Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540
"กุญแจแห่งความอยู่รอดของธุรกิจขนาดย่อม"             
 


   
search resources

ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์
Retail




ท่ามกลางภาวการณ์ที่วิกฤติในปัจจุบัน บรรดาผู้ประกอบการทั้งหลายพยายามคิดหาหนทางที่จะนำพาธุรกิจของตนให้อยู่รอด ผู้ที่จะเหนื่อยมากก็ดูเหมือนจะเป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจขนาดย่อมกลับมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใดก็มิอาจประมาทต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงได้ ดังนั้นกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทั้งหลายหลีกเลี่ยงไม่ได้

"ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยมีการขยายตัวที่รวดเร็วกว่าในต่างประเทศ และส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งนั้น เช่น โฮมโปร บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่รวมเอาซูเปอร์มาร์เก็ตและดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ไว้ด้วยกัน แต่กระนั้นธุรกิจรายย่อยก็ยังไม่ตายไป" เป็นคำกล่าวของ ดร. ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซนเตอร์ จำกัด หนึ่งในผู้ร่วมเสวนาโต๊ะกลม หัวข้อ "ทางรอดธุรกิจขนาดย่อมภายใต้วิกฤติ" ที่จัดขึ้นโดยชมรม X-MBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งงานนี้ถูกจัดขึ้นก่อนการประกาศปล่อยเงินบาทลอยตัว

ดร.ฉัตรชัย ได้เปรียบธุรกิจขนาดใหญ่ว่าเป็นเหมือนดั่งช้างที่ต้องกินเยอะ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับตัวมาก และหากมีการปรับที่ไม่เพียงพอกับขนาดของธุรกิจ ธุรกิจนั้นก็มีอันต้องปิดฉากตัวเองลง ซึ่งต่างกับธุรกิจขนาดย่อมที่ปรับตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็สามารถอยู่รอดไปได้ ซึ่งเขาได้กล่าวถึงกลยุทธ์ในการปรับตัวของธุรกิจขนาดย่อมว่า สิ่งที่ควรทำเป็นประการแรกก็คือ ต้องค้นหาตลาดหรือกลุ่มลูกค้าของตัวเองให้เจอ เนื่องจากปัจจุบันตลาดเริ่มมีการเจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET)มากขึ้น สิ่งที่ต้องทำต่อมาก็คือ การจัดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สำหรับประเด็นนี้กุนซือใหญ่ของบิ๊กซีได้อธิบายว่า

"ในอดีตมีการแบ่งลูกค้าเป็นเกรด A เกรด B ตามรายได้ของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งวิธีการนี้นำมาใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้แล้ว เนื่องจากภาวะปัจจุบันแม้ว่าลูกค้าจะมีรายได้สูงแต่ก็ชอบของถูก สังเกตได้จากจัดรายการลดราคาเมื่อไรคนเต็มทุกที ดังนั้นเราควรแบ่งกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมการซื้อว่า เขาซื้อไปเพื่ออะไร ทำไมเขาจึงมาซื้อสินค้าเรา ซื้อเวลาไหนเป็นหลัก ซึ่งเมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาหากลุ่มลูกค้าหลักของเราได้แล้วนั้น ก็จะทำให้เราสามารถประเมินสถานะของเราได้ว่าในตลาดเราเสียเปรียบ หรือได้เปรียบมากน้อยแค่ไหน หากประเมินแล้วพบว่า ธุรกิจของตนเองค่อนข้างจะมีความได้เปรียบน้อยก็หลบไปก่อนจะดีกว่า เพราะยังมีทางเลือกอื่นรออยู่อีก"

ทางเลือกที่ ดร. ฉัตรชัยให้ไว้เป็นกุญแจสำหรับไขผ่านภาวะวิกฤติ ณ ขณะนี้ก็คือ จับกลุ่มลูกค้าให้แม่นว่าเป็นใคร (MARKET SEGMENTATION) และจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเหล่านั้นเข้ามาใช้สินค้าหรือบริการนั้น ๆ ให้มากขึ้นซึ่งหมายถึงยอดขายที่มากขึ้นตามกัน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การที่ยอดขายเพิ่มขึ้นไม่ได้หมายความว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการที่นำมาใช้

ซึ่งการที่จะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นนั้นก็มีหลายวิธี เช่น การกำหนดราคา นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ แต่อย่างไรก็ตามต้องมีปัจจัยอื่นมาผสมผสานด้วย โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมรายจ่ายโดยการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในปัจจุบัน

"การจัดโปรโมชั่นเพื่อเพิ่มยอดขายก็อาจทำให้กำไรลดลงก็ได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องมากจนทำให้กำไรน้อยลง ดังนั้นควรที่จะเลือกวิธีลดเป้ายอดขายลงมาเล็กน้อย เพื่อรักษาตัวเลขกำไรไว้จะเป็นการดีกว่า" ดร.ฉัตรชัยแนะนำ นอกจากนี้ เขายังแนะนำให้ผู้ประกอบการควรมองหากลุ่มตลาดใหม่ไปด้วยในขณะเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม หากมีการสำรวจตัวเองแล้วพบว่า ธุรกิจนั้นไม่มีความแข็งแกร่งพอที่จะแข่งขันในตลาดได้ เขาแนะว่า ควรจะมองหาธุรกิจใหม่ ไม่ควรที่จะจมอยู่กับธุรกิจเดิม ซึ่งประเด็นนี้เขาก็ได้กล่าวถึงธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งนับว่ามีบทบาทสำคัญมากในปัจจุบัน เนื่องจากระบบแฟรนไชส์จะเป็นการเสริมแรงให้ธุรกิจในการเริ่มต้น เหมาะกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วในการเริ่มต้น ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่การทำธุรกิจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกไปจนกว่าจะพบหนทางที่ชัดเจน

ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จเหมือนกันทุกรายซึ่งความสำเร็จของแต่ละรายนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการเองที่อย่างน้อยก็ต้องรู้ตัวเองว่ากำลังทำหรือกำลังจะทำธุรกิจอะไร มีความชอบ ความถนัดและความรู้ในธุรกิจนั้นเพียงใด รวมทั้งต้องรู้จักบริษัทแม่ของแฟรนไชส์ที่กำลังทำหรือจะทำอยู่ด้วย จากนั้นก็ต้องมีการสำรวจหาข้อมูลทางการตลาดของธุรกิจที่จะทำด้วย

นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จว่าได้แก่ ทำเลที่ตั้งของธุรกิจนั้นผู้ประกอบการต้องคำนึงเสมอว่า สิ่งที่ผู้บริโภคทั้งหลายคำนึงถึงในขณะนี้ก็คือ การเดินทางสะดวก ใกล้บ้าน และราคาต้องประหยัด ต้องเหมาะสมกับสินค้า นอกจากนี้ LAY OUT และ DESIGN ยังต้องดึงดูด สะดุดตา น่าใช้ น่าเข้าไปแวะชม

ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่คนทำธุรกิจมองข้ามไม่ได้ก็คือ "คน" หรือพนักงานของร้านที่จะต้องมีหัวใจของการให้บริการอย่างมีคุณภาพ รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างภาพพจน์ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้เป็นที่จดจำแก่ผู้บริโภคด้วย

กุญแจที่ ดร. ฉัตรชัยให้ไว้ในวันนั้นก็ยังสามารถใช้ได้จนถึงวันนี้และต่อๆ ไป ซึ่งประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและว่าที่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมที่จะไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us