Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 กุมภาพันธ์ 2549
แผนแม่บทหุ้นเน้นแข็งแกร่ง เร่งเพิ่มพีอีเรโชบจ.-ฟรีโฟลต             
 


   
search resources

Investment




ประชุมแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 วางกรอบเน้น 7 แนวทางหลักสร้างความเข้มแข็งตลาดทุนทั้ง "ตราสาร ทุน-ตราสารหนี้-ตราสารอนุพันธ์" พร้อมเร่งเพิ่มพีอีเรโชให้ บจ. และเพิ่มฟรีโฟลต คาดพร้อมประกาศใช้ปลายเดือนนี้ "ก้องเกียรติ" หวังเพิ่มความแข็งแกร่งรองรับการเปิดเสรีภาคบริการทางการเงิน และการปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันจากต่างประเทศ "กิตติรัตน์"เผยแนว ทางการเปิดเสรีค่าคอม อาจจะแบ่งประเภทนักลงทุน หรือวอลุ่มแต่ต้องเท่าเทียมกัน

วานนี้ (1 ก.พ.) สภาธุรกิจตลาดทุนไทย พร้อมหน่วยงานภาครัฐร่วมเสนอแผนแม่บทพัฒนาตลาด ทุนไทย ฉบับที่ 2 สำหรับปี 2549-2553 โดยนายทนง พิทยะ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน โดยแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 มุ่งเน้น 7 แนวทางหลักสร้าง ความเข้มแข็งให้ตลาดทุนไทย พร้อม รับกระแสการเปลี่ยนแปลงในตลาดทุนโลก มุ่งสร้างเสถียรภาพของตลาด ทุนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในระยะยาว

นายทนง พิทยะกล่าวว่า รัฐบาลยังคงมุ่งเน้นพัฒนาตลาดทุนไทยให้ก้าวสู่ระดับสากล โดยมุ่งเน้นการยกระดับความสามารถ ของตลาดทุนไทยเพื่อให้สามารถสนับสนุนการระดมทุนและการทำหน้าที่ทางเลือกของการออมในมาตรฐานที่สูงขึ้น โดยไม่เน้นเพียงการเพิ่มมูลค่ารวมเท่านั้น แต่ยังมุ่งเพิ่มเสถียรภาพของราคา รวมทั้งการส่งเสริมให้มีระดับราคาและหรือมูลค่าที่สมบูรณ์ ทั้งนี้แนวทางหลักสำคัญ 7 ด้านของแผนแม่บทฉบับนี้ ครอบคลุมทุกตราสารทั้งในตลาดตราสารทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาด ตราสารอนุพันธ์และการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนทั้งบริษัทจดทะเบียน สถาบันตัวกลาง นักลงทุน

ตลอดจนหน่วยงานกำกับดูแลได้แก่ การมุ่งเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันในประเทศในตลาดตราสารทุนจาก 10% ในปัจจุบันให้เป็น 20% ร่วมทำงานกับบริษัทจดทะเบียนใน SET100 ที่มี P/E ต่ำกว่ามูลค่าจริงเพื่อเพิ่มมูลค่า P/E และการเพิ่มสัดส่วนการกระจายหุ้นขั้นต่ำ (free float) ทั้งกับบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET 100 และบริษัทจดทะเบียนที่ภาครัฐถือหุ้นใหญ่ และการมีมาตฐานที่สูงด้านบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนโดยให้สิทธิประโยชน์และสิ่งจูงใจ เป็นต้น

ด้านตลาดตราสารหนี้จะเร่งขยายขนาดของตลาดตราสารหนี้ให้ทัดเทียมกับตลาดเงิน และส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุนบุคคล การเริ่ม นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการและผู้ลงทุน เช่น ตราสารอนุพันธ์ การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์หรือ Securitization เป็นต้น

