Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 กุมภาพันธ์ 2549
ขายหุ้นชินคอร์ป ‘ทักษิณ’ ล้มละลายทางจริยธรรม             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Telecommunications




การขายหุ้นชินคอร์ปให้สิงคโปร์ นอกจากมีประเด็นการเลี่ยงภาษีซึ่งเป็นประเด็นทางกฎหมายแล้ว ยังมีประเด็นทางจริยธรรมที่สังคมควรให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะถึงแม้ถูกกฎหมายแต่ผิดจริยธรรม ความชอบธรรมก็ไม่เหลืออีกต่อไป

ประเด็นทางจริยธรรม เช่น มีการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือไม่? เพราะก่อนหน้านั้นกฎหมายอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในกิจการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพียง 25% แต่หลังจากแก้กฎหมายให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 49% เพียง 2 วัน ก็มีการขายหุ้นชินคอร์ปในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการสื่อสารโทรคมนาคมให้ เทมาเส็กสิงคโปร์ทันที 49%

การขายหุ้นคลื่นดาวเทียวไทยคม ให้ต่างชาติครอบครองเป็นการขายสมบัติชาติหรือไม่? กระทบต่อเสรีภาพประชาชนและความมั่นคงของรัฐในด้านการสื่อสารโทรคมนาคมหรือไม่? ใครจะรับประกันได้ว่าจะไม่มีการดักฟังทางโทรศัพท์เพื่อล้วงความลับเกี่ยวกับนโยบายหรือโครงการสำคัญๆของประเทศซึ่งอาจจะต้องแข่งขันกับต่างชาติที่เป็นเจ้าของหุ้นดาวเทียม และประชาชนคนไทยก็คงอดระแวงไม่ได้ว่าจะมีใครคอยดักฟังการพูดคุยทางโทรศัพท์หรือไม่ ทำให้รู้สึกว่าเสรีภาพของเราถูกลิดรอนโดยทุนต่างชาติ ฯลฯ

ซึ่งประเด็นเหล่านี้อาจไม่มีกฎหมายตีกรอบเอาไว้ว่าทำไม่ได้ จึงต้องอาศัย “ต่อมสำนึกทางจริยธรรม” ของบุคคลหรือสังคมเป็นเครื่องตัดสิน โดยเฉพาะต่อมสำนึกทางจริยธรรมของคนที่เป็นผู้นำประเทศในปัจจุบัน ดังนั้น ประเด็นสำคัญจึงไม่ได้อยู่แค่ว่ากฎหมายอนุญาตให้ทำได้หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าควรทำหรือไม่?

คำถามว่า ควรทำหรือไม่? คือคำถามในเชิงจริยธรรม คำถามเช่นนี้แม้ค่อนข้างเป็นนามธรรม แต่ก็เป็นคำถามที่สำคัญไม่แพ้คำถามถึงความถูก-ผิดในแง่กฎหมาย เพราะหากสังคมไม่สนใจคำถามเชิงจริยธรรม สังคมก็จะไม่รู้ว่าอะไรคือความชอบธรรม ไม่ชอบธรรม สุดท้ายแล้วก็จะให้การยอมรับผู้นำที่ไร้ความชอบธรรมให้โกงบ้านกินเมืองอย่างชอบด้วยกฎหมายอยู่เรื่อยไป

แต่คำถามในเชิงจริยธรรมก็มักเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปร่วมกันได้ยาก บางเรื่องคนหนึ่งบอกว่าถูก อีกคนอาจบอกว่าผิด แต่นี่ไม่ใช่เหตุผลว่าเราจะต้องไม่ตั้งคำถามเชิงจริยธรรม อันที่จริงจริยธรรมมีระดับชั้นของพัฒนาการที่สามารถประเมินร่วมกันได้ เพราะเราสามารถประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมจากการใช้เหตุผลทางจริยธรรม ซึ่งเหตุผลทางจริยธรรมคือสิ่งที่บ่งชี้พัฒนาการทางจริยธรรมในแต่ละระดับดังนี้

1. พัฒนาการทางจริยธรรมระดับที่ยึดผลประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง พัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้วางอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า มนุษย์เห็นแก่ตัวและกระทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์และความสุขของตนเอง (Egoism) เหตุผลทางจริยธรรมของคนที่มีพัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้คือ

