Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540
"สามารถฯ หนีห่างอย่างเหนือชั้น สู่ยุคอินเตอร์"             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

สามารถเทลคอม, บมจ.
ชาญชัย จารุวัสตร์
Telecommunications




กลุ่มสามารถฯ นำโดยธวัชชัย วิไลลักษณ์ ยอมตัดใจขายหุ้นในสามารถ คอร์ปอเรชั่น 20.12% และบริษัทในเครือฯ อีก 33.33% ให้กับกลุ่มเทเลคอม มาเลเซียฯ เพื่อร่วมพัฒนาธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม หวังได้ความเชี่ยวชาญจากพันธมิตรเพื่อปูทางก้าวไปสู่การเป็นบริษัทอินเตอร์ ด้านเทเลคอม มาเลเซียฯ หวังศักยภาพบุคลากรด้านมัลลิมีเดียของกลุ่มสามารถฯ สร้างโครงการ MSC

ในปี 2535-2538 นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่มธุรกิจที่มาแรงที่สุดคือกลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม (Communication) สังเกตได้จากผลประกอบการของแต่ละบริษัทของกลุ่มธุรกิจสื่อสารเติบโตขึ้นอย่างมาก เช่น บมจ. จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JASMIN) มีกำไรสุทธิปี 2535-2538 จำนวน 153.01 ล้านบาท, 183.94 ล้านบาท, 601.36 ล้านบาท และ 1,369.05 ล้านบาท ตามลำดับ

บมจ. ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น (UCOM) มีกำไรสุทธิปี 2535-2538 จำนวน 223.58 ล้านบาท, 712.62 ล้านบาท, 2,001.37 ล้านบาท และ 2,801.78 ล้านบาท ตามลำดับ

บมจ. เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น (TA) มีกำไร (ขาดทุน) สุทธิปี 2535-2538 จำนวน (41.06 ล้านบาท), 564.71 ล้านบาท, 638.61 ล้านบาท และ 1,290.70 ล้านบาท ตามลำดับ

บมจ. ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น (TT&T) มีกำไร (ขาดทุน) สุทธิปี 2536-2538 จำนวน (166.53 ล้านบาท), 190.35 ล้านบาท และ 830.51 ล้านบาท ตามลำดับ

บมจ. ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น (SHIN) มีกำไรสุทธิปี 2535-2538 จำนวน 511.50 ล้านบาท, 1,472.07 ล้านบาท, 2,765.38 ล้านบาท และ 3,295.93 ล้านบาท ตามลำดับ และ บมจ. สามารถ คอร์ปอเรชั่น (SAMART) มีกำไรสุทธิปี 2535-2538 จำนวน 80.24 ล้านบาท, 103.89 ล้านบาท, 283.73 ล้านบาท และ 474.79 ล้านบาท ตามลำดับ

แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมเริ่มเข้าสู่ช่วงชะลอตัวดูได้จากผลประกอบการปี 2539 เริ่มลดลง อย่าง JASMIN มีกำไรสุทธิ 947.10 ล้านบาท UCOM มีกำไรสุทธิ 2,406.94 ล้านบาท TT&T กำไรสุทธิ 424.22 ล้านบาท SHIN กำไรสุทธิ 2,631.36 ล้านบาท ส่วน SAMART กำไรเพิ่มขึ้นโดยมีกำไรสุทธิ 499.98 ล้านบาท ในขณะที่ TA ขาดทุนสุทธิ 1,924.12 ล้านบาท

จังหวะเวลานี้ถือได้ว่าเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจากในปี 2543 ธุรกิจสื่อสารจะเข้าสู่ธุรกิจไร้พรมแดน คือ การเปิดเสรีทางธุรกิจ ซึ่งแข่งขันนับวันจะรุนแรงมากขึ้น โอกาสที่บริษัทเหล่านี้จะเห็นกำไรงาม ๆ เหมือนอดีตคงจะลำบากและการบริหารงานนับจากนี้เป็นต้นไปจะไม่งาย เพราะธุรกิจนี้หมดยุคผูกขาดแล้ว

