|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไทยประกันชีวิต หนุนโรงพยาบาลเครือข่าย เข้าโครงการ "เพื่อนคุณภาพ"ยกชั้นเป็นโรงพยาบาลคุณภาพมาตรฐาน Hospital Accreditation (HA) เลี่ยงปัญหาคนไข้ฟ้องร้องหมอ พร้อมดึงคนเข้าระบบประกันชีวิตมากขึ้น
โครงการดังกล่าว ถือเป็นตัวกระตุ้นให้โรงพยาบาลมีชื่อหลายแห่งหันมาปรับ เปลี่ยนตัวเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ลูกค้าหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประกันสังคม ลูกค้าทั่วไปและกลุ่มลูกค้าทำประกันชีวิตที่ต้องใช้บริการกับโรงพยาบาลเครือข่ายของธุรกิจประกันชีวิต
ส่วนสำคัญคือ ที่ผ่านมาโรงพยาบาลแต่ละแห่งมักไม่มีมาตรฐานเดียวกันในการกำหนดการให้บริการและราคาสำหรับคนไข้ในกลุ่มผู้เอาประกันชีวิต ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งเลือกที่จะคิดราคาเอากับลูกค้าตามอำเภอใจ ในขณะที่ธุรกิจประกันชีวิตที่ลูกค้าซื้อประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพก็ทำอะไรไม่ได้
ปัญหาคือ เบี้ยที่เก็บกับลูกค้าคงที่ ขณะที่ค่ารักษาพยาบาลกลับเพิ่มขึ้นทุกปี ผ่านไป 4-5 ปี ค่ารักษาพยาบาลก็เริ่มจะคุมไม่อยู่ ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลประโยชน์ของลูกค้าใหม่ ขณะที่แบบประกันแต่ละแบบมักจะให้สิทธิลูกค้าใช้ค่ารักษาพยาบาลเต็มที่หรือหลักแสน
ว่ากันว่า โรงพยาบาลมักมีความไม่แน่นอนสูง คนไข้โรคเดียวกัน หมอตรวจไข้คนเดียวกัน แต่มาตรฐานการรักษาพยาบาลกลับต่างกัน
อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยประกันชีวิต บอกว่า โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัทกับสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลเครือข่าย "ไทยประกันชีวิต เมดิแคร์" พัฒนามาตรฐานการบริการทางการแพทย์
โดยโรงพยาบาลที่ผ่านมาตรฐานการพัฒนารับรองคุณภาพโรงพยาบาลหรือ(HA) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล ก็จะส่งผลให้ผู้เอาประกันชีวิตได้รับบริการมาตรฐานเดียวกัน
ปัจจุบันมีโรงพยาบาลในระบบ 1,300 แห่ง สมัครเข้าระบบดังกล่าว 1,200 แห่ง ผ่านขั้นตอนแรก 700 แห่ง ผ่านขั้นตอนที่ 2 300 แห่ง ได้ขึ้นป้าย HA เพียง 139 แห่ง และกำลังจะติดป้าย HA อีก 57 แห่ง
มาตรฐาน HA ถือเป็นมาตรฐานสากลระดับโลก โดยโรงพยาบาลที่ได้รับการขึ้นป้ายจะมีวาระเพียง 2 ปีจากนั้นก็ต้องตรวจสอบคุณภาพกันใหม่อีกครั้ง
ทั้งนี้โรงพยาบาลที่ผ่านระบบคุณภาพมาตรฐาน HA จึงต้องใช้เงินลงทุนในตัวตึกอาคาร เครื่องไม้ เครื่องมือแพทย์ค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าโรงพยาบาลใดผ่านมาตรฐานนี้ได้ก็มีโอกาสได้รับลูกค้าประกันชีวิตจากธุรกิจประกันชีวิต รวมถึงลูกค้าในกลุ่มประกันสังคมด้วย
โรงพยาบาลก็จะมีคนไข้หรือลูกค้าเพิ่มเข้ามามากขึ้นต่อเดือน รายได้โรงพยาบาลก็จะเพิ่มเป็นเงาตามตัว โรงพยาบาลบางแห่งถึงกับลงทุนเพื่อให้ได้มาตรฐาน HA พร้อมกับเพิ่มเป็นโรงพยาบาลเครือข่ายของธุรกิจประกันชีวิตมากรายขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาคนไข้ฟ้องร้องแพทย์ผู้ทำการรักษาที่ยังคงมีอยู่ไม่ขาดสาย ทำให้ประกันภัยหลายแห่งต้องปรับราคาเบี้ยเพิ่มขึ้น เพราะแพทย์ส่วนใหญ่มีการทำประกันวิชาชีพ เมื่อหมอถูกฟ้อง ก็จะมาฟ้องเอากับประกันภัย ประกันภัยก็ต้องปรับเบี้ยเพิ่ม
" ถ้าโรงพยาบาลควบคุมการรั่วไหลหรือการสูญเสียได้ดีขึ้น ราคาเบี้ยก็คงไม่ปรับขึ้น ฉะนั้นก่อนปรับหรือเปลี่ยนแปลงราคาก็ต้องแก้ไขจุดอ่อนของโรงพยาบาลก่อน
อภิรักษ์บอกว่า ธุรกิจประกันชีวิตไม่มีอำนาจหรือควบคุมให้โรงพยาบาลเครือข่ายยกระดับมาตรฐานการให้บริการ แต่โครงการดังกล่าวจะถือเป็นตัวกระตุ้นให้โรงพยาบาลเครือข่ายเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้มาตรฐานเท่าเทียมกันหมด
อย่างไรก็ตาม ในมุมของธุรกิจประกันชีวิต ถ้ามาตรฐานโรงพยาบาลดีขึ้น ลูกค้าก็จะชักจูงเพื่อนฝูงหรือญาติมาใช้บริการ และทำประกันชีวิตกับบริษัทเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อลูกค้าพอใจ สินค้าหรือกรมธรรม์ก็ขายง่าย ตลาดก็ขยายตัว พร้อมกับลดต้นทุนให้น้อยลง
|
|
|
|
|