Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 กุมภาพันธ์ 2549
ดีลชินคอร์ป-เทมาเส็ก โมฆะ !?!             

 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ทักษิณ ชินวัตร
สุวรรณ วลัยเสถียร
Telecommunications
Law




อภิมหาดีล 7.3 หมื่นล้านอาจเป็นหมัน เหตุทำผิดเจตนารมณ์ทางกฎหมาย เครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคเตรียมยื่นศาลปกครอง ให้ยกเลิกรับจดทะเบียนซื้อขายหุ้น อายัดหุ้นเป็นกรณีฉุกเฉิน วงในชี้เหตุ “ทักษิณ” ยังหวงอำนาจ เพราะหล่นจากตำแหน่งเมื่อไร โดน “เช็คบิล” น่วมวันนั้น เปิดโมเดลเลี่ยงภาษีของภาคเอกชน และตลาดทุนชนิดกฎหมายเอาผิดไม่ได้

เป็นไปได้ว่าเหตุผลที่ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรียังทำเป็นดื้อตาใส ไม่สนใจกระแสขับไล่ที่เกิดขึ้นทั่วทุกหัวระแหง ก็เพราะเกรงว่าหากหลุดจากอำนาจเมื่อใดจะถูกประชาชน องค์กร และหน่วยงานต่างๆ รุม “เช็คบิล” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความไม่ชอบธรรมในการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มทุนเทมาเส็กแห่งสิงคโปร์ ที่มิเพียงผิดในด้านจริยธรรมที่คนทั้งประเทศไทยต่างรับรู้กันโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังผิดในแง่ของการหลีกเลี่ยงเจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรา 150 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย (อ่านล้อมกรอบ มาตรา 150 เอาผิดชินคอร์ป)

“หากทักษิณหมดอำนาจคนที่เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองต้องหันมาสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง และสถาบันด้วยการหันมาตรวจสอบดีลที่ผิดปกตินี้กันอย่างเต็มที่” นักกฎหมายรายหนึ่งให้ความเห็น

สุวัตร อภัยภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักงานกฎหมาย บัญชี และธุรกิจ อรุณอัมรินทร์ จำกัด อดีตรองเลขาธิการสภาทนายความ และกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย กล่าวว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรับจดทะเบียนการโอนขายหุ้นระหว่างกลุ่มบุคคลในครอบครัวนายกรัฐมนตรี กับเทมาเส็กและกลุ่มตัวแทนของเทมาเส็กนั้น ไม่ชอบด้วยตัวบทกฎหมายแน่นอน

เขายังกล่าวอีกว่า แม้จะไม่พูดถึงความไม่ชอบธรรมในการที่รัฐบาลทักษิณออกกฎหมายเพื่อขยายการถือครองหุ้นของทุนต่างชาติจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 49 เพื่อขายหุ้นให้ทุนต่างชาติในทันทีที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ อันเป็นการคอร์รัปชั่นที่เห็นได้อย่างชัดเจน แต่มีพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่า บริษัทสัญชาติไทยได้ถือหุ้นจำนวนหนึ่งแทนเทมาเส็ก จนทำให้กลุ่มทุนต่างชาติถือหุ้นในชินคอร์ปรวมทั้งสิ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และการซื้อขายครั้งนี้เป็นการซื้อขายในคราวเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ของการซื้อขายเพื่อให้เทมาเส็กเป็นผู้ถือหุ้นข้างมากเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

“ก.ล.ต.นั่งอยู่ข้างบนนี้เห็นแล้ว เม็ดเงินที่เข้ามา มาทั้งนอมินี มาทั้งซื้อหุ้น รวมแล้วมันเกินคุณนั่งดูกฎหมายฉบับนี้ คุณนั่งดูได้อย่างไร คุณรู้ว่าตอนนี้เม็ดเงินที่เทมาเส็กถือหุ้นอยู่เท่าไร แต่การที่ปล่อยให้เขาใช้อุบาย หรือใช้ช่องว่างของกฎหมายออกนั่นถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งก.ล.ต. ต้องดูแล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะปฏิเสธว่าเป็นการซื้อหุ้นในตลาด ถูกต้องตามกฎหมาย นั่นคุณพูดมุมเดียว ไม่พูดภาพรวมว่าในที่สุดหุ้นทั้งหมดไปอยู่ในมือของใคร ถ้าไปอยู่ในมือของเทมาเส็กเกินกว่าสัดส่วนตามกฎหมายถือว่าขณะนี้ปฏิบัติผิดกฎหมายแล้ว การจำหน่ายถ่ายโอนนั้นเป็นการฉ้อฉล ซึ่งจะต้องถูกยกเลิกเพิกถอน”

