Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540
"ธรรมนูญ หวั่งหลี ลูกหม้อทีจี บริหารงานการบินไทยหายห่วง"             
โดย พิจิตรา ยิ้มจันทร์
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
ธรรมนูญ หวั่งหลี
Aviation




ธรรมนูญ หวั่งหลี ผู้นั่งในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อาจเป็นลูกหม้อคนแรกที่อยู่ในระดับสูงสุดด้วยโค้ดย่อ DD เป็นระยะเวลานานถึง 6 ปี นับจากปี 2536 เมื่อเข้ารับตำแหน่ง เพราะสถานการณ์ของการบินไทยในยุคฝ่าคลื่นลมทางเศรษฐกิจการเมือง คนของรัฐยังไม่สามารถเฟ้นหาตัวคนที่จะมาบริหารสายการบินแห่งชาติที่มีอายุกว่า 37 ปีแห่งนี้ได้

แม้จะมีข่าวการปรับเปลี่ยนตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของการบินไทย โดยที่จะไม่มีชื่อธรรมนูญ หวั่งหลีอีกต่อไป ซึ่งเป็นไปตามวาระที่ธรรมนูญจะอยู่ครบ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2540 การครบวาระของธรรมนูญดูจะเป็นตัวเร่งให้เกิดกระแสข่าวนี้ แต่ใครจะรู้ดีว่า ช่วงเวลาที่จะถึงก่อนเดือนกันยายน 2542 จะมีรัฐมนตรีคมนาคมคนไหนสามารถควานหาตัวมืออาชีพมาเปลี่ยนแทนธรรมนูญได้

ขณะที่คนในหลายคนยังไม่ได้รับการยอมรับทั้งจากระดับบน และระดับล่าง ยิ่งคนนอกก็ยิ่งยากไปอีก เพราะการจะหาเอกชนมารับตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ รัฐมนตรีผู้แต่งตั้งย่อมต้องถูกเพ่งเล็งว่าดึงพวกพ้องของตนเองมา และจะได้รับแรงต่อต้านจากพนักงานภายในบริษัท

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อยู่ภายใต้นโยบายการบริหารงานของกระทรวงคมนาคมที่มีรัฐมนตรีมาจากนักการเมืองของพรรคการเมืองต่าง ๆ สับเปลี่ยน หมุนเวียนกันไปแล้วแต่ว่าพรรคไหนจะได้เสียงข้างมากพอที่จะสถาปนาคนของพรรคมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้

การขึ้นมาของนายธรรมนูญในฐานะ "คนใน" การบินไทย เป็นการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารจากระดับธรรมดา สู่ระดับสูงสุดต่อเนื่องจากฉัตรชัย บุญยะอนันต์ ซึ่งเกษียณอายุไปเมื่อเดือนกันยายน 2536

ฉัตรชัยนั้นอยู่ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้เพียงปีเดียวก็เกษียณไป

การเข้ามารับตำแหน่งของธรรมนูญ สร้างประวัติศาสตร์การต่อรองระหว่างกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ กับกระทรวงคมนาคมต้นสังกัดคุมนโยบาย เพราะฝ่ายคลังเสนอชื่อกัปตันอุดม กฤษณัมพก ซึ่งเป็นกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ของการบินไทย ขณะที่กระทรวงคมนาคม โดย พ.อ. วินัย สมพงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ และทวี ไกรคุปต์เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ต้องการผลักดันธรรมนูญอย่างเต็มที่

ศักดิ์ศรีความเป็นลูกหม้อของบริษัทการบินไทยของกัปตันอุดม และธรรมนูญมีเท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเสียงข้างมากในคณะกรรมการที่โหวตให้ใครได้รับตำแหน่งนั้น ฟากคลังกับคมนาคม ใครจะมากกว่ากัน

ในตอนแรกเสียงคณะกรรมการ 2 ฝ่ายเท่ากัน มาตัดสินชี้ขาดกันที่ประธาน ซึ่งขณะนั้นคือพลอากาศเอกกันต์ พิมานทิพย์

ตอนนั้นหลายคนก็ยังไม่เชื่อฝีมือธรรมนูญ ถึงกับมีประกาศนโยบายให้ธรรมนูญทดลองงานในหน้าที่ไประยะหนึ่งก่อน หากไม่เป็นที่พอใจค่อยปลดออก

ธรรมนูญเอง คงเข้าประเภทนั่งได้ไม่ติดเก้าอี้ เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลอีกครั้ง ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัย อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแทน พ.อ. วินัย และได้แต่งตั้งอมเรศ ศิลาอ่อน ขึ้นมาเป็นประธานคณะกรรมการการบินไทย ก็เริ่มมีข่าวว่าจะปลดธรรมนูญอีก

