Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540
"ไวท์กรุ๊ป" จุดตำนานของจัสมิน             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

"ธุรกิจต่างแดนบทเรียนราคาแพง"
"ชาเลนเจอร์ ความสำราญบนฟากฟ้า"

   
search resources

สยามเทลเทค
อดิศัย โพธารามิก




ที่จริงแล้วจุดเริ่มต้นของบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ของอดิศัยที่ใช้ชีวิตการเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน ที่ชื่อสยามเทลเทค ในเครือไวท์กรุ๊ป

ปัจจุบันมีน้อยคนนักที่จะรู้จักไวท์กรุ๊ป แต่ย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ไวท์กรุ๊ปจัดเป็นหนึ่งในเทรดดิ้งเฟิร์มรายใหญ่ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 ราย คือ ดี. เอ็ม. เคเนดี้ สิทธิ์ ปรุศดำเกิง และพาสนา สุวรรณ์เสถียร เพื่อทำธุรกิจซื้อมาขายไป เช่นเดียวกับกลุ่มล็อกซเล่ย์ สินค้าไวท์กรุ๊ปนำเข้ามาจำหน่ายนั้นมีตั้งแต่เคมีภัณฑ์พลาสติก

ช่วงหนึ่งไวท์กรุ๊ปมีการขยายธุรกิจออกไปมากมายมีการแตกไลน์ไปยังธุรกิจอื่น ๆ อาทิ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ช่วงนั้นเองสิทธิ์ ปรุศดำเกิง 1 ใน 3 ผู้ถือหุ้นใหญ่ก็จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสยามเทลเทคขึ้นมา เพื่อทำธุรกิจค้าขายอุปกรณ์อุปกรณ์สื่อสารให้กับหน่วยงานทหาร

การเกิดของสยามเทลเทคเป็นช่วงใกล้ ๆ กับการกำเนินบริษัทคอมพิวเตอร์ยูเนี่ยนของสหยูเนี่ยน และเมโทรซิลเต็มของกลุ่มศรีกรุง ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทเทรดดิ้งเฟิร์มรายใหญ่ ๆ เริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานภายใน และตั้งแผนกคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อค้าขายสินค้าไปด้วยในตัว

หลังจากตั้งสยามเทลเทค สิทธิ์ได้ไปชักชวนอดิศัยให้มาร่วมงานในสยามเทลเทค ซึ่งเวลานั้นอดิศัยกำลังหมดภารกิจการเป็นที่ปรึกษาและเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้กับคุณหญิงเลอศักด์ สมบัติศิริ ในยุครัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรมาหมาด ๆ

"ดร. อดิศัยเขาค่อนข้างดังเป็นที่รู้จักของคนในวงการ พอตั้งบริษัทสยามเทลเทคขึ้นมา คุณสิทธิ์ก็ไปชวนให้เข้ามาทำงาน มารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป" อดีตพนักงานไวท์กรุ๊ปเล่า

ธุรกิจของสยามเทลเทค ไม่ได้ขยายตัวหรือมีบทบาทในตลาดอย่างหวือหวา เนื่องจากลูกค้าหลักของบริษัทเป็นหน่วยงานราชการทหาร ซึ่งลักษณะการทำธุรกิจกับหน่วยงานราชการไม่ใช่อยู่ที่กิจกรรมการตลาด แต่อยู่วิธีการติดต่อเจรจากับผู้มีอำนาจ ชื่อของสยามเทลเทคเป็นที่รู้จักมักคุ้นในแวดวงทหารเป็นอย่างดี

ผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งในสยามเทลเทคนอกจากสิทธิ์ ปรุศดำเกิง และไวท์กรุ๊ปแล้ว จะมีทหารระดับเสนาธิการในรายชื่อผู้ถือหุ้นด้วย ตามสไตล์ของบริษัทที่ค้าขายกับหน่วยงานราชการก็มักจะดึงเอาคนของหน่วยงานเหล่านั้นร่วมงานอยู่ด้วย เพื่อความสะดวกในการติดต่องาน

ในสยามเทลเทค นอกเหนือจากงานด้านการขายแล้วสิ่งที่อดิศัยได้เรียนรู้วิธีการเจรจาติดต่อกับผู้กุมอำนาจตัดสินใจ อันเป็นหัวใจของธุรกิจที่ต้องเกี่ยวพันกับหน่วยงานของรัฐ และกลายเป็นคุณสมบัติอันโดดเด่นในตัวอดิศัย ที่ทำให้จัสมินเติบใหญ่มาจนทุกวันนี้

หลังจากนั้น สิทธิ์ก็จัดตั้งบริษัทสยามเทลเทคคอมพิวเตอร์ ขึ้นอีกแห่ง เพื่อทำธุรกิจรับออกแบบติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ และในครั้งนั้นสิทธิ์ได้ให้อดิศัยเข้ามาถือหุ้นในสยามเทลเทคคอมพิวเตอร์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการมีธุรกิจเป็นตัวเองเป็นครั้งแรก

จากจุดนี้อดิศัยก็เริ่มมองเห็นลู่ทางทำธุรกิจด้านออกแบบและติดตั้งระบบงานวิศวกรรมโทรคมนาคม อดิศัยจึงได้จัดตั้งบริษัทจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนลขึ้นมาในช่วงที่ยังนั่งทำงานอยู่ที่สยามเทลเทค โดยได้ดึงเอาสมบุญ พัชรโสภาคย์ มาเป็นหลักในการบริหารงานและติดต่องานในจัสมิน

เมื่อจัสมินเริ่มขยายตัวมากขึ้น อดิศัยจึงลาออกไปนั่งบริหารที่จัสมินอย่างเต็มตัว พร้อมกับดึงเอารุ่นน้องวิศวะจุฬาเข้ามาร่วมงาน ซึ่งต่อมาอดิศัยได้ติดต่อขอซื้อหุ้นของสยามเทลเทคคอมพิวเตอร์จากสิทธิ์และไวท์กรุ๊ปมาทั้งหมด

ทางด้านสายมเทลเทคเอง ก็มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อไวท์กรุ๊ปได้ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในสยามเทลเทคให้กับสิทธิ์ไป สิทธิ์จึงไปดึงเอาพลอากาศสมพล บุรุษรัตน์พันธ์ อดีตนายทหารเสนาธิการกองทัพอากาศเข้าร่วมถือหุ้นด้วยแต่ในทางปฏิบัติสยามเทลเทคก็ยังไม่ได้แยกออกไปจากไวท์กรุ๊ปเสียทีเดียว เพราะเวลานั้นสิทธิ์ยังถือหุ้นและนั่งบริหารงานในไวท์กรุ๊ปอยู่

กระทั่งเมื่อ 3 ปีที่แล้วโอสถสภาเต๊กเฮงหยู ได้เข้ามาซื้อหุ้นไวท์กรุ๊ป สิทธิ์จึงแยกสยามเทลเทค
ออกไปบริหารอย่างเต็มตัว

ทุกวันนี้สิทธิ์ก็ยังคงนั่งบริหารสยามเทลเทค ที่หันมาขายเฮลิคอปเตอร์ เรดาร์ ในขณะที่อดิศัย และจัสมินได้กลายเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ทุนสื่อสาร ซึ่งสยามเทลเทคคอมพิวเตอร์ที่เขาเทกโอเวอร์ขึ้นมานั้น เป็นเพียงแค่หนึ่งในธุรกิจสิบกว่าธุรกิจในมือเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us