ดังนั้น สัญญาซื้อขายหุ้นชินคอร์ปครั้งนี้ จึงเป็นนิติกรรมที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 การที่ตลาดฯ ยอมรับการจดทะเบียนการซื้อขายหุ้นรายนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย องค์กรภาคเอกชนและประชาชนจึงมีสิทธิทวงคืนหุ้นชินคอร์ปโดยอาศัยช่องทางกฎหมายต่อองค์กรที่ประชาชนยังหวังเป็นที่พึ่งพิงได้ เพื่อมิให้กิจการสื่อสารและโทรคมนาคมตกไปอยู่ในกำมือของทุนต่างชาติ

“ต้องรีบเร่งยื่นฟ้องตลาดฯ และกลุ่มบุคคลที่ทำการซื้อและขายหุ้นรายนี้เป็นจำเลยต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการรับจดทะเบียนซื้อขายหุ้นรายนี้ที่ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในตลาดฯ โดยขอให้ศาลปกครองใช้วิธีการบรรเทาความเสียหาย มีคำสั่งระงับการโอนหุ้นชินคอร์ปจำนวนนี้ รวมทั้งอายัดเงินที่ได้จากการขายหุ้นเป็นกรณีฉุกเฉิน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกต่อไป” สุวัตร กล่าว

สำหรับความเคลื่อนไหวเพื่อให้ “ดีล” ระหว่างชินคอร์ป กับเทมาเส็กเป็นโมฆะนั้น สัปดาห์นี้ รสนา โตสิตระกูล ตัวแทนเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคจะร่วมกับสภาทนายความยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ให้มีการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับเทมาเส็ก เพราะอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการตรวจสอบพบว่าหุ้นที่ต่างชาติถืออยู่เกินกว่าร้อยละ 49 ตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว สั่งระงับห้ามเคลื่อนย้ายหุ้นที่มีการขายไว้จนกว่าศาลมีคำพิพากษา

ทั้งนี้ เนื่องจากตัวแทนเครือข่ายฯ ไม่เชื่อว่า ก.ล.ต.จะตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปด้วยความโปร่งใส ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่จะเชื่อเช่นนั้น เพราะหากดูการดำเนินการของก.ล.ต. หรือแม้แต่หน่วยงานราชการของรัฐอื่นๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า “ปกป้อง” การซื้อขายหุ้นครั้งนี้อย่างเห็นได้ชัด

อันที่จริงการเดินหน้าของกลุ่มต่างๆที่เรียกร้องให้มีการตรวจสอบการแสดงบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของนายกรัฐมนตรี มีมากมายหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มของวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่มาพร้อมกับ น.พ.เหวง โตจิราการ ประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตย ที่ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

รวมถึง โพธิพงศ์ บรรลือวงศ์ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ที่ยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุด สอบการซุกหุ้นในต่างประเทศของตระกูลชินวัตร และดามาพงศ์ โดยถ้อยความหนึ่งในหนังสือที่ยื่นนั้นระบุว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 67 บัญญัติหน้าที่ชนชาวไทย ซึ่งกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร การมีเงินได้แต่ไม่ต้องเสียภาษีเช่นตระกูลชินวัตรเป็นอยู่นี้จึงขัดกับหลักการดังกล่าว

แม้จะมีการอ้างว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ได้ยกเว้นภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์ เนื่องจากประมวลรัษฎากรไม่ได้กำหนดคำนิยามเรื่องหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้มีเงินได้ที่เป็นเงินสดต้องเสียภาษีในระบบบัญชีเงินสด อีกทั้งโดยพฤติกรรมของการซื้อขายครั้งนี้เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงที่จะไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ของแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ซึ่งเป็นบริษัทลูกของชินคอร์ป

ดังนั้น โดยอาศัยหลักเกณฑ์ของประมวลรัษฎากรการซื้อขายหุ้นดังกล่าวเป็นการจงใจหลบเลี่ยงภาษี และขอให้ได้โปรดดำเนินการออกคำสั่งเพิกถอนสิทธิในการทำการค้าของชินคอร์ปโดยด่วน เพื่อระงับการดำเนินกิจการใดๆ อันเป็นกิจการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐที่ไม่อาจให้คนต่างชาติถือหุ้นเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

