Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 กุมภาพันธ์ 2549
ATC ควบรวม RRC ลั่นขอเป็นยักษ์คุมราคาปิโตรเคมีโลก!             
 

 
Charts & Figures

ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์เปรียบเทียบกับการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆระหว่างปี 2541-2547


   
www resources

โฮมเพจ อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย)

   
search resources

อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย), บมจ.
Chemicals and Plastics
เพิ่มศักดิ์ ชีวาวัฒนานนท์




ATCเดินหน้าควบรวมโรงกลั่นระยอง กำหนด 4กลยุทธฺในการบริหาร จัดการ ทั้งเพิ่มกำลังผลิต ขยายกิจการ ลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพลงทุนในธุรกิจต้นน้ำ หวังปั้นATCขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่กำหนดราคาปิโตรเคมีในตลาดโลกภายใน 3 ปี

ในช่วงปี2547 มีความต้องการใช้ปิโตรเคมีในตลาดโลกเป็นอย่างมาก ทำให้ราคาปิโตรเคมีทะลุขึ้นไปกว่า 1,200 ดอลล่าร์สหรัฐ/ตัน บริษัทปิโตรเคมีในประเทศไทยต่างอยู่ในภาวะขาขึ้น แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาราคาปิโตรเคมีก็อยู่ในภาวะทรงตัวมาตลอด แต่ละบริษัทต่างพากันปรับตัวปรับกลยุทธ์เพื่อให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

บริษัทอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ATC หนึ่งในกลุ่มธุรกิจในเครือปตท. ปัจจุบันกำลังปรับกลยุทธในองค์กร 4 กลยุทธ์ 1.เตรียมควบรวมเพื่อเพิ่มรายได้ 2.เพิ่มกำลังการผลิตจากโรงงานอะโรเมติกส์ 2 3.เพิ่มมูลค่าสินเบนซีนทำให้ราคาเบนซีนสูงขึ้น และ 4 . กระโดดลงมาทำปิโตรเคมีครบวงจร เพี่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำหนดราคาตลาดปิโตรเคมีในตลาดภูมิภาคให้ได้ภายใน 3 ปี

ควบรวม RRC เพิ่มรายได้

เพิ่มศักดิ์ ชีวาวัฒนานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อะโรเมติกส์ฯ กล่าวถึงภาพรวมของบริษัทใน 3 ปีข้างหน้าว่า บริษัทอะโรเมติกส์ นั้นมีสินค้าหลักอยู่ 2 ตัว คือ พาราราโซลีนและเบนซีน โดยคาดว่า สเปรดของสินค้าทั้งสองชนิดนี้ จะมีสเปรดอยู่ที่ 400 และ 460 สำหรับเบนซีน ซึ่งจะมีแนวโน้มอยู่เช่นนี้ต่อไป อีกทั้งเบนซีนจะมีราคาผันผวนมากที่สุด เพราะอิงอยู่กับราคาน้ำมันโลกที่มีอัตราเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตามบริษัทอะโรเมติกส์ฯคาดว่าจะมีรายได้เข้ามา และจะเพิ่มขึ้นกว่า แสนล้านบาทภายใน 3 ปี จากฐานเดิมในปี 2548 รายได้อยู่ที่ 62,000 ล้านบาท คาดว่าในปี 2549 รายได้จะอยู่ที่ 72,000 ล้านบาท ซึ่งการประมาณการรายได้เกิดขึ้นจากแผนงานในการควบรวมกิจการระหว่าง ATC กับบริษัท ที่กำลังเป็นทางเลือกอยู่ด้วยกัน 3 บริษัท ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะเป็นการควบรวมกับโรงกลั่นระยอง (RRC)โดยการควบรวมกิจการจะมีทิศทางชัดเจนหลังจากวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ไปแล้ว

นอกจากนี้จะได้มาจากการขยายกำลังผลิตของโรงงานอะโรเมติกส์ 2 และการสร้างโรงงานไซโคลเฮกเซน รวมไปถึงการลดต้นทุนการผลิตอันเกิดจากการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่มีการนำเข้ามาใหม่มูลค่ากว่า 60 ล้านบาท

