Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 กุมภาพันธ์ 2549
"น้ำเทิน 2" ผลิตไฟได้มากสุดในอาเซียน EGCO หน้าบานเตรียมเข็นโครงการเพิ่ม             
 


   
search resources

สรรเสริญ จุฬางกูร
น้ำเทิน 2 พาวเวอร์, บจก.




ความต้องการไฟฟ้าในประเทศมักจะแปรผันตามความเจริญ และการเติบโตทางเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา เขื่อนน้ำเทิน 2 ซึ่ง เป็นหนึ่งในโครงการต่อเนื่องของรัฐบาลไทยและรัฐบาลลาวในการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 3,000 เมกกะวัตต์ โดยเขื่อนน้ำเทิน 2 จะเป็นเขื่อนที่เกิดขึ้นเพื่อการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะและ จะเริ่มดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้ามายังไทยในปีพ.ศ. 2552

สำหรับเขื่อนน้ำเทิน 2 ดำเนินการภายใต้ บริษัท น้ำเทิน 2 พาวเวอร์ จำกัด ( NTPC ) ถือกำเนิดขึ้นมาจากการร่วมทุนกันระหว่าง บริษัทการผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO 25%, รัฐบาลลาว 25% ,บริษัท EDF International 35% และ บริษัทอิตาเลี่ยนไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ITD อีก 15% ซึ่งตอนนี้โครงการกำลังเดินหน้าไปได้กว่า 40% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2552

มร.ลูดเดอร์วิก เดลเพลนเกอร์ Communication Advisor บริษัท Nam Theun 2 Power Co., Ltd. (NTPC) เปิดเผยว่า เขื่อนน้ำเทิน 2 จะเป็นเป็นเขื่อนที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุดในอาเซียน ทั้งนี้คาดว่าปริมาณกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำเทินทั้งหมด คิดเป็น 6% ของความต้องการใช้ไฟของไทยระหว่าง ปี พ.ศ 2552- 2559 เพราะแม้ขนาดเขื่อนจะไม่ใหญ่ มีพื้นที่เก็บน้ำเพียง 4,000 ตารางเมตร แต่ทางบริษัท ได้ใช้วิธีการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า ความสูงของเขื่อน 40 เมตร ยาว 325 เมตร ขวางกั้นลำน้ำเทิน เพื่อเปลี่ยนเส้นทาง ไหลของแม่น้ำให้มารวมกันจนเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จากนั้นปล่อยน้ำ ผ่านอุโมงค์ทะลุภูเขา ลงมาปั่นกังหัน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ที่โรงไฟฟ้า ซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงเขา การที่ปล่อยน้ำลงมาผ่านอุโมงค์ทะลุภูเขาทำให้เกิดการผลิตปริมาณไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากเดิม

ทั้งนี้ราคาขายให้กับทางประเทศไทยนั้นก็ถือว่าถูกมากกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วไป โดยทางบริษัทน้ำเทิน 2 นั้นจะขายกระแสไฟฟ้าให้กับไทยในราคา 1.75 บาท / หน่วย อีกทั้งจะทำการผลิตส่งให้ไทยตั้งแต่เวลา 6.00 น - 22.00 น. รวมเป็นเวลากว่า 16 ชั่วโมง โดยทางลาวจะต้องส่งกระแสไฟฟ้าให้ประเทศไทยเป็นเวลา 25 ปี และหลังจากเขื่อนน้ำเทินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทางรัฐบาลลาว

อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่มีอยู่ในเมืองไทยกับ9 เขื่อน เทียบกับ เขื่อนน้ำเทินนั้น เขื่อนน้ำเทินมีกำลังการผลิตมากที่สุด โดยอยู่ที่ 5,936 กิโลวัตต์ / ปี ขณะที่เขื่อนอื่นๆเช่น เขื่อนภูมิพลอยู่ที่ 1,068.7 กิโลวัตต์/ปี เขื่อนสิริกิตติ์ อยู่ที่ 1,476.7/ปี และเขื่อนศรีนครินทร์อยู่ที่ 1,336.5 กิโลวัตต์/ปี อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับเขื่อนในลาวเอง เขื่อนน้ำเทิน 2 ก็ถือว่ามีกำลังการผลิตที่มากที่สุดอีกด้วย

ลูโดวิก กล่าวอีกว่า นอกจากไทยจะได้ไฟฟ้าในราคาที่ถูกให้ใช้เป็นเวลา 25 ปี แล้ว ทางประเทศลาวก็ยังมีรายได้เพิ่มเข้าประเทศกว่า 80 ล้านเหรีญสหรัฐ/ ปี หรือกว่า 3,200 ล้านบาท สามารถผลักดัน GDP ให้โตได้ถึง 30% จากโครงการเขื่อนน้ำเทินเพียงโครงการเดียว แม้จะต้องย้ายประชากรบางส่วนที่อยู่บริเวณเขื่อนให้ออกมาอยู่รอบนอก แต่ทางบริษัทก็ได้แนะนำส่งเสริมอาชีพให้ทดแทน อีกทั้งทางบริษัทได้แบ่งเป็นเขตพื้นที่สีชมพูรอบๆเขื่อนเพื่อดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างใกล้ชิด

นอกจากโครงการน้ำเทิน 2 แล้ว ทางEGCO ก็กำลังเตรียมโครงการเขื่อนอื่นๆเข้ามาเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทอีกด้วย เช่นโครงการแก่งคอย 2 ซึ่งจะสามารถให้การผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในหน่วยที่1 ไตรมาสแรก ในปี 2550 แลหน่วยที่สอง สามารถผลิตได้ในปี 2551 จำนวน 1463 เมกกะวัตต์ และโครงการน้ำเทิน 1 คาดว่าจะสามารถดึงรายได้ของ EGCO ให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us