Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 กุมภาพันธ์ 2549
บทเรียนจากการขายชินคอร์ป             
โดย ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Telecommunications




ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา นายกฯทักษิณพร้อมลูก ๆ เดินทางไปพักผ่อนกันที่สิงคโปร์เป็นเวลา 3 วัน ให้เหตุผลว่าจะไปพักผ่อนแบบเงียบ ๆ สบาย ๆ เป็นส่วนตัว อยู่ในเมืองไทยไปพักผ่อนที่ไหนก็ต้องมีตำรวจคุ้มกัน

ณ ห้วงเวลานั้น ข่าวลือเกี่ยวกับดีลขายหุ้นชินคอร์ป ให้กับบริษัทในสังกัดรัฐบาลสิงคโปร์ก็แพร่สะพัดออกไปทั่วแล้ว สื่อหลายฉบับ (รวมทั้งผมเองด้วย) เดาเอาเองในใจว่าท่านนายกคงไป "ปิดดีล"

แม้หลังจากกลับถึงเมืองไทยแล้ว ท่านจะให้สัมภาษณ์ปฏิเสธ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์คงเป็นเครื่องยืนยันได้

11 โมงกว่าๆ ของวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2549 บุญคลี ปลั่งศิริได้ยื่นแบบรายงานประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการต่อกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือพูดง่าย ๆ คือยื่นรายละเอียดของ "ดีลประวัติศาสตร์" ที่ทุกคนเฝ้าติดตามอยู่

ใครเป็นคนซื้อชินกันแน่?

บริษัทที่ยื่นซื้อชินนั้น แม้จะผสมโรงกันทั้งนักลงทุนสิงคโปร์และไทย เพื่อให้ลดภาพและความรู้สึกว่ากิจการคนไทยถูกซื้อโดยกลุ่มทุน (รัฐบาล) สิงคโปร์ แต่โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้นหลักแล้วคือบริษัทลงทุนแห่งชาติสิงคโปร์ หรือที่เรียกว่า "เทมาเส็ก" (Temasek)

กล่าวในรายละเอียดคือ บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัดได้ประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

โดยทางบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัดเสนอหุ้นสามัญของชินคอร์ปเป็นจำนวน 1,158,540,120 หุ้น คิดเป็น 38.62% กับบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัดเสนอซื้อหุ้นสามัญของชินคอร์ปเช่นกันเป็นจำนวน 329,200,000 หุ้น คิดเป็น 10.97% โดยซื้อจากพินทองทา ชินวัตร บรรณพจน์ ดามาพงศ์ พานทองแท้ ชินวัตร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 49.59% ของหุ้นทั้งหมด โดยมีระยะเวลาชำระราคาและการส่งมอบหุ้นจะดำเนินการเสร็จสิ้นในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2549

ช่วงบ่ายของวันดังกล่าว ทางเทมาเส็ก โฮลดิ้งได้ร่วมแถลงข่าวการเข้าซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถึงกับผู้บริหารชินคอร์ป พร้อมตัวแทนของตระกูล "ชินวัตร" และตระกูล "ดามาพงศ์" บนเวทีประกอบด้วย เอส. อิสวาราน กรรมการผู้จัดการด้านการลงทุน กลุ่มบริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้ง บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พงส์ สารสิน ประธานบอร์ดชินคอร์ปคนใหม่ และ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ในฐานะตัวแทน (โฆษก) ของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์

บุญคลีกล่าวว่า "จากที่ทางเทมาเส็กเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในการบริหารของคนไทย โดยที่ผมจะยังคงทำงานในบริษัทต่อไป ซึ่งทิศทางธุรกิจของชินคอร์ปยังไม่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับกลุ่มเทมาเส็กเป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งทางการเงินมีเครือข่ายทั่วโลก จึงมีลู่ทางที่จะช่วยขยายการเติบโตของชินคอร์ปไปสู่ระดับโลก ..."

"อย่างไรก็ตาม ชินคอร์ปยังเป็นบริษัทของคนไทย"

การเปลี่ยนแปลงที่อย่างชัดเจนในวันแรกของการประกาศเข้าครอบงำกิจการก็คือ การตั้งคณะกรรรมการของชิน คอร์ปที่จะมีการเปลี่ยนแปลงใน 3 ตำแหน่ง โดยจะมีพงส์ สารสิน วิชิต สุรพงษ์ชัยและเอส.อิสวาราน เข้ามาแทนตำแหน่งบอร์ดเดิม 3 ท่าน

ดีลนี้แก้ปัญหาในด้านหนึ่ง แต่กลับสร้างปัญหาใหม่ขึ้นอีกหลายข้อ

... ความโปร่งใสในการซื้อขายหุ้น
... การไม่ต้องจ่ายภาษี
... การขายกิจการในธุรกิจสำคัญให้แก่ต่างชาติ
... หรือการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ดีลลุล่วงไปได้

ดีลซื้อขายกิจการที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ธุรกิจไทยครั้งนี้บอกถึงอะไรบ้าง?

