Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 กุมภาพันธ์ 2549
แอร์เอเชียส่อผิดกม. ดิ้นวิ่งหาหุ้นส่วนไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอร์เอเชีย
โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ไทยแอร์เอเชีย, บจก.
Low Cost Airline




ไทยแอร์เอเชียส่อขาดคุณสมบัติหมดความเป็น สายการบินสัญชาติไทย หลังแปลงร่างเป็นต่างชาติจากเทมาเส็กเข้าครอบงำกิจการชินคอร์ปผู้ถือหุ้นใหญ่ "ภูมิธรรม" ยังตะแบงอุ้มสุดฤทธิ์ ชี้ยังไม่ตัดสิทธิบินไทยแอร์เอเชีย อ้างอยู่ระหว่างตรวจสอบสัดส่วนหุ้น ลือผู้บริหารวุ่นหาหุ้นส่วนไทยรายใหม่ ด้านทีดีอาร์ไอ ระบุดีล "ชินฯ-เทมาเส็ก" เปิดทางกลุ่มทุนจากต่างประเทศผูกขาดธุรกิจ ภาคบริการ "หมอเหวง" เร่งศาล รธน.ตัดสินแม้ว พร้อมจี้ดีเอสไอให้สอบซุกหุ้นภาค 2 ด้าน "วีระ สมความคิด" รุกยื่น ป.ป.ช.สอบหุ้นแอมเพิล ริช

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การขายหุ้นของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กลุ่มเทมาเส็กจากสิงคโปร์ ได้ส่งผลกระทบต่อการถือหุ้นในบริษัท ไทยแอร์เอเชีย ของกลุ่มชินคอร์ป ที่เปลี่ยนมาเป็นกล่มเทมาเส็กถือแทนอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว โดยจะทำให้ไทยแอร์เอเชียขาดคุณสมบัติในการเป็นสายการบินสัญชาติ ไทย และต้องระงับการทำธุรกิจการบินด้วย เนื่องจากพระราชบัญญัติขนส่งทางอากาศกำหนดว่าจะต้องมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ซึ่งมีกระแสข่าวว่าทางผู้บริหารไทยแอร์เอเชียอยู่ระหว่างเจรจาหาผู้ถือหุ้นคนไทยรายใหม่เข้ามาร่วมถือหุ้นแทนเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบิน

แหล่งข่าวกล่าวว่า บริษัทไทยแอร์เอเชียเดิมนั้นกลุ่มชินถือหุ้นข้างมากในสัดส่วน 51% และสายการบินแอร์เอเชียของมาเลเซียถือหุ้น 49% หากมีการขายหุ้นอาจทำให้สัดส่วนหุ้นลดลงเหลือเพียง สัดส่วนการถือหุ้น 1% ซึ่งเป็นของนายทัศพล แบเลเวลด์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยแอร์เอเชียเท่านั้น ส่วนสัดส่วนต่างชาติจะต้องถือหุ้นเกิน 51% อย่างแน่นอน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) ตรวจสอบเรื่องนี้แล้ว และทราบว่าได้มีการทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัทไทยแอร์เอเชียเพื่อขอยืนยันสัดส่วนการถือหุ้นภายหลัง จากที่มีการโอนขายหุ้นไปแล้วซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง การตรวจสอบหากผลออกมาอย่างไรก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย

"ขณะนี้จะไปสั่งการให้สายการบินแอร์เอเชีย หยุดบินไม่ได้ เพราะอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นผลเป็นอย่างไรก็ต้องว่าตามนั้นไม่มีการเอื้อหรืออุ้มเอกชนเกิดขึ้นอย่างแน่นอน" นายภูมิธรรมกล่าว

นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ กล่าวว่าอยู่ในขั้นตอนการรอหนังสือยืนยันจากทางบริษัทไทยแอร์เอเชียที่จะแจ้ง เรื่องสัดส่วนหุ้นของบริษัทว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้เดิมหรือไม่รวมทั้งได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกระทรวงพาณิชย์และคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หากพบว่าสัดส่วนหุ้นของสัญชาติไทยถืออยู่ไม่ถึงร้อย 51 ก็ถือว่าไม่เป็นไปตามกติกาที่กำหนดก็อาจต้องพิจารณายกเลิกใบอนุญาตประกอบการบินแต่ในขณะนี้ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เพราะอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบอยู่

อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางอากาศได้ทำหนังสือแจ้งไปยังทุกสายการบิน ให้ยืนยันข้อมูล ของสัดส่วนผู้ถือหุ้นของแต่ละสายการบิน ณ ปัจจุบันเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติมิให้ขัดกับระเบียบ ที่กำหนด เนื่องจากมีสายการบินแห่งหนึ่งได้แจ้งปรับเปลี่ยนโครงสร้างของผู้บริหารภายในขึ้นซึ่งกรมการขนส่งทางอากาศได้ดำเนินการเรื่องนี้ไปตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.ก่อนที่จะมีข่าวการซื้อขายหุ้นของกลุ่มชินในวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมาเสียอีก

ส่วนทางด้านนายทัศพล แบเลเวลด์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยแอร์เอเชียไม่สามารถ ติดต่อได้ แต่ได้รับแจ้งจากทางเลขาฯว่าติดภารกิจ ประชุมและไม่สะดวกที่จะให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ในช่วงนี้ แต่มีกำหนดที่จะมีการเปิดแถลงข่าวในเร็วๆนี้ ทีดีอาร์ไอสับเละขายชิน-ทำลายภาคบริการ

นายสมเกียรติ์ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจ มูลนิธิสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวในการเสวนาเรื่อง "The Shin Corp Deal .. International Dimension"ซึ่งจัดโดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ว่า การขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ปให้กับกลุ่มกองทุนเทมาเส็กจากประเทศสิงคโปร์ ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่การเปิดเสรีทางการค้าและบริการ โดยอัตโนมัติ เนื่องจากกลุ่มทุนจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาถือหุ้นใหญ่กิจการโทรคมนาคม ขนส่ง และโทรทัศน์ของประเทศไทย แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลไทยอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเปิดเขตการค้าเสรี หรือ FTA กับประเทศสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลียก็ตาม

ทั้งนี้ สิ่งที่สะท้อนจากเรื่องดังกล่าว คือนักลงทุนต่างชาติไม่ต้องทำตามกฎหมายของประเทศ ไทย แต่ทำเพียงเป็นการแต่งตัวให้เหมือนว่าเป็นคนไทยเท่านั้น ด้วยการใช้นอมินีเพื่อเป็นชื่อผู้ถือหุ้น หรือวิธีการอีกประเภทคือการปล่อยกู้ให้กับบุคคล หรือบริษัทไทยแล้วใช้เงินดังกล่าวกลับเข้ามาซื้อบริษัทอีกครั้ง เหมือนกรณี บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น และกลุ่มเทมาเส็ก ซึ่งอาจจะมองได้ว่าตลาดด้านการบริการของไทยที่สงวนไว้ให้คนไทย โดยเฉพาะตามกฎหมายต่างด้าว พ.ศ.2542 มีเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาโดยอัตโนมัติ ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก และอาจทำให้เกิดปัญหาเหมือนปี 2540 ที่เกิดวิกฤตการณ์การเงินจากการเปิดเสรีภาคการเงิน

สำหรับภาคเอกชนไทยปัจจุบันตกอยู่ในภาวะการแข่งขันที่ยากลำบาก เพราะหากกฎกติกาที่ควบคุมไม่สามารถสร้างความเป็นธรรม ก็จะทำ ให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาผูกขาดกับภาคบริการของประเทศได้ เพราะความสามารถในการแข่งขัน ในเรื่องของเงินทุนนักลงทุนยังไม่มีความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ของประเทศ และทำให้ผลประโยชน์ที่ควรจะอยู่ในประเทศไปตกอยู่กับบริษัทต่างชาติ หรือมีการ นำสัมปทานที่บริษัทเอกชนได้รับไปขายต่อได้

