Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 กุมภาพันธ์ 2549
ใบสั่ง “เชลียร์” มีเดียแตกแถว ปลดแน่!             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมประชาสัมพันธ์

   
search resources

กรมประชาสัมพันธ์
News & Media
Political and Government




“สื่อเชลียร์มีเดีย” ผุดขึ้นราวดอกเห็ด สนองผู้นำชอบคำสรรเสริญเยินยอ แต่กลัวความจริง สวนทางสื่อนอกแถวถูกปิดปากเรียบ ระบุสื่อยุคนี้ตกอยู่ในสภาพหวาดกลัวยิ่งกว่ายุค รสช.
กรมกร๊วก ได้ทีเปิดโมเดลใหม่ ดึงเอกชนสร้างเรตติ้ง เพิ่มรายการเชลียร์รัฐเพียบ
คนวงการย้ำ รัฐครอบงำสื่อจนน่ารังเกียจ ประกาศมี กสช.เมื่อไร “สุรนันทน์” โดนเช็กบิลทันที
ดูจะจะมาตรการ “สวนหมัด” ของสื่อภาครัฐกับภาคประชาชน ตอบโต้สุดมันในทุกรูปแบบ

ปรากฏการณ์ “ปลด” บุญยอด สุขถิ่นไทย ออกจากรายการ “ข่าววันใหม่” ของช่อง 3 แบบสายฟ้าแลบ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีมูลเหตุมาจากที่ผู้ประกาศข่าวชื่อดังรายนี้มักวิพากษ์วิจารณ์ และไม่ค่อยเห็นด้วยกับฝ่ายรัฐบาล

ปรากฏการณ์ “ตัดสัญญาณ” การออกอากาศคลื่น 94.0 เมกะเฮิรตซ์ ระหว่างการสัมภาษณ์ โสภณ สุภาพงษ์ ส.ว.กทม. ในรายการ “สีสันวันหยุด” เมื่อช่วงเช้าของวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่พูดถึงเรื่องหน้าที่ของประธานองคมนตรีว่ามีอะไรบ้าง และระหว่างสัมภาษณ์เนื้อความบางส่วนกลับถูก “ดูด” หายไปเป็นเวลาประมาณ 10 นาที

ปรากฏการณ์รัฐ “แทรกแซง” ส่งตำรวจต่อรองผู้ดำเนินการวิทยุชุมชนในจังหวัดอ่างทอง ไม่ให้ถ่ายทอด ออกข่าว และพูดถึงการชุมนุมกู้ชาติของสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ เมื่อไม่ยอมจึงถูกเจ้าหน้าที่ตั้งข้อหานำเข้าเครื่องส่งโดยไม่มีใบอนุญาต และกระจายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมส่งเรื่องให้ศาลตัดสินในที่สุด ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้ววิทยุชุมชนทั่วประเทศก็เข้าข่ายผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน

และอีกหลายต่อหลายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุค “ทักษิณ ชินวัตร” เป็นนายกรัฐมนตรี!

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแทรกแซงเสรีภาพการทำงานของสื่อ ทั้งด้วยการปิด-ดูดเสียง จากกรมประชาสัมพันธ์ และผู้มีอำนาจของภาครัฐในการควบคุมไม่ให้สื่อ และบุคคลทั่วไป แสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่สอดคล้อง หรือขัดแย้งกับรัฐบาล โดยสื่อหรือบุคคลที่จะทำสื่อในยุคนี้ให้อยู่รอดปลอดภัย มีสปอนเซอร์หนาแน่น ได้เวลาและสถานีออกอากาศ รวมถึงได้รับความชื่นชมจากรัฐบาลจะต้องเป็นสื่อประเภท “เชียร์” อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ซึ่งรายการหรือสื่อประเภทนี้ในทุกวันนี้มีจำนวนมากขึ้น-มากขึ้น