นอกจากนี้ จะเน้นการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการและเพิ่มความแข็งแกร่งของสถาบันตัวกลาง โดยให้สามารถประกอบธุรกรรมได้หลากหลายครบวงจร และมีขนาดของทุนที่เหมาะสม ก่อนการเปิดรับการแข่งขันจากผู้ประกอบการจากต่างประเทศ รวมทั้งการเตรียมเปิดเสรีค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์อย่างเป็นขั้นตอนโดยคำนึงถึงประเภท หรือขนาดของรายการเพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีการเตรียมความพร้อมและการปรับตัวได้ก่อนการเปิดเสรี และยังรวมถึงการสนับสนุน บรรษัทภิบาลที่ดีในมาตรฐานที่สูงแก่บริษัทจดทะเบียน และสร้างแรงจูงใจโดยให้สิทธิพิเศษ การขยายความรู้ด้านตลาดทุนและด้านการเงิน ให้ครอบคลุมทุกสถาบันการศึกษาทั่วประเทศภายในปี 2553
ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวถึงการจัดทำแผนแม่บทในครั้งนี้ว่า ผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนทั้งบริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการลงทุน ซึ่งเป็นสถาบันตัวกลาง นับเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้การพัฒนาตลาดทุนตามแผนแม่บทฉบับนี้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดทุนไทยกำลังเผชิญกับการเปิดเสรีภาคบริการ ทางการเงิน การปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันจากต่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ในฐานะเลขานุการสภา ธุรกิจตลาดทุนไทย ผู้นำเสนอแผนแม่บทในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ กล่าวว่า แผนแม่บทฉบับที่ 2 นี้ จะกำหนดทิศทางด้านเป้าหมาย และมาตรการสำคัญที่ระบุผู้รับผิดชอบ และกรอบเวลาในการดำเนินการอย่างสมบูรณ์ โดยแต่ละแนวทาง หลักจะมีหน่วยงานในตลาดทุนร่วมในการดำนินงานและผลักดันให้บรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทตลาดทุนไทยฉบับที่ 2 ซึ่งมีระยะ เวลาตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี 2553

"ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือเป็นภารกิจสำคัญที่จะประสานกับทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้แผนงานต่าง ๆ บรรลุเป้าหมาย และมั่นใจว่าการกำหนดเป้าหมายทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ สำหรับ แผนแม่บทฉบับนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อตลาดทุนและเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว"นายกิตติรัตน์กล่าว

นายกิตติรัตน์กล่าวอีกว่า หลังจากวันที่ 5 ม.ค. 50 การกำหนด อัตราขั้นต่ำในการซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ 0.25% จะหมดอายุลง ซึ่งคาดว่าหลังจากนั้นจะมีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชันอย่างเป็นขั้นตอน เช่น อาจกำหนดการเปิดเสรีกับนักลงทุนสถาบัน หรือนักลงทุนรายย่อยโดยแบ่งตามมูลค่าการซื้อขาย โดยขณะนี้ก็เหลือเวลาอีก 10 เดือน ซึ่งทางสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องก็จะต้องมีการหารือว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร โดยการดำเนินการก็ต้องให้ เท่าเทียมกันในกลุ่มนักลงทุน เพราะ ไม่ใช้ที่เท่าเทียมกัน ถ้าไม่เท่าเทียมกัน ก็ไม่มีใครยอมรับการเปิดเสรี

"หากไม่ครบเวลาการหมดเวลาค่าคอมมิชชัน ก็ยังไม่มีใครที่จะสนใจเรื่องการเปิดเสรี แต่หลังจากครบกำหนดแล้ว มั่นใจว่าจะมีการเปิดเสรีอย่างเป็นขั้นต้นแน่นอน"

นายกัมปนาท โลหะเจริญวนิช นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า หลังจากที่มีการร่วมเสนอแผนในครั้งนี้ จะมีการหารือเพื่อหาข้อสรุปในกลุ่มใหญ่อีกครั้ง ก่อนจะกลับมาสรุปกันในที่ประชุมใหญ่ และมีการพิจารณาร่างแผนฉบับที่ชัดเจนได้ภายในปลายเดือนก.พ.นี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us