มีข่าวมานานแล้วว่า โรงไฟฟ้าราชบุรี จะมีการแปรรูปให้เป็นโรงไฟฟ้าเอกชน
แต่รูปแบบยังไม่มีความชัดเจน และในที่สุดโรงไฟฟ้าราชบุรีได้แปลงสภาพเป็น
บริษัทเอกชนต่อจากบริษัทผลิตไฟฟ้า นี่คือ ขั้นตอน ที่ต่อเนื่องสำคัญ สำหรับการปรับโครงสร้าง
กฟผ.
หากใครชอบเกม ที่มีความเสี่ยง ให้คอยจับตาประเทศไทยก่อนสิ้นปีให้ดี โดยให้ตั้งต้น ที่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของโรงไฟฟ้าราชบุรี
ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างงดงามตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลชุดนายกฯ ชวน หลีกภัย
จากการเสนอขายหุ้นแก่ประ ชาชนทั่วไปครั้งแรก (Initial Public Offering :
IPO) เมื่อปลายเดือนกันยายน และเปิดจองหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรีเมื่อวันที่ 18-20
ตุลาคมก่อนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา
หากมองโลกในแง่ดีก็ต้องมองไป ที่ประเทศ เพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ซึ่งพยายามรักษาดุลยภาพ และชะลอการเคลื่อนไหวทาง
เศรษฐกิจไว้ ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ไทย เริ่มคึกคักกับการทำ IPO ในช่วงหลังราคาน้ำมัน ที่พุ่งสูงทำให้มาเลเซียมีแผนการลดการใช้พลังงานลง
5%
ผิดกับประเทศไทย ที่ยังคงดิ้นรนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะถดถอย ความต้องการพลังงานเมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา
จึงทะลุระดับเมื่อช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540
ยูโนแคลเชื่อว่า ไทยยังมีก๊าซธรรมชาติอีกราว 35 ล้านล้านคิวบิกฟุต ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานไปอีก
50 ปี
ไชน่า ไลท์ แอนด์เพาเวอร์แห่งฮ่องกง ก็เล็งเห็นถึง "กู๊ดวิล" ของบริษัทผลิต
ไฟฟ้า (EGCOMP) เช่นกัน ดังนั้น จึงได้ลงทุนอีก 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกิจการ
กัลฟ์ อิเล็กทริก ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกัลฟ์ เพาเวอร์
นับเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะสามปีในการขายการลงทุนมูลค่า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ที่จะส่งผลให้เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้ถึงสองเท่าตัว โดยอยู่ในราว
5,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2545
โรงไฟฟ้าแห่งอื่นก็อยู่ในระหว่างการเพิ่มกำลังการผลิตเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเอดิสัน
มิสชัน ที่ประกาศดำเนินการผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) จำนวน 700 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเริ่มในเดือนกรกฎาคมปีหน้า
ขณะเดียวกันผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่หนองแกก็เริ่มผลิตไฟฟ้า 120 เมกะวัตต์ในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา
ด้านเชฟรอน นับเป็นบริษัทด้านพลังงานหน้าใหม่ในประเทศไทยก็ประกาศเมื่อกลางเดือนกันยายน ที่ผ่านมาว่า
จะซื้อโรงไฟฟ้าสามแห่ง ที่มีกำลังการผลิตรวม 100 เมกะวัตต์ เนื่องจากไทยมีโครงการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า
(Power Pool) ในปี 2546 ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงการเปิดให้มีผู้ค้าปลีกไฟฟ้า
(Retailer) หลายราย
ทั้งหมดนี้ต้องนับว่าเป็นงาน ที่ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ดำเนินการไว้ก่อน
ที่จะมีการเปลี่ยนตัวเลขาธิการ สพช.คนใหม่
ทางด้านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปรากฏว่ามีเสียงขานรับการแปรรูปกิจการโรงไฟฟ้ามากขึ้น
โดยเฉพาะกรณีการทำ IPO กิจการโรงไฟฟ้าราชบุรี ที่มีการ เตรียมการอย่างพิถีพิถัน
