|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์กรุงเทพ มั่นใจเศรษฐกิจไทยยังแกร่ง หลังหลุดหนี้ไอเอ็มเอฟ การลงทุนยังต่อเนื่อง ระบุปัจจัยที่น่าหว่งคงเป็นราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น มากกว่าปัจจัยทางการเมือง พร้อมประกาศลดเอ็นพีแอลปีนี้เหลือ 8 %
นายเดชา ตุลานันท์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน เปิดเผยว่า ธนาคารมีความมั่นใจในการดำเนินงานของภาครัฐบาล โดยรัฐบาลสามารถใช้หนี้กองทุนระหว่างประเทศ ( IMF ) ได้ รวมทั้งโครงการการลงทุนต่างๆที่ภาครัฐจะลงทุนต่อเนื่องไปอีก
ด้านโครงการเมกะโปรเจกค์ที่ภาครัฐจะลงทุนในปีนี้หากจะมีการชะลอโครงการไปบ้างนิดหน่อยก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะว่าโครงการเหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้เวลาในการวางแผนงาน , การสำรวจและออกแบบ เป็นต้น ซึ่งการลงทุนในปี นี้คาดว่าบางโครงการของรัฐบาลน่าจะเกิดขึ้นได้เพราะว่า เป็นโครงการที่ทำต่อเนื่อง อาทิเช่น โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินที่สามารถดำเนินงานได้เพราะว่ามีแผนแม่บทรองรับอยู่แล้ว รวมทั้งอยากให้ภาครัฐให้น้ำหนักกับการส่งออกและการลงทุนก่อสร้างสินค้าสาธารณะให้มากขึ้นส่วนปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
" ตนมีความคิดเห็นว่าการที่บ้านเมืองเราอยู่ในระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันและทุกฝ่ายก็สามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองได้อย่างเสรี ทั้งเชื่อมั่นว่าการเมืองจะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นใจของนักลงทุนมากมายนัก แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องดีนักหากจะมีความยืดเยื้อมากนัก"
แต่งสิ่งที่น่ากังวลมากกว่าเรื่องของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและปัจจัยการเมือง ก็คือเรื่องปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จนกระทบให้อัตราค่าโดยสารให้ปรับขึ้น ซึ่งมองว่าเป็นสิ่งที่มองกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่โดยตรง จึงเป็นเรื่องที่ภาครัฐควรจะให้ความสนใจ
ในส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ( NPL )คาดว่าสิ้นปี 2549 นี้คาดว่าจะลดลง 1% จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 8 % โดยในส่วนของหนี้ NPLใหม่ นั้นเกิดมีอยู่น้อยมาก ทั้งเชื่อมั่นว่าลูกค้าของธนาคารที่สามารถผ่านช่วงวิกฤตในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาจะสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ หากไม่มีเรื่องที่เกินความคาดหมายเกิดขึ้นอาทิเช่น อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นไปกว่า 10%
|
|
|
|
|