นี่คือส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวที่ให้ “ดีล” ที่แสนจะซับซ้อน ซ่อนเงื่อน หมกเม็ด ไม่โปร่งใส กลายเป็น “โมฆะ” ให้ได้ ซึ่งไม่ใช่เพื่อใครแต่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ และประชาชนชาวไทยทั้งนั้น

จริงอยู่ที่ความเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจตั้งอยู่บนความหวังลมๆแล้งๆ เพราะตราบใดที่ “ทักษิณ” ยังคงครองอำนาจอยู่นั้น ย่อมอย่าหวังเลยที่หน่วยงานภายใต้การดูแลของภาครัฐหน่วยงานใดจะเข้ามาตรวจสอบ และ “ฟัน” ลงไปว่าการซื้อขายหุ้นในวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญที่ประชาชนยังพอพึ่งพิงในความยุติธรรมได้

แต่ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ต้องขอยกเครดิตให้กับ สุวรรณ วลัยเสถียร นักกฎหมายมือวางอันดับหนึ่งของไทย และโฆษกของตระกูลชินวัตร-ดามาพงศ์ ที่สามารถทำให้ “ดีลสีดำ” กลายเป็น “ดีลสีเทา” หลุดจากความผิดทางกฎหมายด้วยประการทั้งปวง เพียงแต่วันที่จะเอาผิดทักษิณได้ยังมาไม่ถึง แต่เชื่อว่าคงอีกไม่นานนี้ ต้องจับตา

ตลาดทุนเลี่ยงถูกกฎหมาย

ในฟากตลาดหุ้นวิธีการหลีกเลี่ยงภาษีถือเป็นช่องทางที่ทำได้อย่างเปิดเผย ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจึงนิยมเลือกช่องทางดังกล่าว เพื่อทำให้เสียภาษีน้อยที่สุด ที่สำคัญคือภายใต้การเข้ามาของพรรคไทยรักไทย ได้ใช้มาตรการทางภาษีเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในหลายส่วน

เริ่มจากมาตรการส่งเสริมพัฒนาตลาดทุน ปี 2544 ที่รัฐบาลไทยรักไทยเข้ามาบริหารประเทศสมัยแรก ได้ใช้วิธีการลดหย่อนภาษีเพื่อจูงใจให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น โดยให้สิทธิประโยชน์ในการเสียภาษีจากเดิมที่ต้องเสียภาษีนิติบุคคลที่ 30% โดยบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) จะเสียภาษีเพียง 25% ส่วนบริษัทขนาดเล็กที่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่(MAI) เสียภาษีเพียง 20% พร้อมทั้งให้สิทธิทางภาษีกับบริษัทจดทะเบียนเดิมเสียภาษี 25% เป็นระยะเวลา 5 รอบบัญชี

ที่ผ่านมาได้ผ่อนปรนให้บริษัทที่ยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้ง SET และ MAI เมื่อปี 2548 สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้จนถึงปี 2549 จะเห็นได้ว่านี่คือวิธีการไม่เสียภาษีตามข้อกำหนดเดิมที่ถูกกฎหมาย

นอกจากนี้สิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุนบุคคล ยังได้รับการยกเว้นภาษีจากส่วนต่างของราคาหุ้น นั่นคือกำไรจากการซื้อขายหุ้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติที่มีมายาวนาน และวิธีการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ชิน คอร์ป ไม่ว่าจะเป็นพานทองแท้หรือพิณทองทา ชินวัตร และบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน เพราะเป็นการขายในนามบุคคล

วิธีการหลบเลี่ยงภาษีหรือหากใช้คำที่ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ชอบใช้คือ "การวางแผนภาษี" นั้นยังมีอีกมาก โดยอาศัยกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ที่เปิดช่องให้ ใช้ประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากรมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์

ที่ปรึกษามืออาชีพเลี่ยงภาษี

วาณิชธนกิจกล่าวว่า หน้าที่ของพวกเราคือต้องทำให้ความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาว่าจ้างบรรลุวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้า แน่นอนว่าเรื่องการประหยัดภาษีก็เป็นแนวทางหนึ่งที่เราให้คำแนะนำ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโจทย์ที่ลูกค้ากำหนดว่าเป็นรูปแบบใด จึงจะออกแบบแนวทางในการทำงานของเราได้

