Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 กุมภาพันธ์ 2549
กสิกรฯเผยตลาดตราสารหนี้คึกคาดเอกชนระดมทุน2แสนล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
Interest Rate




กสิกรไทยระบุตลาดตราสารหนี้ปีนี้เริ่มคึก หลังดอกเบี้ยทรงตัว เฟดปรับขึ้นล็อตสุดท้ายอีก 0.5% และธปท.ปรับดอกเบี้ยนโยบาย 0.5-0.75 % ทั้งปีเชื่อเอกชนออกตราสารระดมทุนประมาณ 1.5-2 แสนล้านบาท เผยขาประจำ ปูนใหญ่ ปตท. การบินไทย ครองตลาดมาเก็ตแชร์ระดมทุนกว่า 60 % ที่เหลือเป็นคอนซูเมอร์ไฟแนนซ์ 15-20 % กสิกรไทย มั่นใจรักษาแชมป์และมาเก็ตแชร์อันดับหนึ่งในการเป็นที่ปรึกษาและอันเดอร์ไรท์

นายปิติ ตัณฑเกษม ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ตลาดตราสารหนี้ในปี 2549 มีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะในครึ่งปีหลังที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มคงที่ หลังจากที่ คาดว่าเฟดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในระดับ 0.25% หลังจากนั้นจะทรงตัวหรือลดลง

ขณะที่คณะกรรมการกำกับนโยบายเศรษฐกิจ(กนง.)ก็จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามเฟดอีก 0.25-0.75% หลังนั้นก็น่าจะทรงตัวเช่นกัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้การระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ น่าจะกลับมาคึกคัก โดยคาดว่ามูลค่าภาคเอกชนจะมีการออกตราสารหนี้ในระดับ 150,000-200,000 ล้านบาท ซึ่งจากขณะนี้มียอดการออกตราสารเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 10,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้ที่ออกตราสารหนี้ส่วนใหญ่ก็จะมีรายใหญ่ที่ออกตราสารหนี้อยู่สม่ำเสมอ เช่น บ.การบินไทย ปตท. และบ.ปูนซิเมนต์ไทย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะออกครั้งละกว่า 10,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังจะมีบริษัทขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะออกตราสารในปีนี้หลังจากที่ตราสารหนี้ชุดเก่าครบกำหนด เช่น AIS ซึ่งในปีนี้จะมีการออกตราสารที่ครบกำหนดจำนวน 50,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงจะมีการออกตราสารทดแทนบางส่วน และจะส่งผลให้ตลาดตราสารคึกคักขึ้นได้

นายปิติกล่าวอีกว่า ในปีนี้ธนาคารก็ให้ความสนใจกับตลาดตราสารหนี้มาก โดยมองว่าผู้นำตลาดในการออกตราสาร ก็คงจะเป็นขาประจำของรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนการออกในระดับ 60%ของตลาดรวม หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 4-5 หมื่นล้าน

นอกจากนี้ก็จะเป็นนกลุ่ม consumer finance อาทิ จีอี มันนี่ หรือ อิออน ซึ่งจะออกตราสารเพื่อการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 10-15% และส่วนที่เหลือก็จะธุรกิจอื่น อาทิ ลิสซิ่งโดยธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าที่จะมีมาร์เก็ตแชร์ในการรับเป็นที่ปรึกษาในออกและจำหน่ายตราสารหนี้ในระดับ 15-25% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 15-16% ซึ่งในส่วนของตราสารหนี้ภาครัฐธนาคารมีมาเก็ตแชร์เป็นอันดับ 1 และในส่วนของภาคเอกชนมีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 3 ทั้งนี้ ธนาคารเชื่อว่าจะสามารถรักษาระดับมาเก็ตแชร์ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้เนื่องจากธนาคารมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และมีระบบไอทีที่จะรองรับงานส่วนนี้ได้ และธนาคารยังมีเครือข่ายช่องทางในการจำหน่าย ที่จะกระจายให้รายย่อยมากที่สุด

