Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540
"คาร์ฟูร์" บุกเต็มกำลัง ชิงส่วนแบ่งตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต"             
 


   
search resources

เซ็นคาร์, บจก. - carrefour
Retail




ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าที่มีการรวมส่วนของความเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าประเภทฮาร์ดกู๊ด และพวกเสื้อผ้าเข้าด้วยกัน

ไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นธุรกิจที่มีผู้เชี่ยวชาญกำหนดไว้ว่า มักจะเปิดดำเนินการอยู่ตามเมืองซึ่งกำลังขยายตัว และจำนวนของผู้มีรถยนต์ส่วนตัวเพิ่มขึ้น โดยเน้นระบบการบริโภคแบบมหาชน

ระบบบริโภคแบบมหาชนเริ่มเข้าสู่ตลาดเมืองไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ซึ่งในยุคแรก ๆ ที่เข้ามาก็ต้องลงทุนเข้าเนื้อไปหลายรายกว่าจะได้รับความนิยมจากผู้บริโภค บางรายเคยประสบความสำเร็จสุดยอดจนมีส่วนแบ่งนำลิ่ว

แต่ไม่ว่าจะเป็นรายไหน ๆ ถึงวันนี้ก็คงอยู่เฉยกันไม่ได้อีกต่อไปเมื่อไฮเปอร์มาร์เก็ต มีคู่แข่งเพิ่มเข้ามาอีกหลายราย ทั้งกลุ่มนักลงทุนที่เป็นคนไทยและกลุ่มนักลงทุนจากต่างประเทศ ล่าสุดสำหรับคู่แข่งใหม่ในวงการ 2 ราย ที่เข้ามาในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน นอกจากจะแข่งกันมาจากฝรั่งเศสที่เดียวกันแล้ว "คาร์ฟูร์" และ "โอชอง" สองยี่ห้อผู้ทำธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ต ก็เริ่มเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งธุรกิจเหล่านี้ไปได้บ้างแล้ว ด้วยคอนเซปต์ที่เหมือนกันของทั้งสองคือ "เน้นขายสินค้าที่ถูกที่สุด"

ทั้งนี้ แม้ว่าทั้งสองรายจะมาจากประเทศเดียวกัน และมีคอนเซปต์เหมือนกัน แต่ก็มีความต่างกันอยู่เล็กน้อย ตรงที่สำหรับที่โอชองแล้ว ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ออกมาลงทุนนอกประเทศ

สำหรับคาร์ฟูร์ ซึ่งดูจะมีบทบาทมากกว่าโอชอง ซึ่งอยู่ระหว่างรอเปิดสาขาในไทยขณะนี้ ถือได้ว่าเป็นคู่แข่งของไฮเปอร์มาร์เก็ตที่น่ากลัวอยู่มาก เพราะประสบการณ์ที่คร่ำหวอดของคาร์ฟูร์ ทั้งในฝรั่งเศสและในต่างประเทศ ที่มีอยู่ทุก ๆ ทวีป ไม่ว่าจะเป็นที่มาเลเซีย หรือสิงคโปร์เพื่อนบ้านของไทย ก่อนจะมารุกลงทุนในไทย

คาร์ฟูร์เปิดสาขาแรกในปี ค.ศ. 1963 ที่เมืองแซ็งต์ เจอร์นีแอ็ฟ เดอ บัวส์ ชานเมืองปารีส มีพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ในปี ค.ศ. 1970 คาร์ฟูร์มีจำนวนสาขาที่เปิดไปแล้วทั้งสิ้น 7 แห่ง และจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 1972 เปิดสาขาที่เมืองตูลูส ซึ่งเป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ถึง 24,000 ตารางเมตร และในปี 1985 คาร์ฟูร์เริ่มผลิตสินค้าตรา คาร์ฟูร์ ออกสู่ตลาด

ในปี 1992 คาร์ฟูร์ ได้เป็นผู้นำของวงการค้าปลีกของฝรั่งเศส ด้วยการมีสาขาจำนวน 120 สาขา และมีรายได้ต่อปีเป็นจำนวน 17 พันล้านเหรียญสหรัฐ

คาร์ฟูร์ก้าวสู่ระดับนานาชาติในปี 1970 ด้วยการเปิดสาขาที่สเปน เป็นการเปิดตัวนอกฝรั่งเศสครั้งแรก รวมถึงประมาณกลางปี 2540 คาร์ฟูร์ขยายไปเปิดสาขาต่างประเทศรวม 162 สาขา

สำหรับสาขาในประเทศไทย ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2540 เปิดสาขาที่ 5 ที่รังสิต เน้นให้บริการประชาชนที่อาศัยด้านทิศเหนือของกรุงเทพฯ ซึ่งมีจำนวนผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านเก่า และที่เกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก

ในวันที่ 20 มิถุนายน 2540 เปิดสาขาที่ 4 ที่ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ให้บริการประชาชน 220,000 คน พื้นที่รวม 19 ไร่เศษ พื้นที่ขาย 10,500 ตางรางเมตร จำนวนช่องชำระเงิน 50 ช่อง ที่จอดรถ 800 คัน