มีหน่วยงาน 3 ส่วนประกอบด้วยทีมการเงินที่เชี่ยวชาญเรื่องรูปแบบธุรกิจ ทีมบัญชีที่จะแนะนำได้ว่าควรจะลงบัญชีอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า ที่สำคัญคือทีมกฎหมายที่จะต้องทราบถึงช่องว่างของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของทางการได้อย่างดี

"เรายอมรับว่าบางกรณีเดินบนพื้นที่สีเทา ไม่ขาวแต่ไม่ดำ แต่นั่นถือเป็นสิทธิของลูกค้าและเป็นสิทธิของเราด้วยเช่นกันว่าจะรับทำหรือไม่ อย่าลืมว่านี่คือธุรกิจหากเราไม่ทำ ค่ายอื่นก็รับทำ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะกล้าพอหรือไม่"

สิ่งที่รัฐบาลแก้เกณฑ์เรื่องภาษีก็ถือเป็นการเลี่ยงภาษีทางหนึ่ง เพราะบริษัทที่อยู่นอกตลาดก็ต้องเสียภาษีนิติบุคคล 30%

วิธีการขายหุ้นชิน คอร์ป เป็นการใช้สิทธิทางภาษีที่ซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหลายบริษัทก็ใช้วิธีอย่างนี้ นอกจากนั้นวิธีการทางบัญชีก็ช่วยลดภาษีให้กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เช่นกัน (อ่านรายละเอียด"ช่องโหว่ที่เปิดให้กับนายทุนกระเป๋าหนัก" หน้า A 13)

"เราอาจเคยเห็นการเข้าซื้อบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลขาดทุนมหาศาล แต่ซื้อขายกันในราคา 1 บาท ภาระขาดทุนของบริษัทที่ถูกซื้อมาจะถูกนำมาใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายในระบบบัญชีได้ หรือรายการควบรวมกิจการบางกรณีก็มีการตีค่าความนิยม(Good Will) ให้สูงกว่าความเป็นจริง เพื่อนำเอารายการนี้มาใช้หักเป็นค่าใช้จ่าย ได้ประโยชน์ทางภาษีไปไม่น้อย"

การทำให้ภาระภาษีน้อยลงนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับธุรกรรมที่เกิดขึ้น จึงจะมองได้ว่าที่ปรึกษาทางการเงินนั้นเจตนาช่วยลูกค้าอย่างไร แต่แน่นอนว่าพวกเขาต้องใช้ช่องว่างทางกฏหมาย ช่องว่างทางการลงทุนและช่องว่างทางบัญชีนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า

กระบวนการทำให้ภาคธุรกิจเสียภาษีน้อยที่สุดนั้น ฝ่ายกฎหมายถือว่ามีความสำคัญมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องศึกษากฎหมายของกรมสรรพากรให้ทะลุ รวมทั้งกฎระเบียบ ประกาศใหม่ ๆ ที่ออกมาทั้งจากหน่วยงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมักจะผ่านความเห็นชอบมาจากภาครัฐบาลผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

เลี่ยงภาษีภาคบุคคล

ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ได้นำเอามาตรการทางภาษีมากระตุ้นกองทุนรวม เพื่อสนับสนุนตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทางอ้อม จากเดิมที่ให้สิทธิทางภาษีไปก่อนหน้าก็ได้เพิ่มการหักลดหย่อนจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) และกองทุนหุ้นระยะยาว(LTF) กองละ 300,000 บาท รวมแล้ว 600,000 บาท ซึ่งเป็นการช่วยเหลือในภาคบุคคลเพื่อให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาน้อยลง รวมไปถึงการเว้นภาษีผู้มีรายได้สุทธิไม่เกิน 1 แสนบาทที่ไม่ต้องเสียภาษี

หรือการให้นำเอาบิดามารดาที่มีรายได้ต่ำกว่าคนละ 30,000 บาท อายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ผู้มีเงินได้และ คู่สมรสมีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมารัฐได้สอนให้ประชาชนเลี่ยงภาษีมาโดยตลอด จนกลางเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แม้โดยรวมแล้วกรมสรรพากรจะเป็นผู้เสียประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีได้น้อยลง แต่ในภาคบุคคลแม้จะเสียภาษีน้อยลง แต่ต้องกลับไปดูว่ารายได้ที่หายไปถูกชดเชยกลับมาด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประชาชนเมื่อได้ภาษีคืน พฤติกรรมส่วนใหญ่จะนำเงินที่ได้คืนไปใช้จับจ่ายใช้สอย

*************

“สุวรรณ วลัยเสถียร”จากมือกฎหมายสู่ถนนการเมือง

หากจะถามว่าเมื่อครั้งที่ “ สุวรรณ วลัยเสถียร ” มีบทบาทโดดเด่น สะดุดตามากเท่ากับบทบาทในฐานะ “โฆษกประจำตระกูลชินวัตร ”หรือไม่ คงต้องบอกว่าต่างกันลิบลับ..!