"เราไม่ได้คิดเพียงแค่นั้น สิ่งที่ทางอะโรเมติกส์มองก็คือ การเพิ่มรายได้จากทางอื่นด้วย เช่นการนำผลผลิตบายโพรดักส์มาใช้ให้เกิดประโยชน์" ยุทธวิธีดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้ ATC สามารถเป็นผู้กำหนดราคาปิโตรเคมีในตลาดโลกเหมือนกับอินเดียๆได้ภายใน 3 ปี

2 บริษัทควบรวม Win-Win

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ATC บอกอีกว่า ต้องการให้เกิดการควบรวมกับบริษัทโรงกลั่นระยอง เพราะ จะเกิดผลประโยชน์ให้กับบริษัทอะโรเมติกส์อย่างมาก เช่นในด้านการใช้ผลผลิตบายโพรดักส์ของทั้งสองฝ่ายให้เกิดประโยชน์ เช่น consendate ของบริษัทอะโรเมติกส์สามารถขายเป็นวัตถุดิบ ดีเซล โดยการต่อท่อจากบ.อะโรเมติกส์ไปที่บริษัทโรงกลั่นระยองได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องเสียค่าขนส่ง และบริษัท อะโรเมติกส์เองนั้น มีไฮโดรเจนเหลือจากการผลิตซึ่งสามารถขายให้กับ โรงกลั่นระยองเพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงได้ สามารถต่อทอส่งไฮโดรเจนจากบริษัทอะโรเมติกส์ไปสู่บริษัทโรงกลั่นระยองได้อย่างสะดวกสบาย อีกทั้งเรื่องลดต้นทุนการผลิต ที่ทางบ.อะโรเมติกส์สามารถเข้าไปใช้แทงก์เก็บสารเคมีของโรงกลั่นระยองที่อยู่บริเวณท่าเรือมาบตาพุดได้ ซึ่งจะเพิ่มจุดแข็งให้กับทาง บ. อะโรเมติกส์ที่มีระบบขนส่งทางท่ออยู่แล้ว

สร้างโรงงานเพิ่มมูลค่าเบนซีน

อย่างไรก็ดี บ.อะโรเมติกส์ยังมีโครงการไซโคลเฮกเซน มูลค่า 200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อเข้ามาลดความผันผวนของราคาเบนซีนที่ผันผวนราคาตามราคาน้ำมัน อีกทั้งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเบนซีนด้วย การทำสไตรีนโมโนเมอร์ หรือ SM ที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิต 140,000 ตัน / ปี ซึ่งตั้งเป้าจะนำรายได้มาสู่บริษัท 400 ล้านบาท / ปี จะสามารถเปิดทำการผลิตได้ในไตรมาส 2 ปี 2549 นี้

นอกจากนั้นการที่ เพิ่มศักดิ์มองว่านำเบนซีนมาเข้ากระบวนการผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ เป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับเบนซีนแล้ว ยังเป็นการเพิ่มราคาเบนซีนอีกด้วย อันเนื่องมาจาก เบนซีน 30% ของ บ.อะโรเมติกส์นั้นจัดการส่งออก ดังนั้นเมื่อ บ.อะโรเมติกส์ส่งเบนซีน 140,000 ตัน ไปเข้ากระบวนการไซโครเฮกเซน เพื่อมาเป็น สไตรีนโมโนเมอร์แล้วนั้น คาดว่า ราคาเบนซีนน่าจะสูงขึ้นได้ ตามกฎอุปสงค์อุปทาน เพราะปริมาณเบนซีนจะหายไปจากตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กว่า 30% ของจำนวนที่เคยส่ง

ทั้งนี้ในตลาดพาราไซลีนนั้น เพิ่มศักดิ์มองว่า บ.อะโรเมติกส์จะไม่ได้รับผลกระทบเพราะขณะนี้ ทาง บ.ขายพาราไซลีนเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น และคาดว่าถ้ามีการเกิดโครงการเมกะโปรเจ็กท์ในปลายปีนี้ จะมีการกระตุ้นการใช้จ่าย ทำให้สินค้าอุปโภคขายได้มากขึ้น และพาราไซลีนจะได้อานิสงฆ์ไปด้วย นอกจากนั้น ผลผลิตในโรงงาน อะโรเมติกส์ 2 นั้นก็จะ สร้างรายได้ให้กับ บ. อะโรเมติกส์เข้ามากว่า 60,000 ล้านบาท จากการผลิตพาราเซลีนเซีลีนที่จะเพิ่มขึ้น