มีการเดินสายโรดโชว์ไปยังเชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี ผลออกมาถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่สำหรับนักลงทุน ที่สนใจอย่างล้นหลาม
"แผนแม่บทแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นอีกขั้นหนึ่งของความพยายามของรัฐบาล ที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกิจการของรัฐ
ทั้งในแง่ประสิทธิภาพการดำเนินงาน การสร้างรายได้ เพื่อลดภาระรัฐบาล รวมทั้งการเสริมสร้างประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการแข่งขัน ที่จะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต"
บุญชู ดิเรกสถาพร กรรมการผู้จัดการบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH)
อธิบาย
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 คณะรัฐมนตรี (สมัยนายก ชวน หลีกภัย) มีมติเห็นชอบอนุมัติให้
กฟผ.ทำการเพิ่มทุนในโรงไฟฟ้าราชบุรี โดยเสนอขายหุ้นให้แก่ภาคเอกชน กรณีดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งจะช่วยลดภาระการลงทุนของรัฐบาลด้วย
"คาดว่าในปีหน้าจะเป็นปีแรก ที่ กฟผ.จะสามารถแก้ไข
ปัญหาสภาพคล่อง โดยสามารถลดการกู้เงินมาลงทุนในโครง การต่างๆ ได้" บุญชูบอก
และว่า "กฟผ.จะมีรายได้ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งรายได้จะทยอยเข้ามาตั้งแต่เดือนกันยายน ที่ผ่านมา
โดยมาจากการโอนทรัพย์สินโรงไฟฟ้าพลังความร้อน"
สำหรับเดือนกรกฎาคมปีหน้า กฟผ.จะมีรายได้จากการโอนทรัพย์สินโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
รวมไปถึงทรัพย์สิน ที่ใช้ร่วมกัน และ ที่ดินอีกด้วย "เงิน ที่ได้จะไปใช้เป็นงบลงทุน
ของ กฟผ. และใช้เป็นทุนในการถือหุ้นสัดส่วน 45% ในบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
ทำให้ปี 2544 กฟผ.ไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท"
บุญชูกล่าว
แผนการระดมทุนช่วงแรกของโรงไฟฟ้าราชบุรีนั้น มุ่งไปยังพันธมิตรร่วมทุน (Strategic
Partner) ต่างประเทศ เนื่องจากขณะนั้น สภาพตลาดเงินภายในประเทศปิดไม่เอื้ออำนวยต่อการระดมทุน
ส่งผลให้พนักงาน กฟผ.ไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าเป็นการขายชาติ
"ตอนนั้น เรามีความจำเป็นที่จะหาผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศเพราะตลาดเงินในประเทศไม่มี
แต่เราก็ได้เดินสายชี้แจงถึงเหตุผลดังกล่าว" บุญชูบอก
ด้าน ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม นักวิชาการคลัง 9 กระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มวิเคราะห์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานยกร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาพลังงาน
และปัจจุบันเป็นกรรมการบริษัทผลิต ไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง อธิบายว่า ช่วง ที่เริ่มดำเนินการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีตลาดหุ้นไทยตกต่ำ
"ถ้าขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปไม่รู้ว่าจะซื้อหรือไม่
ที่ปรึกษาทางการเงินแนะนำว่าตลาดมันปิดจะดันทุรังขายไปทำไม ดังนั้น ทางออก ที่จะทำให้
กฟผ.ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ขายหุ้นให้กับพันธมิตรต่างชาติ โดยนำกรณีขาย
EGCOMP มาเป็นตัวอย่าง"
ความจำเป็นที่ กฟผ. ต้องนำเอาบริษัทต่างชาติ ที่เป็น Strategic Investor
เข้ามาร่วมทุนในโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งเป็นประเด็น ที่สมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ
กฟผ.ไม่เห็นด้วย ส่งผล ให้คณะทำงานแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรีต้องเจรจาในที่ประชุมของพนักงานว่าจะทบทวนอีกครั้ง
ประเด็น ที่สมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ.เรียกร้อง ก็คือ การเรียกร้องให้มีการทำประชามติในแผนระดมทุนโครง