สำหรับการระดมเพื่อรองรับเมกะโปรเจ็ตค์นั้น ธนาคารมองว่ายังไม่น่าที่จะเร่งระดมทุนเพื่อนำเงินไปใช้ในปีนี้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของตราสารหนี้ หรือการกู้เงินจากสถาบันการเงินโดยตรง คาดว่าน่าจะเห็นความเคลื่อนไหวในการระดมทุนในปีหน้า เนื่องจาก จะต้องมีการดำเนินในขั้นตอนของโครงการที่ชัดเจน หลังจากนั้นจะมีการทำแผนทั้งแผนการเงินและตัวโครงการ ซึ่งต้องใช้เวลา 6-12 เดือนหลังจากการประมูลโครงการ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการออกตราสารถือว่าเป็นช่วงจังหวะที่ดีของการที่เข้มมระดมทุนในรูปแบบตาสารหนี้ เพราะการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยถือว่าน้อยมาก หรือคงที่แล้ว ทำให้สามารถบริหารความเสี่ยงได้ดีในช่วงนี้ โดยในช่วงนี้ตราสารที่ออกมาส่วนใหญ่จะมีระยะเวลา 2 ช่วง คือ ตราสารอายุ 3 ปี ซึ่งความต้องการจากผู้ซื้อมาก

ขณะที่ผู้ต้องการตราสารก็สามารถได้ในผลตอบแทนที่ตรงกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของผู้ออมรายย่อยที่ต้องการผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ และความเสี่ยงต่ำ อีกช่วงเวลา จะเป็นตราสารระยะยาว 7-10 ปี ซึ่งเป็นตราสารของกลุ่มบ.ประกันที่มีภาระผูกพันในการออกนาน และต้องการผลตอบแทนขั้นต่ำ 5%ขึ้นไป ซึ่งในส่วนนี้จะมีเม็ดเงินเข้ามาเป็นจำนวนมาก

นายปิติ กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าตราสารที่ออกปัจจุบันเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น และระยะยาว จะขาดตราสารช่วงระยะเวลาปานกลางไป เนื่องจากผู้ออกรอดูทิศทางของอัตราดอกเบี้ย คาดว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดนิ่ง ก็จะมีการออกตราสารในระยะเวลาต่างๆตามปกติ อย่างไรก็ตาม ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยระยะปานกลางกับระยะยาวในขณะนี้ ถือว่าเป็นระดับที่สะท้อนความเป็นจริงระดับหนึ่งแต่ระยะ 1-2 ปียังไม่สะท้อนความเป็นจริงมากนัก

โดยจะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารช่วงสั้นยังคงมีความผันผวนอยู่ ในส่วนของตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ( ไฮบริส ) ทางธนาคารไม่มีความจำเป็นจะต้องออกไฮบริสเพื่อระดมทุนในขณะนี้ ส่วนหากจะมีการออกนั้นก็จะต้องคำนึงถึงการจัดอันดับ ( เรตติ้ง ) และการพิจารณาว่าดอกเบี้ยของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ซึ่งการจะออกไฮบริสจะต้องไม่เกิน 15% ของเงินสำรองกองทุนขั้นที่1 โดยเชื่อว่าทางทหารไทยน่าจะมีการตราสารหนี้ขายตลาดต่างประเทศแน่นอน

สภาพคล่องตึงตัวช่วงกลางปี

นายบุญทักษ์ หวังเจริญ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันว่าน่าจะถึงจุดสูงสุดในช่วงกลางปีนี้ โดยธนาคารกลางสหรัฐอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25-0.50% ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75-1.00% ทำให้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศแคบลงปัจจุบันส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยกับต่างประเทศอยู่ที่ 0.50% และมีโอกาสที่จะแคบลงจนกระทั่งเป็น 0% ได้ หากสภาพคล่องในระบบลดลงมากจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีการระดมทุนจากต่างประเทศมากขึ้น เพราะการกู้เงินจากต่างประเทศจะถูกกว่าการกู้เงินจากในประเทศ

“ปัจจุบันการกู้เงินในประเทศจะถูกกว่าต่างประเทศ 0.50% แต่ส่วนต่างจะแคบลง เพราะสภาพคล่องที่ลดลงจากเมกะโปรเจ็ก การขาดดุลการค้า และการออกพันธบัตรของรัฐบาลซึ่งแบงก์ก็แนะให้ลูกค้าเฝ้าติดตามช่องทางการระดมทุนที่ถูกที่สุด โดยถ้าเป็นไปได้ในช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้าการกู้เงินนอกประเทศจะถูกกว่าในประเทศ” นายบุญทักษ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us