Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กุมภาพันธ์ 2549
“ทีโอที”ยุติปัญหาฟ้องร้อง-ฉีกทิ้งสัญญาร่วมการงาน             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

Telecommunications
ทีโอที, บมจ.
Law




ทีโอที หวังตัดไฟแต่ต้นลม เตรียมฉีกทิ้งสัญญาร่วมการงาน ลดปัญหาเอกชนฟ้องร้องยื้อไร้ข้อยุติ หวั่นสร้างปัญหาทำมูลค่าเสียหายบานปลาย ซึ่งจะมีผลต่อมูลค่าทรัพย์สินไม่ลงตัวก่อนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่สนฟ้องกลับ ใช้สิทธิได้ตามสัญญาที่ระบุ แถมบอร์ดไฟเขียว หลังตั้งคณะทำงานพิเศษ ติดตามและตรวจสอบคู่สัญญา ลักไก่บริการนอกเหนือสัญญาโดยไม่ยื่นขอ

แหล่งข่าวด้านกฎหมาย บริษัท ทีโอที กล่าวว่า เพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทกับคู่สัญญาร่วมการงาน อาทิ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัท ทีทีแอนด์ที จนต้องมีมูลเหตุถึงกระบวนการยื่นต่อคณะอนุญาโตตุลาการและศาลปกครอง ทีโอที มีแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายด้วยการยกเลิกสัญญาร่วมการงาน เนื่องจาก ทีโอที เจ้าของสัญญาร่วมการงานและให้สิทธิผู้ร่วมงานเข้ามาดำเนินการในส่วนที่ทาง ทีโอที ไม่สามารถดำเนินการได้ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมการงานมากกว่าที่จะให้เข้ามาแข่งขันหรือให้บริการในส่วนที่ทีโอที ดำเนินการอยู่ ประกอบกับคดีความที่เกิดขึ้น ทางคู่สัญญาจะเรียกร้องสิทธิ ในเรื่องของผลประโยชน์จากบริการ เกินกว่าข้อตกลงที่สัญญาไว้

นอกจากเรื่องดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการป้องกันที่ฝ่ายเอกชนคู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องทางคดีต่อศาลปกครอง หากมีผลเป็นผู้แพ้จากการพิจารณาผลของคณะอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้พิจารณาผลต่อให้เกิดจนข้อยุติและมักอ้างเป็นเรื่องของบรรทัดฐานในทางคดีสัญญาร่วมการงาน ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อการตีมูลค่าทรัพย์สินในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จากผลของคดีความเกิดข้อยืดเยื้อไม่รู้ผลแพ้ชนะ รวมถึงการเข้ามีบทบาทของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) สร้างกรอบกติกา ในการแข่งขันเสรี

“หลังจากนี้ ทีโอที จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดด้วยการยกเลิกสัญญา เพราะเราเป็นเจ้าของสิทธิ ซึ่งสัญญานั้นระบุไว้ และที่ผ่านมา ทีโอที เป็นฝ่ายถูกเอกชนคู่สัญญาร่วมการงาน เป็นฝ่ายร้อง ทีโอที เพียงอย่างเดียว ทั้งที่เขาเป็นคู่สัญญาและจะต้องดำเนินการตามข้อตกลง”

ที่ผ่านมามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น จะมีข้อพิพาทต่อเนื่องและไม่ยุติ หาก ทีโอที เป็นฝ่าย ชนะ ทาง ทรู หรือ ทีแอนด์ที จะดำเนินการยื่นฟ้องเพื่อให้คดีความนั้นเกิดขึ้นสิ้นสุดมากที่สุด และไม่ให้เกิดการเสียเปรียบ หรือบางครั้งไม่ต้องชำระเงิน หากฝ่ายเอกชน เป็นฝ่ายชนะ ทีโอที ในฐานะเจ้าของสัญญา และเป็นผู้รักษาประโยชน์ของรัฐ จะต้องดำเนินการหาขั้นยุติ ทั้งที่ในความเป็นจริง คู่สัญญานั้น หากจะกระทำการณ์อื่นนอกเหนือสัญญาตามที่ตกลงไว้ คู่สัญญานั้นจะต้องยื่นขอจากเจ้าของสัญญามากกว่า การที่จะกระทำการอื่นโดยไม่บอกเจ้าของสัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด

