|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“พงษ์ศักดิ์”สั่งขอ.คุมเข้มคุณภาพเครื่องบินหลังเกิดอุบัติเหตุบ่อย อุ้มไทยแอร์เอเชียยังมีสิทธิ์บินต่อได้ระหว่างรอความชัดเจนสัดส่วนหุ้นคนไทย “ชัยศักดิ์” เผยมาตรฐานเครื่องบินอายุเกิน14 ปีต้องเข้าโปรแกรมซ่อมพิเศษ ยันกม.เข้มผู้ถือหุ้นแอร์เอเชียต้องคนไทย 51% ด้านกบร.อนุมมัติขึ้นค่าตั๋วโดยสารอีกหลายสายพร้อมตั้งอนุกรรมการฯ พิจารณาแทนเพื่อความคล่องตัวรับแข่งขัน
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ให้นโยบายนายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) เร่งตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยของสายการบินต่างๆ ไม่เฉพาะกับสายการบินราคาถูก (โลว์คอสต์แอร์ไลน์) รวมทั้งการอนุญาตให้เครื่องบินทำการบินจะต้องตรวจสอบสภาพให้พร้อมและเหมาะสม และไม่ให้เครื่องบินเก่าเกินไปโดยให้สอบถามความเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
“ ที่ผ่านมาปัญหาเครื่องบินเกิดเหตุมีมาก ไม่เฉพาะแต่โลว์คอสต์แอร์ไลน์ ซึ่งได้ย้ำให้กรมฯไปดูรายละเอียด เพื่อปรับให้เหมาะสมและหากมีการฝ่าฝืนระเบียบก็ต้องมีบทลงโทษที่เด็ดขาด รวมทั้งให้ตรวจสอบกรณีสายการบินไทยแอร์เอเชีย ด้วย ซึ่งให้ยึดทุกอย่างตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยขณะนี้ขอ.ได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งตลาดหลักทรัพย์และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งหน่วยงานน่าจะรีบตอบเพื่อสรุปให้เสร็จโดยเร็ว โดยขณะนี้ไทยแอร์เอชียยังสามารถทำการบินตามปกติได้จนกว่าจะมีการสรุปเรื่องสัดส่วนหุ้น”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศกล่าวว่า โดยทั่วไปทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะไม่มีการกำหนดอายุเครื่องบิน ซึ่งกรมฯ อยู่ระหว่างพิจารณากรณีที่เป็นเครื่องบินเก่าอายุมากกว่า 14 ปี ขึ้นไป โดยจะมีโปรแกรมการตรวจเช็คสภาพเป็น ที่นอกเหนือจากการซ่อมบำรุงปกติ โดยเฉพาะจุดที่มีการใช้งานมากๆ อาจต้องมีการเอ็กซเรย์ตรวจสอบภายในนอกเหนือจากตรวจภายนอก เช่น ปีก เครื่องยนต์ ซึ่งเครื่องบินอายุมากก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมากขึ้นไปด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยมากที่สุด
สำหรับกรณีไทยแอร์เชียนั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบและรอหนังสือตอบจากกคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงพาณิชย์ และไทยแอร์เอเชีย เพื่อประกอบการพิจารณาสัดส่วนหุ้นและคุณสมบัติของไทยแอร์เอเชียว่ายังถูกต้องหรือไม่ ซึ่งบริษัทเองก็ยอมรับและกำลังดำเนินการให้ถูกต้อง โดยให้เวลาแก้ไขใน 15 วันไม่เช่นนั้นกรมฯจะยกเลิกใบอนุญาตทันที ทั้งนี้ กฎหมายนอกจากกำหนดให้เป็นบริษัทไทยที่ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% แล้วยังกำหนดว่าในบริษัทไทยนี้จะต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% ด้วย
กบร.ไฟเขียวค่าตั๋วเครื่องบินใหม่
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) วานนี้ (8 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสายการบินทุกสายที่ทำการบินมายัง/ไปจากประเทศไทย ปรับปรุงอัตราค่าโดยสารปกติจากประเทศไทยไปยังแอฟริกา/ตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นอีก 3 % ยกเว้นไปยังอิสราเอลที่ให้เพิ่มขึ้น 6% และปรับปรุงค่าโดยสารพิเศษเพิ่มขึ้น 2% ยกเว้นไปยังอิหร่านที่ไม่มีการปรับเพิ่ม ตามมติสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ(ไออาร์ตา) เมื่อเดือนก.ย. 2547 โดยจะมีผลบังคับทันที
โดยอัตราค่าโดยสารที่ปรับเพิ่ม เมื่อเทียบกับค่าโดยสารจากประะเทศใกล้เคียงที่เป็นคู่แข่งในภูมิภาคเช่นมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ไปยังจุดปลายทางเดียวกันยังถือว่าต่ำกว่า โดยสายการบินส่วนใหญ่ขอเสนอปรับค่าโดยสารลงเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้สามารถแข่งขันและเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้มากขึ้น โดยปัจจุบันสายการบินจะกำหนดค่าโดยสารจากภาวะตลาด (Market Rate) ซึ่งจะต่ำกว่าอัตราที่ไออาร์ต้าและภาครัฐกำหนด (Official Rate) ประมาณ 25-30% อยู่แล้วเพื่อการแข่งขัน แต่จะมีอัตราพิเศษที่ลดลงต่ำกว่าราคาตลาด ซึ่งหลายสายการบินเสนอขอมา เช่น ลดพิเศษสำหรับคนชรา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกสำหรับสายการบินต่างๆ กบร.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นและให้อำนาจในการพิจารณาปรับปรุงค่าโดยสารและค่าระวางขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับมติของ ไออาร์ตาอยู่แล้ว ดังนั้นมีอนุกรรมการฯจะทำให้คล่องตัวและเกิดประโยชน์กว่าโดยอนุกรรมการฯจะประชุมทุกๆ 2 เดือน
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ … ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยในบริเวณส่วนของผู้ประจำหน้าที่ภาคอากาศ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์วันที่ 11 ก.ย. 2544 และ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ปรับปรุงภาคผนวก 6 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ค.ศ.1944 ซึ่งไทยจะต้องออกระเบียบแห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ให้สอดคล้อง เพื่อความปลอดภัยด้านการบิน โดยมีการกำหนดโทษ อาญาผู้ที่ฝ่าฝืนข้อบังคับด้วย เช่น เครื่องบินทุกลำต้องติดตั้งประตูห้องนักบินที่ล็อคได้ , เครื่องบินที่เกิน 60 ที่นั่งต้องติดตั้งประตูห้องนักบินที่ทนต่อการผ่านทะลุของกระสุนผิวจากปืนขนาดเล็ก ทนต่อการบุกรุก เป็นต้น
|
|
|
|
|