บำรุงรักษาโรงงานเพิ่มผลผลิต

เพิ่มศักดิ์ อธิบายถึง การสร้างรายได้ที่เกิดจากการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาว่า ในไตรมาสที่ 2 นี้จะมีการปิดโรงงานเพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักร ซึ่งทางบ.อะโรแมติกส์ได้นำ เครื่องจักร พาแลกซ์ ซึ่งมีมูลค่า 60 ล้านบาท เข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิม ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพาราไซลีน ได้ถึง 10% หรือกว่า 40,000 ตัน / ปี จากอัตราส่วนวัตถุดิบเท่าเดิม แต่ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตจะถูกลงไปด้วย จากเดิมต้นทุนการผลิตอยุ่ที่ 450 เหรียณสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ 445 เหรีญฐสหรัฐ/ตัน

ขณะเดียวกันภาวะการแข่งขันของบ. อะโรเมติกส์ เกือบจะไม่มี เพราะผลิตภัณฑ์หลักทั้ง 2 อย่างต่างมีลูกค้ารองรับทั้งหมด สำหรับบริษัทอะโรเมติกส์ในภูมิภาคที่ทำธุรกิจคล้ายกันอย่างมาเลเซีย และอินโดนีเซียนั้น ก็ไม่ใช่คู่แข่งทางการค้า เพราะแต่ละประเทศก็ผลิตป้อนความต้องการของประเทศตน ส่วนอินโดนีเซียเริ่มมีการเพิ่มกำลังการผลิตแล้วเช่นกัน แต่ เพิ่มศักดิ์ มองว่า ทาง บ.อะโรเมติกส์ คงจะไม่ได้รับผลกระทบ จากการเพิ่มกำลังการผลิตของอินโดนีเซียนัก

รุกสินค้าปลายน้ำใน 3 ปี

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ATC บอกอีกว่า ได้กำหนดแผนธุรกิจใน 3 ปีข้างหน้า โดยตั้งเป้าเข้าสู่ธุรกิจปลายน้ำมากยิ่งขึ้น เพราะขณะนี้ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญทั้งหมดจะเน้นที่กลางน้ำ เพราะสามารถขยายไปสู่การผลิตได้หลากหลาย อย่างไรก็ตามการเข้าไปสู่ปลายน้ำ ก็สามารถนำรายได้เข้ามาสู่บริษัทมากขึ้น เพราะ บริษัท ได้เข้าไปถือหุ้นในอุตสาหกรรมปลายน้ำบางส่วนที่บริษัทสามารถต่อยอดทำผลิตภัณฑ์ปลายน้ำได้ โดยขณะนี้บริษัทกำลังดำเนินการโครงการคิวมีน ฟีนอล ซึ่งสามารถจะนำไปสู่ธุรกิจปลายน้ำได้ ทั้ง ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แผ่นพลาสติกในอุตสาหกรรมก่อสร้าง คอมแพกดิสก์ กระจกนิรภัย และชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ โดยแผนอันใกล้นี้บริษัทกำลังศึกษาอยู่ การทำ ผงซักฟอก ซึ่งสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตอนนี้ต่อยอดได้ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งไม่ต้องใช้ Know how มากนัก

"ด้วยกลยุทธ์และแผนงานที่วางไว้เราหวังว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำหนดราคาปิโตรเคมีในภูมิภาคได้ภายใน 3 ปี ขณะนี้เรามีการปรับเปลี่ยนหลายอย่างให้เป็นธุรกิจที่ครบวงจรจากที่เคยทำกลางน้ำอย่างเดียวก็จะก้าวมาทำปลายน้ำมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เสริมจุดแข็ง อย่างระบบ Logistic ให้ดียิ่งขึ้น " เพิ่มศักดิ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us