|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ร้อกเวิธ" เจ้าตลาดเฟอร์นิเจอร์อาคารสำนักงาน ใส่เกียร์รุกตลาดทั้งใน-ตปท. มั่นใจปีนี้ยอดขายแตะ 1,000 ล้านบาท หลังออเดอร์จากภาครัฐ-เอกชน-บริษัทข้ามชาติทะลัก เร่งเพิ่มแชร์ส่งออก ผนึกดีลเลอร์ในอินเดียตั้งศูนย์กระจายสินค้า ส่งอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีกระจายสินค้าสู่กลุ่มเอเชียใต้ เพิ่มอัตราเร่งดีลเลอร์ดูไบขยายสู่ตะวันออกกลาง คาดไม่เกิน 3 ปี สัดส่วนรายได้ส่งออกขยับมาอยู่ที่ 50% พร้อมนำกำไร ทยอยล้างขาดทุนสะสม ระบุไม่เกินปี 2550 ล้างหมด
นายชัชวาล พงษ์สุทธิมนัส ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ร้อกเวิธ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน ภายใต้แบรนด์ "ร้อกเวิธ" ที่ให้บริการลูกค้าทั้งในประเทศและเอเชีย รวมถึงตะวันออกกลาง เปิดเผยถึงทิศทางของบริษัทในปี 2549 ว่า จากตัวเลขผลประกอบการในปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทต้องมาปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจในปีนี้ใหม่ หลังจากธุรกิจของบริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้ตั้งเป้ายอดขายระดับ 1,000 ล้านบาท โดยขณะนี้มียอดรอส่งสินค้าเฟอร์นิเจอร์ให้แก่ลูกค้ามูลค่าถึง 250 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของเป้าทั้งปี อาทิ อาคารสำนักงานการบินไทย ที่จะต้องมีการย้ายไปอยู่ในสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่าประมาณ 164 ล้านบาท เป็นต้น
สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทในปีที่ 2548 นายชัชวาล กล่าวว่ามียอดขายรวม 798 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ถึง 15% แบ่งเป็นยอดขายภายในประเทศ 556 ล้านบาท และยอดขายต่างประเทศ 242 ล้านบาท ทั้งนี้ ยอดขายภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากปี 47 ถึง 46% ส่วนยอดขายต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 21% โดยตัวเลขกำไรสุทธิในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 37 ล้านบาท (เติบโตจากปีก่อนหน้านี้ถึง 200%)คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 3.70 สตางค์ ทั้งนี้ กลุ่มลูกค้าหลักของร้อกเวิธมีทั้งโครงการขนาดใหญ่ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ และกลุ่มธุรกิจต่างๆ เช่น การธนาคาร,การเงิน, สื่อสารและประกันภัย
"ปีนี้ บริษัทจะยังคงเสริมสร้างจุดเด่นด้านความชำนาญเฉพาะทาง ในการเป็นผู้ให้บริการและผลิตเฟอร์นิเจอร์สำนักงานอย่างครบวงจร การกระตุ้นให้ลูกค้านึกถึงสินค้าของร้อกเวิธเมื่อต้องการเฟอร์นิเจอร์ ขณะเดียวกันทางบริษัทจะมีการเติบโตควบคู่ไปกับลูกค้า หรือเชื่อมลูกค้าเพื่อขยายผลไปสู่ความร่วมทางธุรกิจ การส่งเสริมคู่ค้าทางธุรกิจ เช่น ในปีที่ผ่านมาได้จับมือกับ Sinetica จากอิตาลี ซึ่งเป็นแบบผนังเข้ามาร่วมพัฒนาและจำหน่ายสินค้าในภูมิภาคเอเชีย เช่นเดียวกับที่เป็นพันธมิตรกับ ออลสตีลจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสินค้าเฟอร์นิเจอร์เฉพาะทางเจาะกลุ่มลูกค้าสหรัฐในไทย หรือจากญี่ปุ่น Itoki ที่ญี่ปุ่นส่งวัตถุดิบมาผลิตในไทยและนำไปจำหน่ายในญี่ปุ่น ขณะเดียวกันก็ยังพ่วงแบรนด์ร้อกเวิธเข้าไปด้วย "
นายชัชวาลกล่าวว่า บริษัทได้ทุ่มงบ 60 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงโฉมรูมสาขาอโศกในรูปแบบใหม่ ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ในการนำเสนอสินค้ามากถึง 2,000 ตร.ม.และยังเป็นโชว์รูมที่ทันสมัย นอกจากนี้ บริษัทจะเร่งเสริมสร้างศักยภาพในการบุกตลาด โดยการผนึกกับดีลเลอร์ในอินเดีย เพื่อทำศูนย์กระจายสินค้า โดยทางดีลเลอร์จะเป็นผู้ที่ให้
และทางบริษัทจะมีการส่งส่วนประกอบหลักๆของสินค้าเฟอร์นิเจอร์ร้อกเวิธไปที่ศูนย์กระจายสินค้าในอินเดีย เบื้องต้นจะมีมูลค่าประมาณ 20 ล้านบาท
โดยประโยชน์ที่จะได้รับ คือ อินเดียมีข้อตกลงเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออกไปยังกลุ่มเอเชียใต้ ที่เรียกชื่อย่อว่า SARC ที่ครอบคลุม 7 ประเทศ เช่น ศรีลังกา ,ปากีสถาน และภูฐาน เป็นต้น ขณะเดียวกัน จะมีการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบภายในประเทศอินเดียเข้ามาประกอบกับเฟอร์นิเจอร์ เช่น การนำผ้ามาหุ้มสินค้า ทำให้ต้นทุนในส่วนลดลงประมาณ 10-20% และมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันในด้านราคากับคู่แข่ง ขณะที่บริษัทจะเร่งขยายฐานส่งออกไปสู่ตะวันออกกลางมากว่าที่เป็นอยู่
" เราต้องมุ่งพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่ใน 25 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายเข้าไปในภูมิภาคเอเชียใต้ และยุโรปตะวันออกให้ได้อย่างน้อย 3 ประเทศ รวมเป็น 28 ประเทศ โดยประเทศรัสเซียเรากำลังมองอยู่ ทั้งนี้ จากข้อมูลที่บริษัทสำรวจ พบว่า อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ทั่วโลกมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ทำให้เราเห็นโอกาศที่จะเข้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดยคาดว่าในระยะ 3 ปีข้างหน้า สัดส่วนการส่งออกจะขยับขึ้นมาที่ 50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 30% "นายชัชวาลกล่าว
ประธานกรรมการฯ กล่าวถึงการบริหารต้นทุนของบริษัทฯว่า ถึงแม้จะสามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อพิจารณาต้นทุนในการดำเนินธุรกิจแม้จะลดลงมาอยู่ที่ 67% แต่ทางบริษัทได้หาวิธีลดต้นทุนควบคู่ไปกับสร้างคุณภาพของสินค้า โดยได้จ้างที่ปรึกษาจากประเทศญี่ปุ่นที่ชื่อ ไคเซน เข้ามาวางแผนการบริหารต้นทุน นอกจากนี้ในเรื่องของการลดตัวเลขขาดทุนสะสมนั้น ทางบริษัทยังคงต้องดำเนินการ โดยการที่จะนำกำไรไปทยอยลด ซึ่งคาดว่าในปี 2550 จะสามารถล้างขาดทุนสะสมได้ ขณะที่มีกระแสเงินสดในมือประมาณ 100 ล้านบาท
|
|
|
|
|