แม้คนอย่างสุวรรณ วลัยเสถียร จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เมื่อ 8 ปีก่อนก็ตาม แต่แวดวงการเมือง กลับไม่ใช่สิ่งที่เขาถนัดหรือทำได้ดีที่สุด หากเทียบกับความรู้ ความช่ำชองในเรื่อง “หลบเลี่ยงภาษี”จนสามารถสร้างความร่ำรวย ให้เศรษฐีจากชั้นกลางก้าวขึ้นสู่ระดับ “มหาเศรษฐี”นั้น มีมากกว่าหลายเท่าตัวนัก จนบรรดานักธุรกิจในประเทศไทยต่างให้การยอมรับอย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ตาม ดร.สุวรรณ เคยได้รับโอกาสทองจากนายกฯทักษิณ ให้เข้ามานั่งบริหารงานในครม.ในช่วง เดือนก.พ. 2544 ฐานะ รมช.พาณิชย์ ว่ากันว่าเก้าอี้สำคัญด้านเศรษฐกิจครั้งนั้นเสมือน “รางวัล” การปูนบำเหน็จหลังจากที่ดร.สุวรรณ ปฏิบัติภารกิจใหญ่สำเร็จ นั่นคือการช่วยนายกฯทักษิณ และครอบครัวชินวัตรจากคดี “ซุกหุ้นรอบแรก” โดยซุกซ่อนทรัพย์สินและหุ้นฝากไว้ในมือ คนรับใช้ คนสวน คนในบ้านอย่างแนบเนียน ซึ่งการเข้ารับตำแหน่งที่กระทรวงพาณิชย์ ของดร.สุวรรณ ในช่วง “ทักษิณ1”นั้นต้องบอกว่ามีผลงานที่โดดเด่น ไม่เสียชื่อเซียนการเงิน

ภายในเวลา 1 ปี 8 เดือนที่ดร.สุวรรณ นั่งบริหารงานในตำแหน่งรมช.พาณิชย์ นั้นต้องถือว่ามีผลงานที่น่าพอใจและได้รับการขานรับค่อนข้างดี ไม่ว่าจะเป็นการออกนโยบายเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับผู้บริโภค คือการสั่งให้ปรับลดเบี้ยประกันรถซึ่งในขณะนั้นหลายคนบอกว่าเป็นเหมือน “ของขวัญปีใหม่”ให้แก่คนไทยที่ถือเดือนเมษายนเป็นปีใหม่ไทย ซึ่งมาตรการดังกล่าวออกมาในวันที่ 1 เม.ย.2545 โดยสั่งให้มีการปรับลดดอกเบี้ยประกันพ.ร.บ.ลง โดยรถปิกอัพ จากเดิมที่เคยเก็บที่ 1,500 บาทต่อคัน ถูกลดลงเหลือ 1,100 บาท ขณะที่รถยนต์ส่วนบุคคล ลดลงเหลือ 850 บาทต่อคันจากเดิมอยู่ที่ 950 บาท หลังจากนโยบายดังกล่าวออกมาบังคับใช้ปรากฏว่าเป็นที่ถูกใจของประชาชนที่ซื้อประกันอย่างมาก เพราะก่อนหน้านี้แม้จะมีเสียงโจมตีบริษัทประกันภัยที่ได้เม็ดเงินก้อนโตจากผลกำไรในทุกปี แต่กลับไม่มีการคืนกำไรหรือลดหย่อนให้กับผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม

นอกจากนี้ยังได้มีการรณรงค์ให้ความสำคัญของการประกันภัยพ.ร.บ.ตามในธุรกิจประกันภัย ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 รณรงค์ลดตัวเลขจำนวนสติกเกอร์หายซึ่งตั้งเป้าไว้ 30%-40% แต่ด้วยฝีมือของดร.สุวรรณ ในครั้งนั้น ปรากฎว่าสามารถบริหารเครื่องหมายการรับประกันภัย สูญหายลดลง 88% ช่วยลดต้นทุนการพิมพ์สติกเกอร์ โดยไม่ต้องมีสินค้าคงเหลือ

