Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กุมภาพันธ์ 2549
FTAกระทบตลาดทุน-บลจ.หวั่นดับเบิลสแตนดาร์ด             
 


   
search resources

รพี สุจริตกุล
FTA




"รพี สุจริตกุล" แนะการเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ ภาคบริการและการเงิน ควรพิจารณาธนาคารเป็นหลัก เนื่องจากเป็นหัวใจสำคัญของภาคการเงิน พร้อมแนะรัฐช่วยปรับโครงสร้างตลาดทุนเร่งเพิ่มนักลงทุนสถาบัน ระบุโบรกเกอร์ขนาดเล็กจำเป็นต้องควบรวมกิจการเพิ่มขนาดธุรกิจ ขณะที่"โชติกา"หวั่นตั้งกองทุนโดยไม่ต้องมีสาขาในประเทศ ทำให้มาตรฐานการตรวจสอบต่างกัน และส่งผลกระทบบริษัทในประเทศ ด้านนายกสมาคมบล.ห่วงจำนวนสินค้าใหม่นักลงทุนไม่เข้าใจ-ไม่มีประสบการณ์

นายรพี สุจริตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย กล่าวว่า การเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ในภาคบริการ และภาคการเงินกับสหรัฐฯ การเจรจาควรจะมีการพิจารณาจากเรื่องที่ เป็นหัวใจสำคัญ โดยในส่วนของภาคการเงินนั้น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ เนื่องจากปัจจุบัน ธนาคารดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร (Univesal Banking) คือ มีบริษัทลูกประกอบธุรกิจอื่น เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บริษัทประกัน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ภาครัฐจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดแผนการดำเนินงาน เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต ด้วยการปรับโครงสร้างในภาคเอกชนเพื่อให้มีความพร้อมมากขึ้น เช่น การเร่งสร้างนักลงทุนสถาบันในประเทศให้มากขึ้นโดยควรจะเพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน 2-3 เท่า โดยปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนสถาบันอยู่ที่ประมาณ 300,000 ล้านบาท จากพอร์ตการลงทุนของสถาบันทั้งหมด 1.25 ล้านล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มเสถียรภาพให้กับตลาดเงินและตลาดทุน

"การเจรจาเปิดเอฟทีเอทั้งในส่วนของแบงก์ บล.และประกันภัย ควรเป็นไปพร้อม ๆ กัน เพราะแบงก์ถือ เป็นหัวใจสำคัญมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน และเตรียมที่จะก้าวสู่ความเป็นธนาคารพาณิชย์ครบวงจร หรือ Universal Banking ในอนาคต"นายรพี กล่าว

นอกจากนี้ สิ่งที่จะช่วยในเรื่องการเพิ่มจำนวนนักลงทุนสถาบัน แนวทางหนึ่งคือ การเร่งการเกิดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ เพราะจะทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากที่เข้ามาในระบบการลงทุนมากขึ้น นายรพี กล่าวอีกว่า สิ่งที่กังวลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ คือ การออกจำนวนใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจแบบไม่จำกัด จะส่งผลกระทบต่อบริษัทขนาดเล็ก และยังส่งผลทำให้บริษัทหลักทรัพย์มีสัดส่วนที่สูงเกินกว่าจำนวนนักลงทุนด้วย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนบัญชีนักลงทุนที่เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพียง
300,000 บัญชี ขณะที่เป็นบัญชีที่มีการซื้อขายเป็นประจำเพียง 100,000 บัญชี หรืออาจจะเป็นจำนวนนักลงทุนเพียง 7-8 หมื่นรายเท่านั้น

ทั้งนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง คือ บริษัทหลักทรัพย์ขนาดเล็กจะต้องมีการควบรวมกันเพื่อเพิ่มขนาดธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น และช่วยเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการแข่งขัน ซึ่งหากไม่มีเปลี่ยนแปลงอาจจะส่งผลทำให้บริษัทหลักทรัพย์หลายรายจะต้องปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้