นายสมเกียรติ์ กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี จัดตั้งบริษัทแอมเพิล ริช ที่เกาะบริติช เวอร์จิน และมีการโอนหุ้นชินคอร์ป ให้บุตรชายและบุตรสาว ว่า การที่บุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปตั้งบริษัทในแหล่งที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งการฟอกเงินและหลีกเลี่ยงภาษี สะท้อนว่าทุนนิยมข้ามชาติมักจะหาช่องทางเข้ามาในประเทศใดที่ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งเท่ากับเข้ามากอบโกยผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว

"กรณ์" สงสัยผลประโยชน์ทับซ้อน

นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของนายกรัฐมนตรี จากการที่ขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ป ไปขายหุ้นให้เทมาเส็ก ว่าอาจจะมีการให้สัญญาเกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคม 3 G ที่จะเกิดขึ้นในไทยในอนาคตหรือไม่ หรือสิทธิพิเศษทางการค้าในด้านอื่นๆ

นอกจากนี้ กลุ่มเทเมาเส็ก ในฐานะที่เข้ามาซื้อหุ้นของชินคอร์ป ควรจะต้องมีการชี้แจงนโยบาย ในการบริหารงานในบริษัทในกลุ่มที่เหลือด้วย ทั้งชินแซท และไอทีวี

นายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ภาวะของผู้นำทางการเมือง จำเป็นต้องมีจริยธรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะต้องคำนึงถึงเฉพาะเรื่องกฎหมาย ว่าการกระทำบางอย่าง อาจส่งผลให้เกิดคำถามต่อสาธารณชน เช่น ความจำเป็นในการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มทุนจากต่างประเทศ ดังนั้น ผู้นำทางการเมืองควรจะคิดถึงจริยธรรมมากกว่าการมองกฎหมายเพียงด้านเดียว เหวงหนุน 28 ส.ว.ยื่นถอดถอนแม้ว

ที่รัฐสภาวันนี้ (6 ก.พ.) น.พ.เหวง โตจิราการ ประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตย และนายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน พร้อมด้วยคณะร่วมกันมอบดอกไม้ให้กำลังใจ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว. อุบลราชธานี นายวงศ์พันธุ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ส.ว.พังงา และนายการุณ ใสงาม ส.ว.บุรีรัมย์ ตัวแทนคณะ 28 ส.ว. ที่ยื่นเรื่องให้ประธานวุฒิสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่น่าจะยังคงเป็นหุ้นส่วนผู้ถือหุ้นในบริษัท หรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน จากกรณีขายหุ้นแอมเพิล ริช เป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 209 นำไปสู่ความผิดตามมาตรา 216 (6)ของรัฐธรรมนูญ

นพ.เหวงกล่าวว่า พวกตนขอชื่นชมและสนับสนุนการยื่นถอดถอนนายกฯของคณะ 28 ส.ว.ซึ่งเป็นหน้าที่ของนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ต้องรีบส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญภายใน 1-2 วันนี้ ส่วนการที่ภาคประชาชนยุติการชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าชั่วคราว ไม่ได้หมายความว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีความชอบธรรมในการบริหารต่อไป ต่อจากนี้ภาคประชาชนจะดำเนินการตามกรอบรัฐธรรมนูญทุกวิถีทางเพื่อให้พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกให้ได้เพราะสถานการณ์ของประเทศจะดีขึ้นทันทีหากนายกฯลาออก

ทั้งนี้ พวกตนได้ไปกล่าวโทษนายกฯต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แล้วฐานอาจมีความผิดซุกหุ้น นอกจากนี้จะหาทางอาศัยอำนาจทางกฎหมายให้หุ้นของบริษัทชินฯ ในส่วนโทรคมนาคมกลับมาในมือคนไทย เพราะการขายหุ้นดังกล่าวอาจผิด พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้ต่างชาติถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49 โดยในส่วนบริษัทกลุ่มกุหลาบแก้ว กลุ่มเทมาเส็กได้ปล่อยเงินกู้จำนวน 20,000 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

