Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 กุมภาพันธ์ 2549
ต้อนแรงงานนอกระบบเข้าฐานข้อมูล ทักษิโณมิกส์ "หวังรีดภาษี-ดันจีดีพี"             
 

 
Charts & Figures

จำนวนผู้มีงานทำที่อยู่ในแรงงานในระบบและยอกระบบ จำแนกตามภาค
จำนวนผู้มีงานทำที่อยู่ในแรงงานในระบบและยอกระบบ จำแนกตามระดับการศึกษา


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Economics
Political and Government




ความพยายามผลักดันเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวเลขอัตราการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เป็นหลัก ผู้นำรัฐบาลจะใช้ตัวเลขจีดีพีที่มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องมาเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยขาดการมองในแง่มิติของการกระจายรายได้ ที่เป็นธรรมและจริยธรรม

นักวิชาการและฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตว่า การมุ่งเน้นตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากจนเกินไปอาจทำให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเดินหลงทาง เพราะเท่าที่ติดตามข้อมูลการกระจายรายได้แล้วพบว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของจีดีพีเป็นไปอย่าง "รวยกระจุก...จนกระจาย" แต่รัฐบาลยังเดินหน้าเป็นขบวนการ เพราะรัฐมนตรีเศรษฐกิจทุกคนสนองนโยบายนายกฯ ในการกระตุ้นจีดีพี

ขณะเดียวกันรัฐบาลยังพยายามที่จะขยายฐานการจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่าหากสามารถดึงฐานข้อมูลของแรงงานทั้งระบบที่มีอยู่ทั่วประเทศจะพบว่ามีแรงงานจำนวนมากที่อยู่นอกระบบ ซึ่งไม่ได้รับสวัสดิการทางสังคมเพราะอยู่นอกเหนือ จากฐานประกันสังคม

อย่างไรก็ตาม อีกมุมมองหนึ่งหากสามารถ จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานที่อยู่นอกระบบ แล้วนำเข้ามาสู่ในระบบแล้ว เชื่อว่าจะทำให้ตัวเลขการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว และเป็นอีกหนึ่งที่มาซึ่งทำให้ตัวเลขจีดีพีปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ โดยกำหนดเป้าหมายให้เศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบภายในปี 2550 ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ

โดยฐานข้อมูลก่อนหน้าของ สศช.ระบุว่า เศรษฐกิจนอกระบบในประเทศไทยมีขนาดค่อนข้างกว้าง และมีผู้ใช้แรงงานเกี่ยวข้องสูงถึง 23 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้มีฐานะยากจน มีมูลค่าประมาณ 2.38 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 43.8% ของจีดีพี คิดเป็นสัดส่วน 71.9% ของผู้มีงานทำทั้งประเทศ แต่ผู้ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบยังไม่ได้รับการคุ้มครอง และดูแลจากภาครัฐ ทั้งที่ควรได้รับเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในระบบ

โดย สศช. ได้เสนอยุทธศาสตร์ 3 ประการ เพื่อบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบให้เป็นฐานสนับสนุนเศรษฐกิจไทย โดยการสร้างแรงจูงใจให้เศรษฐกิจนอกระบบหันกลับเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น เช่น การฝึกอาชีพ การช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงิน เพื่อสร้างโอกาส และเพิ่มศักยภาพให้ผู้ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ ยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงเพื่อการคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ ด้วยการจัดตั้งกองทุนเพื่อแรงงานเศรษฐกิจนอกระบบ โดยมีเงื่อนไขให้ภาครัฐและนายจ้างสนับสนุนการจ่ายเงินสมทบให้แก่แรงงานเพื่อช่วยให้แรงงานนอกระบบกว่า 23 ล้านคนมีหลักประกันความมั่นคง ในการทำงานเท่าเทียมกับการทำงานในระบบ โดยขยายสวัสดิการแรงงานให้ครอบคลุมผู้ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบ 30% ในปีแรก เป็นต้น

ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบที่มีผลกระทบต่อสังคม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบริการทางเพศ และกลุ่มธุรกิจการพนัน ซึ่งเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่มีผลกระทบทางจริยธรรมของสังคมไทย แนวทางแรกจึงเสนอให้มีการจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อสอบถามความเห็นจากทุกฝ่ายให้ได้ข้อสรุปที่ตรงกัน

หรือแนวทางที่ 2 การอนุญาตให้เปิดสถาน บริการทางเพศและบ่อนการพนันที่ถูกกฎหมาย โดยกำหนดเงื่อนไขให้มีการขึ้นทะเบียนและต้องดำเนินการปราบปรามอย่างเข้มงวด ไม่เปิดช่องให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าสู่ธุรกิจบริการทางเพศอย่างเด็ดขาด และต้องดูแลสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของผู้ให้บริการทางเพศด้วย เปิดผลสำรวจแรงงานนอกระบบปี 48

รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2548 ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจแรงงานนอกระบบขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนการบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ โดยเฉพาะในด้านการขยายความคุ้มครองการประกันสังคมให้ครอบคลุมเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ที่ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบได้เข้าถึงระบบประกันสังคมที่เหมาะสม ตลอดจนการได้รับความเป็นธรรม มีความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การสำรวจครั้งนี้มีจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 50 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 36.3 ล้านคน ในจำนวนผู้มีงานทำนี้มีผู้ที่อยู่ในแรงงานในระบบ 13.8 ล้านคน และอยู่ในแรงงานนอกระบบ 22.5 ล้านคน