การโรงไฟฟ้าราชบุรี ประเด็นดังกล่าวศิววงศ์ จังศิริ ประธานคณะกรรมการ กฟผ.กล่าวว่า
เรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจนเพราะคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว และคณะกรรมการ กฟผ.จะควบ
คุมกำกับดูแลให้ดำเนินการตามขั้นตอนในแผนระดมทุน
"หากดูกฎหมายจัดตั้งสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจก็ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ข้อใด ที่อนุญาต และให้สิทธิกระทำการชุมนุมเรียกร้องอย่างที่ผ่านมาได้"
นอกจากนี้เรื่องการพิจารณาว่า ควรมีการทำประชามติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือไม่เป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรี ที่จะตัดสินใจเอง
แต่จะไม่เกิดขึ้นจากการที่สมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจเรียกร้องให้ทำ
โดยส่วนตัวของประธานคณะกรรมการ กฟผ. เห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำประชามติในแผนระดมทุนโรงไฟฟ้าราชบุรี
"ผมได้แนะนำว่าให้ตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งขึ้นมาเป็นบริษัทมหาชน
แบ่งหุ้นส่วนหนึ่งไประดมทุนในตลาด หลักทรัพย์ ผู้ที่เป็นเจ้าของคือ ผู้ที่ลงทุนซื้อหุ้น
เช่น ถ้าเราแบ่งจำนวนหุ้น 40% ซึ่งการเป็นเจ้าของ 40% ไม่ได้หมายความว่าจะมาดำเนินธุรกิจของบริษัท
แต่ผู้ที่ดำเนินกิจการคือ เจ้าหน้าที่ กฟผ.นั่นเอง" ศิววงศ์อธิบาย
หมายความว่า กฟผ.ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ เพราะโรงไฟฟ้าราชบุรีจะให้หุ้นพนักงานไปอีก
15% ผลกำไร ที่ได้จาก การนำหุ้น 40% ไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ตกเป็นของกฟผ.
สามารถนำไปลดภาระหนี้ได้ รวมทั้งนำไปใช้ในการลงทุน ปรับสภาพโรงไฟฟ้าเก่าของ
กฟผ. ที่เรียกว่า Re-powering ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของกฟผ.
ผลที่สุดก็เป็นการลดภาระการลงทุนของรัฐบาล และประเทศชาติ "ผมเคยเปรียบเทียบให้พนักงาน
กฟผ. ฟังในการ ประชุมว่า เหมือนกับเราขับรถเบนซ์อยู่ ใช้รถเบนซ์ได้ตลอดแต่คนอื่นเขาเป็นเจ้าของเพียง
40% เขาก็ได้แต่มาลูบๆ คลำๆ ไม่ได้ขับด้วยซ้ำไป" ศิววงศ์กล่าว
"กฟผ.ก็มองว่าโรงไฟฟ้าราชบุรีแห่งเดียว ที่เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และยังไม่มีพนักงานเลย
แต่ถ้าหากเป็น Power Gen 1 และ 2 ซึ่งมีพนักงานอยู่แล้วความล่าช้าในขบวนการแปรรูปจะมีมากขึ้น
ดังนั้น หากเป็นไปตามแผน Power Gen 1 และ 2 จะแปรรูป เมื่อมี Power Pool แล้ว"
บุญชูอธิบาย
ข้อดีของการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี นอกจากจะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับ กฟผ.แล้ว
ในการกำหนดอัตราโครงสร้างค่าไฟฟ้า ที่ประกาศใช้เมื่อเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา
รัฐบาลก็นำเงิน ที่ได้จากการแปรรูปไปคิดคำนวณ ด้วย มีผลทำให้ค่าไฟฟ้าทั้งประเทศลดลงเฉลี่ย
2.11%
ระดมทุนเป็นเงินบาท ที่ใหญ่ที่สุด
ปัจจุบัน บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้งมีบริษัทย่อยแห่งเดียว คือ บริษัทผลิต
ไฟฟ้าราชบุรี (RATCHGEN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น
10 ล้านบาท และได้จดทะเบียนเพิ่ม ทุนเป็น 100 ล้านบาทเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน
2543 ต่อจากนั้น เมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมาได้เพิ่มทุนเป็น 16,000 ล้านบาท
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เห็นชอบให้ กฟผ. ขายโรง ไฟฟ้าพลังความร้อน
โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ร่วม ทรัพย์สิน ที่ใช้ร่วมกัน และ ที่ดินให้กับบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี
