Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 กุมภาพันธ์ 2549
จะอยู่หรือไป"แบงก์กรุงศรีฯ"เท่านั้นที่รู้!"รัตนรักษ์"เปิดกว้างพันธมิตรผลักรายได้ค่าธรรมเนียม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

   
search resources

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
พงศ์พินิต เดชะคุปต์
Banking and Finance




แม่ทัพคนใหม่ "แบงก์กรุงศรีฯ"ยังปักใจไม่เชื่อฝรั่งจะรู้ใจคนไทยเท่ากับคนไทยด้วยกันเอง แต่อย่างหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้ก็คือ กองทัพชาติตะวันตกยังได้เปรียบถ้ารบในรูปแบบ ขณะที่ยุคโลกาภิวัฒน์ทำให้กำแพงการค้าลดต่ำลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องตอบคำถามให้ได้ว่า DO OR DIE "จะอยู่หรือไป" พร้อมนิยามตัวเองเป็น "แบงก์พันธ์ไทยแท้" ที่เปิดกว้างรับพันธมิตรมากหน้าหลายตา เพื่อจะผลักให้รายได้ค่าธรรมเนียมขยายตัวต่อเนื่อง

แบงก์กรุงศรีอยุธยาของกลุ่มตระกูล "รัตนรักษ์" ถูกจับตามองจากสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนธุรกิจภายในขนานใหญ่ พร้อมกับการขยายอาณาบริเวณการทำธุรกิจแตกต่างไปจากอดีต

" แบงก์ไทยมีการเตรียมพร้อม ทั้งเกณฑ์บาเซิล ทู และการเปิดเสรี FTA ซึ่งยังไงก็ต้องเกิด จะห้ามก็คงลำบาก เพราะยุคโกบอลไลเซชั่น รัฐจะมาประคบประหงมคงไม่ได้ อาจยืดให้ช้าได้ แต่จะเลี่ยงคงไม่ได้" พงศ์พินิต เดชะคุปปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา แบงก์ที่ขึ้นชื่อว่าเก่าแก่ มีอายุร่วม 60 ปี บอกถึงภัยคุกคามที่กำลังบุกเข้าประชิดตัว

แม่ทัพคนใหม่ ถึงกับบอกว่า พนักงานทุกคนต้องเร่งพัฒนาตัวเอง สาขารูปแบบเก่าๆก็ต้องปรับปรุงภาพลักษณ์และสินค้าให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

พงศ์พินิต บอกว่าผู้บริหารแบงก์ ต้องบอกกับพนักงานอยู่เสมอว่า DO OR DIE คือเลือกเอาว่า "จะอยู่หรือจะไป" เพราะสถานการณ์การแข่งขันวันนี้ต่างจากเมื่อก่อนแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ การทำตลาดลูกค้ารายใหญ่อยู่ฝั่งเดียวในวันนี้จึงแทบไม่มีความหมายต่อรายได้ที่จะไหลเข้ามาในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่า สถาบันการเงินต่างประเทศที่มีความพร้อมด้านเงินลงทุนและเทคโนโลยี ก็คงไม่รู้ใจคนไทยเท่ากับคนไทยด้วยกันเอง แต่ข้อได้เปรียบของนักรบต่างชาติก็คือ การมีข้อมูลอยู่ในมือ โดยเฉพาะการเปิดแบงก์ใหม่ของต่างชาติ จะเน้นไปที่ข้อมูลค่อนข้างมาก ดังนั้นถ้าจะรบในรูปแบบ สถาบันการเงินไทยก็จะตกเป็นรอง

" เราทิ้งจุดเด่นที่เรามีเรื่องบริการ ขณะที่ฝรั่งเขาเข้ามาศึกษาจุดเด่นของเราว่ามีอะไรบ้าง นิสัยคนไทยเรื่องบริการคือจุดเด่น ซึ่งถ้าเราบริการดี ก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดีด้วย ไม่เช่นนั้นก็ยืนอยู่ไม่ได้"