เป้าหมายที่วิชิตเจาะจงไปที่การทำงานของธรรมนูญก็คือเรื่องระบบบัญชี ซึ่งไม่มีความชัดเจน และโปร่งใสในสายตากระทรวงคมนาคม และเร่งให้บริษัท เค พี เอ็ม จี พีค มาร์วิค แอนด์ สุธี เร่งศึกษาระบบบัญชีของการบินไทยโดยเร็ว และเน้นไปว่า บริษัทฯ ควรรายงานในระบบศูนย์กำไร หรือ PROFIT CENTER เพื่อจะได้ทราบว่าการทำงานส่วนไหนมีต้นทุนกำไรเป็นอย่างไร เพื่อจะรู้ผลการทำงานของผู้บริหาร

ความไม่ลงตัวระหว่างกระทรวงคมนาคม กับการบินไทยเด่นชัดมากขึ้น เมื่อคณะกรรมการชุดอมเรศ เข้าไปเจาะจงดูนโยบายเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินโดยเฉพาะเรื่องการจำกัดประเภทเครื่องบินในฝูงบินการบินไทยจาก 15 แบบ ให้เหลือเพียง 5 แบบ คณะกรรมการบางคนที่ช่วยอมเรศทำงานคือ ศิวะพร ทรรทรานนท์ แต่ก็ถูกมองว่าให้การสนับสนุนซื้อเครื่องบินโบอิ้งจำนวนถึง 50 ลำ โดยเดินทางไปหารือกับบริษัทโบอิ้งถึงสหรัฐอเมริกา

ข้อสรุปเรื่องฝูงบินใหม่การบินไทยไม่ยุติ วิชิตพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตามวาระของรัฐบาลชวน หลีกภัย เรื่องปลดธรรมนูญก็เงียบหาย อมเรศ กับศิวะพร และโสภณ สุภาพงษ์ ประกาศลาออกจากกรรมการการบินไทยในเวลาหลังจากนั้นไม่นานนัก ทั้งที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการได้เพียง 7 เดือน

อมเรศยื่นหนังสือลาออกจากการบินไทยเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ด้วยเหตุผลเพื่อเปิดทางให้รัฐมนตรีคมนาคมคนใหม่ คือวันมูหะมัดนอร์ มะทา สรรหาคนอื่นมานั่งเป็นประธานแทน

แต่ก่อนหน้านี้ระยะ 2-3 เดือน อมเรศก็แทบไม่ได้เข้าไปยุ่งกับงานการบินไทยมากนัก ด้วยหลายเหตุผล ซึ่งเหตุผลหนึ่งนั้นคือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารเท่าที่ควร

"ถ้าคุณวิชิต กับคุณอมเรศ อยู่นานจนครบวาระเรื่องปลดคุณธรรมนูญ คงมีแน่" แหล่งข่าวจากผู้บริหารระดับสูงของการบินไทยคนหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟัง แม้จะมีการโยงใยสายสัมพันธ์ว่าธรรมนูญสามารถผูกสัมพันธ์กับนายกฯ ชวนเป็นอย่างดีก็ตาม

ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา สถานภาพของธรรมนูญในยุคของวันนอร์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แทบจะเรียกได้ว่าถูกโยกคลอนหลายครั้ง ด้วยเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับพนักงานในบริษัท อย่างกรณีการขายเครื่องบินแอร์บัสเอ 340 ในราคาถูก ทั้งที่มีการซ่อมแซมเครื่องบินให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์แล้ว แต่ก็ถูกขายทิ้งแบบราคาซาก

การปลดพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ร้องเรียนเรื่องความขัดแย้งกับฝ่ายบริหารที่ต้องการปลดพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องในวัย 45 ปี หรือกรณีที่มีการจ้างนักบินต่างประเทศ ด้วยอัตราค่าจ้าง และค่าสวัสดิการแพงกว่านักบินในประเทศไทย อันเป็นคลื่นใต้น้ำที่ธรรมนูญต้องเข้าไปสะสาง

มีข่าวออกมาโดยตลอดว่า วันนอร์ต้องการให้มีการสอบสวนเรื่องซากเครื่องบินแอร์บัสอย่างโปร่งใสซึ่งคณะกรรมาธิการคมนาคม เข้ามาตรวจสอบจนถึงการบินไทย คณะกรรมการ ป.ป.ป. ก็เข้ามาสอบหาข้อเท็จจริงด้วย

อีกเช่นกันที่ธรรมนูญรอดตัวมาได้ในที่สุด โดยมีผู้รับผิดชอบกับคดีเรื่องแอร์บัสคือ น.ต. พงษ์สาวิตร บุณยินทุ ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายช่าง