ส่งผลให้บริษัทต้องดำเนินการจัดหาเงินทุนจำนวนประมาณ 60,700 ล้านบาท โดยบริษัทแม่จะให้การสนับสนุนเงินทุนประมาณ
18,200 ล้านบาท ซึ่งได้มาจากการ ระดมทุนจากภาคเอกชน และ กฟผ. คิดเป็น สัดส่วน
30% ของเงินทุนทั้งหมด ที่บริษัทต้องการ
ส่วนเงินจำนวน ที่เหลืออีกประมาณ 42,500 ล้านบาท บริษัทได้จัดหาแหล่งเงิน
เอง โดยเดือนตุลาคม ที่ผ่านมาได้ลงนามสัญญากู้เงินมูลค่า 44,000 ล้านบาท กับธนาคารในประเทศ
8 แห่ง และสถาบันการเงิน ที่ปล่อยกู้ร่วม (Syndicate) อีก 11 แห่ง
"เราเป็นบริษัทไทยรายแรก ที่กู้เป็นสกุลเงินบาททั้งหมด ที่ใหญ่ที่สุดหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ"
บุญชูกล่าวอย่างภาคภูมิใจ
แผนการระดมทุนของบริษัทประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ หนี้ และเงินทุน ที่จะออกระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์
หนี้ คือ เงิน ที่จะนำมาซื้อทรัพย์สินจาก กฟผ. โดยทาง บริษัทได้ออกแบบการกู้แบบ
project finance และกำหนดสัดส่วนไว้ ที่ 70% ของเงินทุนทั้งหมด
"เรามองว่า เพื่อให้มีการแข่งขัน และเรามีโอกาสเลือกได้
ก็พิจารณากันว่าจะกู้เป็นเงินบาทประมาณ 75% และสกุลเงินต่างประเทศอีก 25%
จากนั้น เราก็ส่งหนังสือเชิญไปยังสถาบันการเงินทั้งใน และต่างประเทศ"
สถาบันการเงินในต่างประเทศ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี กำหนดเงื่อนไขว่าให้เสนอเข้ามาเป็นกลุ่ม
ซึ่งในขณะนั้น ต้อง การเงินสกุลต่างประเทศประมาณ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับสถาบันการเงินในประเทศบริษัทให้แต่ละธนาคารเสนอเข้ามาเป็นรายๆ "เพราะหากเสนอเข้ามาเป็นกลุ่ม
เรามองว่าจะไม่เป็นการแข่งขัน และไม่สามารถจะไปเปรียบเทียบได้เพราะธนาคารในประเทศมีไม่กี่แห่ง"
บุญชูอธิบาย
หลังจากได้ข้อเสนอจากทุกสถาบันการเงินปรากฏว่าจำนวน ที่บริษัทต้องการเกินความต้องการประมาณ
10,000 ล้านบาท ในที่สุดบริษัทจึงตัดสินใจไม่กู้เงินสกุลต่างประเทศ
เมื่อได้รับอนุมัติเงินกู้จำนวน 44,000 ล้านบาทแล้ว บริษัทได้แบ่งเป็น 2
ส่วน คือ จำนวน 42,500 ล้านบาท สำหรับ การรับโอนทรัพย์สิน และ ที่เหลืออีก
1,500 ล้านบาทสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ
บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีได้ทำการเบิกถอนเงินกู้ก้อนแรกจำนวน 30,472 ล้านบาทเมื่อปลายเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา
เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่อง ที่ 1-2 และทรัพย์สิน ที่เกี่ยวข้องระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ
เงินกู้ก้อน ที่สองจะมีการเบิกถอนในเดือนกรกฎาคมปีหน้า เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชุด ที่
1-2 ส่วนเงินกู้ก้อนสุดท้ายจะเบิกถอนในเดือนเมษายน ปี 2545 เพื่อนำมาซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชุด ที่
3
เงินกู้ทั้งหมด 44,000 ล้านบาท มีกำหนดระยะเวลา 14 ปี และมีระยะเวลาปลอดการชำระหนี้
1 ปี ซึ่งระยะเวลา 14 ปีนี้ ทางเจ้าหนี้มองว่าเหมาะสม แล้ว "เขาไม่อยากปล่อยกู้ให้ยาวไปมากกว่านี้
และถ้าสั้นเกินไปจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น" บุญชูกล่าว
เงินกู้ เพื่อใช้ในการลงทุนดังกล่าวเป็นสกุลเงินบาททั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงสามารถลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนตลอดระยะเวลาการกู้
หากกู้เป็นเงินสกุลต่างประเทศ ถ้ามีผลกระทบเรื่องค่าเงินบาท เช่น ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงบริษัทจะมีภาระหนี้มากขึ้น
ซึ่งความจริงสัญญานี้จะอยู่ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า นั่นหมายถึงว่าภาระได้ผลักไปยังค่าไฟฟ้า
"ถ้ามองในแง่บริษัท เราได้โยนความเสี่ยงตรงนี้ไปให้กฟผ.