แบงก์ขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจในแนวอนุรักษ์นิยมอย่างกรุงศรีฯ เริ่มเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตัวเองมาตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ จากที่เคยจับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ก็หันมาจับธุรกิจ "รีเทล แบงกิ้ง" นั่นก็บอกถึงการพยายามเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธรรมเนียมให้มากกว่ารายได้จากดอกเบี้ย

ในช่วงหลังๆสัดส่วนลูกค้ารายย่อยจึงกระโดดสูงถึง 20% ในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าเอสเอ็มอี และรายย่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบ้านและบัตรเครดิตที่ร่วมกับพันธมิตร "จีอี" ขณะที่ผลตอบแทนจากฐานลูกค้ารายใหญ่กลับลดลง ตรงกันข้ามต้นทุนก็เพิ่มสูงขึ้น

" เอสเอ็มอีเป็นจุดแข็งของแบงก์ ขณะที่รายใหญ่ให้ผลตอบแทนต่ำ แต่ก็ถือเป็นฐานที่จะทำให้เกิดรายย่อย พอร์ตลูกค้าจึงต้องทำให้สมดุลคือ รักษาฐานลูกค้ารายใหญ่ พร้อมกันนั้นก็พยายามขยายตลาดลูกค้ารายย่อยมากขึ้นเรื่อยๆ "

แบงก์กรุงศรีฯ มีการประเมินรายได้จากค่าธรรมเนียมปีนี้ จะขยายตัว 17% จากสัดส่วนที่มีอยู่ 23% ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 77% มีการปรับเปลี่ยนการรับรู้ของลูกค้าหรือผู้คนทั่วไปผ่านภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างทันยุคทันเหตุการณ์ ด้วยการสลัดคราบแบงก์คนรุ่นเก่าให้หายไปจากความทรงจำของผู้คนในอดีต เปลี่ยนมาเป็นแบงก์คนรุ่นใหม่ ทันยุค ทันเหตุการณ์ และเข้าประกบลูกค้าใกล้ชิดตามชุมชน หัวเมืองใหญ่น้อยมากขึ้น

แต่การเปลี่ยนแปลงภายในที่หลายคนไม่วางตาเลยก็คือ การเปิดประตูรับพันธมิตรใหม่อย่าง "จีอี" ยักษ์ใหญ่คอนซูเมอร์ไฟแนนซ์ จากอเมริกา อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันยังเข้าใจกันไปคนละทิศละทาง...

พงศ์พินิต ยังย้ำว่า ธนาคารกรุงศรีฯมีกำไรสุทธิ 6,017 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% และปีนี้จะขยายสินเชื่อเพิ่มอีก 2.6 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 8% จากปีก่อน

ขณะเดียวกันปีนี้ก็ได้ตั้งสำรองเพิ่ม 4.1 พันล้านบาท หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลที่มีอยู่ 8% ก็จะลดลง 1% เหลือ 7% ในปีนี้ ดังนั้นแบงก์กรุงศรีฯก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน ขณะเดียวกัน "รัตนรักษ์" ก็คงไม่ขายหุ้นออกไปอยู่แล้ว

พงศ์พินิต กลบกระแสการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ตระกูล "รัตนรักษ์" ให้กับ "จีอี"โดยให้เหตุผลว่าก่อนหน้านี้สัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดมีมากกว่านี้ นั่นก็แสดงว่า แบงก์กรุงศรีฯมีนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนมาตั้งแต่แรกแล้ว

ดังนั้น ก็ต้องมีนักลงทุนต่างประเทศเดินทางเข้าออกอยู่ทุกวัน ซึ่งกว่า 30% ที่ต่างชาติถือหุ้นอยู่ก็จะเข้ามาพูดคุยในเรื่องผลกำไร ความกังวล ความน่าเป็นห่วงต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจเพื่อไปรายงานกับผู้ซื้อหน่วยลงทุน เพราะฝรั่งเอาเงินมาลงทุนก็ต้องมั่นใจว่าไม่สูญ