“เรื่องนี้มันชัดเจน เพราะรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่กลัวตัวเอง กลัวความผิดที่ตนเองทำไว้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลก็เชือดคนทำสื่อให้ดูเยอะแยะตั้งแต่ผม อาจารย์สมเกียรติ อ่อนวิมล สุทธิชัย หยุ่น ฟองสนาน ทำให้ความกลัวนี้มาแผ่มาถึงคนทำสื่อทั้งทีวี และวิทยุ ทุกวันนี้สื่อตกอยู่ในโลกแห่งความหวาดกลัว และคิดถึงตัวเองมาก จึงต้องทำรายการเพื่อสนับสนุนรัฐบาล เพราะกลัวว่าจะไม่ได้ทำรายการ” เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ส.ว.กทม. กล่าวกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” และว่า ในสมัยก่อนตนเคยทำรายการ “ขอคิดด้วยคน” ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งทาง รสช.ได้สั่งให้ระงับรายการดังกล่าว แต่ครั้งนั้น รสช.ยังมีคุณธรรมมากกว่า คือภายหลังจากการปิดรายการ และประชาชนทำการกดดัน รสช.ก็ยังขอให้ตนกลับไปทำรายการอีกครั้ง

จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่สถานีวิทยุ และโทรทัศน์ที่เป็นฟรีทีวีทุกช่อง จะพร้อมใจนำเสนอข่าวผลงานของรัฐบาล โดยเฉพาะ “คำแก้ตัวเรื่องการซุกหุ้น” กับ “ผลประโยชน์ทับซ้อน” ของ ฯพณฯ เพียงฝ่ายเดียว และเป็นเวลานานๆ

สื่อทุกวันนี้จะอยู่ได้จึงต้องเก็บคำว่าสำนึกรับผิดชอบต่อการเป็นหมาเฝ้าบ้านใส่กระเป๋า ในใจและสมองพึงนึกแต่เพียงคำว่า เชลียร์ เชลียร์...และเชลียร์เท่านั้น

“กรมกร๊วก” เปิดโมเดลใหม่ ดึงเอกชนสร้างเรตติ้ง คลื่นชเลียร์รัฐ

การเปิดเสรีสื่อสารโทรคมนาคม น่าจะถือเป็นยันต์คุ้มกันการเสียงด่าได้เป็นอย่างดีเวลาที่ผู้บริหารสื่อมีความคิดที่จะนำสื่อที่ตนเองดูแลอยู่มาปรับแนวการทำธุรกิจ แฝงการสร้างผลงานในการเชลียร์รัฐบาลให้ถนัดถนี่ยิ่งขึ้น มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการนำองค์การสื่อสารมวลชน ทำหน้าที่นี้ การเปิดแผนงานพัฒนาช่อง 9 อสมท เฟสแล้วเฟสเล่าจนผ่านพ้นจากชื่อแดนสนธยา มาเป็นแดนสร้างภาพของสารพัดโครงการจากรัฐบาล ทั้งโอทอป ธนาคารออมสิน ปตท. กฟผ. การปิดสัญญาเช่าสถานีวิทยุ อสมท 6 คลื่น ที่เคยมีเอกชนจ่ายเงินสัมปทาน แลกกับการเข้าไปทำรายการอยู่ เปลี่ยนมาเป็น อสมท ผลิตรายการ และทำการตลาดเอง โดยบางสถานีมีการลอกแบบเอกชนที่เคยทำอยู่เดิมเอาดื้อๆ จนถึงเวลานี้แม้มีหลายคลื่นยังไม่มีทีท่าจะเป็นไปตามเป้าหมายทางธุรกิจที่มิ่งขวัญได้วางเอาไว้ หากแต่ภาพของสื่อที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีเรียกใช้อันดับ 1 ถือว่าประสบความสำเร็จตามเป้า

