Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 กุมภาพันธ์ 2549
SOLARตั้งเป้าโต10-30%พร้อมรุกงานROOF TOP             
 


   
search resources

โซลาร์ตรอน, บมจ.
วันดี กุญชรยาคง
Electricity




โซลาร์ตรอน ตั้งเป้ารายได้ปีนี้โต 10-30% จากการรับรู้รายได้จากโครงการโซลาร์โฮมเฟสแรกที่เหลือและเฟส 2 ที่จะหมดลงในปีนี้ เผยปีนี้รุกงานติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (ROOF TOP) บนหลังคาศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ เล็งเข้าประมูลการผลิตไฟฟ้า RPS 5% ของ กฟผ.ควบคู่กับการให้ความรู้และรณรงค์เผยแพร่เพื่อให้เห็นความสำคัญของการใช้พลังงานทดแทนในทุกด้าน

นางสาววันดี กุญชรยาคง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) หรือ SOLAR เปิดเผยว่า ปี 2548 นี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้ขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยจะเป็นผลมาจากการรับรู้รายได้ของโครงการโซลาร์โฮมเฟส 2 ที่จะรับรู้ได้ทั้งหมดในปีนี้ ตามนโยบายของรัฐ ซึ่งบริษัทได้ติดตั้งอุปกรณ์และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับชาวบ้านที่ห่างไกลและยากต่อการเข้าไปเดินเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเฟส 2 มีถึง 5 หมื่นครัวเรือน รวมกับเฟสแรกมีทั้งสิ้น 23,000 ครัวเรือน วงเงิน 5 พันล้านบาท

สำหรับโครงการโซลาร์โฮมเฟสแรกทยอยรับรู้รายได้มาแล้ว 85% และจะรับรู้รายได้ที่เหลือภายในปีนี้ ขณะที่โครงการเฟส 2 นั้นเริ่มรับรู้รายได้เข้ามาแล้ว 25% ซึ่งจากการติดตั้งให้ประชาชนพื้นที่ห่างไกลโดยเฉพาะชาวเขาที่อยู่ในพื้นที่สูงยากต่อการเดินสายไฟ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต้องทำงานร่วมกับ SOLAR เพื่อแก้ปัญหาและทำให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนตามเป้าหมาย และพบว่ามีปัญหาในการใช้โซลาร์โฮมน้อยมากเพียง 1% เท่านั้น

“ นอกจากพื้นที่ตามต่างจังหวัดที่ห่างไกลเสาไฟฟ้าที่เราได้การสัมปทานจากการไฟฟ้าฯ และให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้ามาดูแลเรื่องนี้ แต่จบปีนี้แล้ว เราต้องเข้าหาลูกค้าที่อยู่ในเขตเมืองภาคกลางที่ไม่มีไฟฟ้าใช้เราต้องหาลูกค้าเพิ่มเพื่อรองรับกับโครงการที่จะหมดลง ” นางวสาววันดีกล่าว

นางสาววันดีกล่าวเพิ่มว่า นอกจากการหาลูกค้าเพื่อใช้โซลาร์โฮมแล้ว ยังต้องหาลูกค้าในส่วนต่าง ๆ เพิ่ม โดย SOLAR เตรียมนำเสนอโครงการเกษตรกรรมน้ำน้อย โครงการพลังแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารเชื่อมต่อระบบจำหน่าย ( SOLAR POWER PLANT หรือ SOLAR FARM ) รวมทั้งโครงการ ROOF TOP บนหลังคาศาลากลางจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด และโครงการพลังแสงอาทิตย์ตามโครงการต่าง ๆ ที่ SOLAR อยู่ในระหว่างศึกษา

โดยปัจจุบัน SOLAR อยู่ในระหว่างเผยแพร่ความรู้เพื่อให้หลายหน่วยงานตลอดจนประชาชนเข้าใจถึงการประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะโครงการเกษตรน้ำน้อย ซึ่งขณะนี้ SOLAR ได้ติดตั้งเครื่องให้กับเกษตรการที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อทำการเกษตรด้วยการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เข้ามาช่วยในการดึงน้ำเข้าสู่ระบบสายส่งพาดผ่านกล้าไม้ที่ปลูกและน้ำจะหยดเป็นระยะห่างกันต้นละ 1 ฟุต ซึ่งพบว่าประสบผลสำเร็จมาก เนื่องจากประหยัดน้ำมันที่ใช้ในการวิดน้ำเข้าสู่แปลงผักของเกษตรกร

“เราจะติดตั้งที่อุดรธานีและนครราชสีมาเพิ่มอีก เพราะเกษตรปลูกพืชสวนครัวกันมาก และทำการเกษตรเยอะ เราต้องเข้าไปติดตั้งให้ฟรี เพื่อให้เป็นที่รู้จักของชาวบ้าน และเมื่อเขาเข้าใจก็น่าจะสนใจที่จะหันมาใช้ประโยชน์จากพลังแสงอาทิตย์เพิ่ม ” นางสาววันดีกล่าว

