Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 กุมภาพันธ์ 2549
ประกันฯขอเลื่อนFTA ผวาทุนต่างชาติกินรวบ             
 


   
search resources

Insurance
สมาคมประกันชีวิตไทย




สมาคมประกันชีวิตวอนไทยไม่พร้อมเปิดเสรีธุรกิจประกันกับสหรัฐอเมริกา หวั่นโดนบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติเขมือบ แถมยังอาจส่งผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายของประเทศ ขอเวลาปรับตัว 10 ปี

แหล่งข่าวจากสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในปัจจุบันธุรกิจประกันภัยมีเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบถึง 5-6 แสนล้านบาท หรือมีสัดส่วนคิดเป็น 2.2-2.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ การเร่งเปิดเขตเสรีการค้า (เอฟทีเอ) ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐฯ จะทำให้บริษัทประกันในประเทศมีความเสียเปรียบ โดยเฉพาะเรื่อง ของการลงทุน ซึ่งรายได้ประมาณ 90% จะนำไปลงทุน และมีลักษณะ การลงทุนแบบคงที่ ต่างกับบริษัทประกันต่างชาติที่มีลูกเล่น และรายละเอียดในการลงทุนที่หลากหลาย ซึ่งการลงทุนและผลิตภัณฑ์ บางอย่างกฎหมายประเทศไทยยังไม่ได้กำหนด ส่งผลให้บริษัทประ-กันภัยอาจเสียเปรียบต่างชาติได้

"หากมีการเปิดประตูเร็วเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากกว่าจะได้รับประโยชน์กลับคืนมา เพราะธุรกิจประกันภัย ถือว่ามีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งข้อกำหนดที่เขาระบุไว้บริษัทประกันภัยในประเทศเสียเปรียบบริษัทต่างชาติเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดหย่อนภาษี 5 หมื่นบาท สำหรับกรมธรรม์ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป ได้เหมือนกับบริษัทประกันภัยภายในประเทศ หรือกรณีที่บริษัทประกันภัยสามารถฟ้องร้องผู้กำกับดูแลได้ หากไม่ทำตามข้อกำหนดระยะเวลาสัญญา ซึ่งส่วนนี้ไม่เพียง แต่ในธุรกิจประกันภัยที่ได้รับผลกระทบอาจยังส่งผลต่อภาคอื่นๆ ของประเทศไทยด้วย"

นอกจากนี้ การขอเข้ามาทำธุรกิจประกันภัยในลักษณะสาขาจะมีสิทธิพิเศษมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการนำผลิตภัณฑ์ การลงทุน ที่หลากหลาย ที่ไม่มีกฎหมายรองรับทำให้ได้เปรียบบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยได้ รวมทั้งหากเกิดการแข่งขันที่รุนแรง บริษัทต่างประเทศจะได้เปรียบในด้านต้นทุนและเงินทุนที่มีจำนวนมาก และอาจส่งผลให้บริษัทขนาดเล็กเสียหายได้

นายสาระ ล่ำซำ เลขาธิการ สมาคมประกันชีวิตไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด กล่าวว่า ในยุคที่โลก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การทำเอฟทีเอเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และทางสมาคมประกันชีวิตไทยก็สนับสนุนโครงการของภาครัฐบาลด้วย แต่ด้านศักยภาพและความแข็งแกร่ง ทั้งเงินกองทุนและเงินสำรองของทั้ง 25 บริษัทประกันชีวิตก็มีความเพียงพออยู่แล้ว จึงควรมีการขยายระยะเวลาการทำเอฟทีเออย่างน้อย 10 ปี เพื่อให้บริษัทประกันชีวิตได้มีโอกาสเตรียมความพร้อมและสามารถปรับตัวได้

โดยบริษัทประกันภัยก็ควรมีการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านบริการ และผลิตภัณฑ์ควบคู่กับการสร้างความเข้าใจให้ประชาชนทั่วไปด้วย พร้อมทั้งควรมีการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะตัวแทนขาย ซึ่งปัจจุบันเป็นช่องทางหลักในการเสนอผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้าให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ หากมีการเปิดเสรีมากขึ้น คาดว่าจะมีการไหลออกของเงินตราต่างประเทศมากขึ้น เพราะบริษัทต่างชาติต่างส่งเงินให้กับบริษัทแม่ในต่างประเทศ เช่นในรูปเงินปันผลทำให้เม็ดเงินที่จะนำมาพัฒนาประเทศน้อยลง และบริษัทประกันของคนไทยโดยเฉพาะบริษัทที่มีขนาดเล็กจะดำเนินธุรกิจไปได้ค่อนข้างยาก เพราะมีการแข่งขันค่อนข้างสูง