ขณะที่ อสมท มีการดำเนินการปรับทัพอย่างรวดเร็วตามประสานักบริหารเอกชน แต่อีกฟากหน่วยงานรุ่นบุกเบิกอย่างกรมประชาสัมพันธ์ กลับมีการขยับตัวสนองรับการเป็นสื่อสร้างภาพที่มีประสิทธิภาพอย่างช้าๆ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในแผน 5 ปี (2549 – 2552) ในการปรับปรุงระบบเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) โดยจะเปลี่ยนการกระจายเสียงจากระบบแอนะล็อก เป็นดิจิตอล ซึ่งจะทำให้การรับฟังวิทยุในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์สามารถรับฟังจากคลื่นความถี่เดียวกันทั่วประเทศ และคมชัดยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของงบประมาณราว 1,700 ล้านบาทนั้น ยังไม่มีเสียงตอบรับจากคณะรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ทุกปีสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจะได้รับงบประมาณประเทศจัดสรรมาให้เพียงปีละ 200 ล้านบาทเท่านั้น คลื่นความถี่ที่เปิดให้เอกชนเช่าใช้เป็นรายได้หลักๆ ก็มีเพียง 5 คลื่น มีรายได้เฉลี่ยคลื่นละ 40 ล้านบาทต่อปี อีกทั้ง 1 ในนั้น คลื่น 105 MHz ซึ่งเดิม Virgin Radio เป็นผู้จ่ายเงินสัมปทาน ผลิตเพลงสากลมานาน ก็ถอดใจกับสภาพขาดทุน คืนสัมปทานให้ สวท.ขาดรายได้ไปอีก 40 ล้านบาท ดังนั้น เป็นที่คาดการณ์กันได้ว่า ถึงอย่างไรผู้บริหารกรมประชาสัมพันธ์ และ สวท.ก็ต้องกลับไปออดอ้อนขอเงินจาก ครม.อยู่ดี แต่จะขออย่างไรจึงจะบรรลุตามเป้าหมาย

ภายหลังจากปล่อยให้คลื่น 105 MHz ที่ผู้ฟังคุ้นเคยกับชื่อ Smooth FM ว่างไว้ไร้ผู้เช่านานกว่า 1 เดือน จนเป็นที่สงสัยกันในวงการวิทยุว่า สวท.จะนำคลื่น 105 นี้ไปทางไหน ต้นเดือนกุมภาพันธ์ จันทิมา เชยสงวน ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จึงแถลงข่าวเปิดตัว Wisdom Radio 105 MHz คลื่นแห่งภูมิปัญญาขึ้น นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของ สวท. ที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาจะเน้นการทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย โดยยึดคลื่น 92.5 MHz เป็นสถานีหลัก และปล่อยคลื่นส่วนกลางอื่นๆ เช่น 88, 93.5, 97, 99.5 และ 105 ให้เอกชนเป็นผู้รับสัมปทานไป หารายได้เข้าคลัง แต่ครั้งนี้ สวท.จะเป็นผู้บริหารสถานีในเชิงธุรกิจด้วยตนเอง

โมเดลใหม่ของ FM 105 แห่งนี้ หากมองโครงสร้างการผลิตรายการก็พอยอมรับได้ว่า ใหม่แบบที่ยังไม่มีสถานีใดเคยทำมาก่อน ในขณะที่ อสมท ใช้วิธีไล่เอกชนออกแล้วใช้ศักยภาพของตนผลิตรายการเอง แต่ สวท.เลือกที่จะมองหาเอกชนที่มีศักยภาพ เชื้อเชิญเข้ามาผลิตรายการในแต่ละช่วงเวลา ทั้งดรีม มีเดีย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ซึ่งมีผลงานด้านรายการข่าว วิเคราะห์ข่าว, เอ.อาร์.อินฟอร์เมชั่น ผู้ผลิตรายการและข่าวสารด้านไอที และสยามอินเตอร์มัลติมีเดีย ผู้ผลิตคลื่นกีฬา Sport Radio ดึงจุดแข็งของแต่ละรายสร้างจิ๊กซอว์สถานีแห่งภูมิปัญญา โดยมีบางช่วงเวลาที่ สวท.กั๊กเอาไว้ผลิตรายการเอง

ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจว่า “ช่วงเวลา” ที่ สวท.เก็บไว้ หรือจองไว้ให้กับใครเป็นพิเศษ ปรากฏชื่อรายการ และผู้จัดรายการที่คาดหวังได้ว่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งการชื่นชมผลงานของรัฐบาล และฟาดฟันผู้ต่อต้านอย่างแน่นอน เริ่มจากวันจันทร์–ศุกร์ หลังข่าวภาคเที่ยง อเคดิมิค เน็ตเวิร์ค ถูกเชื้อเชิญให้เป็นผู้ผลิตรายการช่วงนี้โดยเฉพาะ ใช้ชื่อรายการว่า “ข้อเท็จจริงวันนี้” มีผู้ดำเนินรายการ คือ สมัคร สุนทรเวช และ ดุสิต ศิริวรรณ คู่หู่คู่เชลียร์มือวางอันดับ 1 ซึ่งก็น่าเสียดายที่สามารถออกอากาศได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็มีอันแพ้ภัยลาโรงไป

เวลา 15.10 น.จนถึง 5 โมงเย็น นำเสนอรายการ สื่อสร้างสรรค์ ที่จะแสดงผลงานการปราบปรามสื่อลามกอนาจาร อันเป็นงานด้านสังคมที่สร้างภาพสวยงามให้กับรัฐบาลอยู่ในเวลานี้ โดยวันแรกเปิดสถานี แขกรับเชิญคนแรกที่เข้าร่วมพูดคุยในรายการ ชื่อ เนวิน ชิดชอบ ช่วงวันเสาร์หลังจากฟังการถ่ายทอดรายการ นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชนแล้ว ช่วงบ่ายหลังข่าวภาคเที่ยง เป็นช่วงเวลารายการ วิสัยทัศน์ประเทศไทย เปิดช่วงเวลากว้างๆ ที่ภาครัฐจะสามารถนำผลงานใดๆ มาพูดคุยกันได้ และช่วงเวลาเดียวกันของวันอาทิตย์ โฆษกรัฐบาล สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี จะจัดรายการเปิดซองร้องทุกข์

แหล่งข่าวในวงการสื่อสารมวลชน มองว่า โมเดลการเปิดสถานีวิทยุ Wisdom Radio ของ สวท.ค่อนข้างแยบยล เมื่อพิจารณาจากความจำเป็นในการหารายได้ของ สวท. ทั้งการปรับองค์กรเป็นหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) ที่มุ่งแสวงหารายได้ อีกทั้งงบประมาณ 1,700 ล้านบาท ในการพัฒนาระบบเครือข่ายกระจายเสียงที่ยังไม่มีตัวตน ไม่มีเหตุผลใดที่ สวท.จะเปลี่ยนจากการเปิดประมูลหาผู้รับสัมปทานคลื่น 105 MHz ที่มีรายได้การันตีอย่างต่ำปีละ 40 ล้านบาท มาเป็นการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมผลิตรายการ ซึ่งแม้แต่นางจันทิมา เชยสงวน ผอ.สวท.เองยังยอมรับว่า รายได้จะลดลงเหลือ 26 ล้านบาทต่อปี