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ อยู่ในระหว่างเจรจากับทางกระทรวงกลาโหม เพื่อนำเสนอรายละเอียดและข้อมูลและประโยชน์ที่จะได้รับ เพราะหากเอกชนนำมาใช้ จะช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน นอกจากนี้ SOLAR ยังจะหันมาทำการปลูกพืชด้วยการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว คือการปลูกพืชแบบไฮโปรเทอร์มิส โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกพืชดังกล่าวด้วย

นางสาววันดีกล่าวว่า ขณะนี้ SOLAR รอมาตรการการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งต้องมีส่วนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน(RPS) 5% ของการผลิตไฟฟ้าแต่ละแห่ง ซึ่งหากมาตรการนี้บังคับใช้ SOLAR จะได้ผลดีในส่วน RPS 5% ของพลังงานทดแทนนั้น โดย SOLAR รอเข้าประมูลกับ กฟผ. ด้วย

อย่างไรก็ตาม หลังหมดโครงการโซลาร์โฮมแล้ว SOLAR จะบุกโครงการ ROOF TOP บนหลังคาศาลากลางจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด มูลค่าแห่งละ 5 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตส่วนอื่นเพิ่ม เช่น หลังคาบ้าน หรือหลังคาอาคารของบริษัทเอกชนต่าง ๆ ซึ่ง SOLAR ก็ต้องเข้าหาลูกค้าและให้ความรู้มากขึ้นด้วยเพื่อให้แต่ละฝ่ายเห็นความสำคัญในการหันมาใช้พลังงานทดแทนแทนการใช้น้ำมัน

สำหรับปีนี้ SOLAR ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ประมาณ 10-30% จากปี 48 ขณะที่ผลงานทั้งปีของปี 48 ผู้บริหารมั่นใจว่ารายได้ได้สูงกว่าปี 47 ตามเป้าหมาย ซึ่งรายได้รวมของปี 47 SOLAR ทำได้ 1,063 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิ 135.52 ล้านบาท ขณะที่งวด 9 เดือนของปี 48 นั้นมีรายได้รวม 1,151.63 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 133.82 ล้านบาท ดังนั้นจากผลงานที่ผ่านมาแต่ละไตรมาสของปีที่แล้วเกินกว่า 300 ล้านบาท คาดว่าไตรมาสสุดท้ายปี 48 ที่กำลังจะประกาศออกมานั้นก็น่าจะทำได้ไม่ต่างจากทุกไตรมาส เมื่อรวมกับทุกไตรมาสคาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 1,450 ล้านบาทสำหรับผลงานงวดปี48

โดยปี 49 SOLAR นอกจากโซลาร์โฮมที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จและส่งมอบในปีนี้แล้ว ตามนโยบายรัฐ และเชื่อว่าโครงการนี้จะมีเข้ามาเพิ่มอีก เพราะยังมีพื้นที่อีกหลายแห่งที่ต้องการไฟฟ้าเพิ่มเติมจากการขยายครัวเรือนมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะหันไปเน้นการบุกตลาดของ ROOF TOP นอกเหนือจากที่ได้เพียงการติดตั้งบนศาลากลางทุกจังหวัดทั่วประเทศ

“เชื่อว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รัฐต้องหาวิถีทางเพื่อให้คนหันมาใช้พลังงานทดแทนกันมากขึ้น บ้านเราเมืองร้อนแดดก็แรงทั้งปี การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญที่เราสามารถทำได้ แต่เราต้องรณรงค์ให้ทุกฝ่ายหันมาใช้พลังงานทดแทนเหมือนในต่างประเทศที่เขาหันมาให้ความสำคัญแล้ว ” นางสาววันดีกล่าว

จากเป้าหมายบุกตลาดหลังโครงการโซลาร์โฮมที่จะหมดลงในปีนี้ ส่งผลให้ แผนการสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นเป้าหมายสำคัญหนึ่งในปีนี้ เพราะบริษัทได้กู้เงินจากธนาคารไทยพานิชย์ การใช้เงินจากการขายหุ้น IPOและเงินที่จะได้จากการออกวอร์แรนต์อีก รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 1,100 ล้านบาท ที่จะนำไปใช้สร้างโรงงานดังกล่าว เพื่อทดแทนการนำเข้าและลดต้นทุนการดำเนินงานได้กว่า 20% ซึ่งโรงงานนี้จะเป็นโรงงานผลิตแบบต้นน้ำ (Up stream)รายแรกและรายเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ทำให้บริษัทฯ ลดต้นทุนในการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ลงถึง 20% และช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจให้แก่บริษัทฯทั้งในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศตามสภาวะการณ์การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us