|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธอส.เดินหน้าจัดตั้งบริษัทรับประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย ระบุทุนประเดิมเบื้องต้น 600-1,000 ล้านบาท รัฐบาลถือหุ้น 49% ต่างประเทศ 25% ส่วนที่เหลือเป็นเอกชนไทย “คลัง” สั่งหาผู้ร่วมทุนภายใน 3 เดือนพร้อมเปิดให้บริการภายในปีนี้
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยภายหลังเสนอแนวทางการดำเนินโครงการจัดตั้งบริษัทรับประกันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ มอร์เกจ อินชัวร์รัน ให้แก่นายไชยศ สระสมทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ว่า ภายหลังจากได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ในการให้บริการประกันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย โดยศึกษาร่วมกับ Canda Mortgage And Housing Corproration (CMHC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญในธุรกรรมการประกันเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยจากประเทศแคนาดา
โดยล่าสุด ได้ข้อสรุปแนวทางดังกล่าวว่า จะเป็นการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ในเบื้องต้นทุนจดทะเบียนประมาณ 600-1,000 ล้านบาท รัฐบาลถือหุ้น 49% ต่างประเทศถือหุ้น 25% ส่วนที่เหลือเป็นภาคเอกชน ซึ่งการถือหุ้นดังกล่าวเพื่อให้เป็นบริษัทเอกชน เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน แต่หากรัฐถือว่ามาก 49% ก็จะกลายเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว
สำหรับผู้ร่วมทุนต่างประเทศนั้น ได้กำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นว่าต้องทำธุรกิจด้านมอร์เกจ อินชัวร์รัน เพื่อไทยจะได้นำเทคโนโลยี(โนฮาวน์) หรือประสบการณ์การดำเนินงานด้านนี้มาใช้ ในส่วนของนักลงทุนเอกชนไทย ควรเป็นบริษัทประกัน โดจะต้องมีไลน์เซ็นในการดำเนินธุรกิจรับประกันสินเชื่อบ้าน อย่างไรก็ตามในไทยยังไม่เคยมีธุรกิจดังกล่าว มีเพียงประกันภัย ประกันชีวิต และประกันเบ็ดเตล็ด ดังนั้นบริษัทที่มีความสนใจจะร่วมลงทุนต้องอยู่ในหมวดเบ็ดเตล็ด อย่างไรก็ตาม นายไชยศ ได้กำหนดให้ธอส. หาผู้ร่วมทุนให้ได้ภายใน 3 เดือน และทำการจัดตั้งบริษัทและดำเนินการให้ได้ภายในปีนี้
“คลังให้เราหาผู้ร่วมทุนภายใน 2-3 เดือนนี้ โดยบริษัทต่างชาติเห็นด้วยหลายราย ส่วนบริษัทประกันจะต้องเรียกเข้ามาคุยถึงแนวทางก่อน เพราะในไทยยังไม่มีมาก่อน ดังนั้นถ้าจะทำต้องตั้งบริษัทใหม่หรือซื้อไลน์เซนมา เชื่อว่าคงมีหลายคนให้ความสนใจ” นายขรรค์กล่าว
นายขรรค์ กล่าวต่อว่า ส่วนวงเงินรับประกันนั้น จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหรือรายได้ของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งนับเป็นการประกันความเสี่ยงทางการเงินให้กับสถาบันที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะวงเงินกู้ที่มี LTV (Loan to Value Ratio) สูง ทั้งนี้ หากผู้กู้มีการค้างชำระหนี้ หรือธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินงวดจากผู้กู้ได้ ธนาคารจะเรียกร้องให้บริษัทประกันรับผิดชอบในการจ่ายหนี้ค้างเต็มจำนวน หรือบางส่วน โดยผู้กู้จะเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทที่รับประกัน และธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะเป็นผู้รับประโยชน์
การประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย นับเป็น Credit Enhancement ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง เป็นการส่งเสริมศักยภาพของประชาชนที่มีรายได้น้อยหรือไม่มีเงินออมให้สามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้มากขึ้น เพราะเมื่อมีการประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยทำให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ในอัตราส่วน LTV ได้สูงขึ้นจนถึง 100% ดังนั้นจะช่วยให้ผู้กู้ใช้เงินดาวน์น้อยลงในการกู้ซื้อบ้าน
ทั้งนี้ มอร์เกจ อินชัวร์รันจะทำให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยและเงินออมไม่มาก สามารถกู้ซื้อบ้านได้เร็วขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงของธนาคารที่ปล่อยกู้จะลดลง กล่าวคือในการปล่อยสินเชื่อ นอกจากธนาคารที่ให้สินเชื่อจะมีหลักทรัพย์เป็นประกันการชำระหนี้แล้ว ยังมีบริษัทประกันในฐานะบุคคลที่ 3 เข้ามาทำหน้าที่ประกันความเสี่ยงในหนี้ที่อาจจะสูญเพิ่มอีก
นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยพัฒนามาตรฐานสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้นทั้งในทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวมไปถึงการประเมินราคาหลักทรัพย์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และทำให้ความเสี่ยงของระบบสินเชื่อรวมลดลง ส่งผลให้ปริมาณสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Secondary Mortgage Market) เนื่องจากเงินกู้ที่มีการประกันจะมีเครดิตมากขึ้นในการขายต่อตลาดรองฯ และการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (Securitization) เพราะผู้รับซื้อและผู้ลงทุนในตราสารเห็นว่าเงินกู้ที่มีการประกันจะมีความเสี่ยงในหนี้สูญน้องลง
|
|
 |
|
|