ที่ผ่านมาเป็นที่ทราบกันดีว่า สวท.ซึ่งรับหน้าที่ประชาสัมพันธ์ผลงานรัฐบาลจะใช้คลื่นวิทยุ 92.5 MHz. เป็นสถานีเผยแพร่ หากแต่ด้วยการแข่งขันของการผลิตรายการวิทยุในปัจจุบัน ที่เกิดคอนเซปต์ในการผลิตคลื่นทั้งคลื่นเพลง คลื่นข่าว คลื่นความรู้ ต่างเป็นตัวดึงดูดให้ผู้ฟังหนีห่างจากคลื่นที่ไม่มีการปรับตัวอย่าง 92.5 ไปเรื่อยๆ ดังนั้น โมเดล Wisdom Radio จึงเหมือนเป็นการยืมจมูกเอกชนที่มีฐานผู้ฟังกว้างขวาง เป็นตัวสร้างเรตติ้ง แล้วสอดแทรกรายการที่เป็นการประชาสัมพันธ์ภาครัฐลงไประหว่างช่วงเวลา โดยไม่ให้มีมากเกินไปจนเหมือนยัดเยียด จากนี้ไปผลงานรัฐบาลที่เคยมีกลุ่มผู้ฟังแคบๆ อยู่ในคลื่น 92.5 จะขยายกว้างขึ้นในกลุ่มผู้ฟังที่เป็นแฟนกีฬา กลุ่มผู้สนใจไอที หรือแฟนรายการคลื่นข่าวทราฟฟิก คอร์นเนอร์

แน่นอนว่าการยอมเฉือนรายได้ลงเกือบครึ่งต่อปีลง มาสร้างสถานีวิทยุที่มีผลงานชื่นชมรัฐบาล โดยมีเรตติ้งผู้ฟังกลุ่มคนระดับกลาง-บน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ย่อมเป็นที่พึงพอใจของทั้งรัฐมนตรีที่มีโอกาสมาออกรายการ รัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ตลอดจนนายกรัฐมนตรี และหากโมเดลนี้ประสบความสำเร็จ ผอ.สวท.ก็ได้ยืนยันในงานแถลงข่าวแล้วว่าอาจจะขยายต่อไปที่สถานีอื่น คาดการณ์ว่ารูปแบบในการเลือกผู้ผลิตรายการมาร่วม บางทีโมเดลต่อไป สกาย-ไฮ หรือจีเอ็มเอ็ม มีเดีย อาจถูกเรียกให้มาเป็นแม่เหล็กดึงเรตติ้งกลุ่มวัยรุ่นก็เป็นได้ และเมื่อรายการนี้ถูกกำหนดไว้ให้ออกอากาศทั่วประเทศด้วยระบบดิจิตอล เชื่อว่าถ้า สวท.เสนอของบประมาณในการพัฒนาวิทยุดิจิตอล 1,700 ล้านบาทไป โอกาสก็จะมีมากขึ้น

คน กสช.ยันชัดรัฐครอบงำสื่อ ประกาศเช็กบิล “สุรนันทน์”

อีกแนวทางในการครอบครองสื่อของภาครัฐ เพื่อสร้างขุมกำลัง “สื่อเชลียร์” กำจัดสื่อนอกแถวที่รัฐควบคุมไม่อยู่

เป้าหมายถูกจับจ้องไปที่การเกิดขึ้นของวิทยุชุมชน ทีวีดาวเทียม ตลอดจนอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นช่องทางอันตีบตันที่ประชาชนจะสามารถรับข่าวสารในมุมตรงข้ามกับรัฐบาลได้ แม้สื่อใหม่ๆ เหล่านี้จะถูกรองรับด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 40 ที่แสดงเจตนารมณ์ให้จัดตั้งได้ หากแต่เมื่อพิจารณาที่มาตรา 80 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2543 ควบคู่ไปพบว่าได้มีการกำหนดไว้ ห้ามมีการแตกคลื่นวิทยุ โทรทัศน์ใหม่ในระหว่างที่ กสช.ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับ กสช.จนยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้จนถึงบัดนี้ การที่จะมีผู้ชิงเปิดให้บริการทีวีดาวเทียม หรือวิทยุชุมชนกันอย่างแพร่หลาย ย่อมอยู่บนความไม่ถูกต้อง

