Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 กุมภาพันธ์ 2549
แอลจีชูกลยุทธ์ Blue Ocean สร้างยอดไฮเอนด์ผนึกแกรมมี่ ครีเอทดีมานด์ ขยายฐานลูกค้า             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย)

   
search resources

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย), บจก.
Marketing
Electric




แอลจีต่อจิกซอว์ Move up to Hi-end ปี 3 งัดกลยุทธ์ Blue Ocean Strategy Marketing สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ครีเอทนิวดีมานด์ พร้อมผนึกพันธมิตรแกรมมี่รุกกิจกรรมกระตุ้นยอดขายสินค้าไฮเอนด์ ล่าสุดเตรียมเปิดร้านโฉมใหม่ 100 แห่ง หวังเป็นต้นแบบสร้างรายได้จากสินค้าไฮเอนด์

การแข่งขันในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยดูเหมือนว่ากลยุทธ์หลักที่หลายๆแบรนด์ใช้ก็คือการทำสงครามราคา ซึ่งก็เป็นที่รู้กันดีว่ากลยุทธ์ดังกล่าวไม่เกิดผลดีเท่าใดนักไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำไรที่น้อยลงเรื่อยๆ แต่เพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดเอาไว้บางแบรนด์ก็เลือกที่จะเข้าสู่สมรภูมิราคาแทนที่จะเลือกสร้างกำไร สุดท้ายกลับต้องขาดทุน จนในช่วงหลังๆหลายแบรนด์หันมาให้ความสำคัญกับการสร้างกำไรมากกว่าเรื่องส่วนแบ่งการตลาด ทั้งนี้ธรรมชาติของตลาดสินค้าราคาถูกมักเป็นตลาดที่ผู้บริโภคไม่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ การตัดสินใจแต่ละครั้งจะผันแปรไปตามราคา ทำให้ธุรกิจไม่สามารถสร้าง Brand Loyalty ได้ ส่งผลต่องบการตลาดที่ลงทุนไปไม่สามารถต่อยอดได้ นอกจากนี้ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นต่อตราสินค้าด้วย

แอลจีก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว ดังนั้นจึงพยายามสร้างตลาดไฮเอนด์โดยในช่วงต้นปี 2547 แอลจีได้มีการปรับนโยบายครั้งใหญ่คือการ Move up to hi-end หรือการหันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดสินค้าที่มีเทคโนโลยีระดับสูงมากขึ้นโดยมีการใช้งบสำหรับพัฒนาและวิจัยสินค้าประมาณ 7% ของเป้ายอดขาย ซึ่งสินค้าระดับไฮเอนด์รุ่นแรกๆก็มี เครื่องปรับอากาศรุ่นอาร์ทคูล เครื่องซักผ้า 3 Way Wash ตู้เย็นไซด์บายไซด์ ซึ่งต่อมาก็ออกรุ่นที่มีแอลซีดีทีวีติดที่ประตูตู้เย็นราคาแสนกว่าบาท

ทั้งนี้หลังจากแอลจีเริ่มมีสินค้าไฮเอนด์มากขึ้นก็พยายามที่จะผลักดันให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคด้วยการให้ความสำคัญกับการทำอินสโตร์โปรโมชั่นโดยร่วมกับบรรดาร้านค้าดีลเลอร์ต่างๆเพื่อจัดกิจกรรมโรดโชว์พร้อมกับการทำโปรโมชั่นเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น รวมถึงเป็นการสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้าให้ผู้บริโภคได้สัมผัสได้ทดลองใช้ ขณะเดียวกันก็เป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์แอลจีกับบรรดาร้านค้าต่างๆด้วย โดยในปีที่แล้วแอลจีมีใช้งบการตลาดกว่า 800 ล้านบาท แบ่งเป็นงบโฆษณา 30% และงบกิจกรรมการตลาด 70% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งใช้อยู่ประมาณ 60% ของงบการตลาดทั้งหมด

อย่างไรก็ดีกลยุทธ์ที่แอลจีใช้ในการสร้างตลาดไฮเอนด์ดูเหมือนยังไม่เพียงพอเนื่องจากสินค้าไฮเอนด์มีราคาค่อนข้างแพงผู้บริโภคจึงใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลตลอดจนเปรียบเทียบกับคู่แข่งค่อนข้างนานก่อนจะตัดสินใจซื้อ ดังนั้นเพื่อให้แอลจีเป็นหนึ่งในตัวเลือกหลักของผู้บริโภค แอลจีจึงมีการทำกลยุทธ์ Blue Ocean Strategy Marketing