ได้ แต่ กฟผ.ก็จะผลักภาระนี้ไปให้ประชาชน นั่นคือ ขึ้นค่าไฟฟ้า" บุญชูบอก
อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ยังอาจจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
ผ่านค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงจากอะไหล่อุปกรณ์ ที่นำเข้าเป็นเงินตราต่างประเทศ
สำหรับอัตราดอกเบี้ยบริษัทได้อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำลูกค้าชั้นดีเฉลี่ย (MLR)
แบบลอยตัว ซึ่งกำหนดด้วยอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ชั้นดีเฉลี่ยของธนาคาร 4 แห่ง
ได้แก่กรุงไทย, ไทยพาณิชย์, กรุงเทพ และกรุงศรีอยุธยา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการเจรจาบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีได้เสนอในรูปแบบอัตราดอกเบี้ยคง ที่
แต่ทาง กฟผ. และสถาบันการเงินไม่รับเงื่อนไข เพราะต่างรู้ว่าปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ
"เมื่อเป็นเช่นนี้ กฟผ.บอกว่าจะรับอัตราดอกเบี้ย
MLR แบบลอยตัว โดยถ้าหากว่าดอกเบี้ยผันผวน ก็จะไปปรับราคาค่าไฟฟ้า เพราะเราเชื่อกันว่าหากเสนออัตราดอกเบี้ยคง ที่สถาบันการเงินจะเสนอไม่ต่ำกว่าระดับ
10% แน่นอน" บุญชูอธิบาย
นอกจากนี้ภาวะทางการเงินในประเทศไม่เหมาะสม ที่จะปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยคง ที่
ดังนั้น กฟผ.จึงรับความเสี่ยงดังกล่าวไป "แต่จะไปชดเชยกับเรื่องค่าเงินบาท ซึ่งหนักกว่าอัตราดอกเบี้ย
และถ้าดอกเบี้ยผันผวนมาก กฟผ.คงจะขึ้นค่าไฟฟ้ากับประชาชน"
13 บาท 17 นาที
หลังจากหักส่วน ที่เป็นเงินกู้แล้วบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีต้องการเงินจากการเพิ่มทุน เพื่อรับโอนทรัพย์สินในระยะแรกประมาณ
16,000 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน เป็นจำนวน 1,450 ล้านหุ้น โดย กฟผ.เพิ่มทุนเข้ามาแล้ว
8,700 ล้านบาท (870 ล้านหุ้น) ทำให้ กฟผ.ถือหุ้นในบริษัท 60% จากนั้น กฟผ.จะขายหุ้นให้กับพนักงาน และกองทุนสำรองเลี้ยง
ชีพพนักงาน กฟผ. 15%
ส่วน ที่เหลืออีก 580 ล้านหุ้น หรือ 40% ของทุนจดทะเบียน จึงได้ทำการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก
เมื่อวันที่ 18-20 ตุลาคม ที่ผ่านมา และถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุน
เมื่อวันแรกของการเปิดจองหุ้นในราคา 13 บาทต่อหุ้น ปรากฏว่าภายใน 17 นาทีก็สามารถขายหุ้นหมด
เมื่อการระดมทุนเสร็จ โครงสร้างผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงเป็น กฟผ.ถือหุ้น 45%
พนักงาน และกองทุนเลี้ยงชีพพนักงานกฟผ. ถือ 15% และประชาชนทั่วไป 40%
โรงไฟฟ้าราชบุรีนับเป็นกิจการแห่ง ที่สอง ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ นับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อสามปีก่อน
โดยกำหนดราคาขายหุ้น IPO ในราคาต่ำตามคาดหมายเนื่องจากความหวาดหวั่นว่าจะเปิดตัวได้ยาก
นอกจากนี้ยังไม่ต้องการประสบปัญหาแบบเดียวกับบริษัทบริหาร และพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(GENCO) ที่นำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วราคาหุ้น ที่ซื้อขายในวันแรกกลับต่ำกว่าราคาเสนอขายถึง
12% และปัจจุบันราคาก็ยังต่ำกว่าราคา IPO