- หลีกเลี่ยงการกระทำความผิด เพราะกลัวการลงโทษ และ

- ทำถูกเพราะต้องการผลประโยชน์ตอบแทน

ปัญหาที่ตามมาจากการใช้เหตุผลทางจริยธรรมเช่นนี้คือ ถ้าสามารถหลบหลีกการลงโทษได้ หรือถ้ากระบวนการตรวจสอบ/การลงโทษผู้กระทำผิดด้อยประสิทธิภาพ หรือถ้ายอมเจ็บตัวแต่ได้ผลประโยชน์มากกว่า คนที่ใช้เหตุผลเช่นนี้ย่อมทำผิดเพื่อผลประโยชน์ของตนเองได้เสมอ ในทำนองเดียวกันถ้าคำนวณแล้วพบว่า หากทำถูกต้องแต่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มเหนื่อยเขาก็จะไม่ยอมทำ

ดังนั้น พฤติกรรมทางจริยธรรมระดับนี้จึงเป็นพฤติกรรมของคนประเภทที่หาช่องทางหลบเลี่ยงกติกา ไม่ใช้กติกาอย่างซื่อสัตย์โปร่งใส หรือหาทางสร้างกติกาให้เอื้อประโยชน์แต่ตนเองและพรรคพวก และอาจเป็นพฤติกรรมของคนประเภททำดีสร้างภาพ หรือสอพลอเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทน

2. พัฒนาการทางจริยธรรมระดับที่ยึดบรรทัดฐาน ค่านิยม หรือวัฒนธรรมของสังคมเป็นแนวทางกำหนดถูก ผิด (Relativism) เหตุผลทางจริยธรรมคือ

- ไม่ทำผิดเพราะกลัวสังคมประณาม

- ทำถูกเพราะต้องการให้สังคมยอมรับ

เหตุผลทางจริยธรรมเช่นนี้ดีกว่าระดับแรก ตรงที่ย้ายจากการยึดผลประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้ง มาให้ความสำคัญกับบรรทัดฐานและการยอมรับของสังคมแทน แต่ปัญหาที่อาจตามมาคือ อาจทำให้เกิดวัฒนธรรมพรรคพวกนิยม สถาบันนิยม เช่น เด็กนักเรียนยกพวกตีกัน เพราะโลโก้ของสถาบัน หรือคนบางกลุ่มขัดแย้งกันเพราะอยู่กันคนละ “มุ้ง” หรือเพราะนับถือศาสนาต่างกัน เป็นต้น

3. พัฒนาการทางจริยธรรมระดับที่เคารพความเป็นมนุษย์ของตนเองและมีอุดมการณ์เพื่อความผาสุกของสังคม เหตุผลทางจริยธรรมคือ

- ไม่ทำผิดเพราะไม่ต้องการตำหนิตนเอง

- ทำถูกเพราะคำนึงถึงความผาสุกของสังคม

หากมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้นำประเทศที่ควรเป็นคือ มาตรฐานในระดับพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นที่ 3 ได้แก่ “การมีอุดมการณ์เพื่อความผาสุกของสังคม” แค่กรณีขายหุ้นชินคอร์ปเพียงกรณีเดียว ก็ถือว่าคุณทักษิณ ล้มละลายทางจริยธรรมเรียบร้อยโรงเรียนแม้วไปแล้ว

เพราะตรรกะของการขายหุ้นชินคอร์ปคือตรรกะแบบ Egoism ที่ยึดผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง และผลประโยชน์นั้นก็ VS ผลประโยชน์ของชาติ เนื่องจากมีเงื่อนงำในประเด็นการเลี่ยงภาษี การออกกฎหมายเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง การคำนึงถึงกำไรมหาศาลมากกว่าความมั่นคงของประเทศ และเสรีภาพของประชาชน

ถ้าตรรกะทางจริยธรรมแบบ Egoism+ทุนมหาศาล+อำนาจเบ็ดเสร็จ ผลลัพธ์ก็คือ “ประเทศถูกฆาตกรรม” นี่คืออันตรายที่ในหลวงทรงเตือน “ถ้าไม่ระวัง เราตาย ประเทศตาย”

ถึงวันนี้คนไทยตื่นขึ้น มองเห็น และเฝ้าระวังอันตรายดังกล่าวอย่างเพียงพอแล้วหรือยัง?

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us