ดังนั้นความอยู่รอดของแต่ละบริษัทจึงขึ้นอยู่กับว่าใครมองการณ์ไกลมากกว่ากัน และในขณะนี้บริษัทต่าง ๆ เหล่านี้เริ่มขยับตัวกันบ้างแล้ว และบริษัทเด่นที่สุดในกลุ่มธุรกิจสื่อสารสำหรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับกับยุคไร้พรมแดน คือกลุ่มสามารถฯ เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากลุ่มนี้ได้ดึงมืออาชีพ เข้ามาร่วมเสริมเขี้ยวเล็บมากพอสมควร โดยเฉพาะชาญชัย จารุวัสตร์ โดยดึงมาจากไอบีเอ็ม ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลที่เข้ามาสานต่อธุรกิจของกลุ่มสามารถฯ ได้อย่างเหมาะสมเพราะจากองค์ประกอบของกลุ่มสามารถที่จะรองรับกับการแข่งขันในอนาคต เช่นนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายต่างประเทศ การได้รับสัมปทานในโครงการจากรัฐบาล เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการปรับทิศทางการบริหารงาน โดยมุ่งเน้นทำธุรกิจเพื่อรองรับวิถีโลกใหม่ที่เกิดขึ้นจากการผนวกของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและมัลติมีเดีย ที่เรียกว่า ECS (Electronic Commerce Solution) และที่สำคัญการเป็นผู้ให้บริการ (Service Provider) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Digital PCN 1800 และกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ให้บริการ (Operator) ระบบ PCN รายที่ 3 อันเป็นก้าวสำคัญของกลุ่มสามารถฯ

"แต่องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จที่วางไว้ได้เร็วขึ้น คือ การสร้างพันธมิตรหรือร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ในแนวทางเดียวกัน" ชาญชัย จารุวัสตร์กรรมการผู้จัดการใหญ่ฯ กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของกลุ่มสามารถฯ ในการก้าวเข้าสู่ยุคการแข่งขันเสรี


ดึงเทเลคอม มาเลเซียฯ ร่วมทุน

จากความตั้งใจของกลุ่มสามารถฯ ในการก้าวเข้าสู่การแข่งขันยุคเสรี ตอนนี้เริ่มปรากฎเด่นชัดขึ้นมาแล้ว ล่าสุดกลุ่มสามารถฯ ได้ยักษ์ใหญ่แห่งวงการโทรคมนาคมของมาเลเซียอย่าง บริษัท เทเลคอมมาเลเซีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Telekom Malasia International : TMI) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเทเลคอม มาเลเซีย เบอร์ฮัด (Telekom Malasia Berhad : TMB) ที่ได้ตัดสินใจซื้อหุ้นของกลุ่มสามารถฯ

โดยจะเข้าไปถือหุ้นในสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำนวน 20.12% คิดเป็นจำนวนหุ้น 14 ล้านหุ้นของทุนจดทะเบียน เรื่องนี้ชาญชัยได้เล่าว่าหุ้นดังกล่าวที่ทางเทเลคอม มาเลเเซียฯ เข้ามาถือนั้นจะซื้อจากกลุ่มวิไลลักษณ์ทั้งหมดในราคาหุ้นละ 133 บาท คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,862 ล้านบาท และเทเลคอม มาเลเซียฯ ยังได้เข้าถือหุ้นในบริษัท ดิจิตอลโฟน (DPC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสามารถฯ โดยจะเข้ามาลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนในสัดส่วน 33.33% ของทุนจดทะเบียน 296.38 ล้านหุ้น คิดเป็นเงินลงทุน 135 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,510 ล้านบาท

เมื่อเทเลคอม มาเลเซียฯ เข้ามาถือหุ้นใน DPC แล้วจะทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นเปลี่ยนไปจากเดิมที่สามารถฯ ถือ 88.90%, บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (TAC) ถือ 10% และ กสท. ถือ 1.10% จะเปลี่ยนเป็นสามารถฯ, TMI, TAC และ กสท. ถือ 59.27%, 33.33%, 6.67% และ 0.73% ตามลำดับ

