลักษณะของการกู้เงินได้ในต้นทุนที่ต่ำลง

สุเจนต์ ศรีสุข กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.สินบัวหลวง บริษัทในเครือบมจ.ธนาคารกรุงเทพ ได้เล็งเห็นความสำคัญเหล่านี้จึงได้แปรสภาพ บริษัทสินบัวหลวง จำกัด ให้เป็นบริษัทมหาชนตั้งแต่เดือนเมษายน 2540

สุเจนต์ เปิดเผยว่า "เราได้มีการยื่นเรื่องไปที่ ก.ล.ต.แล้ว แต่จะเข้าตลาดฯ ตอนไหนก็ต้องมาดูเวลาอีกทีเพราะช่วงนี้จังหวะอาจจะยังไม่ดีนัก"

กระนั้นก็ตามสินบัวหลวงได้ติดต่อกับทางอันเดอร์ไรเตอร์คาดว่าจะเป็นโบรกเกอร์ต่างประเทศ เช่น เจพี มอร์แกน แล้ว เนื่องจากหากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จริง บริษัทมีนโยบายจะกระจายหุ้นเพิ่มทุนนี้ไปยังนักลงทุนสถาบันในต่างประเทศประมาณ 70% ของหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดประมาณ 250 ล้านบาท สำหรับที่ปรึกษาทางการเงินคาดว่าจะเป็นบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT)

ปัจจุบันสินบัวหลวงมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,000 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นใหญ่คือตระกูลโสภณพนิช 35% บมจ.ธนาคารกรุงเทพ 10% บงล.ร่วมเสริมกิจ จำกัด (มหาชน) 10% บงล.สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) บมจ.กรุงเทพประกันภัย 5% อื่นๆ ดำเนินธุรกิจหลักในด้านการบริการการเงินและบริการอื่นๆ

ทั้งนี้ บมจ.สินบัวหลวงได้มีการจัดโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 6 บริษัทย่อย เพื่อดูแลธุรกิจในแต่ละแขนงคือ บริษัทสินบัวหลวงลิสซิ่งซึ่งให้บริการด้านลิสซิ่งเช่าซื้อ และบริการขายสินค้าผ่อนชำระ บริษัทสินบัวหลวงเซอร์วิส ให้บริการด้านรถเช่า บริการทำความสะอาด และบริหารอาคารสำนักงาน บริษัทสินบัวหลวง แคปปิตอล ให้บริการด้านการเงิน เช่น รับซื้อตั๋วการค้า รับโอนสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้การค้า และรับซื้อตราสารหนี้ของสถาบันการเงิน บริษัทสินบัวหลวงแอ๊พไพรซัลให้บริการประเมินมูลค่าทรัพย์สินประเภทที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ เครื่องจักร และอุปกรณ์ บริษัทเอส บี อินเตอร์เนชั่นแนล บิสซิเนส ซึ่งตั้งขึ้นใหม่เพื่อให้บริการนายหน้าซื้อขายไปจนถึงการให้เช่าและให้คำปรึกษา

ทั้งนี้รายได้หลักของบมจ.สินบัวหลวงมาจากการให้บริการลิสซิ่งและเช่าซื้อประมาณ 600 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราส่วน 60% ของยอดรายรับรวม นอกจากนั้นมาจากบริการขายสินค้าผ่อนชำระ 20% และบริการอื่นๆ อีก 20%

อย่างไรก็ตาม ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีการชะลอสินเชื่อด้านลิสซิ่งและเช่าซื้อลง เนื่องจากสินเชื่อเหล่านี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ พร้อมทั้งหันไปเน้นบริการขายสินค้าผ่อนชำระในชื่อว่าโครงการสวัสดิการบัวหลวงมากขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพดีแม้ในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำ เพราะพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปทำให้ตลาดขายสินค้าผ่อนชำระขยายตัวเร็วมากประมาณ 40% ต่อปีปัจจุบันมีมูลค่าตลาดประมาณ 25,000 ล้านบาท ทุกวันนี้มีผู้ดำเนินธุรกิจเงินผ่านทั้งในและต่างประเทศ ให้บริการในหลายรูปแบบทั้งที่ขายสินค้าของตนเองเปิดเคาน์เตอร์รับจัดไฟแนนซ์ควบคู่กับห้างสรรพสินค้าและร้านค้า หรือกระทั่งการขายตรงผ่านไปรณณีย์

"การแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้โครงการสวัสดิการสินบัวหลวง ต้องมีการปรับกลยุทธ์การทำตลาดด้วยการเสนอสินค้าชั้นนำหลากหลายในราคาสวัสดิการแก่พนักงานของบริษัท ซึ่งสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 4,000 แห่ง และตลาดสินค้าผ่อนชำระในประเทศร้อยละ 70 อยู่ในภูมิภาค ดังนั้นสินบัวหลวงจึงมีข้อได้เปรียบที่สามารถให้บริการครอบคลุมตลาดส่วนนี้ได้โดยผ่านทางสำนักงานสาขา 37 แห่งทั่วประเทศ และกำลังจะเปิดเพิ่มอีก 2 แห่งในเร็วๆ นี้ ซึ่งผู้ให้บริการผ่อนชำระรายอื่นๆ ยังเข้าไม่ถึง" สุเจนต์ กล่าว พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าภายในปีนี้จะสามารถขยายจำนวนบริษัทสมาชิกได้ถึง 6,000 แห่ง

ทั้งนี้บริษัทยังมีนโยบายจะขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าว่าในปี 2543 จะมีสาขาทั้งสิ้น 75 แห่งทั่วประเทศ

สุเจนต์ กล่าวว่า "สวัสดิการสินบัวหลวง เป็นโครงการขายสินค้าราคาสวัสดิการ ซึ่งจะถูกกว่าราคาขายผ่อนทั่วไปในท้องตลาด คืออัตราดอกเบี้ยประมาณ 1.25% ต่อเดือน"

ธุรกิจบริการอื่นๆ ที่สุเจนต์เล็งเห็นศักยภาพในขณะนี้ก็คือ Home care service ซึ่งเป็นธุรกิจให้บริการดูแลซ่อมแซมบ้าน เช่น ท่อน้ำเสีย ไฟเสีย กำจัดปลวก เป็นต้น

การขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้งนี้ ทำให้บมจ.สินบัวหลวงต้องระดมทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในลักษณะของการเพิ่มทุน และกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ โดยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาก็ได้ทำการระดมเงินโดยการขายหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสกุลเงินเยน (Floating Rate Notes) มูลค่า 6,000 ล้านเยน เพื่อนำมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนภายในบริษัท เนื่องจากรายได้หลักของบริษัทมาจากธุรกิจลิสซิ่ง เช่าซื้อและบริการขายสินค้าผ่อนชำระ ซึ่งล้วนแล้วแต่จำเป็นต้องมีทุนหมุนเวียนสูงนั่นเอง ทำให้บริษัทมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยเหตุผลสำคัญคือต้องการเครดิตในการระดมทุนโดยเฉพาะในเรื่องของการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำลง อันจะเป็นผลดีต่อธุรกิจในระยะยาว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us