Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540
"จากเจ้าของโรงเหล้าถึงเจ้าของโรงแรม"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

 
Charts & Figures

งบการเงินของบริษัทนิวอิมพีเรียลโฮเต็ลและบริษัทในเครือ ปี 2535-2539

   
related stories

"วันนี้ยังไม่มีบทสรุปสำหรับคนชื่อ เจริญ"

   
search resources

เจริญ สิริวัฒนภักดี
ประพันธ์ศักดิ์ แพทยานนท์
Hotels & Lodgings




เจริญ สิริวัฒนภักดี ใช้เวลาเพียง 3 ปี เป็นเจ้าของโรงแรมถึง 14 โครงการ โดยใช้วิธีการเทกโอเวอร์ การเข้าไปซื้อบริษัทนิวอิมพีเรียลโฮเต็ลของเจ้าสัวอากร ฮุนตระกูล เมื่อปี 2537 บริษัทเดียวนั้นทำให้เขาได้โรงแรมของบริษัทในเครือติดมาด้วยอีก 7 โรงแรมคือ โรงแรมอิมพีเรียลธารา ซอยสุขุมวิท 26 โรงแรมอิมพีเรียล อิมพาล่า สุขุมวิท 24 โรงแรมอิมพีเรียลบนถนนวิทยุ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์คในซอยสุขุมวิท 22 โรงแรมอิมพีเรียลสมุย โรงแรมอิมพีเรียล เรือและบ้าน โรงแรมอิมพีเรียล ธารา แม่ฮ่องสอน

ในปี 2538 และปี 2539 เจริญยังได้ซื้อโรงแรมเพิ่มขึ้นอีก 3 โรงแรมคือโรงแรมภูแก้วรีสอร์ท ในอำเภอเขาค้อที่จังหวัดเพชรบูรณ์ในราคาประมาณ 260 ล้านบาทจากบุญชู โรจนเสถียร ซื้อโครงการซิตี้รีสอร์ทที่เชียงใหม่ และปี 2539 ซื้อโรงแรมโกลเด้นท์ไทรแองเกิ้ลวิลเลจบริเวณสามเหลี่ยมทองคำจากไพโรจน์ เปี่ยมพงศ์สานต์

ทั้งบุญชู และไพโรจน์ เป็นที่รู้กันว่าทั้ง 2 คนประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนักจากภาวะของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ โดยเฉพาะไพโรจน์นั้นเรียกว่าตัดทรัพย์สินไหนขายได้ก็จะทำทันทีเลย

และล่าสุดก็ได้ให้บริษัทในเครือ ที.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเข้าไปซื้อกิจการของโรงแรมพลาซ่า เอเธน ในเครือฟอร์เต้อเมริกา มูลค่ากว่า 1,750 ล้านบาท

รายชื่อของบริษัทที่ถือหุ้นในโรงแรมอิมมพีเรียลนั้นก็ยังเป็นของบริษัทในเครือของเจริญเกือบทั้งสิ้น เช่น บริษัท ที.ซี.ซี. โฮลดิ้งถือหุ้น 25.81% บริษัทเครือไทยเจริญคอมเมอร์เชียล (1989) 11.95% กลุ่มสุราทิพย์ 10.94% บริษัททิพย์ร่วมทุน 10.69% บริษัทศรีไพบูลย์ร่วมทุน 10.72%

การเข้าไปซื้อบริษัทนิวอิมพีเรียลโฮเต็ล นอกจากทำให้เขาได้ทรัพย์สิน ซึ่งเป็นตัวโรงแรมมาด้วย 7 โรงแรมแล้ว ยังได้ที่ดินในต่างจังหวัดอีกหลายร้อยไร่ (ดูตามตาราง)

ประพันธ์ศักดิ์ แพทยานนท์ รองประธานบริหารเครืออิมพีเรียลเล่าให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังว่ามีเหตุผล 3 ข้อที่เจริญซื้อธุรกิจโรงแรมคือ 1. เขามองว่าเขาอยากเห็นโรงแรมดี ๆ ในเมืองไทยที่บริหารด้วยคนไทย 2. เขามีเงิน 3. เป็นการช่วยเหลือคนที่รู้จักกัน