นักวิเคราะห์คาดกันว่า ราคาหุ้นของโรงไฟฟ้าราชบุรี น่าจะดีกว่าของ GENCO
เนื่องจากราคาเสนอขาย ที่ 13 บาท กำหนดขึ้นหลังจาก ที่ปรับมูลค่าทางบัญชี และปรับลดลงตามภาวะตลาดที่ซบเซา
"คิดว่าภาวะตลาดที่ซบเซากดดันให้บริษัทตั้งราคาขาย ที่ 13 บาท แต่หากสถานการณ์ดีขึ้นราคาก็น่าจะปรับขึ้นตาม"
นักวิเคราะห์จากเอสจี ซีเคียวริตี้บอก นักวิเคราะห์เชื่อว่าหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรีคงจะไม่เผชิญปัญหาเดียวกับหุ้น
GENCO เนื่องจากเป็นหุ้นพื้นฐานดี และเป็นกิจการประเภท ที่สาธารณชนเข้าใจง่ายกว่า
GENCO
"การซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรีก็เหมือนกับฝากเงินแบบประจำ
ซึ่งจะได้รับเงินปันผลคง ที่ 7% ส่วนบริษัทเองก็ไม่ต้องกังวลกับการขายไฟฟ้าหรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตไฟฟ้า"
ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทมีสัญญากับ กฟผ. ที่จะรับซื้อไฟฟ้า จากโรงงานเป็นเวลา
25 ปี และยังมีสัญญากับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ที่จะเป็นผู้ซัปพลายพลังงานในการผลิตไฟฟ้า
ดังนั้น แม้ว่าในภาวะ ที่ตลาดซบเซาหุ้นของโรงไฟฟ้า ราชบุรีก็ยังมีอนาคต
อีกทั้งหากตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าเกิดขึ้นบริษัทก็มีทางเลือกสองทาง คือ ทำตามสัญญาเดิมกับ
กฟผ. หรือเข้าไป อยู่ในระบบตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าถ้าสามารถหารายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า
นักวิเคราะห์มองว่า แม้ราคาจะค่อนข้างต่ำแต่เป็นหุ้นที่ดี ในสายตานักลงทุน และเป็นการชี้แนวโน้มที่ดีมากสำหรับตลาดหุ้นไทยในภาพรวม
"การลงทุนในหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรีจึงอาจถือเสมือนเป็นการลงทุนในหุ้นกู้"
บทวิจัยของ บล.ซีมิโกอธิบายไว้
หากอ้างอิงผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรระยะเวลา 15 ปีของธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) และหุ้นระยะเวลา 20 ปีของ กฟผ. ที่ไม่ค่อยมีสภาพคล่องมากนัก ปัจจุบันซื้อขายในอัตราประมาณ
6.95% และ 7.38% ตามลำดับ ดังนั้น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นดังกล่าวอยู่ในระดับ ที่ยอมรับได้
ด้านบทวิจัยของ บล.เอกธำรง เคจีไอ อธิบายว่าราคาคาดหมาย ณ สิ้นปี 2544 อยู่ ที่
22 บาทต่อหุ้น เพราะการขายราคา IPO 13 บาท จะทำให้มีอัตราผลตอบแทน ที่น่าสนใจ
ในระดับประมาณ 41%
นอกจากนี้บริษัทยังมีโอกาสทำกำไรมากขึ้นหากเงินกู้ ซึ่งกู้ยืมมาสามารถคืน
(refinance) ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า MLR และหากความต้องการใช้ไฟฟ้าในเกณฑ์สูง
ทำให้บริษัทอาจจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 2,195 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ตาม การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในลักษณะนี้เกิดขึ้นเนื่องจากแรงผลักดัน ที่รัฐบาลต้องการเงินสด
หลังจาก ที่ได้ดำเนินการงบประมาณเกินดุลอย่างต่อเนื่องนานถึง 8 ปี ขณะที่รายงานของธนาคารโลกเมื่อปี
2537 ระบุว่ายังไม่มีเหตุผลที่ประเทศไทยจะต้องเร่งรีบแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยด่วน