บทวิเคราะห์

นายกฯทักษิณช่างขยันเป็นข่าวประเภทสร้างปรากฏการณ์โดยแท้

เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเดินทางไปสาธิตแก้ปัญหาความยากจนให้เป็นที่ฮือฮากันทั้งประเทศกันมาแล้ว ส่วนจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไรนั้นก็คงจะได้อ่านกันไปมากแล้ว

สัปดาห์ที่แล้วก็ยิ่งกว่าฮือฮาอีกเพราะขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปได้เงินสดๆถึง 73,300 ล้านบาทโดยไม่ต้องเสียภาษีเลยเพราะเป็นการซื้อขายหุ้นของบุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าการเข้าเป็นเจ้าของธุรกิจในเครือชินคอร์ปนั้นเป็นการเชื้อเชิญต่างชาติเข้ามาถือหุ้นที่ล้วนแต่เป็นสัมปทานของประเทศทั้งนั้น

เป็นเรื่องที่น่าจับตาอย่างยิ่งเพราะการที่ต่างชาติเป็นเจ้าของร้อยเปอร์เซ็นต์ในธุรกิจค้าปลีกหรือรถยนต์นั้นไม่เป็นปัญหาเพราะไม่ใช่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ ทว่าการที่ต่างชาติเป็นเจ้าของสัมปทานมือถือ ดาวเทียมและทีวีนั้นเป็นเรื่องที่แตกต่างกัน

ประเด็นที่น่าสนใจต่อมาก็คือตระกูลชินวัตรขายหุ้นเพราะอะไร

หากเป็นเพราะไม่ต้องการให้เกิดข้อหาการทับซ้อนเชิงผลประโยชน์นั้น ทำไมไม่ทำเสียตั้งแต่เมื่อห้าปีที่แล้ว กลับมาทำเอาตอนนี้ ซึ่งทุกคนต่างยอมรับแล้วว่านายกฯทักษิณยังมีธุรกิจอยู่แต่ถือหุ้นในชื่อของลูกชายและลูกสาว

คำตอบก็คือการขายหุ้นนั้นเป็นเพราะจังหวะเวลาดีที่สุด อุตสาหกรรมสื่อสารก้าวมาถึงจุดที่ว่าไม่สามารถขยายตัวต่อไปได้อีกแล้วในระบบ 2.5 จี หากเป็นระบบ 3จีก็ยากที่จะหาเงินมาลงทุนและต่อกรกับบริษัทต่างชาติที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทอื่นๆซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเจ้ายุทธจักรทั้งสิ้นนั้น

การขายหุ้นออกไปนั้นจะเป็นการดีที่สุดเช่นเดียวกับตัน ภาสกรนทีที่จำต้องขายหุ้นส่วนใหญ่ของโออิชิออกไปเช่นกัน เพราะการกอดหุ้นเอาไว้กับตนเองไม่ดีเท่ากับการขายหุ้นให้เจริญเป็นแน่

จังหวะเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ เมื่อตนรู้ว่าธุรกิจถึงทางตันแล้ว ก็จำเป็นต้องขายออกไป หากยังดันทุรังอยู่ก็เท่ากับพบจุดจบเร็วขึ้นเท่านั้น

ที่น่ากลัวก็คือประเทศไทยจะกลายเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจของต่างชาติอย่างแน่นอน ยิ่งหลังจากเอฟทีเอไทย-สหรัฐ เจรจาจบลงอย่างเป็นทางการแล้วก็ค่อนข้างน่ากลัว เพราะธุรกิจการเงินและธุรกิจประกันภัยไทยก็จะอ่อนแอ จำเป็นต้องหาพันธมิตรจากต่างชาติซึ่งถึงสุดท้ายก็จะกลายเป็นของต่างชาติไปในที่สุด

ยังไม่นับว่ารัฐวิสาหกิจซึ่งถูกแปรรูปและนำหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นส่วนหนึ่งจะกลายเป็นของต่างชาติ ยังไม่ต้องพูดถึงการเชิญต่างชาติมาลงทุนเมกาโปรเจกในโครงการ Modernize Thailand แค่ฟังก็เหนื่อยแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us