|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"แบงก์ไทยพาณิชย์" คืนกำไรผู้ถือหุ้น เตรียมประชุมบอร์ด ขออนุมัติจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 30-40 %ของกำไรสุทธิ ยันเงินกองทุนแกร่ง 15-16 % รองรับการขยายสินเชื่อกว่า 4 แสนล้านบาทโดยไม่ต้องเพิ่มทุน แจงออก FRN วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อบริหารเงินไฟแนนซ์เงินสกุลดอลล่าร์ที่จะครบดิวเดือนมีนาคม 150 ล้านเหรียญสหรัฐ และปล่อยกู้ให้กับลูกค้า ระบุปีนี้ตั้งสำรองเข้มกว่า 1,200 ล้านบาท
คุณหญิง ชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) SCBเปิดเผยว่า ธนาคารจะมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในเดือนมีนาคม เพื่อนำผลสรุปชี้แจงในการประชุมผู้ถือหุ้นของธนาคารในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ เพื่อพิจารณาอนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตามนโยบายของธนาคารต้องการที่จะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในช่วงนั้นด้วย ภาวะเศรษฐกิจและผลกำไร โดยปกติธนาคารมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 30-40 %ของกำไรสุทธิ จากปีก่อนที่จ่ายในอัตราหุ้นละ 2 บาท หรือคิดเป็น 36% ของกำไรสุทธิ
"เรารู้ว่าผู้ถือหุ้นเองก็อยากที่จะได้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งเงินปันผล 30-40%นั้นก็เป็นอัตราที่คาดหวังได้อยู่ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุมของคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นต่อไป โดยปีที่ผ่านมาธนาคารสามารถสร้างผลตอบแทนต่อการลงทุนประมาณ 19-20 % "คุณหญิงชฎากล่าว
อย่างไรก็ตาม ธนาคารเองก็ยังไม่มีแผนที่จะระดมทุนผ่านช่องทางใดๆ ที่จะกระทบต่อผู้ถือหุ้นหรือกระทบต่อธนาคาร เนื่องจากต้องการรักษาอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นไว้ รวมทั้งยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องระดมทุนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเงินกองทุน โดยปัจจุบันธนาคารมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงประมาณ 15-16 % แบ่งเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ประมาณ 11 % ที่เหลือเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 2
ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเงินกองทุนที่ธนาคารสามารถขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีก 400,000 ล้านบาท หรือเติบโต 50 % จากยอดสินเชื่อคงค้างปัจจุบันประมาณ 800,000 ล้านบาท และหากคำนวณว่าสินเชื่อธนาคารโตปีละ 10 % จะสามารขยายธุรกิจได้ถึง 5 ปีโดยไม่ต้องเพิ่มทุน และยังไม่นับรวมกำไรของธนาคารในแต่ละปีที่จะนำเข้ามาอยู่ในเงินกองทุน
ออก FRN เพื่อบริหารเงินไม่ใช่เสริมเงินกองทุน
สำหรับการออกหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Note) หรือ FRN ที่คณะกรรมการธนาคารได้อนุมัติเมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมานั้น ธนาคารมีแผนที่จะออกหุ้นกู้วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ อายุ 3 ปี ในอีก 2 เดือนนับจากนี้ ขายให้กับนักลงทุนต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ของการออก FRN เพื่อเสนอขายให้นักลงทุนต่างประเทศทั้งจำนวน และเงินที่ได้จะนำไปใช้ทดแทนเงินกู้ต่างประเทศที่จะครบกำหนดในเดือนมีนาคม จำนวน 150 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย ส่วนที่เหลือจะนำไปใช้ในการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าในรูปของเงินสกุลดอลลาร์ รวมทั้งเสริมแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศที่ธนาคารจะมีไว้ประมาณ 1000 ล้านเหรียญโดยเฉลี่ย
"ธนาคารไม่ได้ออก Hybrid อย่างที่ใครๆกำลังฮิตกัน เพราะไม่ได้ต้องการเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 แต่ต้องการนำเงินมาชดเชยหนี้ที่ครบกำหนด และนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาปล่อยกู้เท่านั้น ส่วนความเสี่ยงต่างๆทั้งการเมือง หรือเรื่องอื่นๆ ธนาคารได้ประเมินไว้แล้ว สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้นจะต้องทำการสำรวจราคาจากนักลงทุนสถาบันก่อน แต่ก็น่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่อิงกับ libor บวกเพิ่ม "คุณหญิงชฎา กล่าว
ตั้งสำรองเข้มปีนี้กว่า 1,200 ล้านบาท
สำหรับแนวทางในการกันสำรองธนาคารให้ความสำคัญและตั้งสำรองตามเกณ์ของธนาคารแห่งประเทสไทยอย่างเข้มงวด โดยปกติทุกปีได้กันเงินจากผลการดำเนินงานไว้เป็นเงินสำรองอยู่แล้ว ซึ่งในปีนี้น่าจะมีการตั้งสำรองประมาณ 1,200 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน ซึ่งธนาคารจะให้ความสำคัญกับการตั้งสำรองและดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิต โดยลูกหนี้วงเงิน 20 ล้านบาทขึ้นไป หากมีสัญญาณว่าจะหนี้เริ่มมีปัญหา ก็จะทบทวนถึงภาระหนี้และการตั้งสำรองทุกๆ 3 เดือน
รวมทั้งจะดูเป็นพอร์ต ที่จะแยกสินเชื่อบัตรเครดิต มีเกณฑ์ตั้งสำรองอย่างไร สินเชื่อที่อยู่อาศัยตั้งสำรองอย่างไร ที่สำคัญธนาคารยังมีการตั้งสำรองในสัดส่วน 1%ของการปล่อยสินเชื่อ โดยไม่หักหลักประกัน เพื่อให้การบริหารสินเชื่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ดังนั้น จากนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ต้องการลดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ของธนาคารอยู่ในระดับ 2% นั้น ธนาคารเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำได้ตามที่ธปท.กำหนดไว้ เพราะธปท.จะใช้เกณฑ์ในทางบัญชี โดยธนาคารแบ่งการดูแลเอ็นพีแอลในทางบัญชีจัดการตัดหนี้สูญไปเรียบร้อยแล้ว แต่ในทางกฏหมายจะมีการฟ้องร้องและติดตามหนี้จนถึงที่สุด
|
|
 |
|
|