|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไทยแอร์เอเชียเป็นไทยแล้ว เล่นง่ายใช้วิธีให้ชินคอร์ปแตกตัวรวมกับพันธมิตรคนไทยขอซื้อหุ้นเดิม 400 ล้านบาท “เพ้ง” รีบพยักหน้าถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ และ ไม่ติดใจ "สิทธิชัย วีระธรรมนูญ" ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน เอเชียเอวิเอชั่น ว่าเป็นผู้ถือหุ้นตัวจริงหรือไม่ ด้าน"ทัศพล"ยันเป็นเพื่อนมีเงินเหลือชวนมาร่วมทุน เผยอดีตเคยเป็นผู้บริหารดีเอชแอล ปชป.จี้เอาผิดแอร์เอเชีย เพราะถือว่าหมดสิทธิ์บินในประเทศตั้งแต่วันแรกที่ขายหุ้นชินให้เทมาเส็กแล้ว
วานนี้(15ก.พ.) นายบุญคลี ปลั่งศิริ กรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทฯร่วมกับนายสิทธิชัย วีระธรรม จัดตั้งบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจลงทุนในบริษัทอื่น (Holding company) หรือธุรกิจอื่น ด้วยทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้ว 5 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 แสนหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดย SHIN ถือหุ้นในสัดส่วน 49% และนายสิทธิชัย ถือหุ้น 51% (ดูกราฟฟิกประกอบ)
โดยวัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัดครั้งนี้ เพื่อลงทุนในบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (ไทยแอร์เอเชีย) ซึ่งขณะนี้เอเชีย เอวิเอชั่น อยู่ระหว่างการเพิ่มทุนอีก 405 ล้านบาท เป็น 410 ล้านบาทแบ่งเป็น 41 ล้านหุ้น ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มีนาคมนี้ โดยผู้ร่วมทุนทั้ง 2 ฝ่ายจะชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนล่วงหน้าจำนวนเงิน 405 ล้านบาท เพื่อชำระค่าหุ้นไทยแอร์เอเชีย จำนวน 400 ล้านบาทให้กับ SHIN
ทั้งนี้ SHIN ได้ขายหุ้นไทยแอร์เอเชียที่ถืออยู่ทั้งหมดจำนวน 20 ล้านหุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น) คิดเป็นสัดส่วน 50% ของทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วของไทยแอร์เอเชีย ให้กับเอเชีย เอวิเอชั่นในราคาหุ้นละ 20 บาท รวมมูลค่า400 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาซื้อขายที่มีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยการการขายหุ้นไทยแอร์เอเชียดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่บริษัทยังคงมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ
**เพ้งขานรับถูกต้องตามกม.
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของไทย แอร์เอเชีย ถือว่าถูกต้องตาม พ.ร.บ. การเดินอากาศแล้ว ส่วนจะมีการสอบลึกลงไปกรณีผู้ถือหุ้นในบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ผู้ถือหุ้นใหม่ของไทยแอร์เอเชีย ที่มีชื่อนายสิทธิชัย วีระธรรมนูญ เป็นผู้ถือหุ้นว่าเป็นใครและเป็นผู้ถือหุ้นจริงหรือไม่ หรือถือให้ในนามกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่นหรือไม่ เป็นเรื่องที่ทางกฎหมายไม่ทำกัน เพราะหากดูโครงสร้างว่ามีสัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 51% เท่านั้น ถ้าจะต้องลงไปตรวจสอบเงินที่เข้ามาถือหุ้นอีก ก็คงต้องไปตรวจสอบทุกบริษัท
นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) กล่าวว่า ได้รับหนังสือชี้แจงโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ของไทย แอร์เอเชีย และตรวจสอบแล้ว พบว่าโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. การเดินอากาศ ทุกประการ คือ มีผู้ถือหุ้นไทย 51% และในสัดส่วนของผู้ถือหุ้นไทย ยังมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยอีกไม่น้อยกว่า 51% ซึ่งตามโครงสร้างใหม่ที่ไทย แอร์เอเชีย ชี้แจงมานั้น ส่วนบุคคลสัญชาติไทยที่ถือหุ้น 51% ก็คือนายสิทธิชัย วีระธรรมนูญ จึงถือว่าไทย แอร์เอเชียยังเป็นสายการบินสัญชาติไทย สามารถประกอบกิจการธุรกิจการบินในไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
"เมื่อเย็นวันที่ 14 ก.พ.นี้ ผู้บริหารไทยแอร์เอเชียได้เข้าพบและนำต้นฉบับหนังสือการจดทะเบียนผู้ถือหุ้นใหม่ให้กรมฯตรวจสอบ ซึ่งทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยในรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นนั้น จากเดิมที่สายการบินไทยแอร์เอเชีย เคยถือหุ้นโดยกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น ที่เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย 50% นายทัศพล แบเรเว็ล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยแอร์เอเชีย ถือหุ้น 1 % และส่วนที่เหลือ 49 % ถือหุ้นโดยสายการบินแอร์เอเชีย ประเทศมาเลเชีย"
*ยัน"สิทธิชัย"ไม่ใช่ตัวแทนชินฯ
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทย แอร์เอเชีย กล่าวว่า นายสิทธิชัย วีระธรรมนูญ ที่เข้ามาถือหุ้น 51% ในบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด นั้น ไม่เคยเกี่ยวข้องกับบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และไม่ได้เข้ามาถือหุ้นแทนชินฯ แน่นอน โดยนายสิทธิชัยเป็นเพื่อนของตนสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยเอแบค ก่อนหน้านี้เคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดที่บริษัท ดีเอชแอล ประเทศไทย ซึ่งทำธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ แต่ปัจจุบันลาออกจากดีเอชแอลไปประกอบธุรกิจส่วนตัวแล้ว
"ผมชวนมาเพราะเป็นนักธุรกิจคนหนึ่ง เงินมีเหลือก็ชวนเข้ามาถือหุ้น คุณสิทธิชัยเองไม่ค่อยอยากเปิดเผยตัว คนอาจจะไม่ค่อยรู้จัก ส่วนตำแหน่งในไทย แอร์เอเชียคงจะได้นั่งเป็นกรรมการ (บอร์ด) แต่ไม่รับตำแหน่งบริหาร ยืนยันว่าไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับชินฯ แน่นอน ไม่อยากให้โยงกันมั่ว" นายทัศพล กล่าว
ส่วนการที่เอเชีย เอวิเอชั่น ต้องเพิ่มทุน 400 ล้านบาทนั้น เป็นการใส่เงินตามการซื้อขายหุ้นจากชินฯ ที่ถืออยู่ในไทย แอร์เอเชีย โดยชินฯ ระบุว่าขายหุ้นออกมาในราคาหุ้นละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 400 ล้านบาท ซึ่งเงินดังกล่าวจะเข้าไปที่บริษัท ชินฯ ไม่ได้เข้ามาที่ไทย แอร์เอเชีย จึงไม่ใช่เงินที่ไทย แอร์เอเชียเพิ่มทุนเข้ามาเพื่อนำไปลงทุนใหม่
มีรายงานข่าวในวันนี้ (16 ก.พ.2549) เวลา 11.00 น.ผู้บริหารของสายการบินไทย แอร์เอเซีย จะมีการพบกับสื่อมวลชน เพื่อตอบข้อซักถามในประเด็นต่าง ๆ ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นที่เกิดขึ้น ที่อาคารจุฑามาศ
**ปูมหลังสิทธิชัยอดีตผู้บริหาร ดีเอชแอล
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้นายสิทธิชัย เคยทำงานด้านฝ่ายการตลาดที่บริษัท เลนโซ่ ซึ่งเคยทำธุรกิจวิทยุติดตามตัว "แพ็คลิงค์" คู่แข่งกับ "โฟนลิ้งค์" ธุรกิจที่ครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเคยทำ ก่อนที่จะมาทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือ หลังจากนั้นนายสิทธิชัยจึงมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของดีเอชแอล และลาออกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์รับเป็นที่ปรึกษาทั่วไปด้วย