การตัดสินใจขายหุ้นให้กับเทเลคอม มาเลเซียฯ เกิดจากแนวความคิดของกลุ่มสามารถฯ เองที่ต้องการเป็นผู้นำด้าน ECS ซึ่งความคิดนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2538 แต่ทำอย่างไรถึงจะเป็นผู้นำในด้านนี้ได้ เพราะถ้าศักยภาพไม่เพียงพอโอกาสที่จะเป็นผู้นำด้าน ECS คงจะลำบาก

"นับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมาเราจึงได้เริ่มออกไปหาพันธมิตรในต่างประเทศเพื่อให้เขาเข้ามาร่วมทำงานกับเราทั้งในอเมริกาและยุโรป เพราะเรายังเป็นองค์กรที่เล็กจะไปเป็นผู้นำด้านโทรคมนาคมระดับประเทศและระดับภูมิภาคได้อย่างไร เพราะเราขาดทั้งเทคโนโลยี, เงินลงทุนและการขยายตลาดออกไปยังต่างประเทศ. ชาญชัยกล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน"

และสาเหตุที่กลุ่มสามารถฯ เลือกเทเลคอม มาเลเซียฯ เพราะว่าเป็นบริษัทเดียวที่มีปัจจัยทั้ง 3 อย่างให้ รวมทั้งการเข้าถือหุ้นทั้งในบริษัทแม่และบริษัทลูก ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ ที่กลุ่มสามารถฯ ไปเจรจาต้องการเพียงเข้ามาถือหุ้นใน DPC บริษัทเดียวเท่านั้น "ถ้าถือหุ้นทั้งแม่และลูกจะทำให้การร่วมกันทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าถือเฉพาะบริษัทลูก" นอกจากนี้ยังเชื่อมั่นในประสบการณ์และการให้บริการลูกค้าเทเลคอม มาเลเซียฯ และการมีวิสัยทัศน์ไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มสามารถฯ ที่จะพัฒนาธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และมัลติมีเดียในประเทศไทย

สำหรับ ดาโต๊ะ มูฮัมเหม็ด ซาอิด บิน มูฮัมเหม็ด อาลี ประธานของเทเลคอม มาเลเซียฯ ได้กล่าวถึงการตัดสินใจเข้ามาร่วมลงทุนกับกลุ่มสามารถฯ ว่าเป็นการรองรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจโทรคมนาคมโลกในยุคไร้พรมแดน โดยเฉพาะด้านมัลติมีเดียซึ่งเป็นธุรกิจในอนาคตและยังเป็นครั้งแรกสำหรับการลงทุนในต่างประเทศของเทเลคอม มาเลเซียฯ ที่ลงทุนทั้งด้านเครือข่ายและการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย (value added) ทั้งนี้ในส่วน value added ของกลุ่มสามารถฯ เป็นสิ่งที่เทเลคอม มาเลเซียฯ สนใจเป็นอย่างยิ่งและมีแผนการที่จะนำไปทำตลาดในประเทศอื่น ๆ ที่เราเข้าไปลงทุนโดยอาศัยบุคลากรของกลุ่มสามารถฯ เพราะปัจจุบันกลุ่มเทเลคอม มาเลเซียฯ เข้าไปลงทุนในประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ กัมพูชา แอฟริกาใต้ กานา มาลาวี

ในช่วงแรก ๆ นี้ทั้งสองจะร่วมมือกันในลักษณะร่วมลงทุนด้วยกันในด้านการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ PCN 1800 เนื่องจากในต้นปี 2541 กลุ่มสามารถฯ มีแผนจะเปิดให้บริการ "ดังนั้นในช่วงนี้เราจึงต้องเร่งขยายเครือข่ายของ DPC ให้ทั่วประเทศก่อน ส่วนโครงสร้างซัปพลายเออร์ตอนนี้กำลังเลือกอยู่ซึ่งก็มีทั้งโนเกีย ลูเซ่น เทคโนโลยีและอิริคสัน" ชาญชัย กล่าว

