|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทีโอทีเตรียมเปิดเกตเวย์ ต่างประเทศกุมภาพันธ์นี้ เล็งลูกค้ากลุ่ม ไอเอสพีรายย่อย คิดค่าใช้บริการต่ำกว่า กสท รับตลาดบรอดแบนด์ขยายตัว ผลจาก มติบอร์ดกทช. เปิดเกตเวย์เสรี พร้อมปรับโครงข่ายสู่ยุค Tripple Play ใช้เทคโนโลยี IPv6 รองรับเป้าลูกค้าบรอดแบนด์ 5 แสนรายในปี 49
นายจำรัส ตันตรีสุคนธ์ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ปฏิบัติงานสายงานโครงข่าย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ทีโอที จะเปิดให้บริการอินเตอร์เนชั่นแนลเกตเวย์ หรือวงจรเชื่อมต่อต่างประเทศ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) โทรศัพท์ทางไกล ระหว่างประเทศ โดยขณะนี้ ทีโอที อยู่ระหว่างหาลูกค้าเพื่อเข้ามาเช่าใช้ ซึ่งจะเป็นลูกค้าในกลุ่มของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) รายย่อย ซึ่งแพกเกจอัตราค่าบริการนั้น ในระหว่างนี้ยังไม่สามารถกำหนด ออกมาได้อย่างชัดเจน แต่คาดว่าค่าบริการมีอัตราถูกกว่าบริษัท กสทโทรคมนาคม ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ การที่ทีโอทีเปิดให้บริการอินเตอร์ เนชั่นแนลเกตเวย์ ทำให้มีการแข่งขันในบริการดังกล่าวมากขึ้นและนำไปสู่ค่าบริการ ที่ถูกลง เป็นการลดการผูกขาดให้บริการเพียงรายเดียวของ กสท อีกทั้งที่ผ่านมา กสท ไม่สามารถขยายจำนวนวงจรที่ให้บริการ (คาปาซิตี้) ได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดอินเทอร์เน็ตที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ประกอบกับเป็นผลมาจากการ ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ได้อนุมัติให้เปิดเสรีบริการวงจร เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ (International Internet Gateway) หรือเกตเวย์ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ ให้สามารถเปิดบริการได้อย่างเสรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2548
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับลูกค้าบรอดแบนด์ ของ ทีโอที ที่ในปัจจุบัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีผู้ใช้บริการ ประมาณ 2 แสนกว่าราย ทีโอที จึงได้มีการอัปเกรดโครงข่ายจากระบบ IPv4 ให้เป็น IPv6 เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานของ ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเดิมลูกค้าในเขต กทม. สามารถใช้ความเร็วสูงสุดที่ระดับความเร็ว 2.5 GB แต่ไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้งานของลูกค้า จึงขยายเป็น 10 GB ซึ่งจะรองรับลูกค้าได้ลูกค้าถึง 5 แสนราย
ส่วนในต่างจังหวัด ก็จะขยายไปอยู่ที่ระดับความเร็ว 2.5 GB จากเดิม 622 MB และทีโอทียังมีแผนพัฒนาโครงข่ายเป็นโครงข่าย Next Generation Network หรือ NGN เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต ทั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การรับส่งข้อมูล โทรศัพท์พื้นฐาน ที่มีความเร็วในการเชื่อมต่อ ได้อย่างรวดเร็วและการเติบโตของจำนวนผู้ใช้อย่างมหาศาล
โดยในปี 2549 บริษัทตั้งเป้าว่าจะมีลูกค้าบรอดแบนด์รวม 5 แสนราย โดยลูกค้า จะมีความต้องการใช้งานคอนเทนต์และแอปพลิเคชันเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การอัปเกรด เทคโนโลยีให้เป็น IPv6 จะสามารถรองรับการใช้งานภายใต้รูปแบบ Tripple Play ที่ใช้บริการมัลติมีเดีย สื่อสารข้อมูล และเสียงได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งในขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงข่าย และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 8 ปี
"ขณะนี้มีหลายประเทศกำลังเร่งปรับเปลี่ยนโครงข่าย โดย เกาหลี และ ญี่ปุ่นได้ประกาศตัวแล้วว่าเป็นโครงข่าย NGN เรียบร้อยแล้ว ซึ่งประเทศไทย มี ทีโอที เป็น รายแรก ที่ลงทุนอัปเกรดโครงข่ายและเป็นเทคโนโลยี IPv6" นายจำรัส กล่าว
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานบอร์ด ทีโอที กล่าวว่า ปัจจุบันจำนวนเลขหมายอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล(IP address) ที่มีอยู่ตามโครงข่าย IPv4 มีแนวโน้มที่จะหมดไปในอนาคตอันใกล้ โดย IPv6 จะเป็นโครงข่ายที่รองรับการขยายตัวของอินเทอร์เน็ตได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ ทีโอที ยังรับเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมประจำปีครั้งที่ 1 ของคณะกรรมการและคณะที่ปรึกษา Thailand IPv6 Forum ซึ่งเป็นการรวมตัวของโอเปอเรเตอร์ ผู้ผลิตเทคโนโลยีและผู้ซื้อ เพื่อผลักดันโครงข่าย IPv6 ให้เกิดการใช้งานในประเทศ
|
|
|
|
|