**ก.พาณิชย์ชี้เป็นช่องโหว่ของกฎหมาย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า กรณีของบริษัท เอเซีย เอวิเอชั่น ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเข้ามาถือหุ้นใน ไทยแอร์เอเซีย นั้นเพื่อให้เป็นบริษัทของคนไทยในการขออนุญาตสิทธิ์การบินนั้น เป็นการดำเนินการเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายของกระทรวงคมนาคมในเรื่องสิทธิการบิน แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการถือหุ้นไขว้ เพราะผู้ถือหุ้นของเอเซีย เอวิเอชั่น เป็นผู้ถือหุ้นเดียวกับไทยแอร์เอเซีย โดยขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะยังไม่มีระเบียบที่ชัดเจนในเรื่องนี้
สำหรับกรณีไอทีวี และบริษัท ซินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานดาวเทียมไทยคมและดาวเทียมไอพีสตาร์ มีความเป็นไปได้ที่จะมีการดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับแอร์เอเซีย โดยการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาถือหุ้น ซึ่งถือเป็นการอาศัยช่องว่างที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งก็กำลังจับตาอยู่เช่นเดียวกัน
**ปชป.จี้เอาผิดแอร์เอเชีย
นายเกียรติ สิทธอมร สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการตั้งบริษัทเอเชียเอวิเอชั่นของกลุ่มชินคอร์ปเพื่อมาซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชียกลับมาจากกองทุนเทมาเส็ก ว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่23 ม.ค.ซึ่งเป็นวันที่ขายหุ้นไป จนถึงปัจจุบันถือว่ามีความผิดเกิดขึ้นแล้วเพราะต่างชาติได้ถือหุ้นเกินร้อยละ49 ทำให้แอร์เอเชียหมดสิทธิ์ที่จะเป็นสายการบินไทยและเสียสิทธิการบินภายในประเทศ แต่ช่วงนั้นทำไมไม่มีใครดำเนินการ และขณะนี้แม้จะตั้งเอเชียเอวิเอชั่นขึ้นมาก็ถือเป็นการถือหุ้นแทน ซึ่งสังคมไม่มีทางไว้ใจอีกแล้ว ดังนั้นต้องยืนยันให้ชัดว่าบุคคลที่เข้ามาถือหุ้นเป็นนักลงทุนจริง และต้องการเอาเงินมาลงทุนจริงๆ ไม่เช่นนั้นเข้าข่ายนอมินี่ของเทมาเส็ก และในแง่ของกระทรวงพาณิชย์เองในฐานะผู้ใช้กฎหมายต้องกลับไปดูกฎหมายตั้งแต่แรกด้วย ไม่ใช่แต่เห็นว่าไม่ถูกต้องแล้วกลับมาแก้ไขแล้วทุกอย่างจะจบ เหมือนพวกขโมยที่เอาของมาคืนแล้วบอกว่าไม่ผิดไม่ได้ เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมายด้วย ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย
“หากครม.จะอนุมัติเรื่องนี้จริง ผมอยากถามว่า การเอาสิทธิการบินในประเทศของไทยไปยกให้กับคนต่างชาติมีผลดีกับประเทศไทยอย่างไร”
**รุมสวดคมนาคมเอื้อชินคอร์ป
ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการการต่างประเทศ วุฒิสภา ที่มีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ว.นครราชสีมา เป็นประธาน ได้เชิญนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รมต.กระทรวงคมนาคมมาชี้แจง แต่กระทรวงการคมนาคมได้มอบหมายให้ นายประสงค์ เธียรธนู รองอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ ฝ่ายความปลอดภัย และ น.ส.ดวงพร อัจฉริยะวิวิช ผู้อำนวยการส่วนการเดินอากาศภายในประเทศกรมขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม มาชี้แจงแทน ในสถานภาพของไทยแอร์เอเชีย
