Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540
"เกษรพลาซ่าบทพิสูจน์ของกรกฎ ศรีวิกรม์"             
 


   
search resources

เกษรพลาซ่า
กรกฎ ศรีวิกรม์




กรกฎ ศรีวิกรม์ หญิงสาวร่างเล็ก บุคลิกดูร่าเริงแจ่มใส ลูกสาวคนสุดท้องของสุทธิพงษ์ ศรีวิกรม์ และสุรภี โรจนวงศ์ วันนี้เธอกำลังรับภาระหนักในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของบริษัทจี. เอส พร็อพเพอตี้ แมเนจเม้นท์ ซึ่งบริหารศูนย์การค้า เกษรพลาซ่า

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการบริหารศูนย์การค้ารวมทั้งการขายพื้นที่ของศูนย์ฯ เป็นธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ในขณะเดียวกันในย่านใจกลางเมืองก็มีศูนย์การค้าใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การแข่งขันในทุกวันนี้จึงค่อนข้างรุนแรงกว่าในช่วงอื่น ๆ ที่ผ่านมา และในปีนี้ก็เป็นปีที่พื้นที่เช่าของเกษรพลาซ่าครบกำหนดสัญญาเช่าระยะสั้น 3 ปีที่ทำไว้กับทุกร้านค้า ซึ่งหมายถึงต้องเริ่มงานขายพื้นที่รอบใหม่

เมื่อเจอศึกรอบด้านเช่นนี้ เกษรพลาซ่าก็ต้องถูกผลกระทบอย่างหนีไม่พ้น แต่กรกฎยืนยันว่าเมื่อศูนย์การค้าขนาดเล็ก ที่มีพื้นขายเพียง 12,000 ตารางเมตรการต่อสัญญา และการขายพื้นที่จึงไม่ค่อยมีปัญหามากนักลูกค้าส่วนใหญ่ยังมีการต่อสัญญา และมีการขยายพื้นที่ร้านออกไปให้ใหญ่ขึ้น จำนวนร้านอาจจะน้อยลง แต่พื้นที่บางร้านอาจจะกว้างและมีสินค้าให้เลือกเพิ่มขึ้น

"โชคดีที่เป็นศูนย์การค้าเล็ก ใจกลางเมืองที่รอบ ๆ มีทั้งโซโก้ เซน อิเซตัน เวิลด์เทรด แต่เรามีจุดขายที่เด่นชัดคือจับกลุ่มลูกค้ารายได้สูงสินค้าแบรนด์เนมหน่อย เป็นศูนย์ที่คอยเสริมห้างอื่นๆ ในทำเลเหล่านี้มากกว่า" กรกฏอธิบาย พร้อมทั้งยอมรับว่า ถ้าเป็นศูนย์การค้าที่มีพื้นที่มาก ๆ ก็คงต้องเหนื่อยมากกว่านี้แน่นอน

แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของการวางแผนงานจะต้องศึกษาให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น หนักขึ้น และต้องมองไปข้างหน้าตลอดเวลา

อีกจุดหนึ่งที่จะส่งผลดีให้กับทางเกษรพลาซ่าก็คือแผนต่อเชื่อมทางเดินระหว่างอาคารบริเวณสี่แยกเพลินจิตเข้าด้วยกัน คือโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ เพนนิซูล่าพลาซ่า อัมรินทร์พลาซ่า เพรสซิเด้นท์ทาวเวอร์ โรงแรมออมนิมาโคโปโล และเกษรพลาซ่า แนวความคิดนี้ได้ถูกเสนอไปยังกรุงเทพมหานคร ซึ่งมานะ นพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักโยธา กทม. ได้ออกมาเปิดเผยว่า เห็นชอบในหลักการที่จะให้มีการเชื่อมต่ออาคารดังกล่าวได้ แต่ได้กำหนดให้เจ้าของอาคารก่อสร้างทางลงจากสะพานลอย เพื่อให้ประชาชนทั่วไปใช้สัญจรไปมาได้ ซึ่งถ้าโครงการนี้สำเร็จก็จะสร้างความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่จะเข้ามาซื้อสินค้าในบริเวณนี้มากทีเดียวเพราะจอดรถที่เดียว แต่สามารถเดินชอปปิ้งได้หลาย ๆ ที่

และแผนงานนี้คาดกันว่าน่าจะลงมือก่อสร้างได้ในปลายปีนี้

แต่อย่างไรก็ตามการวางแผนในการดึงดูดลูกค้าเข้าโครงการก็ยังจำเป็นต้องมีอย่างต่อเนื่อง แผนเด็ดของเกษรพลาซ่า ที่กำลังทำในขณะนี้ก็คือวางแผนการทางด้านเซอร์วิสให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ โดยเฉพาะแผนการบริการในเรื่อง "เกษรเวดดิ้งกิฟต์ เซอร์วิส" หรือบริการพิเศษเพื่อของขวัญแต่งงาน ขั้นตอนก็คือเมื่อคู่บ่าวสาวไปใช้บริการเริ่มด้วยการลงทะเบียนไว้กับทางเกษรพลาซ่า ก็จะมีเจ้าหน้าที่พาไปเดินดูของในร้านต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ต่อจากนั้นก็ค่อยกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่พอใจว่าเป็นสินค้ารหัสอะไรร้านอะไรราคาเท่าไหร่ โดยคู่บ่าวสาวจะให้ชื่อของญาติสนิท เพื่อนฝูงหรือแขกไว้กับทางเกษรฯ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยประสานกลับไปบอกให้คนเหล่านั้นทราบว่าคู่บ่าวสาวได้มาดูของไว้ที่นี่ ถ้าอยากได้ของขวัญที่เป็นประโยชน์และถูกใจก็มาเลือกซื้อได้

สำหรับร้านค้าที่ได้เข้าร่วมโครงการในช่วงแรกมีประมาณ 16 ร้านค้า ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสินค้าตกแต่งบ้าน ซึ่งเหมาะกับชีวิตแต่งงาน วิธีการนี้เป็นที่นิยมกันมากในยุโรปและได้ถูกนำมาใช้ที่เกษรฯ เป็นแห่งแรก เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไป โดยเชื่อว่าจะเป็นการบริการที่ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สุด

กรกฎ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา Constructed Textiles Design และปริญญาโทสาขา Textiles Design จากประเทศอังกฤษ เมื่อจบการศึกษาก็ได้เข้าไปทำงานในบริษัทแฟชั่น และเทคนิคการใช้สีสันเพื่อการออกแบบโดยดูแนวโน้มของความนิยมในอนาคต ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นได้กลับมาเมืองไทยโดยทำงานที่บริษัท Satin Textiles ซึ่งเป็นบริษัทด้านส่งออก แล้วก็ไปทำงานทางด้านตกแต่งภายในที่บริษัท P.49 And Associated และกลับมาทำที่เกษรพลาซ่าตั้งแต่แรกเริ่มก่อสร้างโครงการ

เกษรพลาซ่าเป็นธุรกิจของครอบครัวเธอที่สร้างขึ้นในที่ดินมรดกของสุทธิพงศ์ ศรีวิกรม์ โดยมีบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ร่วมกับศรีวิกรม์ กรุ๊ปโดยมีชาย ศรีวิกรม์ พี่ชายกรกฎเป็นกรรมการผู้จัดการและ ชาญ พี่ชายอีกคนหนึ่งร่วมเป็นกรรมการ

บทบาทของเธอในเรื่องการบริหารพื้นที่ศูนย์การค้าในบรรยากาศที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซานี้จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us