และเมื่อเกิดเหตุบังเอิญมีคดีฟ้องร้องการให้บริการวิทยุชุมชน เขตไชโย จังหวัดอ่างทอง ที่ศาลจังหวัดอ่างทอง มีคำสั่งเพิกถอนการดำเนินการของวิทยุชุมชนแห่งนั้น ฐานมีความผิดฐานกระจายเสียงโดยไม่รับอนุญาต สุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ จึงถือโอกาสรับลูกต่อท่ามกลางความสับสนในตัวบทกฎหมายของการเปิดสื่อใหม่ๆ แสดงบทบาทของภาครัฐที่มีหน้าที่กวาดล้างความไม่ถูกต้อง ถือโอกาสปิดเส้นทางวิทยุชุมชนนอกคอกที่ไม่สนองตอบนโยบายรัฐบาล โดยการย้อนรอยความผิดของวิทยุชุมชนอ่างทอง แตกคลื่นวิทยุในปัจจุบันของกรมประชาสัมพันธ์ ที่มีราว 52 คลื่น ลดกำลังส่งลงเหลือ 30 วัตต์ รัศมี 15 กิโลเมตร แบ่งได้ 1,500 คลื่น เพื่อมากำกับดูแลเสียเอง ทำหน้าที่ทดแทนวิทยุชุมชนทั่วประเทศที่มีแนวโน้มจะต้องรับบรรทัดฐานคำตัดสินของศาลจังหวัดอ่างทอง ผิดเรียบ 3,000–4,000 สถานี และเป็นที่คาดการณ์ว่ากรมประชาสัมพันธ์ก็คงแจกจ่ายคลื่นใหม่นี้ให้กับผู้ผลิตรายการที่พร้อมจะทำหน้าที่สื่อเชลียร์ต่อไป

ด้านสถานีวิทยุชุมชมที่มีอยู่เดิม หากยอมรับที่จะออกอากาศเผยแพร่เนื้อหาที่ฝักใฝ่ฝ่ายรัฐ ก็จะยังคงสามารถออกอากาศต่อไป ส่วนรายใดที่หาญกล้าโจมตีการทำงานของรัฐบาล คงต้องถูกสั่งให้ปิดตัวลง ไม่สามารถออกอากาศต่อไปได้

สุพงษ์ ลิ้มธนากุล อดีตว่าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) แสดงความคิดเห็นคัดค้านพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลในความพยายามครอบครองสื่อวิทยุอย่างเบ็ดเสร็จของกรมประชาสัมพันธ์ว่า การแตกคลื่นวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ 52 คลื่นมาทำซ้ำ แตกคลื่นได้ 1,500 คลื่น เป็นการกระทำผิดตามกฎหมาย ที่ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ ทำผิดซ้ำผิดซาก ที่ผ่านมานายสุรนันทน์ก็เคยอนุมัติให้กรมประชาสัมพันธ์เปิดช่องทีวีใหม่ขึ้นมา 9 ช่อง ภายใต้ชื่อ “NBT” (National Broadcast Television) ออกอากาศในระบบดิจิตอลผ่านช่องสัญญาณของช่อง 11 ที่กรมประชาสัมพันธ์มาแล้วเมื่อปลายปี 2548 เนื่องจากการกระทำเช่นนี้ไม่มีกฎหมายใดรองรับ กรมประชาสัมพันธ์สามารถออกใบอนุญาตประกอบกิจการได้เองหรือไม่ มั่นใจว่าหาก กสช.จัดตั้งขึ้นได้ สุรนันทน์จะต้องถูกเช็กบิล ส่วนผู้ประกอบการ 1,500 คนที่จะได้รับสัมปทานคลื่นวิทยุใหม่นี้ รวมถึงผู้ได้รับสัมปทาน NBT จะถูกจับอย่างแน่นอน

“วิทยุชุมชน” เป็นหัวใจสำคัญของมาตรา 40 ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อสู่การพัฒนาประเทศ แม้จะมีความขัดแย้งในมาตรา 80 ที่ต้องการให้ กสช.เป็นผู้อนุญาตให้เปิดวิทยุชุมชน แต่ปัจจุบันวิทยุชุมชน 2-3 พันสถานีทั่วประเทศ ก็กระจายเป็นหูเป็นตาแจ้งเหตุให้กับชุมชนต่างๆ หากถูกพิพากษาว่าผิดกฎหมายทั้งหมด แล้วกรมประชาสัมพันธ์ถือโอกาสเปิดสถานีความถี่ต่ำ 1,500 คลื่นขึ้นมาแทน ยิ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐต้องการครอบงำสื่อบนความไม่ถูกต้องอย่างเบ็ดเสร็จ