แต่ที่ "ผู้จัดการรายเดือน" อยากฟันธงวิธีการคิดที่แยบยลของเขาตรงนี้อีกเรื่องก็คือ เมื่อเขาเป็นเจ้าของโรงแรมห้าดาวอย่างอิมพีเรียล มันก็เหมือนเป็นโลโกของความมีชื่อเสียงติดไปยังธุรกิจโรงแรมอื่น ๆ ที่เขาวางแผนซื้อเพิ่มเติมภายหลัง รวมทั้งโรงแรมแม่ปิง ซึ่งเขาซื้อมาก่อนหน้านี้ด้วย

บริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านโรงแรมคือ บริษัทนิวอิมพีเรียลโฮเต็ล จำกัด มหาชน มีประพันธ์ศักดิ์ แพทยานนท์ รองประธานบริหารเครือโรงแรมอิมพีเรียลเป็นผู้ดูแล รับผิดชอบในการบริหารโรงแรมในเครือทั้งหมด

บริษัท ที.ซี.ซี. โฮเต็ลแอนด์ดีเวลลอปเม้นท์ มีฟ้าฟื้น บุญยเกียรติ เป็นประธานบริหารบริษัท มีหน้าที่ในการลงทุนและขยายกิจการโรงแรม

บริษัทนี้มีบทบาทอย่างมากในการเข้าไปพัฒนาที่ดินแปลงอื่น ๆ ของเจริญ การบริหารโรงแรมทั้ง 2 ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับ ม.ร.ว. สฤษดิคุณ กิติยากร ประธานบริหารกลุ่มโรงแรมอิมพีเรียล

ม.ร.ว. สฤษดิคุณ กิติยากร ปัจจุบันอายุ 60 ปี เริ่มเข้ามารับตำแหน่งนี้แทนอากรเมื่อปี 2537 โดยมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานกรรมการบริษัทนิวอิมพีเรียล และบริษัทย่อยของโรงแรมทั้งหมด

ประพันธ์ศักดิ์นั้นในอดีตเคยเป็นผู้จัดการใหญ่โรงแรมเอราวัณ เป็นมืออาชีพทางด้านโรงแรมที่เข้ามาทำงานกับอากรตั้งแต่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค เริ่มสร้าง เมื่อเจริญเข้ามาก็ได้รับบทบาทเพิ่มขึ้น ส่วนตัวเจริญเอง เป็นเพียงกรรมการบริษัทไม่ได้เข้ามานั่งบริหารด้วย

ในจำนวนโรงแรมทั้งหมดของเขานั้น ตัวที่ทำรายได้มากที่สุดในปัจจุบันคือ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ในซอยสุขุมวิท 22 แต่ยังเป็นโรงแรมที่ไม่คืนทุนเพราะเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2537 ส่วนโรงแรมอิมพีเรียลบนถนนวิทยุ ในปีนี้และปีหน้าก็จะยังไม่มีตัวเลขรายได้เข้ามาเพราะกำลังทุบทิ้งเพื่อพัฒนาใหม่เป็นโรงแรมที่ทันสมัยกว่าเดิม

ย้อนหลังไปในปี 2539 โรงแรมที่ทำรายได้ให้กับทางบริษัทมากที่สุดคือ โรงแรมอิมพีเรียลธาราโฮเต็ล 137 ล้านบา ส่วนในต่างจังหวัดก็จะเป็นโรงแรมอิมพีเรียลสมุย 72 ล้านบาท (ดูรายละเอียดในตาราง)

โรงแรมในต่างจังหวัดอีกหลายแห่งของเจริญยังคงขาดทุนตามภาวะการท่องเที่ยวที่ซบเซา ทั้ง ๆ ที่บางโรงแรมทำเลดี วิวสวยมาก แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางการตลาดเพราะเป็นทำเลที่ค่อนข้างไกล เช่น อิมพีเรียลภูแก้ว ซึ่งเดินทางโดยรถยนต์ได้อย่างเดียว ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ถ้าหากการก่อสร้างสนามบินหล่มสักสร้างเสร็จตามแผน ประมาณต้นปี 2541 ลูกค้านักท่องเที่ยวคงเพิ่มขึ้นเพราะใช้เวลาเดินทางไม่ถึงชั่วโมง

อย่างไรก็ตามตัวเลขจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุให้เห็นชัดเจนว่า ก่อนซื้อบริษัทมาจากเจ้าสัวอากรเมื่อปี 2537 นั้น บริษัท นิวอิมพีเรียลโฮเต็ลขาดทุนในปี 2535 ประมาณ 93 ล้านบาท ในปี 2536 ขาดทุน 139 ล้านบาท และสิ้นปี 2537 ขาดทุนเพิ่มขึ้น 538 ล้านบาท