"ประเด็นที่ภาครัฐควรนำไปเจรจา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับปรุงกฎเกณฑ์ในการแข่งขัน ทางการค้าให้เป็นธรรมระหว่างกัน และป้องกันการอุดหนุน กำหนดข้อจำกัดการโอนเงิน และมีการสงวนสิทธิ์มาตรการที่จะออกกฎในภายหลังได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์สินค้า มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วตามสภาพแวดล้อม แต่กฎเกณฑ์จะพัฒนาให้ไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งให้ คู่เจรจามีความเข้าใจและยอมรับว่าเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคมีปัญหาโดยมีการดึงเงินออกจากระบบอย่างรุนแรง และไม่มีเกณฑ์รองรับไว้ พร้อมทั้งควรสงวนสิทธิ์ที่ประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติที่ออกได้ล่วงหน้า และภาคเอกชนไม่มีสิทธิในการฟ้องร้องรัฐบาล และให้มีการคุ้มครองการลงทุนและข้อตกลงการบริหารระหว่างกัน"

คาดธุรกิจประกันโต 10% ต่อปี

นายสุทธิ รจิตรังสรรค์ กรรมการ สมาคมประกันชีวิตไทย และรองประธานอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัทอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ (AIA) กล่าวถึงแนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตในช่วงปี 2549-2554 ตามแผนแม่บท ประกันภัยแห่งชาติที่ได้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับอย่างต่อเนื่องทุกปี ด้วยจำนวนประชากรที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น 67.7 ล้านคน และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มถึง 8.5 ล้านล้านบาท โดยในปี 2554 คาดว่าจะมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 288 ล้านบาท หรือเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% เมื่อเทียบกับสัดส่วนของเบี้ยประกันภัยรับต่อจีดีพี อยู่ที่ 3.38% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีกำลังซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม

สำหรับจำนวนกรมธรรม์ในปี 2554 คาดว่าจะมีจำนวนกรมธรรม์ 17.8 ล้านกรมธรรม์ ซึ่งไม่รวมประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) และสมาชิกกลุ่ม แต่หากรวมจะมีจำนวนกรมธรรม์สูงถึง 20.6 ล้านกรมธรรม์ ทำให้ทุนประกันภัยเพิ่มเป็น 7.1 ล้านล้านบาท และส่งผลให้เงินสำรองประกันภัยเพิ่มขึ้นตามเป็น 1.5 ล้านล้านบาท จากเดิมในปี 2547 มีเงินสำรองประกันภัย 415 ล้านบาท อีกทั้งเงินกองทุนจะเพิ่มเป็น 139 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าธุรกิจประกันชีวิตยังคง มีความมั่นคงอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ สินทรัพย์ลงทุนจะเพิ่มขึ้นด้วยเป็น 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจสามารถนำไปลงทุนหาผลประโยชน์กลับคืนมาให้ลูกค้าตามที่ได้การันตีไว้

ตั้งองค์กรกลางพิจารณาข้อพิพาท

นอกจากนี้ ในอนาคตสมาคมประกันชีวิตไทย ยังแยกช่องทางการจัดจำหน่ายให้ได้มาตรฐานเดียวกันของแต่ละบริษัทประกันภัย และง่ายต่อการเก็บตัวเลขให้เหมือนกันทั้งระบบ โดยคาดว่าจะแยกเป็น 3 ช่องทางหลัก คือ กลุ่มแรกตัวแทนและนายหน้า กลุ่มที่สองแบงก์ แอสชัวรันส์ และช่องทางอื่นๆ อาทิ การขายประกันผ่านอินเตอร์เน็ต ร้านค้าสะดวกซื้อ และที่ทำการไปรษณีย์ พร้อมกันนี้ยังมีแนวคิดจะจัดตั้งหน่วยงานกลางหรือองค์กรมาพิจารณาตัดสินข้อพิพาทด้านประกันภัย (ไอดีอาร์โอ) เพื่อลดปัญหากรณีพิพาทระหว่างประชาชนและบริษัท ซึ่งขณะทั้งสองเรื่องอยู่ระหว่างพิจารณาของกรม การประกันภัย

นายอภิรักษ์ ไทพัฒนกุล นายกสมาคมประกันชีวิตไทย และกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตไทยในปี 2548 ที่ผ่านมา มีการขยายตัวพอสมควร แม้จะมีปัจจัยลบที่ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการเติบโตแบบชะลอตัว ประกอบกับในช่วงปลายปีผลิตภัณฑ์แบบไฮเซฟวิงและซิ่งเกอร์ พรีเมียม มีการถดถอยลง เนื่องจากรัฐบาลได้ออกพันธบัตรจำนวนมาก ซึ่งอัตราดอกเบี้ยก็จะอยู่ที่ 5% ด้านธนาคารพาณิชย์เองได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 3-5 ปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยก็อยู่ที่ระดับ 4-5% ทำให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทประกันภัยลดลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us