การดำเนินการเกี่ยวกับสื่อของรัฐในปัจจุบันนี้ถือว่าทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมากอยู่แล้ว ทั้งในแง่การเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการตั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะเป็นสถานีที่มีรายการข่าว 70% และบันเทิง 30% ปัจจุบันกลายเป็นสถานีครอบครัว ที่มีรายการบันเทิง 70% และลดรายการข่าวเหลือ 30% นอกจากนี้ยังมีการขายกิจการให้กับกลุ่มทุนจากต่างประเทศ การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ NBT ที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องเข้ามากอบโกยผลประโยชน์

รัฐบาลแสดงเจตนารมณ์ในการครอบงำสื่ออย่างชัดเจน ปัจจุบันที่สถานีโทรทัศน์ 6 ช่อง รวมถึงสัมปทานเคเบิลทีวี เป็นของรัฐบาล ทหาร และตระกูลนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับสถานีวิทยุทั้งหมดเป็นของภาครัฐ ทั้งหน่วยงานของรัฐ ทหาร ตำรวจ เคเบิลทีวีท้องถิ่นก็โดนอำนาจรัฐคอยเล่นงานอยู่เป็นระยะๆ ส่วนวิทยุชุมชน หลังจากโดนศาลจังหวัดอ่างทองพิพากษาว่าผิดกฎหมาย ก็คาดว่าวิทยุชุมชนกว่า 4,000 สถานีทั่วประเทศ หากเป็นสถานีที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายรัฐบาล ก็คงต้องถูกสั่งปิดอย่างแน่นอน

“ต่อไปนี้เราคงไม่สามารถแสวงหาข่าวสาร ข้อเท็จจริงได้จากสื่อวิทยุ และโทรทัศน์อีกต่อไป ขณะที่มีการชุมนุมทางการเมืองที่มีคนจำนวนหมื่น จำนวนแสน แต่ทีวีกลับให้ความสำคัญกับข่าวรถสามล้อไฟไหม้มากกว่า” อดีตว่าที่ กสช.กล่าว

สุพงษ์ ยังได้เตือนไปยัง สุรนันทน์ เวชชาชีวะ ว่า หากคณะกรรมการ กสช.ชุดเดิม หรือชุดใดๆ ที่มีเจตนารมณ์ในการมุ่งรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ มั่นใจได้ว่า สุรนันทน์จะต้องรับผลกรรมที่ได้ก่อไว้ วันพิพากษาจะมาถึงอย่างแน่นอน

นักวิชาการมึนรัฐ ใช้สุญญากาศ กสช.ชิงฮุบสื่อ

ด้าน ดร.อนุภาพ ถิรลาภ ผู้อำนวยการ สถาบันบริหารการสื่อสารไทย กล่าวว่า ในด้านเทคนิค การที่ภาครัฐซึ่งเป็นเจ้าของสถานีวิทยุทั้งหมดในประเทศไทย จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ก้าวจากแอนะล็อกสู่ดิจิตอล ขยายช่องสัญญาณ เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ หากแต่มองความถูกต้อง เมื่อทุกฝ่ายทราบกันอยู่แล้วว่าการจะเพิ่มช่องสัญญาณวิทยุ หรือโทรทัศน์ ควรรอให้เกิดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) มาเป็นผู้กำกับดูแล เหตุใดรัฐบาลจึงไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง

