|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นักค้าเงินคาดแนวโน้มค่าเงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มอ่อนค่า ต่างชาติจับตาสถานการณ์การเมือง พักยกลงทุนตลาดหุ้น กำดอลลาร์ก่อนกลับมาช้อนหุ้นราคาถูกเข้าพอร์ต ขณะที่ผอ.สศค.อ้างเฟดขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้มีเงินทุนไหลออก ฟันกำไรส่วนต่างดอกเบี้ย
แหล่งข่าวนักค่าเงินธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่า แนวโน้มการเคลื่อนไหวค่าเงินในสัปดาห์นี้คาดว่าจะอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยมีปัจจัยหลักมาจากปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้น หลังจากที่รัฐมนตรีประกาศตันสินใจลาออกถึง 2 คนภายในสัปดาห์เดียวกัน นอกจากนี้ ปัญหาการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเซกของคนในตระกูลชินวัตร-ดามาพงษ์ ซึ่งแม้จะมีความพยายามออกมาชี้แจงของหน่วยงานที่กำกับดูแลไม่ว่าจะเป็นกรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำให้คลายข้อสงสัยได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้นำประเทศอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ การที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร เตรียมจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ภาคพิเศษ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งคาดว่าครั้งนี้จะมีผู้ร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก หลังจากการชุมนุมกู้ชาติเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา จบลงด้วยดี ซึ่งก่อนหน้าหลายฝ่ายกังวลว่าอาจเกิดปัญหาการปะทะกันระหว่างกลุ่มคนที่มาชุมนุม กับกลุ่มที่เป็นแนวร่วมของรัฐบาล
"ตลาดเงินในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มอ่อนค่าลง เพราะคาดว่านักลงทุนต่างชาติจะชะลอการตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้น ขณะที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ส่งผลให้มีเม็ดเงินบาทส่วนย้ายไปลงทุน เพื่อกินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย"แหล่งข่าวกล่าว
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มการวิเคราะห์เศรษฐกิจ มหภาค สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคระหว่างประเทศ ได้เสนอบทความวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าน่าจะมีผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปลงทุนในต่างประเทศในระยะสั้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยไลบอร์ที่อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม ซึ่งทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไลบอร์กับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น หรืออินเตอร์แบงก์ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย และอาจส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งทำให้แรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาทลดลง
"การเคลื่อนย้ายเงินทุนไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น อาจส่งผลให้แรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทลดลง เพราะขณะนี้ อัตราดอกเบี้ยอาร์/พีระยะ 14 วันของไทยอยู่ที่ 4.25% ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในอินเตอร์แบงก์และตลาดสหรัฐ โดยค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตามการไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ" นายนริศ กล่าว
ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการกลุ่มการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค กล่าวว่า นับตั้งแต่ต้นปีถึงช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐปรับค่าแข็งขึ้นแล้วถึงร้อยละ 4 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีมาตรการรองรับความผันผวนและการเก็งกำไรที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เฟดขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ผ่านมา เชื่อว่าคาดเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอัตราเร่งตัวอีกต่อไป โดยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 0.25% ในการประชุมครั้งหน้า และมีแนวโน้มที่จะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป
|
|
|
|
|