นพ.นิรันดร์กล่าวว่า ส.ว. 28 คน ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ทั้งนักวิชาการ ประชาชนทั้งแผ่นดิน หรือแม้แต่ข้าราชการ เห็นนายกฯเป็นปัญหาต่อแผ่นดิน การที่คณะ 28 ส.ว.ยื่นต่อศาลรัฐธรรมูญครั้งนี้เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณมีส่วนได้เสีย ใช้อำนาจความเป็นนายกฯ ไปเกี่ยวข้อง มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทชินฯ การตรวจสอบครั้งนี้เพื่อให้รัฐธรรมนูญอยู่เหนืออำนาจอื่น โดยเฉพาะอำนาจทุนธุรกิจ มาผูกขาดการเมือง

นพ.นิรันดร์กล่าวด้วยว่า กรณีขายหุ้นบริษัทชินฯ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจรติ วุฒิสภา ได้ตั้งอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยตั้งประเด็น 4 ประเด็นคือ 1. การให้สัมปทานวงโคจรดาวเทียม สื่อวิทยุโทรทัศน์ ให้ตกเป็นสมบัติของต่างชาติ ขัดต่อรัฐธรรมูญมาตรา 39 และ 40 หรือไม่ 2. การขายหุ้นให้เทมาเส็กได้เงิน 73,300 ล้านบาท ทั้งที่เป็นกิจการที่รัฐให้สัมปทาน จะต้องเสียภาษี หรือไม่ 3.มีการซุกหุ้นในแอมเพิลริชและการขายหุ้นโดยใช้ข้อมูลภายใน (อินไซเดอร์) หรือไม่ และ 4. ขัดรัฐธรมนูญมาตรา 209 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากมอบดอกไม้ ให้ตัวแทนคณะ 28 ส.ว.เครือข่ายสมาพันธ์ประชาธิปไตยได้ยื่นหนังสือต่อนายสุชนเพื่อเร่งรัด ให้ส่งเรื่อง 28 ส.ว.ให้ศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็วเพราะเป็นปัญหาเร่งด่วน

นายสุชนกล่าวว่า ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาตรวจสอบความถูกต้องลายเซ็นส.ว.ที่ร่วมลงชื่อ และเร่งให้ฝ่ายกฎหมายส่งเรื่องดังกล่าวส่งเรื่องให้ตนในวันนี้ คาดว่าอีก 1-2 วันจะสามารถส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติของพ.ต.ท.ทักษิณได้ รุกยื่น ป.ป.ช.สอบแอมเพิล ริช

ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) นายวีระ สมความคิด เลขาธิการสมาพันธ์ประชาธิปไตย เข้ายื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. ในกรณีการซื้อขายหุ้นแอมเพิลริช 329.2 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ดำเนิน การสอบสวนการจงใจและเจตนาปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รวมถึงคดีที่ ศ.อมร รักษาสัตย์ อดีตกรรมการศาลรัฐธรรมนูญที่เคยวินิจฉัยความผิดการปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนายกฯให้กับคนขับรถ เพื่อให้ ป.ป.ช.นำมาขยายผลการสืบสวนต่อไป ซึ่งตนเชื่อว่าหาก ป.ป.ช. ตรวจสอบปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง ตรงไปตรงมา คดีนี้ของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะลงเอยเช่นเดียวกับกรณีของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ หัวหน้าพรรคมหาชน ที่เคยถูกเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีแน่นอนในการปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินก่อนเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง

"เร็วๆนี้คอยดูจะเห็น 28 ส.ว.ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินหรือไม่ ที่ผิดตามมาตรา 209 นี้เป็นดาบแรก แต่การที่ตนมายื่นที่ ป.ป.ช.จะเป็นดาบที่สองในการตรวจสอบ" เลขาธิการสมาพันธ์ประชาธิปไตยกล่าวและว่า วันเดียวกันนี้จะเดินทางไปวุฒิสภา เพื่อยื่นเรื่องให้นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา เร่งดำเนินการส่งเรื่อง ที่ทาง 28 ส.ว.ยื่นเรื่องให้วินิจฉัยตรวจสอบว่า พ.ต.ท. ทักษิณปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินหรือไม่ ตามมาตรา 209 ที่จะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวข้องกับหุ้นเลย แต่อาจจะเข้าข่าย เป็นผู้ชี้นำแนะนำหรือกำกับหุ้นอยู่ จึงอาจเข้าข่ายปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ผิดตามมาตรา 216   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us