แหล่งข่าวกล่าวว่า การยกเลิกสัญญานั้น ทีโอที ไม่กลัวผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการถูกคู่สัญญาฟ้องร้องทางคดีกลับ เพราะในข้อสัญญาได้มีข้อระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ทีโอที นั้นสามารถยกเลิกสัญญาได้หากคู่สัญญานั้นละเมิดต่อสัญญาที่ตกลงไว้ร่วมกัน ส่วนในแง่ของการให้บริการ กับลูกค้าต่อหลังจากที่ยกเลิกสัญญาแล้ว ทีโอที พร้อมที่จะเข้าดำเนินการต่อได้ทันที

“เราไม่กลัวการฟ้องร้องกลับ เพราะที่ผ่านมาเรายอมตลอด แต่หลังจากนี้เราจะจริงจังและดำเนินการตามมาตรการนี้ เพื่อที่ ทีโอที จะไม่ต้องได้รับผลกระทบในด้านความเสียหาย ทั้งๆ ที่เราเป็นเจ้าของสัญญา”

อย่างไรก็ตาม การที่จะยกเลิกสัญญาได้ ทางคณะกรรมการ (บอร์ด) ได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามและตรวจสอบคู่สัญญาร่วมการงาน ซึ่งมีตัวแทนจาก บอร์ด ฝ่ายบริหาร ฝ่ายสหภาพฯ ฝ่ายกฎหมาย และฝ่ายสัญญา เพื่อที่จะทำงานในเชิงรุกและป้องกันปัญหาด้านการละเมิดข้อสัญญา โดยทำงานขึ้นตรงกับบอร์ด ด้วยการติดตามการดำเนินงานของเอกชนคู่สัญญานั้นเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และให้ฝ่ายกฎหมายประสานไปยังคู่สัญญาให้ยุติการดำเนิงานในส่วนนั้น หากยังดำเนินการต่อก็จะยื่นให้บอร์ดพิจารณายกเลิกสัญญาร่วมการงาน

ส่วนการที่ ทีโอที ฟ้องร้องกับคู่สัญญา เนื่องจากเป็นผู้ถูกละเมิดในข้อตกลงและดำเนินการผิดหลักตามสัญญาที่ตกลงร่วมกันไว้ อาทิ
1.ละเมิดปรับเปลี่ยนตกแต่งตู้โทรศัพท์สาธารณะและติดสติกเกอร์ มีค่าเสียหาย 433 ล้านบาท
2.ละเมิดพิมพ์สัญลักษณ์ของตังเองและลายน้ำลงในใบเสร็จ ใบแจ้งหนี้ ค่าเสียหาย 1,922 ล้านบาท
3.ไม่ได้นำส่งส่วนแบ่งรายได้จากบริการพีซีที และค่าให้บริการพิเศษแก่ลูกค้า เช่น โอนสาย, สายเรียกซ้อนรวมค่าเสียหาย 72 ล้านบาท
4.ละเมิดให้บริการ TA 1234 หรือบริการโทรศัพท์ทางไกลราคาประหยัดด้วยเทคโนโลยีวีโอไอพี โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมค่าเสียหาย 14,765 ล้านบาท
5.ละเมิดให้บริการ ADSLหรือบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง มีค่าเสียหาย 1,100 ล้านบาท
6.ละเมิดต่อสัญญาในการให้บริการ T-Pin, T-card,T-message รวมค่าเสียหาย 52 ล้านบาท
7.ค้างชำระค่าเช่าท่อร้อยสายที่เมืองทองธานี รวม 8 ล้านบาท

ส่วนคดีที่อยู่ระหว่างประเมินความเสียหายเพื่อเร่งเข้าอนุญาโตตุลาการรวม 2 ข้อพิพาท คือ 8.ละเมิดให้บริการพีซีที แบบสาธารณะในชื่อ PCT buddy และ 9.ละเมิดให้บริการวงจรเช่ากับการประปานครหลวงด้วยตัวเอง

ด้านแหล่งข่าวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทีโอที กล่าวว่า การยกเลิกสัญญาเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพื่อที่ ทีโอที จะไม่ต้องเสียเปรียบต่อการเป็นผู้ถูกกระทำหรือสร้างความเสียหายให้กับองค์กรโดยที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อ ทั้งที่เป็นเจ้าของสัญญา และเกิดการแข่งขันเสรีตามที่ต้องการ ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญา หากคิดจะลงทุนหรือคิดจะแข่งขัน ก็ควรที่จะออกไปก่อตั้งบริษัทใหม่ ลงทุนใหม่มากกว่าที่จะมาเรียกร้อง เพื่อไปสร้างรายได้ในการแข่งขันจากเข้าของสัญญา ซึ่งเป็น ทีโอที

“เอกชนหลงลืมฐานะตัวเองว่าเป็นเพียงผู้รับสัมปทาน แต่กลับเข้ามาดำเนินงานเป็นคู่แข่ง”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us