|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
หลังจากที่กลุ่ม Orange ได้ขายหุ้นใน TAOrange คืนแก่กลุ่ม True ในราคาเพียงบาทเดียว
กลุ่ม True ก็ยังได้รับสิทธิในการใช้ชื่อตราสินค้า Orange ต่ออีกจนถึงปี 2551
อย่างไรก็ตาม ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา True ตัดสินใจเลิกใช้ชื่อ Orange ก่อนกำหนด
เปลี่ยนเป็น True Move
"แม้ทีเอ ออเร้นจ์จะเปลี่ยนชื่อเป็นทรูมูฟ แต่ลูกค้าทรูมูฟ สามารถมั่นใจได้ว่า จะได้สัมผัสประสบการณ์การให้บริการใหม่ๆ ประทับใจ และตรงใจลูกค้า มากกว่าที่เคยได้รับจากออเร้นจ์ตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา" นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าว
"จากการผนึกกำลังและได้รับความรู้ความเชี่ยวชาญระดับโลกจากออเร้นจ์ ทำให้ทรูก้าวเป็น หนึ่งในผู้ให้บริการระบบจีเอสเอ็มรายใหญ่ของประเทศ โดยใช้ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
แบรนด์ทีเอ ออเร้นจ์ได้ทำให้ธุรกิจสื่อสารไร้สายของทรูมีสถานะที่แข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งต้องขอขอบคุณออเร้นจ์ที่ทำให้ทรูมีรากฐานและพร้อมที่จะก้าวเป็นผู้นำการให้บริการสื่อสารครบวงจร ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ตรงใจคนยุคใหม่" เขากล่าวต่อ
ภายใต้แบรนด์ทรูมูฟ มั่นใจว่าจะสามารถสานปณิธานของกลุ่มทรู ในอันที่จะสร้างวิถีชีวิตแบบไฮสปีด (high-speed lifestyle) เชื่อมโยงและเข้าถึงประชาชนทุกคน"
ปรัชญาการดำเนินธุรกิจของทรูมูฟ คือ นำเสนอนวัตกรรมและระบบสื่อสารแบบไร้สาย เพื่อให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันและกัน ตลอดจนเข้าถึงความรู้ ข้อมูลและสาระบันเทิง ทุกที่ ทุกเวลา ตามต้องการ
ทั้งนี้ ทรูมูฟ มีเป้าหมายที่จะสร้างไลฟ์สไตล์แบบไฮ-สปีด ให้ลูกค้าได้สัมผัสรูปแบบการสื่อสารที่เหนือกว่า 3G ด้วยเทคโนโลยีหลากหลาย อาทิ จีเอสเอ็ม จีพีอาร์เอส เอดจ์ และไว-ไฟ โดยจะก้าวเป็นผู้นำในการพัฒนาบริการ หรือคอนเทนท์ประเภทนอนวอยซ์ ให้ลูกค้าได้สัมผัสภายใต้ wap site true world
นอกจากนี้ ทรูมูฟ จะประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ Trueworld.net ซึ่งเป็นพอร์ทัลไซท์ให้บริการ บรอดแบนด์มัลติมีเดียแห่งแรกของประเทศ เพื่อนำเสนอคอนเท้นท์ที่หลากหลายให้ลูกค้า และทรูมูฟ จะนำเสนอบริการสื่อสารและบริการสำหรับลูกค้าประเภทองค์กรธุรกิจและกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น
แคมเปญการเปลี่ยนชื่อ (รีแบรนด์) เป็นทรูมูฟ ได้เปิดตัวสู่สาธารณะผ่านภาพยนตร์โฆษณาซึ่งเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รู้จักบริการต่างๆของทรูมูฟ ได้ดียิ่งขึ้น
ภาพยนตร์โฆษณาชุดแรกเผยให้เห็นบริการและนวัตกรรมต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์อื่นๆ อาทิ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บิลบอร์ด ตลอดจนสื่ออื่น ๆ อีกมากมายที่จะอยู่ในแคมเปญนี้
หลังแถลงข่าวเปลี่ยนแบรนด์อย่างเป็นทางการ True Move ก็ได้มอบของขวัญให้กับลูกค้า
ชิ้นแรก มอบฟรีชั่วโมงอินเทอร์เน็ต 20 ชั่วโมง แก่ลูกค้าทรูมูฟทั้ง 4.5 ล้านรายและลูกค้าใหม่ รวมมูลค่ากว่า 600 ล้านบาท เพียงส่งเอสเอ็มเอสพิมพ์ true มาที่หมายเลข 9088 ตั้งแต่วันนี้จนถึง 15 มี.ค.
