Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กุมภาพันธ์ 2549
ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาที่ดินรอบสนามบิน             
 


   
search resources

Real Estate




ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังงานสัมมนา Development Around Suvanabhumi Airport - Planning to get it right จัดโดยสถาบันคีนันแห่งเอเชียในวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมานี้ และอยากนำสิ่งและหัวข้อที่น่าสนใจมาเผยแพร่ต่อให้ท่านได้ทราบ การสัมมนาครั้งนี้ไม่ได้เน้นเฉพาะตัวสนามบินหรือเฉพาะบริเวณรอบๆเท่านั้น หากแต่ยาวไปถึงตัวเมืองกรุงเทพฯและชลบุรี อย่างแรกที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ คำกล่าวของ Dr. John Kasarda ถึง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ นั่น คือ

1. Economically Efficient หรือ ความมีประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ โดยรอบสนามบิน ในการนี้ท่านได้ยกตัวอย่างสนามบิน Incheon ของเกาหลีว่า ในแผนแม่บทของเขานั้น ได้กำหนดลักษณะการใช้พื้นที่ไว้ดังต่อไปนี้

- ธุรกิจนานาชาติ 1.5%
- อุตสาหกรรม 3.2%
- โลจิสติกส์ 5.1%
- เชิงพาณิชย์ 1.2%
- เชิงการท่องเที่ยว 4.6%
- ที่อยู่อาศัย 25.8%

การวางแผนแบบนี้ไม่น่าแปลกใจ เพราะในเมื่อมีสนามบินเป็นแม่เหล็กตรงกลาง หรือในภาษาศูนย์การค้าอาจมองได้ว่า สนามบินนั้นถือเป็นผู้เช่าหลักที่คอยดึงดูดคนเข้ามาในย่านนั้น และส่งผลบุญไปสู่กิจการรอบๆด้านตัวเองในขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้นถูกต้องที่สุดแล้ว ที่การจัดพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยนั้น จะเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเพราะเมื่อสนามบินนั้นดูดให้มีกิจกรรมทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอกสนามบิน ย่อมหมายถึงแหล่งงานที่จะเกิดขึ้นมากมายและที่ตามมาคือ ความต้องการของที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบที่ซื้อขาย เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรือในรูปแบบเช่า เช่น อพาร์ตเมนต์ สัดส่วนรองลงมาที่ใช้จัดพื้นที่คือ โลจิสติกส์ และ อุตสาหกรรม

ทั้งนี้เหมาะสมเพราะความใกล้กับสนามบินและท่าเรือแหลมฉบัง การจัดสรรที่ดินสำหรับเชิงพาณิชย์นั้นได้รับสัดส่วนที่น้อยที่สุด หากพื้นที่รอบสนามบินนั้นมีพื้นที่ 60,000 กว่าไร่นั้น แปลว่าเชิงพาณิชย์จะอยู่ที่ประมาณ 720 ไร่ สามารถพัฒนาทั้งอาคารสำนักงานและศูนย์การค้าขนาดชุมชนได้ประมาณ กว่า 40 แห่ง ซึ่งน่าจะมากพอที่จะรองรับผู้ที่อยู่อาศัยและทำงานบริเวณนั้น

ส่วนพื้นที่เชิงการท่องเที่ยวหากรวมถึงการสร้าง outlet mall ได้ด้วยสัดส่วนนี้ก็น่าจะพอและเป็นสิ่งที่ควรสร้างเพราะการสร้าง outlet mall นี้ต้องการพื้นที่มาก พื้นที่ที่ราคาไม่แพงเพราะไม่สามารถขายสินค้าที่ทำกำไรได้มากนักจึงไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้สูงนัก และสามารถถือได้ว่าเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกที่หนึ่งก่อนกลับบ้าน เพราะตามพฤติกรรมผู้บริโภคแล้ว นักท่องเที่ยวนั้นจะท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆก่อนโดยที่ไม่ต้องการมีสัมภาระมากนัก ไม่ว่านักท่องเที่ยวนั้นจะไปทางพัทยาหรือจะเข้าเมืองกรุงเทพฯ ก็ล้วนแต่ต้องกลับมาที่สนามบิน บวกกับคนในประเทศไทยเองก็จะได้ใช้บริการของ outlet mall นี้ได้ด้วย และการวาง outlet mall นี้ ไม่ควรวางในทำเลที่ใกล้เมืองกรุงเทพฯจนเกินไปหรือใกล้ชลบุรี พัทยาจนเกินไป ควรอยู่ใกล้สนามบินหรือโรงแรมสนามบินได้มากเท่าใดได้ยิ่งดี เพราะจะได้ดึงดูดทั้งคนที่ไปในทิศกรุงเทพฯและที่ไปในทิศพัทยา การสร้าง outlet mall นี้ยังมีประโยชน์อีกอย่างที่ไม่ใช่ในเชิงเศรษฐกิจซะทีเดียว แต่เชื่อมโยงกับ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จข้อที่สอง นั่นก็คือ Aesthetically Pleasing หรือความงามของบรรยากาศโดยรอบ ซึ่งรวมถึงทางไปยังกรุงเทพฯและพัทยาด้วย outlet mall นี้เมื่อพัฒนาขึ้นมาแล้วทำให้การเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางจากสนามบินนั้นตื่นตาตื่นใจมากขึ้น และการออกแบบก็จะน่าส่งเสริมให้บรรยากาศดูดีกว่าตึกแถวโดยทั่วไป

ส่วนปัจจัยความสำเร็จสุดท้ายคือ Environmentally Sustainable หรือความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมรอบข้าง การพัฒนาอะไรก็ตามคงจะเสียบรรยากาศแน่หากมีแต่น้ำท่วม กลิ่นเหม็น ควันดำ ฯลฯ

จากสามปัจจัยข้างต้นนี้ ดิฉันไม่คิดว่าปัจจัยใดสำคัญกว่าปัจจัยใด และไม่คิดว่าต้องทำสิ่งไหนก่อน หากแต่ต้องทำไปพร้อมๆกันในเรื่องของการวางแผน แต่การลงมือสร้างเพื่อก่อสิ่งใหม่หรือสร้างเพื่อแก้ไขหรือสร้างเพื่อป้องกันนั้น เราควรสร้างเพื่อแก้ไขและป้องกันก่อน โดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและเรื่องน้ำท้วม เพราะหากเป็นจริงอย่างที่ นายปราโมทย์ ไม้กลัด กล่าวไว้ที่งานว่า จะสร้างอะไรหรือจัดโซนอย่างไรให้สวยงาม ก็คงไม่มีประโยชน์แน่หากไม่แก้ไขเรื่องน้ำก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us