อย่างไรก็ตามดร.สุวรรณ ยังได้เสนอเรื่องร้อนต่อนายกฯทักษิณ เพื่อให้ครม.เห็นชอบอนุมัติให้มีการเพิ่มวงเงินเบี้ยประกันภัยนำไปลดหย่อนภาษีจาก 1 หมื่นบาท เป็น 5 หมื่นบาท ก็สามารถสำเร็จออกมาเป็นรูปธรรม จนหลายคนบอกว่าเป็นข่าวดีในรอบ 10 ปีของธุรกิจประกันชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านี้หลายคนพยายามผลักดันแต่ไม่เป็นผล

ส่วนเรื่องที่ยังค้างคาและเป็นแนวคิดที่ ดร.สุวรรณ พยายามจะทำให้เป็นจริงก่อนที่เขาจะพ้นตำแหน่งรมช.พาณิชย์ คือ แนวคิดการนำเงินกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ 1,900 ล้านบาท ไปหาทางต่อยอด ให้เกิดผลกำไร โดยมีแผนที่จะให้ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุ 18 ปี ซึ่งยังให้ผลตอบแทน 5%

นอกจากการเข้าไปกำกับดูแลคลี่คลายปัญหาด้านธุรกิจประกันภัยแล้ว ดร.สุวรรณ ยังได้เคยเสนอให้ใช้กฎหมายผังเมืองกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เพื่อหวังดูแลเรื่องการแข่งขันทางการค้า สืบเนื่องจากที่ก่อนหน้านั้น ปัญหาร้านสะดวกซื้อได้เข้ามาตีตลาด ส่งผลให้ร้านโชว์ห่วย ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก จึงมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาให้ความสนใจ ในที่สุดดร.สุวรรณ ได้เสนให้ใช้กฎหมายผังเมืองกำกับห้างขนาดใหญ่ หารือกับสำนักงานผังเมือง ในราวเดือนต.ค. 2544

แต่ดูเหมือนความเดือดร้อนของบรรดาเจ้าของร้านโชว์ห่วย ยังไม่ได้รับการบรรเทาลงไป ดังนั้นหลังจากที่ดร.สุวรรณ เข้าทำงานไปได้เพียง 6 เดือนจึงเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ากระทรวงพาณิชย์ทำงานล่าช้า รมช.พาณิชย์ไม่มีผลงาน ในที่สุดดร.สุวรรณ ต้องเผชิญหน้ากับแรงกดดันทั้งจากภาคเอกชนและ ร้านค้าของชำ ที่ออกมาเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง

แต่คนอย่างดร.สุวรรณ กลับไม่ได้สะทกสะท้านต่อแรงเสียดทานดังกล่าวแต่อย่างใด กลับออกมาตอบโต้ว่าผู้ค้าย่อย ร้ายโชว์ห่วยทั้งหลายต้องลุกขึ้นมาเร่งปรับตัวทั้งในด้านเทคนิค การค้า และการบริการ พร้อมทั้งแนะให้ใช้เงินกู้หมู่บ้านฯ ปรับโฉมสู้ บรรดาร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่น แถมยังแจกหนังสือเคล็ดลับสูตรสำเร็จค้าปลีก 5 หมื่นเล่ม เพื่อใช้เป็นคู่มือ

ต่อมาในปี2545 กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลสำนักผังเมือง ได้แจ้งกลับมาว่าไม่สามารถดูแลในปัญหาดังกล่าวได้เนื่องจากกฎหมายผังเมืองไม่ได้มีไว้เพื่อดูแลเรื่องการค้าปลีก จากนั้นเมื่อเก้าอี้รมช.พาณิชย์ ถูกเปลี่ยนไปสู่ยุคของ “เนวิน ชิดชอบ” ได้แจ้งว่าการนำกฎหมาย การจำกัดเขต จำกัดเวลากับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ (โซนนิ่ง) เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้เพราะสายเกินแก้ และได้หันมาดูแลให้ความชอบธรรมในการแข่งขันและร่างกฎหมายค้าปลีกแทน