"ปัจจุบันตลาดมีการแข่งขันสูงทั้งเรื่องของสงครามราคาและการทำโปรโมชั่น รวมถึงเทคโนโลยีก็ไล่ตามกันทัน ดังนั้นแอลจีจึงต้องพยายามที่จะสร้างความแตกต่างและโดดเด่นโดยในปีนี้บริษัทจะมีการทำการตลาดภายใต้แนวคิด Blue Ocean Strategy Marketing หรือการสร้างความต้องการใหม่ๆเพื่อเพิ่มขอบเขตในการทำตลาดให้กว้างขึ้น รวมถึงการสร้าง Value Added ให้กับสินค้า" ซึง ลี โฮ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด ผลิตภัณฑ์หมวดภาพและเสียง แอลจีมิตร อีเลคทรอนิคส์ กล่าว

สินค้าหมวดเครื่องเสียงเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มแรกที่แอลจีนำมาทำตลาดภายใต้กลยทุธ์ Blue Ocean Strategy Marketing โดยปัจจุบันตลาดเครื่องเสียงมีมูลค่ากว่า 3,874 ล้านบาท หรือประมาณ 370,000 เครื่อง โดยตลาดมีการเติบโตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องปีละ 5% เนื่องจากผู้บริโภคมักจะให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าหมวดภาพก่อนที่จะซื้อเครื่องเสียง ประกอบกับลูกเล่นในการใช้งานไม่ได้มีความแปลกใหม่ส่งผลให้ตลาดไม่ค่อยมีการเติบโตเท่าที่ควร

แอลจีพยายามสร้างความแตกต่างให้กับต่างเครื่องเสียงด้วยการใส่ฟังก์ชั่นคาราโอเกะภายใต้ชื่อ New Karaoke System (NKS) ซึ่งมีลูกเล่นในการปรับจังหวะ ปรับคีย์ รวมถึงโปรแกรมการให้คะแนนกับผู้ร้อง โดยเครื่องเสียงรุ่นใหม่ที่มีฟังก์ชั่น NKS จะบรรจุเพลงของแกรมมี่กว่า 2,000 เพลง

นอกจากการนำเพลงลิขสิทธิ์จากแกรมมี่มาบรรจุในเครื่องเสียงของแอลจีแล้ว แอลจียังเป็นสปอนเซอร์ให้กับ "พันซ์" ศิลปินของแกรมมี่ รวมถึงยังใช้ศิลปินแกรมมี่ในการทำกิจกรรมโรดโชว์ต่างๆเพื่อสร้าง Product Awareness ภายใต้คอนเซ็ปต์ "LG NKS One Stop Solution for Karaoke Lover" ซึ่งจะช่วยสร้างความคุ้นเคยเกี่ยวกับตัวสินค้าให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมร่วมกับเครือแกรมมี่ภายใต้ชื่อการประกวด LG NKS Karaoke Contest เพื่อชิงรางวัล 100,000 บาท พร้อมชุดเครื่องเสียง NKS โดจจะมีการเดินสายโรดโชว์ทั่วประเทศร่วมกับรายการคอซองเกม ทั้งนี้แอลจียังมีแผนที่จะผนึกพันธมิตรอื่นๆในการทำกิจกรรมเพื่อสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง

"NKS เป็นฟังก์ชั่นที่เราจะเจาะตลาดครอบครัวเนื่องจากการร้องคาราโอเกะเป็นไลฟ์สไตล์ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือคนแก่ การเจาะตลาด Home Entertainmentโดยโฟกัสไปที่เซกเมนต์คาราโอเกะซึ่งถือเป็นตลาดที่กว้างแม้บางคนจะไม่ได้ซื้อใช้เองแต่ก็มีอิทธิพลในการส่งต่อหรือแนะนำให้คนอื่นใช้ตาม" ฉันท์ชาย พันธุฟัก ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ แอลจีมิตร อีเลคทรอนิคส์ กล่าว

แอลจีตั้งเป้าว่าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดเครื่องได้จาก 10% เป็น 12% ในปีนี้ โดยปัจจุบันผู้นำตลาดเครื่องเสียงคือโซนี่มีส่วนแบ่งการตลาด 27% ตามด้วยไพโอเนียร์ 11%

นอกจากการทำกิจกรรมไปสู่ผู้บริโภคแล้ว แอลจียังมีแผนที่จะพัฒนาร้านค้ารูปแบบใหม่ ซึ่งจะมีร้านที่เป็นของดีลเลอร์และร้านที่เป็นของบริษัทเอง รวม 100 สาขาเพื่อเป็นต้นแบบในการทำตลาดสินค้าไฮเอนด์ พร้อมกับตั้งเป้าว่ารายได้กว่า 60% ของร้านค้ารูปแบบใหม่ทั้ง 100 แห่งจะมาจากสินค้าไฮเอนด์ โดยบริษัทพยายามที่จะปรับเปลี่ยนสัดส่วนสินค้ารุ่นใหม่ๆที่เป็นไฟติ้งโมเดลจาก 70% ให้เหลือ 30% ส่วนสินค้าไฮเอนด์ก็จะปรับเป็น 70% จากเดิมที่มีอยู่ 30% เท่านั้น เนื่องจากสินค้าไฮเอนด์มีศักยภาพในการสร้างกำไรได้มากกว่าสินค้าปกติถึง 30%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us