เนื่องจากการขยายเครือข่ายของ DPC จะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าไม่ร่วมลงทุนในลักษณะนี้คงจะต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะจำนวนเม็ดเงินดังกล่าวกลุ่มสามารถฯ ไม่สามารถระดมทุนได้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าทั้งสอง จะร่วมลงทุนแล้วแต่ก็ยังขาดเงินอีกพอสมควรในการสร้างเครือข่าย เพราะปัจจุบัน DPC มีเงินหมุนเวียนประมาณ 6,250 ล้านบาท

"ถือว่าปัจจุบัน DPC มีความแข็งแกร่งมาก แต่เราก็ยังต้องการเงินอีกจำนวนหนึ่ง ดังนั้นเราจึงมีแผนที่จะนำหุ้นในกลุ่มสามารถฯ ที่ถือใน DPC ออกขายประมาณ 10% โดยส่วนนี้เราจะโรดโชว์ให้นักลงทุนรายเล็กทั้งในและต่างประเทศ แต่เราไม่เร่งรีบอะไรเพราะขณะนี้เงินทุนที่มีอยู่ก็มากพอแล้ว" ชาญชัย กล่าว

เมื่อร่วมมือกันแล้วผลประโยชน์ที่จะได้คือ การเอื้อประโยชน์ในการใช้เครือข่ายระบบ PCN 1800 ร่วมกัน เพราะเมื่อปีที่ผ่านมา เลเลคอม มาเลเซียฯ เพิ่งเปิดบริการโทรศัพท์ระบบ 1800 นอกจากนี้ยังจะได้ประโยชน์ในเรื่องการซื้อเครื่องลูกข่ายจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำ เพราะกลุ่มสามารถฯ ซื้อเพียงครั้งเดียวได้ปริมาณมากและนำไปจำหน่ายในประเทศที่เทเลคอม มาเลเซียฯ เข้าไปลงทุน

"เรายังคิดไปถึงว่าเครือข่ายจะเป็นซัปพลายเออร์เดียวกัน ฉะนั้นการเจรจาต่อรองจะสูงขึ้น ลูกข่ายก็คือมือถือเหมือนกัน เราก็มีอัตราต่อรองมาก แต่ก่อนเราซื้อปีละ 2-3 หมื่นเครื่อง แต่เมื่อรวมกับเทเลคอม มาเลเซียฯ จะเพิ่มเป็นแสนเครื่อง จะช่วยทั้งสองฝ่ายที่จะแข่งขันได้เป็นอย่างดี" ชาญชัย กล่าว

นอกจากนี้ยังได้มีการร่วมมือในด้านเพจเจอร์เนื่องจากทั้งสองมีบริการด้านนี้ โดยกลุ่มสามารถฯ มีบริการเพจเจอร์ที่เรียกว่า โพสเทล (Postel) ส่วนด้านเทลเคอม มาเลเซียฯ มีบริการที่เรียกว่า Sky Tel ซึ่งทั้งสองมีแนวคิดจะทำเครือข่ายเพจเจอร์ (Pager Roaming) ร่วมกัน

"เรามีแนวความคิดร่วมกันในเรื่องนี้โดยเฉพาะในแถบภาคใต้เพราะมีการเดินทางระหว่างประเทศกันมาก ถึงแม้ว่าจะอยู่คนละประเทศก็สามารถเรียกกันได้ อีกทั้งเรายังจะนำสินค้าของเรา เช่น เพจเจอร์ เสาอากาศ จานดาวเทียม ไปขายในมาเลเซียด้วย" ชาญชัย เล่า

และที่สำคัญกลุ่มสามารถฯ ยังต้องการให้เทเลคอม มาเลเซียฯ ช่วยการขยายตลาดในเรื่องโทรศัพท์พื้นฐาน 6 ล้านเลขหมายที่จะเปิดประมูลในอนาคต "ที่นำเขาเข้ามาร่วมประมูลเพราะเราไม่มีความชำนาญในเรื่องโทรศัพท์พื้นฐาน แต่ถ้าดึงพันธมิตรเข้ามาโอกาสที่เราจะประมูลได้จะเปิดกว้างมากขึ้น"