ภายในการบินไทยเองก็มีการปรับโครงสร้างบริหารงาน มีการควบฝ่ายงานด้านนโยบายกับปฏิบัติเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุผลที่ธรรมนูญระบุว่าเป็นการลดขั้นตอนการทำงาน และปัญหาการแบ่งพรรคแบ่งพวก แต่ที่สำคัญกว่าคือธรรมนูญ คุมฝ่ายปฏิบัติงานได้มากขึ้น เพราะหน่วยงานจะขึ้นอยู่กับคนที่ธรรมนูญไว้ใจมากที่สุด

และอีกเช่นกันที่มีคนเอ่ยถึงสายสัมพันธ์ของธรรมนูญ กับบรรหาร เพราะธรรมนูญเคยเป็นที่ปรึกษา มท. 1 เมื่อปี 2532

ขณะที่สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ซึ่งรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องการใช้อำนาจคลังเข้ามาดูแลการบินไทยเองแทนกระทรวงคมนาคม แต่ก็ได้รับการคัดค้าน เพราะหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ไม่ต้องการให้หน่วยงานนี้ไปอยู่กับพรรคอื่น

ยุคของสุวัจน์ ลิปตพัลลภ คนปัจจุบัน ในช่วงที่ธรรมนูญทำงานในการบินไทยใกล้ครบวาระ 4 ปี แต่การที่เคยรู้จักและได้ทำงานใกล้ชิดกับ พล. อ. ชวลิต ยงใจยุทธมาก่อน ทำให้ธรรมนูญก็ยังไม่มีปัญหากับทางกระทรวงคมนาคม

แม้ปลัดกระทรวงคมนาคม อย่างมหิดล จันทรางกูร เองจะไม่พอใจการทำงานของธรรมนูญในหลายเรื่อง แต่ก็ต้องฟังนโยบายจากรัฐมนตรีเท่านั้น จึงทำให้มหิดล ไม่ค่อยอยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธรรมนูญมากนัก

"คุณธรรมนูญ มีความสามารถยึดหลักการที่ผู้บริหารการบินไทยหลายคนคงไม่สามารถทำตามแบบได้ เขาสามารถเข้ากับผู้ใหญ่ได้ดีไม่ว่าจะเปลี่ยนกี่รัฐบาล หากมีปัญหาระดับหนึ่งก็สามารถขึ้นไปหาระดับที่สูงกว่า"

"ธรรมนูญนั้น ยึดหลักการทำงานเหมือนกับ พล.อ.อ. สมบุญ ระหงษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเคยเป็นผู้ว่าการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ซึ่งลักษณะของผู้ว่าฯ สมบุญ เป็นคนที่เข้ากับทุกคนได้ดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับคนทุกระดับ สนิทสนมกับคนในหลากหลายอาชีพ มีสังคมมาก เพื่อนฝูงเยอะและใจกว้าง ใจถึง ก็เลยสามารถทำงานได้คล่องตัว เพราะรู้จักคนมากนี่เอง

"โดยเฉพาะงานในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของสายการบิน สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปต่างประเทศให้คนหลายระดับ บางส่วนธรรมนูญอาจปฏิเสธได้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะไม่ปฏิเสธ แต่หากต้องการเสี่ยง ธรรมนูญก็จะไม่อยู่ในที่ทำงาน และไม่รับสาย โดยจะออกงานภายนอกบริษัทหรือไปต่างประเทศเสียส่วนใหญ่ เรื่องเหล่านี้เลยลดลงไปได้บ้าง ก็เลยไม่มีใครตำหนิได้" แหล่งข่าวในการบินไทยคนหนึ่งกล่าว

การทำงานของธรรมนูญ ผู้บริหารหลายคนในการบินไทยคงไม่มีใครทำได้ ความสามรถระดับนี้จึงเหมาะเป็นผู้บริหารการบินไทยในยุคนี้ หากการบินไทยยังคงมีการควบคุมโดยระบบการเมืองอยู่

สำหรับธรรมนูญ หวั่งหลี เองเขาเติบโตมาในตระกูลของนายธนาคาร ทำให้เป็นที่รู้จักดีในแวดวงการเงิน โดยเฉพาะธรรมนูญจบการศึกษาด้านการเงินจากสหรัฐอเมริกา เคยเป็นหัวหน้าฝ่ายเงินตราต่างประเทศ ธนาคารเชสแมนฮัตตัน สาขากรุงเทพฯ และเคยเป็นสมุห์บัญชี บริษัท อี๊สต์เอเชียติ๊ก จำกัด

พอรับงานที่การบินไทยเมื่อปี 2512 ก็ทำหน้าที่ผู้จัดการแผนกบัญชี ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั่วไปและการเงิน ขึ้นมาจนถึงตำแหน่งผู้ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการเงิน และตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการเงินและการบัญชี ซึ่งถือได้ว่าคุมด้านการเงินของการบินไทยมาโดยตลอด