"ลูกค้าในบริเวณย่านถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรีจะสามารถหาซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคได้ครบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกระป๋อง อาหารสด ฮาร์ดแวร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเสื้อผ้าในราคาถูกที่สุด สำหรับในปี 2540 คาร์ฟูร์วางแผนที่จะเปิดอีก 1 สาขา และคาดว่าจะเปิดได้ครบ 10 สาขาในสิ้นปี 2541" ผู้บริหารคาร์ฟูร์ กล่าว

คาร์ฟูร์ไฮเปอร์มาร์เก็ตสาขาแรกในประเทศไทยคือ สาขาสุขาภิบาล 3 มีเนื้อที่ 25 ไร่ พื้นที่ขาย 7,500 ตารางเมตร เปิดบริการเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2539 สาขาที่สองที่ถนนศรีนครินทร์ สาขาที่สามที่ถนนสุวินทวงศ์

กลยุทธ์เด็ดของคาร์ฟูร์ ในเรื่องของสินค้า ที่ยืนยันว่าต้องถูกที่สุดในบรรดากลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตทุกแห่ง โดยรับประกันการคืนเงินให้กับลูกค้าที่นำสินค้ามาคืน ถ้าพบว่าสินค้าที่อื่นถูกกว่าในช่วงเวลาเดียวกัน

กลยุทธ์ดังกล่าวได้ความคิดในการบริหารที่สามารถขายสินค้าได้ถูกจากความคิดของนายเบอร์นาร์ด ทรูอิลโล ในการสัมมนาการค้าปลีกที่อเมริกา ในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งเชื่อว่าลูกค้ายินดีที่จะต้องเดินทางไกลออกไปอีกนิดเพื่อซื้อสินค้าที่มีราคาเหมาะสม

ดังนั้นเขาจึงแนะนำว่าควรลดราคาขายให้ต่ำลงมาเพื่อเป็นการเพิ่มยอดขาย ซึ่งเท่ากับเป็นการทำให้ร้านนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่งเทอมของการจัดซื้อจากซัปพลายเออร์ดีขึ้น

รวมทั้งการจัดหาสินค้าตรงจากผู้ผลิตให้ได้มากที่สุด คือเท่ากับตัดตอนระบบการกระจายสินค้าลง โดยทรูฮิลโลได้แนะนำว่าการลดต้นทุนทำได้โดยการให้บริการขายแบบช่วยตัวเอง โดยจัดให้มีรถเข็นสินค้าจำนวนมากพอเพียงแก่ลูกค้า ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทั้งห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต ใช้กันอย่างเป็นปกติในปัจจุบัน

คาร์ฟูร์เองก็ได้ดำเนินงานตามคำแนะนำของทรูฮิลโลประกอบกับการดำเนินงานใน 4 วิธีที่ทำให้สินค้าขายดีที่สุด คือ ขายสินค้าถูก สอง-ปรัชญาของบริษัทต้องเน้นการขายสินค้าราคาถูกด้วย สาม-การลงทุนต้องไม่มากเกินไปและสี่-ค่าใช้จ่ายต้องไม่สูง

ทุกอย่างนำไปสู่จุดมุ่งหมายเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน และนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ทำให้สินค้ามีราคาถูกกว่าคู่แข่งได้

ห้างคาร์ฟูร์ ยังเน้นทำเลที่ตั้งซึ่งอยู่ท่ามกลางคู่แข่งที่มีอยู่เดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น ที่บางใหญ่ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยห้างบิ๊กซี บิ๊กคิงส์ หรือที่เชียงใหม่ซึ่งจะเปิดดำเนินงานคู่กับห้างโอชอง คู่แข่งจากภูมิลำเนาเดิม

ผู้บริหารของคาร์ฟูร์ยังเน้นเรื่องที่จอดรถให้สอดคล้องกับทำเลที่ตั้งของห้างคาร์ฟูร์ซึ่งเน้นทำเลแถบชานเมือง โดยมีความเชื่อว่าเมืองเจริญขึ้นและขยายตัว ผู้คนก็จะขยับขยายไปชานเมืองมากขึ้น ทำให้จำนวนผู้มีรถยนต์ส่วนตัวเพิ่มขึ้นเพื่อความสะดวกของตนเอง ผู้มีกำลังซื้อและอาศัยอยู่ในเขตชานเมือง ส่วนใหญ่จึงมีรถยนต์เป็นของตัวเองเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ห้างคาร์ฟูร์จะต้องอำนวยความสะดวกในเรื่องที่จอดรถ ซึ่งเน้นที่จอดรถแต่ละแห่งไม่ต่ำกว่า 1,000 คัน และเป็นที่จอดรถในร่ม เพื่อใช้เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการดึงลูกค้าจากห้างใกล้เคียง

ในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา ภายหลังจากที่ห้างคาร์ฟูร์เปิดบริการในเมืองไทย ด้วยคำร่ำลือเกี่ยวกับสินค้าราคาถูกที่ตรงใจผู้บริโภคทุกประเภทแล้ว สิ่งต่อไปที่ห้างคาร์ฟูร์จะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการขยายสาขา การจัดสัดส่วนปริมาณสินค้าระหว่างสินค้าประเภทอาหาร และไม่ใช่อาหารให้เหมาะสมและพอเหมาะกับผู้บริโภค ซึ่งแน่นอนต้องค่อยเป็นค่อยไปพร้อม ๆ กับการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละย่านที่ห้างคาร์ฟูร์ตั้งอยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us