"ปัจจุบันจำนวนโบรกเกอร์ต่อจำนวนนักลงทุนก็ถือว่ามากแล้ว ทำให้เกิดการแย่งลูกค้ากันเอง ยิ่งถ้าหากมีจำนวนโบรกเกอร์มากขึ้นการแข่งขันก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย"นายรพี กล่าว

นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด กล่าวว่า รายะเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงในการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการและการเงิน ยังมีหลายเรื่องที่ยังต้องติดตามเนื่องจากอาจจะส่งผลกระทบบริษัทในประเทศไทย โดยในส่วนของบลจ. ความกังวลในรายละเอียดเรื่องการขอเปิดกองทุนโดยไม่ต้องมีสาขาในประเทศอาจจะส่งผลต่อเรื่องการกำกับดูแลการรายงานข้อมูลที่ต่างกัน

ทั้งนี้ หากระบบการตรวจสอบระหว่างบริษัทในประเทศและบริษัทในต่างประเทศต่างกันจะส่งผลต่อความได้เปรียบเสียเปรียบในการดำเนินงาน เพราะกฎเกณฑ์ที่สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)มีการใช้บังคับและควบคุมของบลจ.ไทยค่อนข้างเข้มงวด ซึ่งถือว่ามีผลต่อการดำเนินธุรกิจแต่หากอนุญาตให้บริษัทในต่างประเทศเข้ามาดำเนินธุรกิจโดยไม่ต้องมีการตั้งสาขาการตรวจสอบดูแลให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์อาจจะทำได้ยาก

นอกจากนี้ ยังจะเกิดผลกระทบในเรื่องการดำเนินธุรกรรมต่างๆ ด้วย เนื่องจากประสบการณ์ในการดำเนินธุรกรรมต่างๆ ของกองทุนต่างประเทศมีมากกว่ากองทุนของไทย ซึ่งสิ่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดหากมีการเปิดให้กองทุนจากต่างประเทศเข้ามาดำเนินธุรกรรมในไทยได้ คือ กองทุนประเภทกองทุนรวม เพราะสามารถเลือกลงทุนทั้งในประเทศและนอกประเทศได้ง่ายกว่า

"กองทุนจะได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะต่างชาติมีโอกาสมากกว่า เพราะกองทุนไทยเองแค่จะขอจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในต่างประเทศยังค่อนข้างยุ่งยากมาก ขณะที่ต่างชาติเองเมื่อขายหน่วยลงทุนในไทยแล้วสามารถนำเงินออกไปนอกประเทศได้ง่ายกว่า ซึ่งจะทำให้กองทุนในประเทศเกิดความเสียเปรียบ"นางโชติกากล่าว

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องความกังวลดังกล่าวจะต้องมีการหารือในกลุ่มสมาชิกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เพื่อหารือสรุปของสมาคมและเสนอต่อผู้ที่ดูแลถึงผลกระทบที่ผู้ประกอบการไทยจะได้รับ โดยกลุ่มสมาชิกจะหารือร่วมกันเร็วๆ นี้

นายกัมปนาท โลหะเจริญวนิช กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า สิ่งที่กังวลเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการเงิน คือ เรื่องสินค้าใหม่ที่จะเข้ามาอย่างมาก เนื่องจากผู้ให้บริการและนักลงทุนยังมีความรู้เกี่ยวกับธุรกรรมใหม่ที่มีการใช้ต่างประเทศน้อยมาก ซึ่งในเรื่องดังกล่าวทำให้บริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งจะต้องเร่งเพิ่มให้ความรู้ให้กับพนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแนะนำการลงทุนได้อย่างถูกต้อง

ทั้งนี้ สิ่งที่จะต้องพิจารณาคือขนาดและความน่าสนใจของตลาดทุนไทยเป็นอยู่ในระดับที่จะดึงให้บริษัทในต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือไม่ ส่วนเรื่องการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการต่างประเทศคงไม่ใช่ประเด็นในเชิงลบแต่กลับกลายเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากจะกระตุ้นให้บริษัทในประเทศต้องเร่งสร้างความแข็งแกร่งเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us