ชิ้นที่ 2 เป็นแพ็กเกจใหม่ เหมาะกับลูกค้สองกลุ่ม สองพฤติกรรม
กลุ่มแรกคือให้คนชอบคุยสั้น ๆ อัตราค่าบริการนาทีแรก 25 สตางค์ ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเหมาจ่ายและนาทีถัดไปนาทีละ 1.50 บาท พร้อมโบนัสโทร.ฟรี 600 บาท หรือโทร.ฟรี 30 บาท 20 เดือน
และสำหรับคนชอบคุยนาน เลือกแพ็กเกจโทร.นาทีแรก 1.50 บาท นาทีต่อไปนาทีละ 25 สตางค์ ช่วง 5 ทุ่ม - 5 โมงเย็น พร้อมโบนัสโทร.ฟรี 600 บาทเหมือนกัน โดยสมัครใช้บริการตั้งแต่วันนี้ถึง 15 มี.ค.นี้
หลังจากนั้น ตั้งแต่ 1 เม.ย. - 15 ก.ค. โปรโมชั่น "คนคุยสั้น" จะปรับเป็นนาทีแรก 25 สตางค์ นาทีต่อไป 2.50 บาท ส่วน "คนคุยยาว" ปรับเป็นนาทีแรก 2.50 บาท นาทีต่อไป 25 สตางค์ ในช่วงเวลา 5 ทุ่ม - 5 โมงเย็น
(ซึ่งดีแทค เบอร์สองในตลาดก็โต้ตอบทันควัน โดยเสนอโปรโมชั่นที่ให้ราคาถูกกว่า และช่วงเวลาโทรที่กว้างกว่าสำหรับคนคุยนาน)
ผู้บริหาร TAOrange คาดหวังอะไรจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้?
"การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะทำให้ทรูเป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ" ศุภชัยกล่าว "ก่อนหน้านี้ ทรู เป็นที่รู้จักดีในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน ต่อมาได้ขยายแบรนด์ทรูไปสู่ต่างจังหวัดผ่านบริการไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต"
"และในวันนี้ ด้วยบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้ชื่อใหม่ ทรูมูฟ จะทำให้ลูกค้าและประชาชนในต่างจังหวัดได้สัมผัสบริการคุณภาพต่างๆ ที่กลุ่มทรูมีได้ดียิ่งขึ้น" นายศุภชัยกล่าวในที่สุด
การเปลี่ยนจาก Orange เป็น True Move ในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จแค่ไหน?
จริง ๆ แล้ว จำเป็นไหมที่ต้องเปลี่ยน?
ถ้าต้องเปลี่ยน ควรจะเปลี่ยนเป็นอะไร?
บทวิเคราะห์
ทรูคงอึดอัดใจกับแบรนด์ Orange มานานพอสมควรทีเดียว เพราะหลังจากที่ออเร้นจ์ทิ้งประเทศไทยโดยขายคืนให้ซีพีไปในราคาเพียงหนึ่งบาท ก็เท่ากับว่าประเทศไทยไม่ได้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์อีกต่อไป
แบรนด์ Orange จึงถูกให้ยืมเท่านั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาก็ต้องคืนต่างประเทศไป หากจะใช้ก็ต้องจ่ายสิทธิ์ในการใช้แบรนด์
คำถามก็คือจำเป็นไหมที่ต้องใช้แบรนด์ Orange และทุกวันนี้คนเลือกใช้ระบบโทรศัพท์มือถือเจ้าใด แปลว่าเขาเลือกแบรนด์ หรือว่าเลือกโปรโมชั่นกันแน่
ดังนั้น จึงเป็นการตัดสินใจถูกที่ทรูตัดสินใจเลิกใช้แบรนด์ Orange ไปเลย และสร้างแบรนด์ของตัวเองไปเลยดีกว่า ไม่เช่นนั้นเมื่อใกล้จะต้องคืนแบรนด์อาจไม่มีเวลาสร้างแบรนด์ใหม่
ใจจริงของผู้บริหารก็คงอยากเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นทันทีเหมือนกัน ติดอยู่ที่ว่า Orange สร้างแบรนด์มานานจนติดหูคนไทยไปแล้ว อีกทั้งไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาแทน Orange
ทีเอเองก็ไม่ใช่แบรนด์ เป็นแค่ จึงต้องทรูขึ้นมาเพื่อให้กลายเป็นแบรนด์ไปแข่งกับเจ้าอื่น ภายในชั่วเลาปีสองปีมานี้ คนเริ่มรู้จักทรูมากขึ้น แม้ว่าจะไม่ให้ความสำคัญกับแบรนด์นี้ก็ตาม
คนรู้จักแบรนด์ทรู(true) ก็ไม่ได้หมายความว่าแบรนด์นี้จะประสบความสำเร็จ ยังต้องใช้เวลาอีกมาก แต่ทรูคิดว่าแบรนด์ของตัวเองแข็งพอที่ไปออก SubBrand ซึ่งก็คือ true move ซึ่งยังไม่สมควรทำเช่นนั้น ควรจะใช้แบรนด์ true จะดีกว่า เพราะจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์ true โดยภาพรวมเพราะมือถือจะมี movement มากกว่า
การแตกแบรนด์ออกไปโดยที่แบรนด์แม่ยังไม่แข็งนั้น ถือเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ก็ต้องถามก่อนว่าในธุรกิจผู้ให้บริการมือถือซึ่งเป็นธุรกิจกึ่งผูกขาดนั้น แบรนด์มีความสำคัญจริงหรือเปล่า ถ้าผู้บริโภคไม่ได้ตัดสินใจที่แบรนด์เป็นหลัก ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปสนใจว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะความสำเร็จของ true move ไม่ได้อยู่ที่แบรนด์
|
|
 |
|
|