" เรื่องจีอี ไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเลย แต่เราก็นัดคุยกับฝรั่งทุกวัน เพราะเขาอยู่กับเรามานานถึง 8 ปี จึงรู้จักกันดี ดังนั้นก็คงไม่มีการตรวจสอบทรัพย์สินหรือหนี้สินอย่างที่พูดๆกันไป"

การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดเจนในแบงก์กรุงศรีฯก็คือ การเปิดให้พันธมิตรต่างชาติเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นมากขึ้น ทั้งจากฝั่ง อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิตที่มีอลิอันซ์ เยอรมันถือหุ้นร่วมด้วย การเพิ่มเพดานการถือหุ้นของกลุ่มมิตซุย-สุมิโตโมจากญี่ปุ่น ใน บมจ.กรุงศรีอยุธยาประกันภัย และการถือหุ้นในสัดส่วน 30% ของ เจ พี มอร์แกนในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอเจเอฟ

ส่วนอีกบริษัทคือ บัตรกรุงศรี-จีอี ที่มี "จีอี" ถือหุ้นอยู่ 50% และกลายมาเป็นต้นตอของกระแสการขยับตัวลุกคืบจากพันธมิตรมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่ง พงศ์พินิต ก็ยอมรับว่า ไม่ใช่เรื่องประหลาดหรือเป็นเรื่องใหม่ พร้อมกับย้ำว่า "ใครเข้ามาดีก็ต้องการทั้งนั้น ไม่มีปัญหา"

อย่างไรก็ตาม พงศ์พินิต ก็ยังมั่นใจที่จะเรียกชื่อ แบงก์กรุงศรีฯคือแบงก์ไทย ที่ในอนาคตก็น่าจะรักษาความเป็นแบงก์พันธ์ไทยต่อไป

ขณะที่ การเปิดทางให้กับพันธมิตรต่างชาติเข้ามาร่วมดำเนินการในธุรกิจหลักอย่าง ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ธุรกิจบริหารจัดการกองทุน รวมถึงธุรกิจบัตรเครดิตของแบงก์กรุงศรีฯ นอกจากจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในมุมกลับกัน กรุงศรีฯก็พยายามจะใช้ความแข็งแกร่งและเชี่ยวชาญของบรรดาพันธมิตรผลักดันให้รายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มในสัดส่วนที่สูงขึ้น

ที่น่าจะเห็นชัดเจนก็คือ ธุรกิจแบงแอสชัวรันส์หรือขายกรมธรรม์ผ่านสาขาแบงก์ ที่มีการเตรียมขยายสาขาในปีนี้อีก 50 แห่งรวมเป็น 550 แห่ง อยู่ในกรุงเทพฯปริมณฑล 221 สาขาและเพิ่มตู้เอทีเอ็มเป็น 2,200 ตู้ โดยสาขาใหม่จะมีพนักงานเพียง 3 คนต่อสาขา และต่อไปอาจจะเหลือเพียงสาขาและ 1 คน

การลงลึกถึงลูกค้ารายย่อยและเอสเอ็มอีจึงต้องลงทุนด้านไอที และขยายสาขา โดยสาขาใหม่จะมีขนาดเล็ก เพื่อลดต้นทุนด้านพนักงาน ขณะเดียวกันก็กำหนดให้มีกำไรต่อพนักงานเพิ่มมากขึ้น

ว่ากันว่า แบงก์กรุงศรีฯยุคใหม่ที่เริ่มเปิดทางให้กับหุ้นส่วนต่างชาติเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดประตูต้อนรับ "จีอี" วงในเชื่อว่า ผลประโยชน์น่าจะตกมาอยู่ที่แบงก์กรุงศรีฯ ในขณะที่นายแบงก์ทั่วไปกลับมองว่า พันธมิตรจีอีน่าจะได้รับผลประโยชน์จากสาขาและชื่อของกรุงศรีฯมากกว่า...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us