ในปี 2545 เมื่อนายกฯทักษิณ สั่งปรับครม.ครั้งใหม่เข้าสู่ยุค “ทักษิณ6” ดร.สุวรรณ ได้หลุดโผ พ้นจากเก้าอี้รมช.พาณิชย์ ไปตามวาระหลังจากการ “ตอบแทน”ของนายกฯทักษิณ จบสิ้นลง สำหรับรายการทรัพย์สินที่ดร.สุวรรณ ได้แสดงต่อคณะกรรมการป.ป.ช.หลังพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปีนั้นได้สร้างความสนใจต่อสาธารณชนไม่น้อยเนื่องจากได้แจ้งทรัพย์สินเมื่อครั้งพ้นจากตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ จำนวน 634,085,787 บาท ขณะที่ทรัพย์สินในปัจุบันเพิ่มขึ้นหลังจากพ้นตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ จำนวน 79,143,293 บาท

โดยดร. สุวรรณ แจ้งที่มาของทรัพย์สินว่าเพิ่มขึ้นมาจากหลักทรัพย์ และเงินลงทุนอื่น 77,980,903บาท และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ 2 ล้านบาท ขณะที่ ดวงใจ วลัยเสถียร คู่สมรส มีทรัพย์สินจำนวน 146,319,812 บาท

หลายปีที่ผ่านมา ข่าวคราวของดร.สุวรรณ นั้นไม่ได้ถูกบันทึกว่าเข้ามาข้องแวะในทางการเมืองแต่อย่างใด เวลาส่วนใหญ่ได้ถูกจัดสรรไปรับหน้าที่ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายกิจการธุรกิจ และหน่วยงานของภาครัฐหลายสิบแห่ง โดยคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง แม้ค่าบริการจะสูงแค่ไหนก็ตาม ว่ากันว่านักธุรกิจยังพากันต่อคิวกันยาวเหยียด

ชื่อเสียงของดร.สุวรรณ ยังไปปรากฏตามข่าวหน้าสังคมทั้งในฐานะกิจกรรมส่วนตัว และต่อมาได้เปิดตัว “ชมรมคนออมเงิน”ครั้งแรกในวันที่ 14 ธ.ค.2547 เพื่อมุ่งหวังส่งเสริมสมาชิกออมเงิน ให้ครอบครัวมีเงินออมที่พอเพียง ผ่านการเผยแพร่ความรู้ในเชิงทรัพย์สินทางปัญญาและ IT กิจกรรมดังกล่าวค่อนข้างได้รับการขานรับเป็นอย่างดี จากสังคม เนื่องจากประธานชมรมฯ อย่างดร.สุวรรณ สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดีในการนำ “เงินต่อเงิน”จนได้ผลกำไรงอกงาม

ขณะที่เวลาอีกส่วนหนึ่งได้ใช้ไปกับการเขียนหนังสือ คู่มือสร้างความร่ำรวยหลายต่อหลายเล่มไม่ว่าจะเป็น “พ่อรวยสอนลูก”, “พ่อสอนลูกให้รวย” หรือเล่มล่าสุด “สอนเมียให้รวย” ที่ล้วนแล้วแต่เปิดเผยกลยุทธ์การออมอย่างชาญฉลาด และเทคนิคการเสียภาษีให้น้อย....คุณได้อ่านกันบ้างรึยัง ?!

*************

มาตรา 150 เอาผิดชินคอร์ป

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 มีที่มาจาก มาตรา 113

มาตรา 113 “การใดมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฏหมายก็ดี เป็นการพ้นวิสัยดี เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี การนั้นท่านว่าเป็นโมฆกรรม”

(25) การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 113 นั้นเป็นการกระทำนิติกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำว่า “การใดดังที่บัญญัติไว้ ก็คือการกระทำโดยมุ่งจะให้เกิดผลในกฏหมายเป็นนิติกรรมแต่เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย กฎหมายจึงไม่รับรองให้เกิดผล โดยถือว่าเป็นโมฆะกรรมหรือการกระทำที่เสียเปล่าใช้การอะไรไม่ได้เลย การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 113 แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. การกระทำนิติกรรมโดยมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย

2. การกระทำนิติกรรมโดยมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการพ้นวิสัย

3. การกระทำนิติกรรมโดยมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ผลของการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายดังกล่าว นิติกรรมต้องตกเป็นโมฆะเสียเปล่าใช้ไม่ได้ หรือเรียกว่าเป็นโมฆกรรม อันความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมนั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us