นายไกรศักดิ์ ได้ถาม กระทรวงคมนาคมว่า กรณีที่บริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น ที่มีกรรมการบริการจากบริษัทชินคอร์ป อย่าง นายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารชินคอร์ปมาถือหุ้นบริษัทใหม่ที่พึ่งตั้งขึ้นมาเมื่อ 14 กุมภาพันธ์นี้ ด้วยถูกต้องหรือไม่ และเมื่อชินคอร์ปขายหุ้นให้เทมาเส็กไปแล้ว บริษัทไทยแอร์เอเชียยังมีสัญชาติเป็นบริษัทไทยอยู่หรือไม่ และตามหลักกระทรวงคมนาคมที่มีหน้าที่ดูแลการบินควรเข้าไปตรวจสอบหรือดำเนินการอย่างไรหรือไม่ เพราะหากเป็นบริษัทต่างชาติจริงแต่กระทรงไม่สอบอาจเป็นการกระทำผิดฐานละเลยการปฏิบัติหน้าที่ได้
“ที่สำคัญกรรมาธิการฯได้รับร้องเรียนอย่างไม่เป็นทางการจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทการบินไทยว่าการธุรกิจของไทยแอร์เอเชียที่เป็นสายการบินต้นทุนต่ำหรือโลคอสแอร์ไลน์ มีลักษณะได้สิทธิการบินในเส้นทางการบินมากกว่าสายการบินอื่นทำให้สายการบินนกแอร์ที่เป็นโลคอสแอร์ไลน์ของรัฐแข่งขันไม่ได้ เพราะการกำหนดราคาตั๋วต่ำมากทำให้สายการบินอื่นแข็งขันไม่ได้ และนอกจากนี้ยังได้รับร้องเรียนอีกว่าหลังชินคอร์ปเข้าซื้อหุ้นในไทยแอร์เอเชียยังไม่ถึง 60 วัน ก็ได้รับสิทธิ์การงดเว้นภาษี 5 ปี จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เพื่อสนับสนุนกิจการบินของไทยด้วย แต่ไม่ทราบว่าหากไม่ใช่บริษัทสัญชาติไทยยังควรได้รับสิทธิ์นี้หรือไม่” นายไกรศักดิ์กล่าว
น.ส.ดวงพร กล่าวชี้แจงว่า การให้ใบอนุญาตการบินในประเทศเป็นการดำเนินการตามหลักการปกติ ที่หากมีการอนุญาตในสายการบินหลักซึ่งมีผู้โดยสารจำนวนมากแล้ว มีระเบียบให้ผู้ประกอบการสายการบินนั้นต้องบินในสายการบินรองและสายการบินย่อยที่มีจำนวนผู้โดยสารลดลั่นลงมาด้วย กรมการขนส่งไม่ให้ให้สิทธิ์ใครเป็นพิเศษแน่นอนไม่ว่าสายการบินนั้นเป็นของนายกฯหรือไม่ก็ตาม แต่อยู่ที่ว่าผู้ประกอบการรายใดจะเลือกบินในเส้นทางใด ฉะนั้นยืนยันว่าไม่มีสิทธิ์พิเศษในการอนุญาตเส้นทางบินแน่นอน เพราะขณะนี้ยังมีเส้นทางย่อยที่มีผู้โดยสารน้อยไม่มีผู้ประกอบการเลือกบินอีกกว่า 10 เส้นทาง อย่างเส้นทางกทม.ถึงจ.นราธิวาส ก็ไม่มีใครบิน ยกเว้นไทยแอร์เอเชีย ซึ่งก็มีประโยชน์ต่อผู้โดยสาร ทั้งที่ในช่วง 3 ปีแรกที่บินในเส้นทางย่อยที่มีผู้โดยสารน้อยกรมการขนส่งให้สิทธิ์ลดค่าลงจอด ค่าบริการจอดพัก และอื่นๆให้ ฉะนั้นจะกล่าวหาว่าผู้ประกอบการที่บินหลายเส้นทางได้สิทธิ์พิเศษคงไม่ใช่
ด้านนายประสงค์ กล่าวว่า การดำเนินการตั้งบริษัทใหม่ของเอเชีย เอวิเอชั่น ก็ถือว่าดำเนินการถูกต้องตามที่กระทรวงพาณิชย์แจ้ง และเมื่อมีการจดทะเบียนบริษัทใหม่ และตั้งกรรมการต้องแจ้งรายละเอียดภายใน 15 วัน ซึ่งบริษัทใหม่ก็ดำเนินกาถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตามการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่อยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ไม่ใช่อำนาหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม
นอกจากนี้ที่ประชุมกรรมาธิการ ยังได้ตั้งคำถามที่เป็นข้อสังเกตว่า การที่นายบุญคลี ซึ่งนั่งเป็นกรรมการบริหารในบริษัทชินคอร์ป และบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นคณะกรรมการ(บอร์ด)ในบีโอไอ ที่เป็นตัวแทนจากภาคเอกชนด้วย ถือเป็นการมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และควรยกเลิกหรือชะลอการได้สิทธิ์งดเว้นภาษี 5 ปี จากบีโอไอไว้ก่อนหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเรื่องสิทธิ์พิเศษทางภาษีจากบีโอไอ ทางตัวแทนจากกระทรวงคมนาคมไม่ได้ชี้แจงแต่อย่างไร
|
|
|
|
|