การขาดทุนจำนวนมหาศาลในปี 2537 นั้น เป็นเพราะตลาดโรงแรมที่ซบเซามาโดยตลอด ประกอบกับภาระการสร้างโรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ซึ่งเป็นโรงแรม 5 ดาวขนาดใหญ่

แต่ในปี 2538 ภาวะการขาดทุนลดลงเหลือ 194 ล้านบาท และพอสิ้นปี 2539 ก็ปรากฏตัวเลขได้กำไรถึง 187 ล้านบาท

ตัวเลขกำไรตรงนี้อาจเป็นเพราะทางบริษัทนิวอิมพีเรียลได้ขายที่ดินของบริษัทซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงแรมอิมพีเรียล วิทยุ จำนวน 4 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวาให้กับบริษัทศรัทธาธรรม ซึ่งเป็นบริษัทของเจริญในราคา 600 ล้านบาท โดยทางบริษัทนิวอิมพีเรียลก็ได้เช่าพื้นที่ดังกล่าวเพื่อสร้างเป็นโรงแรมวิทยุใหม่ รวมทั้งได้เช่าพื้นที่เพิ่มจากราชินีมูลนิธิอีกประมาณ 10 ไร่

ถึงแม้จะมีตัวเลขที่กำไร แต่ด้วยวิธีการดังกล่าว เชื่อแน่ว่า ในบทบาทของเจ้าของโรงแรมในอนาคตอันใกล้นี้ เจริญต้องรับศึกหนักแน่นอน เพราะนอกจากจะต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในการก่อสร้างโรงแรมอิมพีเรียลวิทยุแล้ว ประการแรกที่ยังเป็นตัวปัญหาคือภาวะโดยรวมของเศรษฐกิจที่จะเป็นตัวกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นในห้องจัดเลี้ยงของโรงแรมซึ่งเป็นรายได้หลักครึ่งหนึ่งของธุรกิจนี้ และ 2. ภาวะการท่องเที่ยวที่ยังคาดการณ์ได้ยากว่าจะดีขึ้นหรือไม่อย่างไร และสุดท้าย ประสิทธิภาพในการบริหารงานของทีมงาน ซึ่งมีการแข่งขันกันดุเดือดจริง ๆ ทีมงานมืออาชีพเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จ

และด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ประพันธ์ศักดิ์ ค่อนข้างมั่นใจว่า ถึงแม้จะมีเจ้าของโรงแรมอีกหลายแห่งที่เรียงคิวเข้ามาให้เจริญเลือกซื้อและเทกโอเวอร์ เจริญก็คงต้องหยุดซื้อโรงแรมใหม่ชั่วคราวเพื่อหันมาบริหารกิจการที่มีอยู่แล้วในมือให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เขามั่นใจทั้งในช่วงเดือนกรกฎาคม 2541 นั้น มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า เจริญได้เข้าไปซื้อบริษัทภูเก็ตไอร์แลนด์ จำกัด (มหาชน) ที่ภูเก็ตอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรมภูเก็ตไอร์แลนด์ บ้านไทย และภูเก็ตพาวิลเลียน แต่เป็นบริษัทที่ประสบปัญหาทางด้านผลประกอบการมาโดยตลอด และขณะนั้นอยู่ในระหว่างทำแผนฟื้นฟู เสนอต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ

ถ้าเจริญเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จริง ๆ ก็เป็นเรื่องที่แปลกใจว่าเขาจะใช้แผนเหนือเมฆอย่างไรในการฟื้นฟู และที่สำคัญจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ต้องใช้เงินอีกจำนวนมาก

สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ผู้อำนวยการฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ยูเนี่ยน ในฐานที่ปรึกษาทำแผนฟื้นฟูของภูเก็ตไอร์แลนด์ กล่าวว่า แนวทางแก้ไขคือ 1. ต้องเร่งลดภาระหนี้สินที่มีทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบันมีหนี้สินหมุนเวียนประมาณ 587.85 ล้านบาท ดังนั้นต้องตัดขายทรัพย์สินที่ไม่ก่อรายได้ เช่น ภูเก็ตพาวิลเลียน เนื่องจากเป็นโรงแรมที่คนเข้าไปพักน้อย

2. ปรับโครงสร้างหนี้สินเสียใหม่ และขั้นตอนสุดท้ายคือการลดต้นทุนบริหารงานบางส่วน
แต่ที่เล่าลือกันว่า เจริญไปซื้อนั้น สมภพยืนยันกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่าเป็นเพียงข่าวลือ จริง ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us