Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 กุมภาพันธ์ 2549
SCIBโยนขายหุ้นแบงก์ กองทุนฟื้นฟูฯตัดสินใจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
Banking and Finance




นครหลวงไทย แจ้งต่างชาติเข้าซื้อหุ้นติดอุปสรรคเพดาน 25 % ยันการตัดสินใจ ขายหุ้นแบงก์ขึ้นอยู่กับกองทุนฟื้นฟูฯพิจารณาอนุมัติ เพราะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กว่า 47% ด้านกรุงศรีอยุธยา ย้ำกลุ่มรัตนรักษ์ รักษาสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่อยู่ ไม่มีนโยบายที่ขายหุ้นให้ต่างชาติ

นายอรุณ จิรชวาลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนคร หลวงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผย ว่า การที่พันธมิตรต่างชาติต้องการ เข้ามาถือหุ้นในธนาคารยังติดอุปสรรคบางประการ คือ เพดานการถือหุ้นของต่างชาติที่กำหนดไว้ 25% ซึ่งขณะนี้เต็มเพดานแล้วรวมทั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 47.58% ยังไม่มีนโยบายที่จะขายหุ้นให้ต่างชาติ และธนาคารเองก็ไม่มีแผนที่จะออกหุ้นเพิ่มทุนในขณะนี้

ทั้งนี้ การที่กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีนโยบายขายหุ้นให้ต่างชาติอาจเป็นเพราะมองว่ายังมีวิธีอื่นที่ต่างชาติจะเข้ามาถือหุ้นในธนาคารได้ เช่น ในอนาคตกองทุนฟื้นฟูฯ อาจนำหุ้นออกขายให้แก่ประชาชนทั่วไป หรือออกเป็นใบสำคัญแสดง สิทธิ์ แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์) แล้วผู้ถืออาจนำหุ้นหรือวอร์แรนต์ซื้อขายเปลี่ยนมือให้กับต่างชาติผ่านตลาดหุ้น แต่การซื้อขายดังกล่าวต่างชาติที่จะเข้ามาจะเป็นผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียง (NVDR)

ปัจจุบันเริ่มมีชาวไทยมาเจรจาเป็นพันธมิตรแล้วหลายราย โดยปัจจุบันธนาคารเป็นธนาคารขนาดกลาง หากพันธมิตรเข้ามาก็จะทำให้ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศมีการพัฒนาขึ้น แต่ถ้าหากเป็นต่างชาติก็จะมีประสบการณ์มากกว่า

สำหรับการที่ธนาคารได้เข้าไปถือหุ้นในราชธานีลิสซิ่งว่าเป็นการเข้าร่วมมือทางธุรกิจ โดยปัจจุบันธนาคารเข้าไปถือกว่า 20% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ธนาคารพอใจ ส่วนในอนาคตจะซื้อเพิ่มหรือไม่ต้องศึกษาต่อไป ทั้งนี้การเข้าไปถือหุ้นในราชธานีลิสซิ่งจะทำให้ธนาคารมีธุรกิจให้บริการอย่างครบถ้วน อีกทั้งไม่ต้องเริ่มต้นธุรกิจเอง จึงจะสามารถรับรู้รายได้ทันที เนื่องจากราชธานีลิสซิ่งมีผลประกอบการที่ดีอยู่แล้ว กรุงศรีอยุธยายันกลุ่มรัตนรักษ์ไม่ลดสัดส่วนถือหุ้น

นางชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีสื่อมวลชนหลายฉบับได้เสนอข่าวที่มีประเด็นเกี่ยวกับการที่มีต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาถือหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาเพิ่มขึ้น พร้อมได้อ้างถึงสัดส่วนในการถือหุ้นของนายกฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ว่ามีจำนวนถึง 43% นั้น ธนาคารขอเรียนชี้แจงว่ากลุ่มนายกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ประมาณ 36% พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการขายหุ้นเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นลงแน่นอน

แหล่งข่าวจากธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า กระแสข่าวของบริษัท จีอีมันนี่ ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน จะเข้ามาซื้อกิจการ หรือถือหุ้นใหญ่ในธนาคารแทนกลุ่มรัตนรักษ์ ขณะนี้เท่าที่ทราบได้มีการคุยในระดับผู้บริหารระดับสูงและกลุ่มรัตนรักษ์โดยตรง ซึ่งยังไม่ได้มีข้อสรุปหรือข้อตกลงใดๆ ออกมา เป็นเพียงการเจรจาระหว่างกลุ่มบุคคลโดยยังไม่ต้องใช้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินหารือกัน ทั้งสองฝ่ายต่างมีความเห็นในแนวเดียวกันว่าธุรกิจของธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันที่สูง ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและจีอีมันนี่ได้มีธนาคารจีอีรายย่อยที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยจำเป็นต้องหาคู่เป็นพันธมิตรเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้

ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีนโยบายที่จะลงมาจับกลุ่มลูกค้ารายย่อย 2-3 ปีที่ผ่านมา และนับว่าประสบความสำเร็จ ลูกค้าของธนาคารเริ่มปรับเปลี่ยนเป็น Young Generation รวมทั้งผู้ที่เริ่มต้นการทำงานใหม่ๆ ในขณะเดียวกันธนาคารจีอีมันนี่ถือเป็นธนาคารที่ได้ใบอนุญาตใน การประกอบธุรกิจใหม่ๆ ฐานลูกค้าของธนาคาร ยังมีน้อยและจำกัดอยู่ในวงแคบๆ

ดังนั้น ทั้งคู่จึงเจรจาเพื่อนำจุดแข็งของแต่ละแห่งเข้ามาเสริม และปิดช่องว่างของแต่ละแห่งในการให้บริการหมดไป เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยาต้องการที่จะได้เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์รายย่อยใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ในขณะที่ ธนาคารจีอีรายย่อยก็ต้องการเครือข่ายและฐานลูกค้าของธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่มีอยู่สูง

ดังนั้น กระแสข่าวของทั้งสองแห่งน่าจะเป็นในลักษณะของการควบรวมกิจการ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งมากกว่าที่จะเข้ามาฮุบกิจการ หรือเข้ามาซื้อหุ้นกลุ่มรัตนรักษ์เพื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นแบงก์ต่างชาติ อย่างไรก็ตามการเจรจาหรือข้อสรุปดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าภายในเดือนมีนาคมอาจจะมีแนวทางหรือข้อสรุปกว้างๆ เพื่อให้ฝ่ายปฏิบัติทั้งในเรื่องของการเจรจา การจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดูรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us