โดยกรุงเทพมหานครมีผู้มีงานทำ 3.8 ล้านคน มีแรงงานในระบบมากที่สุด 2.7 ล้านคน หรือ 70.8% แรงงานนอกระบบ 1.1 ล้านคน หรือ 29.2% รองลงมาได้แก่ภาคกลางที่มีผู้มีงานทำ 9.1 ล้านคน มีแรงงานในระบบ 4.8 ล้านคน หรือ 53.1% แรงงานนอกระบบ 4.3 ล้านคน หรือ 46.9% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแรงงานในระบบน้อยที่สุดคือ 2.3 ล้านคน หรือ 19.5% แรงงานนอกระบบ 9.5 ล้านคน หรือ 80.5%

สำหรับแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและต่ำกว่า กล่าวคือ ในระดับไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา มีผู้มีงานทำที่เป็นแรงงานนอกระบบ 11.4 ล้านคน ในระบบเพียง 2.7 ล้านคน ระดับประถมศึกษามีแรงงานนอกระบบ 5.4 ล้านคน ในระบบ 2.6 ล้านคน จำนวนแรงงานในระบบเพิ่มขึ้นเมื่อผู้มีงานทำมีการศึกษาสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากจำนวนของแรงงานในระบบในระดับมัธยม ศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นเป็น 2.3 ล้านคน เปรียบเทียบกับแรงงานนอกระบบ 1.9 ล้านคน ระดับอุดมศึกษามีแรงงานในระบบเพิ่มเป็น 3.7 ล้านคน ขณะที่แรงงานนอกระบบลดลงเหลือ 1.1 ล้านคน

ส่วนอาชีพของผู้ที่อยู่ในแรงงานในระบบและนอกระบบ สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า เมื่อพิจารณาตามลักษณะอาชีพของแรงงานพบว่า แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในหมวดผู้ปฏิบัติงานฝีมือในด้านการเกษตรและการประมงถึง 12.9 ล้านคน รองลงมาได้แก่ผู้มีอาชีพด้านพนักงานบริการและพนักงานในร้านค้าและตลาด จำนวน 3.5 ล้านคน อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขายและการให้บริการและอื่นๆ จำนวน 1.9 ล้านคน

สำหรับแรงงานในระบบพบว่าเป็นผู้ที่มีอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจการค้าถึง 2.3 ล้านคน รองลงมาได้แก่ อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขายและการให้บริการ จำนวน 2.2 ล้านคน และผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบจำนวน 2.2 ล้านคน ตามลำดับ

อุตสาหกรรมของผู้ที่อยู่ในแรงงานในระบบ และนอกระบบ หากพิจารณาตามอุตสาหกรรมจะพบว่า ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมการเกษตรส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบถึง 14.1 ล้านคน รองลงมาได้แก่อุตสาหกรรมการขายส่ง และขายปลีก 3.5 ล้านคน และด้านโรงแรม และภัตตาคาร 1.7 ล้านคน

สำหรับแรงงานในระบบ อุตสาหกรรมที่พบมากที่สุดได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 4.2 ล้านคน และการขายส่งขายปลีก 1.8 ล้านคน

หากวิเคราะห์ลงลึกไปถึงแรงงานนอกระบบที่เคยได้รับการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า ในการสำรวจครั้งนี้พบว่าจากจำนวนแรงงานนอกระบบ 22.5 ล้านคน มีผู้ที่ไม่เคยได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุ 19.7 ล้านคน เคยได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุมีจำนวน 2.9 ล้านคน ในจำนวนผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุนี้ เป็นผู้ที่ถูกของมีคมบาดมากที่สุดถึง 1.8 ล้านคน รองลงมาได้แก่การพลัดตกหกล้ม 4 แสนคน ได้รับอุบัติเหตุจากยานพาหนะประมาณ 2 แสนคน ไฟ/น้ำร้อน 9 หมื่นคน การชนและกระแทก 9 หมื่นคน และสารเคมี 7 หมื่นคน

ถือเป็นฐานข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผลการสำรวจแรงงานนอกระบบครั้งแรกของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ลงลึก เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของรัฐบาลจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์

เพราะแน่นอนว่าตัวเลขแรงงานนอกระบบไม่จัดอยู่ในฐานข้อมูลประกันสังคม ซึ่งหมายความว่ายังไม่ได้เข้าอยู่ในฐานภาษี หากสามารถนำเข้ามาในฐานการคิดภาษี ตัวเลขการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ไม่ต้องพะว้าพะวงว่าจะไม่สามารถจัดงบประมาณ แบบสมดุลได้... หากแรงงานนอกระบบไม่ซุกรายได้เฉกเช่นกับผู้นำบางคนที่คนในตระกูลมีรายได้หลายหมื่นล้านบาท แต่ไม่ต้องเสียภาษีสักบาทเดียว!!!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us