“จริงๆ ผมไม่คิดว่ากรมประชาสัมพันธ์ทำผิดกฎหมายอะไร เพราะปัจจุบันรัฐเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์และวิทยุทุกคลื่นในประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะเห็นกฎหมายเอาผิดกับการขยายช่องสัญญาณตามอำเภอใจ ที่จะกลับมาเป็นโทษกับฝ่ายรัฐแน่นอน ถ้าจะโทษเรื่องนี้ต้องว่ากันตั้งแต่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญตั้งแต่ดั้งเดิม ทำไมถึงกำหนดให้ภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ หรือหน่วยงานราชการ มาเป็นเจ้าของสถานีวิทยุ และสถานีโทรทัศน์แต่เพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดอายุการครอบครอง”

ในช่วงสุญญากาศที่ไม่มี กสช.มาทำหน้าที่เช่นนี้ ทุกคนไม่มีสิทธิจะเปิดช่องสัญญาณเอง เอกชนทำไม่ได้ รัฐก็ทำไม่ได้ แต่เมื่อต่างคนต่างทำ ไม่มีใครถูก กรมประชาสัมพันธ์จะทำแล้วใครกล้ามาแย้ง เมื่อรัฐเองไม่ทำหน้าที่รักษาความถูกต้องเช่นนี้ อนาคตก็คงเป็นภาระอันใหญ่หลวงของ กสช. หาก กสช.เกิดขึ้น เชื่อว่าจะต้องมีกวาดล้างครั้งใหญ่ อย่างแน่นอน

No.1 เชลียร์ โปรแกรม

เมื่อพูดถึงการ “เชลียร์” ของรายการต่างๆ แล้วไม่พูดถึงรายการ “เช้าวันนี้...ที่เมืองไทย” ที่ออกอากาศทางช่อง 5 กับ “สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน” ที่ออกอากาศทางโมเดิร์น ไนน์ คงจะไม่สมบูรณ์ เพราะทั้ง 2 รายการถือเป็นรายการ “เชลียร์” อันดับ 1 ของประเทศไทย

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า...บทบาทที่ทั้งคู่แสดงออกผ่านรายการทางโทรทัศน์ทั้ง 2 ช่อง รวมทั้งผ่านรายการวิทยุเอฟเอ็ม 105 เมกะเฮิรตซ์ ของกรมประชาสัมพันธ์ทำไปก็เพื่อเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล มากกว่าจะ “ทำหน้าที่ของสื่อมวลชน” อย่างตรงไปตรงมา บางคนตั้งข้อสังเกตว่าการที่บุคคลทั้งสองได้รับสิทธิ์ให้ดำเนินรายการทั้ง 2 ช่องนั้นเป็นเพราะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

ความที่รายการทั้งสองจะทำหน้าที่เชลียร์ด้วยความจงรักภักดี แต่เป็นความภักดีที่ไม่ลืมหูลืมตา จนถึงกับบังอาจก้าวล่วงใช้วาจาจาบจ้วง และวิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ จนตามมาซึ่งความไม่พอใจกับประชาชนและบรรดานายทหารทั้งหลาย จึงกดดันให้ทั้งคู่ออกมาขอโทษและให้ถอดถอนรายการ ทว่า ทั้งคู่ไม่ยอมกล่าวขอโทษ แต่ก็ยังดีที่แสดงความรับผิดชอบด้วยการของเลิกทำรายการทั้งหมดแทน

จนถึงเวลานี้อาจกล่าวได้ว่า เหตุที่ประชาชนโดยเฉพาะระดับรากหญ้า และชนใช้แรงงานส่วนใหญ่ยังให้ความนิยมชมชอบในตัวนายกรัฐมนตรีคนนี้อยู่ เป็นเพราะกลยุทธ์การใช้สื่อสารพัดรูปแบบทั้งโทรทัศน์ วิทยุ คอย Bombard ข้อมูลข่าวสารในด้านดีของตนไปสู่โสตประสาทของประชาชน โดยเฉพาะรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน ที่ออกอากาศเป็นประจำทุกเช้าวันเสาร์นั้น ถือเป็น “การโฆษณาชวนเชื่อ” ผลงานของตน และทิ่มแทงฝ่ายตรงข้ามกับตนดีนักแล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us