ส่วนทางด้านเทเลคอม มาเลเซียฯ นั้น จะได้ประโยชน์จากการร่วมลงทุนในครั้งนี้อย่างมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากในขณะนี้เทเลคอม มาเลเซียฯ กำลังมีบทบาทสำคัญในโครงการสร้างสาธารณูปโภคในโครงการมัลติมีเดีย ซูเปอร์ คอร์ริดอร์ (Multimedia Super Corridor : MSC) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานของมาเลเซีย เป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านสื่อโทรคมนาคมในลักษณะ one stop service ซึ่งมีมูลค่าโครงการทั้งสิ้นประมาณ 5 พันล้านริงกิต หรือประมาณ 5 หมื่นล้านบาท

โครงการ MSC จะเป็นศูนย์กลางให้บริการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป หรือแถบอาเชียน โดยใช้สายไฟเบอร์ออพติก ซึ่งโครงการดังกล่าวต้องการเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้าไปสนับสนุนโครงการ และทางเทเลคอม มาเลเซียฯ ก็มั่นใจว่ากลุ่มสามารถฯ จะช่วยเหลือได้

"เรามั่นใจในศักยภาพของบุคลากรด้านมัลติมีเดียของกลุ่มสามารถฯ ซึ่งหายากมากในแถบภูมิภาคนี้ ซึ่งจุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อโครงการ MSC ที่เราวางเครือข่ายในมาเลเซีย สิ่งแรกที่จะดำเนินการคือ ด้านอินเตอร์เน็ตและมัลติมีเดีย และในอนาคตจะเป็นการร่วมมือด้าน Data Communication และ Information Superhighway" ประธานของเทเลคอม มาเลเซียฯ กล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้จากกลุ่มสามารถฯ อย่างกว้าง ๆ

ระบบเด่น ๆ ที่ทางเทเลคอม มาเลเซียฯ ต้องการจากกลุ่มสามารถฯ ได้แก่ ระบบ POSNET และทางด้านอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า ไซเบอร์เนต, ไซเบอร์มอลล์ โดยกลุ่มสามารถฯ จะนำไปบริการในมาเลเซีย

สำหรับความกังวลใจในการบริหารงานร่วมกัน เรื่องนี้ชาญชัยก็ได้ยอมรับว่าอาจจะมีปัญหาบ้างในบางครั้ง แต่โดยรวมแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นผลดีในอนาคต เพราะกลุ่มสามารถฯ จะต้องเรียนรู้สำหรับการทำธุรกิจในระดับอินเตอร์ จะต้องยอมรับแนวความคิด วิธีการทำงานของพันธมิตรและต้องยอมแบ่งอำนาจในการบริหารงานให้กับพันธมิตร

"ถ้าเราไม่ยอมรับกับสิ่งเหล่านี้ โอกาสที่เราจะเติบโตก็ลำบาก และที่เราทำเช่นนี้ก็เป็นก้าวหนึ่งของเราที่กำลังจะกลายเป็นบริษัทอินเตอร์ ได้บริหารงานร่วมกับบริษัทต่างประเทศ"

ดังนั้นการร่วมมือกันในครั้งนี้ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนทั้งแนวความคิด การบริหารงาน เทคโนโลยีระหว่างกัน เนื่องจากเทเลคอม มาเลเซียฯ เชี่ยวชาญในเรื่องการวางเครือข่าย ส่วนกลุ่มสามารถฯ ชำนาญและมีประสบการณ์เรื่องการบริการในเรื่องต่าง ๆ

การตัดสินใจในครั้งนี้จะช่วยสานฝันให้กลุ่มสามารถฯ กลายเป็นบริษัทอินเตอร์รายแรกในประเทศไทยของธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมได้หรือไม่นั้น

น่าจับตามองอย่างยิ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us