"เพราะอยู่ในแวดวงการเงิน คุณธรรมนูญเลยมีเพื่อนที่อยู่ในฝ่ายการเงินจำนวนมาก แม้แต่คุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ก็ยังรู้จักสนิทสนมกันดี"

นอกจากคลุกคลีอยู่ในแวดวงการเงิน สถานภาพทางสังคมของธรรมนูญเอง ก็ทำให้ได้รับการยอมรับจากคนภายนอก เพราะธรรมนูญเข้ารับเป็นกรรมการในกิจการเพื่อการกุศล และด้านกีฬาอยู่หลายแห่ง ทำให้ธรรมนูญมีคนรู้จักมากมายหลายวงการ

สายสัมพันธ์ที่มีอยู่มากมายทำให้ธรรมนูญสามารถโยงใยไปถึงบุคคลที่ต้องการติดต่อได้ ในกรณีจำเป็น

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ธรรมนูญมีความสามารถมากแค่ไหน และยังไม่มีทีท่าจากสุวัจน์ว่าจะหาใครมาแทนธรรมนูญ

อีกฟากหนึ่ง หากต้องมีการเปลี่ยนตัวจริง จะเฟ้นหาคนมาทดแทนธรรมนูญที่เชี่ยวชาญในด้านการบริหารการบินขณะนี้ คงหาได้ยากยิ่ง

แม้กระทรวงการคลังในยุคที่ ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุลเป็นปลัดกระทรวงฯ และเป็นกรรมการการบินไทยในฐานผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็มีความคิดที่จะเปลี่ยนตัวธรรมนูญไปจากการบินไทยโดย "หม่อมเต่า" ถึงกับเคยกล่าวว่า ที่คลังระงับเรื่องการแปรสภาพการบินไทยโดยการขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปในตลาด เกรงว่าจะหาคนซื้อยาก เพราะมีผู้บริหารชื่อธรรมนูญ

แต่ในฝ่ายบริหารการบินไทยนั้น หากมองดูแล้วยังไม่สามารถหาคนในตำแหน่งระดับรองที่พอจะทาบรัศมีธรรมนูญได้น้อยคนนัก

โดยเฉพาะการทำงานในสไตล์แบบธรรมนูญ

ในยุคของธรรมนูญมีการปรับโครงสร้างและแต่งตั้งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ต่าง ๆ ถึง 6 ฝ่าย และผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ 2 คนซึ่งเชี่ยวชาญคนละด้านเพื่อกระจายงานให้ช่วยกันดูแล แต่ละคนยังไม่สามารถดูแลงานได้ครอบคลุมหมดทุกด้าน เมื่อเทียบกับเมื่อก่อนมีรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่แค่ 2 คน

ดูเหมือนว่าธรรมนูญจะไว้ใจพิสิฐ กุศลาไสยานนท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ให้ทำงานแทนได้มากที่สุด แต่พิสิฐก็ยังมีงานอีกหลายด้านที่ยังไม่เชี่ยวชาญ และมีการระบุว่าเป็นการทำงานที่จำเป็นต้องไว้ใจ

ขณะที่มีข่าวถึงกัปตันสอาด ศบศาตราศร ซึ่งเป็นหนึ่งในรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ว่าเป็นผู้สร้างข่าวปลดธรรมนูญ ซึ่งก็มีการเคลียร์กันในระดับผู้บริหารเรียบร้อย และกัปตันสอาดก็ยอมรับด้วยตนเองว่า คงไม่สามารถขึ้นไปนั่งในตำแหน่ง DD ได้แน่ และไม่เคยคิดที่จะ "เลื่อย" อย่างแน่นอน "ผมกับธรรมนูญทำงานด้วยกัน รักกันดี เรื่องอะไรผมจะไปแย่งตำแหน่งเขา"

เรื่องการสรรหาคนนอกก็ยิ่งทำได้ยากกว่า ในเมื่อรูปแบบของการบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ หากใช้วิธีเดิมคือหาคนกลางมานั่งบริหาร เพื่อป้องกันการแบ่งผลประโยชน์จากพรรคการเมือง ซึ่งก็คือคนจากกองทัพอากาศ ก็คงหมดยุคแล้ว เพราะนโยบายกองทัพในปัจจุบันไม่ต้องการเข้ามายุ่ง

ส่วนที่จะเป็นนักธุรกิจจากเอกชน ก็ยังไม่มีใครที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารการบินกล้าเสนอตัวเองเข้ามารับงานหินที่การบินไทย สาเหตุหนึ่งเพราะไม่ต้องการเปลืองตัวอีกทั้งอาจได้แรงต่อต้านจากพนักงานในบริษัท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us